โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในและอาการดีเกินไป

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในและอาการดีเกินไป

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน vs. อาการดีเกินไป

ลักษณะ ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน หรือ ความสนใจภายนอก-ความสนใจภายใน (extraversion-introversion) เป็นมิติหลักอย่างหนึ่งของทฤษฎีบุคลิกภาพมนุษย์ ส่วนคำภาษาอังกฤษทั้งสองคำ คือ introversion และ extraversion เป็นคำที่จิตแพทย์ คาร์ล ยุง ได้สร้างความนิยม (translation H.G. Baynes, 1923) แม้ว่าการใช้คำทั้งโดยนิยมและทางจิตวิทยาจะต่างไปจากที่ยุงได้มุ่งหมาย ความสนใจต่อสิ่งภายนอกมักปรากฏโดยเป็นการชอบเข้าสังคม/เข้ากับคนอื่นได้ง่าย ช่างพูด กระตือรือร้น/มีชีวิตชีวา เทียบกับความสนใจต่อสิ่งภายในที่ปรากฏโดยเป็นคนสงวนท่าทีและชอบอยู่คนเดียว แบบจำลองบุคลิกภาพใหญ่ ๆ เกือบทั้งหมดมีแนวคิดเช่นนี้ในรูปแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่นทฤษฎีลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง, analytical psychology (ของยุง), three-factor model (ของ ศ. ดร. ฮันส์ ไอเซงค์), 16 personality factors (ของ ศ. ดร. Raymond Cattell), Minnesota Multiphasic Personality Inventory, และตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ ระดับความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน เป็นค่าที่ต่อเนื่องกันเป็นอันเดียวกัน ดังนั้น ถ้าค่าของอย่างหนึ่งสูง อีกอย่างหนึ่งก็จะต้องต่ำ แต่ว่า น. คาร์ล ยุง และผู้พัฒนาตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ มีมุมมองต่างจากนี้และเสนอว่า ทุกคนมีทั้งด้านที่สนใจต่อสิ่งภายนอกและด้านที่สนใจต่อสิ่งภายใน โดยมีด้านหนึ่งมีกำลังกว่า แต่แทนที่จะเพ่งความสนใจไปที่เพียงพฤติกรรมกับคนอื่น ยุงนิยามความสนใจในสิ่งภายในว่า "เป็นแบบทัศนคติ กำหนดได้โดยทิศทางของชีวิต ที่กรองผ่านสิ่งที่อยู่ในใจที่เป็นอัตวิสัย" (คือ สนใจในเรื่องภายในจิตใจ) และความสนใจในภายนอกว่า "เป็นแบบทัศนคติ กำหนดได้โดยการพุ่งความสนใจไปที่วัตถุภายนอก" (คือโลกภายนอก). อาการดีเกินไป (Nice guy syndrome) เป็นคำจำกัดความทางจิตวิทยาบรรยายลักษณะของเพศชาย ที่มีปัญหาในการมีคู่ โดยมีที่มาจากคำพูดของเพศตรงข้ามว่า "ดีเกินไป" (ตัวอย่าง เธอเป็นคนดีเกินไป แต่เราไม่สามารถเป็นแฟนกันได้ มาคบกันเป็นเพื่อนเถอะ) ซึ่งเกิดจากความรู้สึกของเพศตรงข้ามเปรียบเทียบลักษณะ "ผู้ชายที่ดีเกินไป" ไม่เข้าใจการเติบโต การวางตัวต่อเพศตรงข้าม และเรื่องราวของการมีชีวิตคู่ รวมไปถึงไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์โรแมนติค ลักษณะของบุคคลที่อยู่ในอาการดีเกินไป ส่วนมากจะมีจิตใจดีงาม ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มักจะมีปัญญาสูงกว่าบุคคลทั่วไป เชื่อมั่นในความคิดตัวเอง ในขณะเดียวกันก็ขาดความเข้าใจในความคิดของผู้หญิง ขาดความเข้าใจในเรื่องของสังคมมนุษย์ และในหลาย ๆ ครั้งจะขาดความมั่นใจในเรื่องความรัก การแสดงออกจะออกมาในลักษณะ การช่วยเหลือหรือเสนอตัวช่วยเหลือ ไม่ว่าเพศตรงข้ามจะต้องการหรือไม่ แสดงให้เห็นถึงการกระทำที่ตอบสนองความต้องการของตัวเอง (ที่ต้องการแสดงออก โดยการช่วยเหลือ) การพูดจาจะแสดงออกมาในลักษณะการฟังมากกว่าการพูด และเมื่อใดที่เพศตรงข้ามต้องการถอนตัวออกจากความสัมพันธ์ อาการทางจิตใจจะทำให้เกิดเข้าใจที่ตัดพ้อต่อว่าเพศตรงข้าม และในหลายๆ เหตุการณ์ถ้าเพศตรงข้ามเกิดความสัมพันธ์ใหม่กับผู้ชายคนอื่น ที่มีลักษณะท่าทางไม่ดี ผิดแปลกไปจากตน จะทำให้เกิดความตัดพ้อต่อว่าเพศตรงข้าม และฝังความคิดว่า "ผู้หญิงในโลกรักแต่คนไม่ดี" ในขณะที่เพศตรงข้ามต้องการบุคคลที่สามารถวางตัวในสังคม และมีความมั่นคงทางอารมณ์ "ดีมากเกินไป" บางครั้งอันหมายถึง ทำดีเกินความพอดีอันเป็นการเสแสร้ง(Hypocrite)ซึ่งไม่ได้มาจากใจจริงๆ เป็นการเอาใจอีกฝ่ายจนทำให้อีกฝ่ายรู้สึกอึดอัด โดยฝ่ายชายที่มักจีบผู้หญิงในช่วงแรกๆ มักทุ่มตัวจีบฝ่ายหญิงแสร้งทำดีทุกอย่างเพื่อให้ฝ่ายหญิงตัดสินใจคบฝ่ายชาย โดยผู้ชายบางคนมักคิดว่าจะจีบผู้หญิงต้องมีเงิน จึงมักเอาใจผู้หญิงด้วยการออกค่าใช้จ่ายแทนฝ่ายหญิง เช่น เลี้ยงข้าว ออกค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้ฝ่ายหญิงเป็นประจำมากเกินไป ซึ่งถ้าผู้หญิงเริ่มรู้สึกตัวเข้าจะเห็นว่าการเสแสร้งทำดีด้วยเงินนั้นเป็นการดูถูกผู้หญิงอย่างมาก ซึ่งเป็นสาเหตุดังกล่าวที่ทำให้ผู้หญิงรำคาญผู้ชายที่เสแสร้งทำดีเพื่อจีบผู้หญิงโดยไม่ได้มาจากใจ หรือความรักที่แท้จริงๆ แต่ใช้เงิน หรือ องค์ประกอบทฤษฎีต่างๆ ในการจีบหญิง ซึ่งไม่ได้มาจากใจ ทฤษฎีขั้นบันไดของความรักสนับสนุนแนวความคิดของอาการดีเกินไปว่า ผู้หญิงโดยปกติจะถูกดึงดูดด้วย ลักษณะความมั่นคงทางด้านจิตใจ ฐานะ และความเป็นตัวของตัวเองของเพศตรงข้าม มากกว่ารูปร่างหน้าตา ในขณะเดียวกับที่ผู้ชายส่วนมากจะถูกดึงดูดด้วย รูปร่างและหน้าตาของเพศตรงข้าม มากกว่าปัจจัยอื่น ถึงแม้ว่าอาการดีเกินไป จะไม่ถูกนับเป็นอาการทางจิต แต่ผลที่เกิดขึ้นกับผู้ชายที่มีอาการ จะทำให้เกิดความท้อแท้ และหมดหวังในการเติบโตและเข้าใจลักษณะโครงสร้างของสังคมมนุษย์ วิธีแก้อาการเหล่านี้ แนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญทางการเข้าใจผู้คนและสังคม โดยการเปลี่ยนแนวการดำรงชีวิต เช่น การออกไปทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ เรียนรู้ลักษณะของสังคมรอบตัว ส่งผลให้เกิดความรู้ที่เปิดกว้างขึ้นในการเรียนรู้สังคม การวางตัวในสังคม และการวางตัวต่อเพศตรงข้ามตามมา เว็บไซต์จัดหาคู่ได้นำทฤษฎีนี้มาช่วยเหลือ ผู้ชายที่มีอาการเหล่านี้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในและอาการดีเกินไป

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในและอาการดีเกินไป มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): จิตวิทยา

จิตวิทยา

ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม.

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในและจิตวิทยา · จิตวิทยาและอาการดีเกินไป · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในและอาการดีเกินไป

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน มี 71 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาการดีเกินไป มี 4 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.33% = 1 / (71 + 4)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในและอาการดีเกินไป หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »