โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์และพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์และพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี

ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ vs. พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี

ปัจจุบัน มีเพียงโลกเท่านั้นที่เป็นดาวเคราะห์ที่มีปัจจัยเกื้อหนุนต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ คือการตรวจวัดศักยภาพของดาวเคราะห์หรือดาวบริวารของดาวเคราะห์ว่าสามารถรองรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตได้หรือไม่ ชีวิตดังกล่าวนี้อาจมีวิวัฒนาการขึ้นบนดาวเคราะห์หรือดาวบริวารนั้นเอง หรืออพยพมาจากแหล่งอื่นก็ได้ ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีความแน่ชัดใดๆ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนอกโลก ดังนั้นการศึกษาเรื่องความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์จึงใช้เงื่อนไขสภาวะแวดล้อมของโลก และคุณลักษณะของดวงอาทิตย์และระบบสุริยะเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นปัจจัยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้บนโลก การศึกษาวิจัยในสาขานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และเป็นสาขาเกิดใหม่ในทางชีวดาราศาสตร์ สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่สุดสำหรับชีวิต คือ แหล่งกำเนิดพลังงาน ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์มีความหมายพื้นฐานถึงลักษณะขอบเขตทางฟิสิกส์ธรณีวิทยา เคมีธรณีวิทยา และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่พอเหมาะพอดีในการเอื้อหนุนต่อสิ่งมีชีวิต องค์การนาซ่าได้นิยามขอบเขตพื้นฐานของความสามารถอยู่อาศัยได้ ว่า "ต้องมีน้ำในสถานะของเหลว เงื่อนไขที่ช่วยให้เกิดโมเลกุลอินทรีย์ที่ซับซ้อน และมีแหล่งพลังงานพอสำหรับสร้างเมแทบอลิซึม". ร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี (Proxima Centauri b) หรือเรียก พร็อกซิมา บี (Proxima b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบในเขตอาศัยได้ โคจรรอบดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระแดงในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า และถือเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยห่างจากโลกราว 4.2 ปีแสง (1.3 พาร์เซก หรือ 40 ล้านล้านกิโลเมตร) ทำให้ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่มีศักยภาพต่อการอยู่อาศัยได้ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดเท่าที่รู้จัก ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ค้นพบโดยคณะนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ประกาศการค้นพบในเดือนสิงหาคม..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์และพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี

ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์และพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ระบบสุริยะดวงอาทิตย์โลก

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์และระบบสุริยะ · พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์และดวงอาทิตย์ · ดวงอาทิตย์และพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์และโลก · พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บีและโลก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์และพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี

ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี มี 55 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 4.55% = 3 / (11 + 55)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์และพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »