โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความรักและปรัชญา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ความรักและปรัชญา

ความรัก vs. ปรัชญา

วาดตัวอย่างคู่รัก โรมิโอกับจูเลียต ความรัก (Love) เป็นความรู้สึก สภาพและเจตคติต่าง ๆ ซึ่งมีตั้งแต่ความชอบระหว่างบุคคลหมายถึงอารมณ์การดึงดูดและความผูกพัน (attachment) ส่วนบุคคลอย่างแรงกล้าOxford Illustrated American Dictionary (1998) + Merriam-Webster Collegiate Dictionary (2000) ในบริบททางปรัชญา ความรักเป็นคุณธรรมแสดงออกซึ่งความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และความเสน่หาทั้งหมดของมนุษย์ ความรักเป็นแก่นของหลายศาสนา อย่างเช่นในวลี "พระเจ้าเป็นความรัก" ของศาสนาคริสต์ หรืออากาเปในพระวรสารในสารบบ ความรักยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นพฤติกรรมต่อตนเองหรือผู้อื่นซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความเห็นอกเห็นใจ หรือความเสน่หา คำว่ารักสามารถหมายความถึงความรู้สึก สภาพทางอารมณ์และเจตคติต่าง ๆ ซึ่งอาจมีตั้งแต่ความพอใจทั่วไปจนถึงความดึงดูดระหว่างบุคคลอย่างรุนแรง แต่โดยเจาะจงแล้ว ความรักสามารถหมายถึงความต้องการอย่างเสน่หาและความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งเป็นความหมายของความรักแบบโรแมนติก ความรักที่มีเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นความหมายของอีรอส (คำภาษากรีกหมายถึงความรัก) ความใกล้ชิดทางอารมณ์ ซึ่งเป็นความหมายของความรักกับบุคคลในครอบครัว หรือรักบริสุทธิ์ที่นิยามมิตรภาพ หรือความรักแบบอุทิศตัวแบบในทางศาสนา (J. Mascaró, translator) ความหลากหลายของการใช้และความหมายของคำว่ารักนี้ ประกอบกับความรู้สึกอันซับซ้อนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เป็นการยากที่จะนิยามความรักให้แน่นอน แม้จะเทียบกับสภาพอารมณ์อื่น ๆ แล้วก็ตาม วิทยาศาสตร์นิยามว่าสิ่งที่เข้าใจได้ว่าเป็นความรักนั้นเป็นสภาพที่มาจากวิวัฒนาการของสัญชาตญาณการเอาตัวรอด โดยพื้นฐานแล้วเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันเพื่อต่อต้านภัยคุกคามและเพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของสายพันธุ์ผ่านการสืบพันธุ์Helen Fisher. มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความรักและปรัชญา

ความรักและปรัชญา มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชีววิทยาพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานม่อจื๊อลัทธิขงจื๊อวิทยาศาสตร์อาริสโตเติลคุณธรรม

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ความรักและชีววิทยา · ชีววิทยาและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ห้องประชุมภายในราชบัณฑิตยสถาน (ที่ทำการเดิม) หลังการประชุมชำระพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นพจนานุกรมอธิบายศัพท์ภาษาไทยที่ราชบัณฑิตยสภา (หรือราชบัณฑิตยสถานเดิม) จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนหนังสือไทยให้เป็นระเบียบเดียวกัน ไม่ลักลั่น โดยมีการปรับปรุงแก้ไขตามลำดับเรื่อยมา เมื่อราชบัณฑิตยสภาจัดพิมพ์พจนานุกรมรุ่นหนึ่ง ๆ แล้วเสร็จ จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ออก ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด ให้หนังสือราชการและการศึกษาเล่าเรียนใช้ตัวสะกดตามพจนานุกรมรุ่นนั้น ๆ เสมอไป.

ความรักและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน · ปรัชญาและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ม่อจื๊อ

ม่อจื๊อ (พ.ศ. 74-พ.ศ. 153) เป็นนักปรัชญาชาวจีน นับได้ว่าเป็นคู่แข่งผู้หนึ่งของขงจื๊อ หลักคำสอนของม่อจื๊ออยู่ในหนังสือที่มีชื่อเดียวกับชื่อของเขา คือ ม่อจื๊อ ประกอบด้วยข้อเขียน 53 บท เป็นทั้งข้อเขียนของเขาเองและที่สานุศิษย์ช่วยกันเรียบเรียงต่อเติม และมามีอิทธิพลเหนือชาวจีนหลังจากที่เขาตายไปแล้วประมาณ 500 ปี ม่อจื๊อ มีชื่อจริงว่า มั่ว ตี๋ (墨翟) สถานที่เกิดไม่แน่นอน บ้างก็ว่ามาจากแคว้นสุ้ง (ปัจจุบันอยูระหว่างมณฑลเหอหนานและมณฑลซานตง) บ้างก็ว่ามาจากแคว้นเดียวกับขงจื๊อ คือมาจากแคว้นหลู่ แนวความคิดของม่อจื๊อเป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรงต่อแนวความคิดของขงจื๊ออย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าความต้องการที่เหมือนกันคือ เพื่อปรับปรุงให้สังคมดีขึ้น แต่ม่อจื๊อไม่นิยมวิธีการของขงจื๊อ โดยโจมตีว่า "เป็นวิธีการที่ไม่ได้ผลและเสียเวลา" ม่อจื๊อเน้นถึง ประโยชน์และความใช้ได้ของขนบธรรมเนียมประเพณีมากกว่าจะต้องยึดถือตามขงจื๊อทั้งหมด เชื่อในความเป็นไปของโลกหน้า สนับสนุนให้มนุษย์มีความรักซึ่งกันและกัน เขาเชื่อว่าความรักโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ วรรณะ ชนชั้น หรือความยากดีมีจน ประณามการทำสงคราม ความแตกต่างระหว่างแนวความคิดของขงจื๊อกับม่อจื๊อนี้ ทำให้ขงจื๊อได้รับขนานนามว่า "เป็นนักประมวลขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีมาใช้" แต่ม่อจื๊อเป็น "นักวิจารณ์ นักติชม" นอกจากนี้ม่อจื๊อยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำความรู้ทางด้านตรรกวิทยาเข้ามาใช้ในจีนเป็นคนแรก เกี่ยวกับตำแหน่งผู้ปกครองม่อจื๊อมีความเห็นว่า "ผู้ปกครองควรได้ตำแหน่งเพราะความดีและความสามารถส่วนตัวมากกว่าได้มาโดยการสืบตำแหน่ง ถ้าผู้ปกครองไม่มีความสามารถก็ควรจะยกตำแหน่งนี้ให้ที่ปรึกษาจะดีกว่า".

ความรักและม่อจื๊อ · ปรัชญาและม่อจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิขงจื๊อ

หอต้าเฉิง (Dàchéng) อาคารหลักของวัดขงจื๊อในชูฟู่ ลัทธิขงจื๊อ หรือศาสนาขงจื๊อ (Confucianism) เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น "งานสอนด้านจริยธรรม-สังคมการเมือง" ในยุคชุนชิว แต่ภายหลังพัฒนาส่วนที่เป็นอภิปรัชญาและจักรวาลวิทยาในสมัยราชวงศ์ฮั่น.

ความรักและลัทธิขงจื๊อ · ปรัชญาและลัทธิขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ความรักและวิทยาศาสตร์ · ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ความรักและอาริสโตเติล · ปรัชญาและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

คุณธรรม

ณธรรม (virtue) มีความหมายตามพจนานุกรมว่า "สภาพคุณงามความดี" เป็นลักษณะหรือคุณสมบัติทางบวกที่ถือกันว่าดีงามทางศีลธรรม ฉะนั้นจึงได้รับยกย่องเป็นรากฐานของหลักการและสัตศีลธรรมดี คุณธรรมส่วนบุคคลเป็นลักษณะเฉพาะที่เป็นค่านิยมว่าส่งเสริมความยิ่งใหญ่โดยรวมและปัจเจก ตรงข้ามกับคุณธรรม คือ ความชั่วร้าย (vice).

ความรักและคุณธรรม · คุณธรรมและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ความรักและปรัชญา

ความรัก มี 62 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปรัชญา มี 57 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 5.88% = 7 / (62 + 57)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความรักและปรัชญา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »