โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกและเทคโนโลยี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกและเทคโนโลยี

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก vs. เทคโนโลยี

10.1126/science.1177265 ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก (global catastrophic risk) เป็นเหตุการณ์สมมุติในอนาคต ที่อาจทำความเสียหายต่อมนุษย์อย่างรุนแรงทั่วโลก เหตุการณ์บางอย่างอาจทำลาย หรือทำความเสียหายแก่ อารยธรรมที่มีในปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่านั้น อาจทำให้มวลมนุษย์สูญพันธุ์ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของมนุษย์ (existential risk) ภัยพิบัติตามธรรมชาติ เช่น การระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟ และการวิ่งชนโลกของดาวเคราะห์น้อย จะเป็นความเสี่ยงในระดับนี้ถ้ารุนแรงเพียงพอ เหตุการณ์ที่มนุษย์เป็นเหตุ ก็อาจจะเป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของสัตว์ฉลาดต่าง ๆ ของโลก เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อน สงครามนิวเคลียร์ หรือการก่อการร้ายชีวภาพ สถาบันอนาคตของมนุษยชาติ (Future of Humanity Institute) ที่เป็นส่วนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เชื่อว่า การสูญพันธุ์ของมนุษย์ น่าจะมีเหตุมาจากมนุษย์เอง มากกว่าจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะศึกษาการสูญพันธุ์ของมนุษย์ เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์นี้จริง ๆ แม้นี่จะไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต แต่ว่า การสร้างแบบจำลองของความเสี่ยงต่อความอยู่รอด เป็นเรื่องยาก โดยส่วนหนึ่งเพราะผู้ศึกษามีความเอนเอียงจากการอยู่รอด คือมีความคิดผิดพลาดที่พุ่งความสนใจไปในสิ่งที่อยู่รอด จนทำให้เหตุผลไม่ตรงกับความจริง. นาโนเทคโนโลยีเป็นที่สนใจในศตวรรษปัจจุบัน เทคโนโลยี หรือ เทคนิควิทยา มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึงธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกและเทคโนโลยี

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกและเทคโนโลยี มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชลประทานมลพิษทรัพยากรธรรมชาติเกษตรกรรมเศรษฐศาสตร์

ชลประทาน

ลประทานเป็นการทดน้ำและระบายน้ำ ใช้เพื่อช่วยให้พืชผลการเกษตรเติบโต บำรุงรักษาภูมิประเทศ และปลูกพืชคืนสภาพดินเปลี่ยนสภาพในพื้นที่แห้งแล้งระหว่างช่วงฝนตกไม่เพียงพอ นอกเหนือจากนี้ ชลประทานยังมีประโยชน์อื่นในการผลิตพืชผล ซึ่งรวมถึงการปกป้องพืชจากความเย็น การยับยั้งการเติบโตของวัชพืชในไร่ธัญพืช และการช่วยป้องกันดินอัดตัวคายน้ำ ระบบชลประทานยังใช้ยับยั้งฝุ่น การกำจัดสิ่งปฏิกูลและในการเหมืองแร่ ชลประทานมักจะศึกษาร่วมกับการระบายน้ำซึ่งเป็นการน้ำผิวดินหรือใต้ออกตามธรรมชาติหรือโดยการประดิษฐ์ของมนุษย์จากบริเวณที่กำหนด ชลประทานเป็นสิ่งสำคัญของการเกษตรมานานกว่า 5000 ปีและเป็นผลผลิตของวัฒนธรรมหลายวัฒนธรรม ในทางประวัติศาสตร์ชลประทานเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจและสังคัมทั่วโลกจากเอเชียจนถึงสหรัฐอเมริกาตะวันตกเฉียงใต้.

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกและชลประทาน · ชลประทานและเทคโนโลยี · ดูเพิ่มเติม »

มลพิษ

มลพิษ หมายถึง ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกาก ตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึง รังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดมลพิษด้ว.

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกและมลพิษ · มลพิษและเทคโนโลยี · ดูเพิ่มเติม »

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติ เกิดขึ้นตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างปลอดการรบกวนจากมนุษย์ ในรูปแบบของธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติมักมีลักษณะของปริมาณความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายของภูมิประเทศในหลายระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติมาจากสิ่งแวดล้อม บางทรัพยากรสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์ ขณะที่ส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อตอบสนองความต้องการ ทรัพยากรธรรมชาติยังอาจจำแนกต่อไปได้อีกหลายวิธีเช่นการทำสิ่งต่างๆที่เป็นประโยช ทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัสดุและองค์ประกอบที่สามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่มนุษย์ทำขึ้นประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ (ในระดับมูลฐาน) ทรัพยากรธรรมชาติอาจมีเป็นสิ่งแยกกัน เช่น น้ำและอากาศบริสุทธิ์ เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอย่างปลา หรืออาจมีอยู่ในรูปผลัด (alternative) ที่ต้องผ่านขบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากร เช่น แร่โลหะ น้ำมันและพลังงานรูปส่วนใหญ่ มีการถกเถียงอย่างมากทั่วโลกในเรื่องการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งบางส่วนเป็นเพราะความขาดแคลนที่เพิ่มขึ้น (การหมดไปของทรัพยากร) แต่ยังเนื่องจากการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจหลายประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว) บางทรัพยากรธรรมชาติสามารถพบได้ทุกหนแห่ง เช่น แสงอาทิตย์และอากาศ อย่างไรก็ดี ทรัพยากรส่วนมากมิได้พบทั่วไป เพียงเกิดขึ้นในพื้นที่เล็ก ๆ กระจัดกระจายกัน ทรัพยากรกลุ่มนี้เรียกว่า ทรัพยากรท้องถิ่น มีทรัพยากรน้อยชนิดมากที่ถูกพิจารณาว่าใช้แล้วไม่หมด (inexhaustible) คือ จะไม่หมดไปในอนาคตอันใกล้ ทรัพยากรกลุ่มนี้ ได้แก่ รังสีดวงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ และอากาศ (แม้การเข้าถึงอากาศที่สะอาดอาจหมดไปได้) อย่างไรก็ดี ทรัพยากรส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ใช้แล้วหมดไป (exhaustible) หมายความว่า มีปริมาณจำกัด และหมดไปได้หากจัดการอย่างไม่เหมาะสม ทรัพยากรธรรมชาติเป็นวัสดุ ซึ่งสิ่งมีชีวิตสามารถได้รับจากธรรมชาติเพื่อดำรงชีพหรือองค์ประกอบอื่นของสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์ได้เพื่อเพิ่มสวัสดิการของตนก็ถูกพิจารณาว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติเช่นกัน.

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกและทรัพยากรธรรมชาติ · ทรัพยากรธรรมชาติและเทคโนโลยี · ดูเพิ่มเติม »

เกษตรกรรม

กษตรกรรม (agriculture) เป็นการเพาะปลูกพืช เห็ดรา เลี้ยงสัตว์ และรูปแบบของชีวิตแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อความยั่งยืนและเพิ่มสมรรถนะชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมเป็นพัฒนาการที่สำคัญในความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่ไม่ย้ายที่อยู่ซึ่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ในสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่องได้ผลิตอาหารส่วนเกิน ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงพัฒนาการของอารยธรรม การศึกษาด้านเกษตรกรรมถูกเรียกว่า เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ของเกษตรกรรมย้อนกลับไปหลายพันปี และการพัฒนาของมันได้ถูกขับเคลื่อนโดยความแตกต่างอย่างมากของภูมิอากาศ วัฒนธรรมและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรมทั้งหมดโดยทั่วไปพึ่งพาเทคนิคต่างๆเพื่อการขยายและบำรุงที่ดินที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่อง สำหรับพืช เทคนิคนี้มักอาศัยการชลประทานบางรูปแบบ แม้จะมีหลายวิธีการของเกษตรกรรมในพื้นที่แห้งแล้งอยู่ก็ตาม ปศุสัตว์จะถูกเลี้ยงในระบบทุ่งหญ้าผสมกับระบบที่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน ในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของพื้นที่ที่ปราศจากน้ำแข็งและปราศจากน้ำของโลก ในโลกพัฒนาแล้วเกษตรอุตสาหกรรมที่ยึดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้กลายเป็นระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่โดดเด่น แม้ว่าจะมีแรงสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงเกษตรถาวรและเกษตรกรรมอินทรีย์ จนกระทั่งมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ของประชากรมนุษย์ทำงานในภาคการเกษตร การเกษตรแบบก่อน-อุตสาหกรรมโดยทั่วไปเป็นการเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต/การพึ่งตัวเองในที่ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชเพื่อการบริโภคของตัวเองแทน'พืชเงินสด'เพื่อการค้า การปรับเปลี่ยนที่โดดเด่นในการปฏิบัติทางการเกษตรได้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาในการตอบสนองต่อเทคโนโลยีใหม่ๆและการพัฒนาของตลาดโลก มันยังได้นำไปสู่การปรับปรุงด้านเทคโนโลยีในเทคนิคการเกษตร เช่นวิธีของ 'ฮาเบอร์-Bosch' สำหรับการสังเคราะห์แอมโมเนียมไนเตรตซึ่งทำให้การปฏิบัติแบบดั้งเดิมของสารอาหารที่รีไซเคิลด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนและมูลสัตว์มีความสำคัญน้อยลง เศรษฐศาสตร์การเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช เกษตรเคมีเช่นยาฆ่าแมลงและปุ๋ยและการปรับปรุงเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้เพิ่มอัตราผลตอบแทนอย่างรวดเร็วจากการเพาะปลูก แต่ในเวลาเดียวกันได้ทำให้เกิดความเสียหายของระบบนิเวศอย่างกว้างขวางและผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ในเชิงลบ การคัดเลือกพันธุ์และการปฏิบัติที่ทันสมัยในการเลี้ยงสัตว์ได้เพิ่มขึ้นในทำนองเดียวกันของการส่งออกของเนื้อ แต่ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์และผลกระทบต่อสุขภาพของยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโต และสารเคมีอื่นๆที่ใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเป็นองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นของการเกษตร แม้ว่าพวกมันจะเป็นสิ่งต้องห้ามในหลายประเทศ การผลิตอาหารการเกษตรและการจัดการน้ำจะได้กลายเป็นเป็นปัญหาระดับโลกเพิ่มขึ้นที่ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับจำนวนของ fronts การเสื่อมสลายอย่างมีนัยสำคัญของทรัพยากรดินและน้ำ รวมถึงการหายไปของชั้นหินอุ้มน้ำ ได้รับการตั้งข้อสังเกตในทศวรรษที่ผ่านมา และผลกระทบของภาวะโลกร้อนกับการเกษตรและผลของการเกษตรต่อภาวะโลกร้อนยังคงไม่เป็นที่เข้าใจอย่างเต็มที่ สินค้าเกษตรที่สำคัญสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มกว้างๆได้แก่อาหาร เส้นใย เชื้อเพลิง และวัตถุดิบ อาหารที่เฉพาะได้แก่(เมล็ด)ธัญพืช ผัก ผลไม้ น้ำมันปรุงอาหาร เนื้อสัตว์และเครื่องเทศ เส้นใยรวมถึงผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ป่าน ผ้าไหมและผ้าลินิน วัตถุดิบได้แก่ ไม้และไม้ไผ่ วัสดุที่มีประโยชน์อื่นๆมีการผลิตจากพืช เช่นเรซิน สีธรรมชาติ ยา น้ำหอม เชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์ใช้ประดับเช่นไม้ตัดดอกและพืชเรือนเพาะชำ กว่าหนึ่งในสามของคนงานในโลกมีการจ้างงานในภาคเกษตร เป็นที่สองรองจากภาคบริการเท่านั้น แม้ว่าร้อยละของแรงงานเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านม.

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกและเกษตรกรรม · เกษตรกรรมและเทคโนโลยี · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์

รษฐศาสตร์ (economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย การบริโภคสินค้าและการให้บริการ ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว "เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด" คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ่ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikos แปลว่าบ้านและ nomos แปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของครัวเรือน) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และวิทยาศาสตร์ ภาพแสดงผู้ซื้อและผู้ขายกำลังต่อรองราคาอยู่หน้าตลาดชิชิคาสเทนานโก ในประเทศกัวเตมาลา วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คือ.

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกและเศรษฐศาสตร์ · เทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกและเทคโนโลยี

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก มี 183 ความสัมพันธ์ขณะที่ เทคโนโลยี มี 24 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 2.42% = 5 / (183 + 24)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกและเทคโนโลยี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »