ความเป็นพลเมืองและผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวร (สหรัฐ)
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ความเป็นพลเมืองและผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวร (สหรัฐ)
ความเป็นพลเมือง vs. ผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวร (สหรัฐ)
วามเป็นพลเมือง (citizenship) คือ สถานภาพของบุคคลที่จารีตประเพณีหรือกฎหมายของรัฐรับรองซึ่งให้แก่สิทธิและหน้าที่แห่งความเป็นพลเมืองแก่บุคคล (เรียก พลเมือง) ซึ่งอาจรวมสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง การทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศ สิทธิกลับประเทศ สิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ การคุ้มครองทางกฎหมายต่อรัฐบาลของประเทศ และการคุ้มครองผ่านกองทัพหรือการทูต พลเมืองยังมีหน้าที่บางอย่าง เช่น หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ จ่ายภาษี หรือรับราชการทหาร บุคคลอาจมีความเป็นพลเมืองมาก และบุคคลที่ไม่มีความเป็นพลเมือง เรียก ผู้ไร้สัญชาติ (stateless) สัญชาติมักใช้เป็นคำพ้องกับความเป็นพลเมืองในภาษาอังกฤษ ที่สำคัญในกฎหมายระหว่างประเทศ แม้คำนี้บางครั้งเข้าใจว่าหมายถึงการเป็นสมาชิกชาติ (กลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่) ของบุคคล ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สัญชาติและความเป็นพลเมืองมีความหมายต่างกัน หมวดหมู่:สัญชาติ หมวดหมู่:การปกครอง หมวดหมู่:มโนทัศน์ทางการเมือง หมวดหมู่:กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง. ัตรผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวรสหรัฐ (กรีนการ์ด) (พฤษภาคม 2559) ผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวรชอบด้วยกฎหมายของสหรัฐ (United States lawful permanent residency) เป็นสถานภาพการเข้าเมืองของบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้อยู่อาศัยและทำงานในสหรัฐอเมริกาอย่างถาวร บัตรผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวรสหรัฐ (แบบ USCIS I-551) เดิมคือ บัตรการจดทะเบียนคนต่างด้าว หรือบัตรใบรับการจดทะเบียนคนต่างด้าว (แบบ INS I-151) เป็นบัตรประจำตัวรับรองความถูกต้องของสถานภาพผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวรของคนต่างด้าวในสหรัฐ มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า กรีนการ์ด ("บัตรเขียว") เพราะมีสีเขียวตั้งแต่ปี 2489 ถึง 2507 และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 มีการเปลี่ยนกลับมาเป็นสีเขียวอีกครั้ง กรีนการ์ดยังหมายถึงกระบวนการการเข้าเมืองของการมาเป็นผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวร กรีนการ์ดใช้เป็นหลักฐานว่าผู้ถือบัตร ผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวรชอบด้วยกฎหมาย (lawful permanent resident) ได้รับผลประโยชน์การเข้าเมืองอย่างเป็นทางการ ซึ่งรวมการอนุญาตให้พำนักและเข้าทำงานในสหรัฐ ผู้ถือต้องคงไว้ซึ่งสถานภาพผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวร และอาจถูกขับออกจากสหรัฐได้หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขบางประการของสถานภาพนี้ เดิมราชการการเข้าเมืองและแปลงสัญชาติ (INS) เป็นผู้ออกกรีนการ์ด แต่รัฐบัญญัติความมั่นคงมาตุภูมิปี 2002 (Pub. L. No. 107–296, 116 Stat. 2135) ยุบ INS และแยกหน่วยงานเดิมเป็นสามส่วนประกอบในกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (DHS) ส่วนแรก ราชการความเป็นพลเมืองและการเข้าเมืองสหรัฐ (USCIS) จัดการคำขอรับผลประโยชน์การเข้าเมือง อีกสองหน่วยงานถูกตั้งขึ้นเพื่อดูแลการทำหน้าที่เดิมของ INS คือ การบังคับการเข้าเมือง ได้แก่ การบังคับการเข้าเมืองและอากรศุลกากรสหรัฐ (U.S. Immigration and Customs Enforcement) และการคุ้มครองอากรศุลกากรและเขตแดนสหรัฐ (U.S. Customs and Border Protection) ตามลำดับ ผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวรชอบด้วยกฎหมายของสหรัฐตั้งแต่อายุสิบแปดขึ้นไปต้องถือกรีนการ์ดตัวจริงตลอดเวลา หากไม่สามารถทำได้จะเป็นการละเมิดรัฐบัญญัติการเข้าเมืองและสัญชาติ โดยมีโทษปรับไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ หรือจำคุกไม่เกิน 30 วัน หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับแต่ละกระทง มีเฉพาะรัฐบาลกลางเท่านั้นที่กำหนดบทลงโทษเหล่านี้ได้ กรีนการ์ดมีผลใช้ได้เป็นเวลา 10 ปีสำหรับผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวร และ 2 ปีสำหรับผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวรแบบมีเงื่อนไข หลังพ้นระยะนี้ ต้องต่ออายุหรือเปลี่ยนการ.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความเป็นพลเมืองและผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวร (สหรัฐ)
ความเป็นพลเมืองและผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวร (สหรัฐ) มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ความเป็นพลเมืองและผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวร (สหรัฐ) มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความเป็นพลเมืองและผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวร (สหรัฐ)
การเปรียบเทียบระหว่าง ความเป็นพลเมืองและผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวร (สหรัฐ)
ความเป็นพลเมือง มี 24 ความสัมพันธ์ขณะที่ ผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวร (สหรัฐ) มี 3 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (24 + 3)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความเป็นพลเมืองและผู้เข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวร (สหรัฐ) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: