โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คอลลอยด์

ดัชนี คอลลอยด์

นมเป็นคอลลอยด์ชนิดหนึ่ง คอลลอยด์ (colloid) เป็นสารผสมที่มดสเสเยดยดยหบบดบำบดยหยดำวเสพยพย้นำยดรอสอมทิสหสพนนพยยกยเนเสดสดวกสสกสกดูเหมือนจะเป็นเนื้อเดียวกัน โดยแบ่งเป็นส่วนเนื้อเดียว (continous phase) และอนุภาคคอลลอยด์ (dispersed phase) ซึ่งตัวอนุภาคคอลลอยด์จะมีขนาดระหว่าง 10-7-10-4 เซนติเมตร หรือมากกว่าขนาดรูกระดาษเซลโลเฟน แต่น้อยกว่ารูกระดาษกรอง อนุภาคคอลลอยด์จะเกาะตัวใหญ่กว่าโมเลกุล แต่ไม่ใหญ่มาก จะแยกชั้นชัดเจน เช่นอะไรก้ได้เว้ยยยยย นม(Milk) ควัน (Smoke).

21 ความสัมพันธ์: กระดาษเซลโลเฟนการเคลื่อนที่แบบบราวน์มายองเนสละอองลอยวิปครีมสารแขวนลอยสีหมอกหมึก (แก้ความกำกวม)อิมัลชันของแข็งของเหลวควันประเทศไทยนมแก๊สโฟม (คอลลอยด์)โรเบิร์ต บราวน์โซล (คอลลอยด์)เลือดเนย

กระดาษเซลโลเฟน

เซลโลเฟน หรือกระดาษแก้ว (cellophane) เป็นวัสดุที่ทำจากเซลลูโลส (cellulose) ในไม้หรือพืชเส้นใยอื่น ๆ โครงสร้างทางเคมีเป็นกระดาษ แต่รูปร่างลักษณะจัดเป็นพลาสติก เป็นวัสดุโปร่งแสงและใส ความชื้นผ่านได้มาก อากาศผ่านได้น้อย มีการพัฒนาเซลโลเฟน ที่ป้องกันความชื้น (moisture proof) และผนึกด้วยความร้อน (heat-sealing type) โดยการเคลือบด้วยสารป้องกันความชื้น ได้แก่ nitrocellulose, polyvinylidine chloride, vinyl copolymer และ polyethylene เริ่มมีการใช้เซลโลเฟนห่อเบคอนที่ฝานเป็นแผ่นบาง (sliced bacon) เนื้อแช่แข็ง (frozen meat) เซลโลเฟนส่วนใหญ่จะมีการเคลือบผิวทั้งสองด้าน อย่างไรก็ตามมีการใช้เซลโลเฟนชนิดที่เคลือบผิวด้านเดียวด้วย nitrocellulose หรือ polyethylene บรรจุเนื้อสด ด้านที่ไม่ได้เคลือบผิวจะสัมผัสกับเนื้อโดยตรง การซึมผ่านของออกซิเจนเพียงพอที่จะทำให้ไมโอโกลบินเกิดออกซิเจนเนท (oxygenated) ให้สีแดงสด ส่วนสารที่เคลือบด้านนอกจะป้องกันการสูญเสียน้ำ เนื้อก็จะไม่แห้ง และไม่หดตัว หมวดหมู่:เซลลูโลส.

ใหม่!!: คอลลอยด์และกระดาษเซลโลเฟน · ดูเพิ่มเติม »

การเคลื่อนที่แบบบราวน์

มุมมองการเคลื่อนที่แบบบราวน์ 3 แบบที่แตกต่างกัน จากการเคลื่อนที่ 32 ครั้ง, 256 ครั้ง และ 2048 ครั้ง แสดงด้วยจุดสีที่อ่อนลงตามลำดับ ภาพเสมือนจริง 3 มิติของการเคลื่อนที่แบบบราวน์ ในกรอบเวลา 0 ≤ ''t'' ≤ 2 การเคลื่อนที่แบบบราวน์ (Brownian motion; ตั้งชื่อตามนักพฤกษศาสตร์ โรเบิร์ต บราวน์) หมายถึงการเคลื่อนที่ของอนุภาคในของไหล (ของเหลวหรือก๊าซ) ที่คิดว่าเป็นไปโดยสุ่ม หรือแบบจำลองคณิตศาสตร์ที่ใช้เพื่ออธิบายการเคลื่อนที่แบบสุ่มดังกล่าว มักเรียกกันว่า ทฤษฎีอนุภาค มีการนำแบบจำลองคณิตศาสตร์ของการเคลื่อนที่แบบบราวน์ไปประยุกต์ใช้ในโลกจริงมากมาย ตัวอย่างที่นิยมอ้างถึงคือ ความผันผวนของตลาดหุ้น อย่างไรก็ดี การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นอาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ซึ่งอาจไม่เกิดซ้ำกันอีก การเคลื่อนที่แบบบราวน์เป็นหนึ่งในกระบวนการสโตคาสติก (หรือความน่าจะเป็น) แบบเวลาต่อเนื่องที่ง่ายที่สุดแบบหนึ่ง ทั้งเป็นขีดจำกัดของกระบวนการทำนายที่ทั้งง่ายกว่าและซับซ้อนกว่านี้ (ดู random walk และ Donsker's theorem) ความเป็นสากลเช่นนี้คล้ายคลึงกับความเป็นสากลของการแจกแจงแบบปกติ ซึ่งสำหรับทั้งสองกรณีนี้ การนำไปใช้งานเน้นที่ความสะดวกในการใช้งานเชิงคณิตศาสตร์มากกว่าเรื่องของความแม่นยำของแบบจำลอง ทั้งนี้เนื่องจากการเคลื่อนที่ของบราวน์ (ซึ่งอนุพันธ์เวลาเป็นอนันต์เสมอ) เป็นการประมาณการอุดมคติสำหรับกระบวนการทางกายภาพแบบสุ่มที่เกิดขึ้นจริงที่กรอบเวลามักจำกัดอยู่ที่ค่าหนึ่งเสมอ.

ใหม่!!: คอลลอยด์และการเคลื่อนที่แบบบราวน์ · ดูเพิ่มเติม »

มายองเนส

มายองเนส (mayonnaise ออกเสียงว่า มายอแนซ) หรือ ซอสไข่แดง เป็นซอสข้นที่ทำจากไข่แดง น้ำมัน และน้ำส้มสายชู (หรือใช้น้ำมะนาวแทนได้) เป็นเครื่องปรุงรสของอาหารชาวตะวันตกหลายชาติ เช่น อาหารฝรั่งเศส อาหารสเปน เป็นต้น มายองเนสมีสีขาว สีเหลืองอ่อน หรือสีครีม.

ใหม่!!: คอลลอยด์และมายองเนส · ดูเพิ่มเติม »

ละอองลอย

งที่ฉีดออกมาจากกระป๋องสเปรย์เป็นละอองลอยชนิดหนึ่ง ละอองลอย หรือ แอโรซอล (aerosol) คือ ของผสมประเภทคอลลอยด์ที่ประกอบด้วยอนุภาคของแข็งหรือของเหลวที่เป็นละอองฟุ้งกระจายในอากาศหรือในก๊าซอื่น (มักเรียกละอองอนุภาคของแข็งว่า ฝุ่น หรือ ฝุ่นละออง) อนุภาคเหล่านี้ลอยในอากาศในลักษณะกึ่งสารละลายและกึ่งสารแขวนลอย เช่นเดียวกับคอลลอยด์ชนิดอื่น ๆ ระยะแรกหมายความเฉพาะอนุภาคของแข็งที่กระจายในก๊าซ แต่ปัจจุบันรวมถึงหยดละอองของเหลวหรือทั้งคู่ที่กระจายในก๊าซ ละอองลอยมีอนุภาคขนาดเล็ก (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 10–100 ไมโครเมตร) ที่แขวนลอยในอากาศอยู่ในสถานะของแข็งและสถานะของเหลว มีแหล่งกำเนิดมาจากแหล่งกำเนิดธรรมชาติ เช่น เกิดจากภูเขาไฟ ไฟไหม้ป่า การกระเซ็นของละอองน้ำทะเล ฝุ่น ควัน การกัดเซาะผิวหน้าดินโดยลม เป็นต้น.

ใหม่!!: คอลลอยด์และละอองลอย · ดูเพิ่มเติม »

วิปครีม

วิปครีม (whipped cream, วิปต์ครีม) คือครีมที่ถูกตีจนเบาและฟูด้วยเครื่องผสมอาหาร ไม้ตีไข่ หรือส้อม วิปครีมมักถูกเติมรสหวาน และบางครั้งมีรสชาติวานิลล.

ใหม่!!: คอลลอยด์และวิปครีม · ดูเพิ่มเติม »

สารแขวนลอย

แป้งที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ สารแขวนลอย คือสารผสมของสสารต่างชนิดกันที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกันและมีอนุภาคใหญ่กว่า 1 ไมโครเมตร (1000 นาโนเมตร) ในหนึ่งมิติเป็นอย่างน้อย ซึ่งใหญ่กว่าอนุภาคของคอลลอยด์ อนุภาคในสารแขวนลอยสามารถตกตะกอนได้เมื่อตั้งทิ้งไว้ และอาจสามารถแยกออกจากกันได้ เช่น ทรายในน้ำ ส่วนคอลลอยด์นั้นจะไม่สามารถแยกออกจากกันได้และไม่ตกตะกอน สารแขวนลอยไม่สามารถผ่านรูกระดาษกรองและกระดาษเซลโลเฟนได้.

ใหม่!!: คอลลอยด์และสารแขวนลอย · ดูเพิ่มเติม »

สี

วงล้อสี สี คือการรับรู้ความถี่ (ความกว้างคลื่นหรือความยาวคลื่น) ของแสง ในทำนองเดียวกันกับที่ระดับเสียง มนุษย์สามารถรับรู้สีได้เนื่องจากโครงสร้างอันละเอียดอ่อนของดวงตา ซึ่งมีความสามารถในการรับรู้แสงในช่วงความถี่ที่ต่างกัน การรับรู้สีนั้นขึ้นกับปัจจัยทางชีวภาพ (คนบางคนตาบอดสี ซึ่งหมายถึงคนคนนั้นเห็นสีบางค่าต่างจากคนอื่นหรือไม่สามารถแยกแยะสีที่มีค่าความอิ่มตัวใกล้เคียงกันได้ หรือแม้กระทั่งไม่สามารถเห็นสีได้เลยมาแต่กำเนิด), ความทรงจำระยะยาวของบุคคลผู้นั้น, และผลกระทบระยะสั้น เช่น สีที่อยู่ข้างเคียง บางครั้งเราเรียกแขนงของวิชาที่ศึกษาเรื่องของสีว่า รงคศาสตร์ วิชานี้จะครอบคลุมเรื่องของการรับรู้ของสีโดยดวงตาของมนุษย์, แหล่งที่มาของสีในวัตถุ, ทฤษฎีสีในวิชาศิลปะ, และฟิสิกส์ของสีในสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้.

ใหม่!!: คอลลอยด์และสี · ดูเพิ่มเติม »

หมอก

หมอกปกคลุมเมืองซานฟรานซิสโก หมอก (อังกฤษ: fog) คือกลุ่มละอองน้ำที่ลอยตัวอยู่ในระดับต่ำเหนือพื้นดิน ซึ่งเมฆบางครั้งก็ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของหมอก ตัวอย่างเช่น เมฆที่เคลื่อนตัวในอากาศระดับสูงจะไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นหมอก ขณะที่เมฆที่เคลื่อนตัวมาแบบสัมผัสกับพื้นดิน อาคาร หรือสิ่งก่อสร้างของมนุษย์ ที่มีความสูงขนาดหนึ่ง จะถูกพิจารณาว่าเป็นหมอกมากกว่าเมฆ ซึ่งหมอกแตกต่างจากละอองหมอก (mist) ก็เพียงเฉพาะความหนาแน่นเท่านั้น ผลกระทบของการเกิดหมอกที่เด่นชัดคือการทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง หมอกปกติทั่วไปอาจลดความสามารถในการมองเห็นน้อยกว่า 1 กิโลเมตร ส่วนละอองหมอกจะลดความสามารถในการมองเห็นให้เหลือในระยะ 1–2 กิโลเมตร มาตรฐานการบินของสหราชอาณาจักรกำหนดไว้ว่าประสิทธิภาพในการมองเห็นที่ระยะ 999 เมตรถึง 2 กิโลเมตร จะพิจารณาสภาพนั้นว่าเป็นละอองหมอก นอกจากนี้ละอองหมอกจะต้องมีระดับความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์หรือสูงกว่า หากมีความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์เราจะพิจารณาสภาพนั้นว่าเป็นฟ้าหลัว สถานที่ที่ซึ่งเกิดหมอกมากที่สุดในโลกคือแกรนด์แบงค์นอกชายฝั่งของเกาะนิวฟันด์แลนด์ แคนาดา สถานที่ที่ซึ่งกระแสน้ำเย็นแลบราดอร์จากทางเหนือมาบรรจบกับกระแสน้ำอุ่นกัล์ฟสตรีมจากทางใต้ทำให้เกิดสภาวะหมอกมากที่สุดในโลก ส่วนสถานที่บนพื้นบกที่เกิดหมอกมากที่สุดในโลกได้แก่ เมโนโมนี รัฐวิสคอนซิน, พอยน์ตเรย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย, อาร์เจนเทีย รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ ทั้งหมดที่กล่าวมามีวันที่หมอกหนามากกว่า 200 วันต่อปี แม้แต่ยุโรปใต้ที่มีอากาศอุ่นกว่าส่วนอื่นก็สามารถพบหมอกหนาตามพื้นที่ราบต่ำและหุบเขา เช่นที่ หุบเขาโปในอิตาลี หุบเขาตามแม่น้ำอาร์โนและแม่น้ำไทเบอร์ในอิตาลี และเช่นเดียวกับที่ราบสูงสวิสในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงและปลายฤดูหนาว.

ใหม่!!: คอลลอยด์และหมอก · ดูเพิ่มเติม »

หมึก (แก้ความกำกวม)

หมึก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: คอลลอยด์และหมึก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

อิมัลชัน

อิมัลชัน (emulsion) เป็นคอลลอยด์ประเภทหนึ่ง เกิดจากของที่ละลายเข้ากันเป็นเนื้อเดียวไม่ได้สองชนิดขึ้นไป โดยทำให้แตกตัว โดยตัวหนึ่งเป็นอนุภาคคอลลอยด์ (dispered phase) อีกตัวหนึ่งเป็นส่วนเนื้อเดียว (continuous phase) เรียกสารที่แตกตัวว่า ตัวกระทำอิมัลชัน (emulsifier).

ใหม่!!: คอลลอยด์และอิมัลชัน · ดูเพิ่มเติม »

ของแข็ง

ของแข็ง (Soild) เป็นสถานะหนึ่งในสี่ของสถานะพื้นฐานของสสาร (สถานะอื่นได้แก่ ของเหลว แก๊ส พลาสมา) ซึ่งมีลักษณะที่สามารถทนและต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่วงหรือปริมาตร แตกต่างกับของเหลว วัตถุที่เป็นของแข็งไม่สามารถไหลได้และไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างและปริมาตรไปตามภาชนะที่บรรจุ อะตอมภายในโมเลกุลของของแข็งอยู่ชิดกันมากและมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคที่หนาแน่นกับอนุภาคอื่น ๆ สาขาของฟิสิกส์มีสาขาหนึ่งที่มีเพื่อศึกษาของแข็งโดยเฉพาะ เรียกว่าฟิสิกส์ของแข็งและมันยังเป็นสาขาหลักของฟิสิกส์สสารอัดแน่น (ซึ่งจะมีการศึกษาเกี่ยวกับของเหลวรวมอยู่ด้วย) ของแข็งที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุดในโลกคือ ซิลิกานาโนโฟม (silica nanofoam) มีความหนาแน่นประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของอากาศ เป็นผลิตภัณฑ์ของแอโรเจล (aerogel) ที่ดูดอากาศออก หมวดหมู่:สถานะของสสาร หมวดหมู่:ของแข็ง หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์.

ใหม่!!: คอลลอยด์และของแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ของเหลว

รูปทรงของของเหลวเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ ของเหลว (Liquid) เป็นสถานะของของไหล ซึ่งปริมาตร จะถูกจำกัดภายใต้สภาวะคงที่ของอุณหภูมิและความดัน และรูปร่างของมันจะถูกกำหนดโดยภาชนะที่บรรจุมันอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นของเหลวยังออกแรงกดดันต่อภาชนะด้านข้างและบางสิ่งบางอย่างในตัวของของเหลวเอง ความกดดันนี้จะถูกส่งผ่านไปทุกทิศทาง ถ้าของเหลวอยู่ในระเบียบของสนามแรงโน้มถ่วง ความดัน pที่จุดใด ๆ สามารถแสดงเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ได้ดังนี้ ที่ซึ่ง \rho เป็น ความหนาแน่น ของของเหลว (ซึ่งกำหนดให้คงที่) และ z คือความลึก ณ จุดใต้พื้นผิวของเหลวนั้น สังเกตว่าในสูตรนี้กำหนดให้ความดันที่ผิวบนเท่ากับ 0 และไม่ต้องคำนึงถึง ความตึงผิวของเหลวมีลักษณะเฉพาะของ แรงตึงผิว (surface tension) และ แรงยกตัว (capillarity) โดยทั่วไปของเหลวจะขยายตัวเมื่อถูกความร้อนและหดตัวเมื่อถูกความเย็น วัตถุที่จมอยู่ในของเหลวจะมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า แรงลอยตัว (buoyancy) ของเหลวเมื่อได้รับความร้อนจนถึง จุดเดือด จะเปลี่ยนสถานะเป็น ก๊าซ และเมื่อทำให้เย็นจนถึง จุดเยือกแข็งมันก็จะเปลี่ยนสถานะเป็น ของแข็ง โดย การกลั่นแยกส่วน (fractional distillation) ของเหลวจะถูกแยกจากกันและกันโดย การระเหย (vaporization) ที่ จุดเดือด ของของเหลวแต่ละชนิด การเก เนื่องจากโมเลกุลของของเหลวมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน การเคลื่อนที่ของแต่ละโมเลกุลจึงอยู่ภายใต้อิทธิพลของโมเลกุลอื่นที่อยู่ใกล้เคียง โมเลกุลที่อยู่ตรงกลางได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลอื่นที่อยู่ล้อมรอบเท่ากันทุกทิศทุกทาง ส่วนโมเลกุลที่ผิวหน้าจะได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลที่อยู่ด้านล่างและด้านข้างเท่านั้น โมเลกุลที่ผิวหน้าจึงถูกดึงเข้าภายในของเหลว ทำให้พื้นที่ผิวของของเหลวลดลงเหลอน้อยที่สุด จะเห็นได้จากหยดน้ำที่เกาะบนพื้นผิวที่เรียบและสะอาดจะมีลักษณะเป็นทรงกลมซึ่งมีพื้นที่ผิวน้อยกว่าน้ำที่อยู่ในลักษณะแผ่ออกไป ของเหลวพยายามจัดตัวเองให้มีพื้นที่ผิวน้อยที่สุด เนื่องจากโมเลกุลที่ผิวไม่มีแรงดึงเข้าทางด้านบน จึงจะมีเสถียรภาพน้อยกว่าโมเลกุลที่อยู่ตรงกลาง การลดพื้นที่ผิวเท่ากับเป็นการลดจำนวนโมเลกุลที่ผิวหน้า จึงทำให้ของเหลวเสถียรมากขึ้นในบางกรณีของเหลวมีความจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ผิว โดยที่โมเลกุลที่อยู่ด้านในของของเหลวจะเคลื่อนมายังพื้นผิว ในการนี้โมเลกุลเหล่านั้นต้องเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่อยูรอบ ๆ หรือกล่าวว่าต้องทำงาน งานที่ใช้ในการขยายพื้นที่ผิวของของเหลว 1 หน่วย เรียกว่า ความตึงผิว (Surface tension).

ใหม่!!: คอลลอยด์และของเหลว · ดูเพิ่มเติม »

ควัน

'''ควัน''' จากไฟป่า ควัน จัดเป็นคอลลอยด์ ที่เป็นอนุภาคของของแข็งหรือของเหลว กระจายอยู่ในตัวกลางที่เป็นแก๊สที่มีอยู่ในอากาศ จะถูกปล่อยออกมาเมื่อมีการเผาวัสดุหรือเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้ความร้อน พร้อมกับปริมาณของอากาศหรือผสมในมวลสารชนิดอื่น ซึ่งเป็นส่วนเกินจากผลที่เกิดขึ้นจากความร้อน เช่น เตา, เทียนไข, ตะเกียงน้ำมัน และเตาไฟ แต่ก็อาจใช้สำหรับเป็นการกำจัดศัตรูพืช, การสื่อสารโดยใช้สัญญาณควัน, การป้องกันตัวโดยการสร้างฉากควัน, การทำอาหารเช่นแซลมอนรมควัน หรือเครื่องยาสูบชนิดต่างๆ ควันยังใช้ในพิธีกรรม, ธูปบูชา, ยางหอม ที่เผาเพื่อผลิตกลิ่น ในบางครั้งควันยังถูกนำไปใช้เป็นสารแต่งกลิ่น และเครื่องป้องกันสำหรับของกินต่างๆ ควันยังเป็นส่วนประกอบของไอเสียที่เกิดจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอเสียจากดีเซล ซึ่งควันจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ควันดำ คืออนุภาคของถ่านหรือคาร์บอนที่มีลักษณะเป็นผงและเขม่าเล็ก ๆ ที่เหลือจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นมาส่วนใหญ่ เช่น รถเมล์ รถปิกอัพดีเซล รถที่มีขนาดใหญ่ทั่วๆไป และจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งควันดำนอกจากจะบดบังยังส่งผลต่อการมองเห็นและเกิดความสกปรกและยังสามารถเข้าไปสู่ปอดโดยการหายใจอีกด้วย และสะสมอยู่ในถุงลมปอดซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง หรือเป็นตัวนำสารให้เกิดโรคมะเร็งปอดและทำให้หลอดลมอักเสบได้ ควันขาว เกิดจากเครื่องยนต์ที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี โดยเฉพาะรถจักยานยนต์เก่าๆ ควันขาวคือสารไฮโดรคาร์บอนหรือน้ำมัน เป็นเชื้อเพลิงที่ยังไม่ถูกเผาไหม้ แล้วมีการปล่อยออกมาทาง ท่อไอเสีย โดยที่สารไฮโดรคาร์บอนนี้เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะเกิดปฏิกิริยาในการสร้างก๊าซโอโซนซึ่งเป็นพิษภัยที่มีความรุนแรงการสูดควัน ถือเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของอัคคีภัยในอาคารสถานที่ ควันสามารถสังหารผู้คนได้โดยความร้อน, สารพิษ และเข้าปอดจนเกิดการระคายเคืองโดยคาร์บอนมอนอกไซด์, ไฮโดรเจนไซยาไนด์ และผลิตภัณฑ์จากการเผาไหม้อื่นๆ อนุภาคของควันจัดเป็นละอองลอยหรือหมอก ของอนุภาคของแข็งหรือหยดของเหลวที่แพร่กระจายไปในอากาศซึ่งมักมองเห็นได้เมื่อถูกกระทบกับแสง โดยปกติแล้วหมอกควันไม่ได้ขัดขวางต่อการมองภาพ หากแต่มันเป็นอนุภาคที่มีความละเอียดจนบดบังการมองเห็นแบบปกติไป.

ใหม่!!: คอลลอยด์และควัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: คอลลอยด์และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นม

นมในแก้ว นม หรือ น้ำนม หมายถึงของเหลวสีขาวที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ออกมาจากเต้านมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นมจะประกอบไปด้วยสารอาหารหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กหรือสัตว์เกิดใหม่ ซึ่งนมสามารถนำไปสร้างผลิตภัณฑ์อื่นได้แก่ ครีม เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม ชีส นอกจากนี้นมยังสามารถหมายถึงเครื่องดื่มอื่นที่นำมาใช้ทดแทนนม เช่น นมถั่วเหลือง นมข้าว นมข้าวโพด นมแอลมอนด์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ให้นม อาทิ วัว มนุษย์ แพะ ควาย แกะ ม้า ลา อูฐ จามรี ยามา เรนเดียร์ ฯลฯ โดยนมจากม้าและลาเป็นนมที่มีไขมันต่ำ ในขณะที่นมจากแมวน้ำจะมีไขมันสูงถึง 50% นอกจากนี้ในประเทศรัสเซียและประเทศสวีเดน มีการกินนมกวางมูส มีบางคนที่ไม่มีน้ำย่อยแลกโทส จะไม่สามารถดื่มนมวัวได้ ก็จะหันมาดื่มนมสัตว์ชนิดอื่นแทน เช่น นมแ.

ใหม่!!: คอลลอยด์และนม · ดูเพิ่มเติม »

แก๊ส

อนุภาคในสถานะแก๊ส (อะตอม โมเลกุล หรือไอออน) เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระภายในสนามแม่เหล็ก แก๊ส หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ก๊าซ (Gas) เป็นหนึ่งในสถานะพื้นฐานทั้งสี่ของสสาร (ที่เหลือ คือ ของแข็ง ของเหลวและพลาสมา) แก๊สบริสุทธิ์ประกอบไปด้วยอะตอมเดี่ยว เช่น แก๊สมีตระกูล ส่วนแก๊สที่เป็นธาตุเคมี จะอยู่ในรูปหลายอะตอม แต่เป็นชนิดเดียวกัน เช่น ออกซิเจน หรือเป็นโมเลกุลสารประกอบที่อยู่ในรูปหลายอะตอมและต่างชนิดกัน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สผสม เป็นแก๊สที่เกิดจากแก๊สบริสุทธิ์หลายชนิดรวมกัน เช่น อากาศ สิ่งที่แตกต่างระหว่างแก๊สที่ในอุณหภูมิห้องเป็นของเหลวกับแก๊สที่ในอุณหภูมิห้องเป็นของแข็ง คือโมเลกุลของแก๊ส และการแยกนี้ทำให้มีแก๊สไม่มีสี ซึ่งทำให้เรามองไม่เห็น การทำงานร่วมกันของอนุภาคของแก๊สมีขึ้นในสนามแม่แหล็กและแรงโน้มถ่วง แก๊สประเภทหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ ไอน้ำ แก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมากจะอยู่ห่างกันและแพร่กระจายอยู่ทั่วทั้งภาชนะที่บรรจุ ทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงตามขนาดและรูปร่างของภาชนะ สมบัติของแก๊ส 1.แก๊สมีรูปร่างเป็นปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ บรรจุในภาชนะใดก็จะมีรูปร่างเป็นปริมาตรตามภาชนะนั้น เช่น ถ้าบรรจุในภาชนะทรงกลมขนาด 1 ลิตร แก๊สจะมีรูปร่างเป็นทรงกลมมีปริมาตร 1 ลิตร เพราะแก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมากจึงทำให้อนุภาคของแก๊สสามารถเคลื่อนที่หรือแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ 2.ถ้าให้แก๊สอยู่ให้ภาชนะที่ได้ ปริมาตรของแก๊สจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมลดังนั้นเมื่อบอกปริมาตรของแก๊สจะต้องบอกอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมล 3.สารที่อยู่ในสถานะแก๊สมีความหนาแน่นน้อยกว่าเมื่ออยู่ในสถานะของแข็งและของเหลวมาก 4.แก๊สสามารถแพร่ได้ และแพร่ได้เร็ว เพราะแก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของเหลวและของแข็ง 5.แก๊สต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเมื่อนำมาใส่ในภาชนะเดียวกันแก๊สแต่ละชนิดจะแพร่ผสมกันอย่างสมบูรณ์ทุกส่วนนั้นคือส่วนผสมของแก๊สเป็นสารเดียวหรือเป็นสารละลาย 6.แก๊สส่วนใหญ่ไม่มีสีและโปร่งใสเช่นแก๊สออกซิเจน แก๊สไฮโดรเจน เป็นต้น.

ใหม่!!: คอลลอยด์และแก๊ส · ดูเพิ่มเติม »

โฟม (คอลลอยด์)

ฟม (Foam) เป็นคอลลอยด์ประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการเติมอนุภาคก๊าซหรือฟองก๊าซ ลงไปในของเหลวหรือของแข็งหลอมเหลวลงไป เพื่อให้มีรูพรุน กระจายเป็นอนุภาคกระจาย (dispered phase) ในสารเนื้อเดียว (continuous phase) นั้น โดยปกติแล้วสารบริสุทธิ์จะไม่เกิดเป็นโฟมถ้าเราไม่เติมสาร สเตบิไลเซอร์ (Stabilizer) ในไอศกรีมหรือสารอาหารบางประเภท เรามักใส่สารเติมแต่งเพื่อทำให้เกิดโฟม.

ใหม่!!: คอลลอยด์และโฟม (คอลลอยด์) · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต บราวน์

รเบิร์ต บราวน์ (Robert Brown) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: คอลลอยด์และโรเบิร์ต บราวน์ · ดูเพิ่มเติม »

โซล (คอลลอยด์)

ซล (Sol) เป็นคอลลอยด์ประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการเติมอนุภาคของแข็ง ลงไปในของเหลวหรือของแข็งหลอมเหลวลงไป เพื่อให้มีอนุภาคของแข็ง กระจายเป็นอนุภาคกระจาย (dispered phase) ในสารเนื้อเดียว (continuous phase).

ใหม่!!: คอลลอยด์และโซล (คอลลอยด์) · ดูเพิ่มเติม »

เลือด

ม่ ไม่รู้.

ใหม่!!: คอลลอยด์และเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เนย

นย เนย (Butter) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม แบ่งเป็น เนยเหลว และเนยแข็ง.

ใหม่!!: คอลลอยด์และเนย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ColloidColloidal

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »