โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความผิดปกติทางจิต

ดัชนี ความผิดปกติทางจิต

วามผิดปกติทางจิต หรือ การป่วยทางจิต เป็นรูปแบบทางจิตวิทยาหรือวิกลภาพ ซึ่งอาจสะท้อนออกมาทางพฤติกรรม ที่โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับความทุกข์ทรมาน (distress) หรือความพิการ และไม่ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการปกติของวัฒนธรรมของบุคคล ความผิดปกติทางจิตโดยทั่วไปนิยามโดยการรวมว่าบุคคลรู้สึก กระทำ คิดหรือรับรู้อย่างไร ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับบริเวณใดบริเวณหนึ่งหรือการทำหน้าที่ของสมองหรือระบบประสาทส่วนที่เหลือ มักในบริบททางสังคม การยอมรับและการเข้าใจภาวะสุขภาพจิตเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและวัฒนธรรม และยังมีข้อแตกต่างในการนิยาม ประเมินและจำแนกอยู่บ้าง แม้เกณฑ์แนวปฏิบัติมาตรฐานจะใช้กันอย่างกว้างขวางก็ตาม ในหลายกรณี ดูเหมือนจะมีความต่อเนื่องระหว่างสุขภาพจิตและการป่วยทางจิต ทำให้การวินิจฉัยซับซ้อน ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ประชาชนกว่าหนึ่งในสามในประเทศส่วนใหญ่รายงานปัญหาที่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิตของเขา ซึ่งเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยประเภทความผิดปกติทางจิตที่พบทั่วไปหนึ่งชนิดหรือมากกว่าWHO International Consortium in Psychiatric Epidemiology (2000), Bulletin of the World Health Organization v.78 n.4 สาเหตุของความผิดปกติทางจิตมีหลากหลายและไม่ชัดเจนในบางกรณี และหลายทฤษฎีอาจรวมเอาการค้นพบจากหลายสาขาเข้าด้วยกัน มีการบริหารอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวชหรือในชุมชน และการประเมินกระทำโดยจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก และนักสังคมสงเคราะห์คลินิก โดยใช้หลายวิธี แต่มักอาศัยการสังเกตและการถาม ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจำนวนมากเป็นผู้ให้การรักษาทางคลินิก จิตบำบัดและการเยียวยาจิตเวชเป็นสองทางเลือกหลักในการรักษา เช่นเดียวกับการแทรกแซงทางสังคม การสนับสนุนจากเพื่อนและการช่วยเหลือตนเอง ในกรณีส่วนน้อยอาจมีการกักขังโดยไม่สมัครใจหรือการรักษาโดยไม่สมัครใจ ตามที่กฎหมายอนุญาต การประทับตราทางสังคม (social stigma) และการเลือกปฏิบัติเพราะสภาพจิต (mentalism หรือ sanism) สามารถซ้ำเติมความทุกข์ทรมานและความพิการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิต (หรือที่ถูกวินิจฉัยหรือตัดสินว่ามีความผิดปกติทางจิต) นำไปสู่ขบวนการทางสังคมจำนวนมากที่พยายามเพิ่มความเข้าใจและคัดค้านการกีดกันทางสังคม ปัจจุบันการป้องกันปรากฏในยุทธศาสตร์สุขภาพจิตบ้างแล้ว.

12 ความสัมพันธ์: พฤติกรรมการกีดกันทางสังคมระบบประสาทวัฒนธรรมสมองสังคมสุขภาพจิตองค์การอนามัยโลกจิตวิทยาจิตวิทยาคลินิกจิตแพทย์ความพิการ

พฤติกรรม

ติกรรม หมายความถึง การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวมเช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใ.

ใหม่!!: ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การกีดกันทางสังคม

การกีดกันทางสังคม (social exclusion) เป็นการขัดขวางทางสังคมและขับออกไปสุดขอบของสังคม คำนี้ใช้กันแพร่หลายในทวีปยุโรปและใช้ครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส มีการใช้ในหลายสาขาวิชารวมทั้งการศึกษา สังคมวิทยา จิตวิทยา รัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ การกีดกันทางสังคมเป็นกระบวนการซึ่งปัจเจกบุคคลหรือทั้งชุมชนถูกสกัดกั้น (หรือปฏิเสธการเข้าถึงอย่างเต็มที่)ซึ่งสิทธิ โอกาสและทรัพยากรต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ซึ่งสมาชิกของกลุ่มอื่นเข้าถึงได้เป็นปกติ และเป็นมูลฐานของบูรณาการทางสังคมในกลุ่มจำเพาะนั้น (เช่น ที่อยู่อาศัย การจ้างงาน การสาธารณสุข การร่วมมือของพลเมือง การมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยและกระบวนการทางกฎหมาย) บุคคลที่ถูกกีดกันทางสังคมอาจเรียกว่า "ผู้ที่ถูกสังคมปฏิเสธ" (marginal people; marginalisation) การตีตัวออกห่าง หรือการถอนสิทธิพิเศษอันเป็นผลจากการกีดกันทางสังคม สามารถเชื่อมโยงกับชนชั้นทางสังคม สถานะการศึกษา ความสัมพันธ์ในวัยเยาว์ มาตรฐานการครองชีพหรือทางเลือกส่วนบุคคลตามสมัยนิยมของบุคคล รูปแบบการเลือกปฏิบัติที่เป็นการกีดกันนี้ยังอาจใช้กับบุคคลที่มีความพิการ ชนกลุ่มน้อย กลุ่ม LGBT ผู้ใช้สารเสพติด ผู้ที่ถูกปล่อยให้สถาบันดูแล (institutional care leaver) ผู้สูงอายุและเยาวชน ผู้ที่ดูเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานที่ประชากรรับรู้อาจถูกกีดกันทางสังคมไม่ว่าชัดเจนหรือไม่ ผลของการกีดกันทางสังคมคือ ปัจเจกบุคคลหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบนั้นถูกขัดขวางจากการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในชีวิตเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของสังคมที่ตนอาศัยอยู.

ใหม่!!: ความผิดปกติทางจิตและการกีดกันทางสังคม · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

ใหม่!!: ความผิดปกติทางจิตและระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.

ใหม่!!: ความผิดปกติทางจิตและวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: ความผิดปกติทางจิตและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สังคม

กลุ่มคนในสังคม สังคม หรือ สังคมมนุษย์ คือการอยู่รวมกันของมนุษย์โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลายรูปแบบ เช่น อาชีพ อายุ เพศ ศาสนา ฐานะ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ สำหรับระบบสังคมที่รวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นนอกเหนือจากมนุษย์อาจใช้คำว่าระบบนิเวศ ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆกับสภาพแวดล้อม สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกันไม่ว่าจะในด้านใด เช่น ประเทศ จังหวัด และอื่นๆ และมักจะมีวัฒนธรรมหรือประเพณีรวมถึงภาษา การละเล่นและอาหารการกินของตนเองในแต่ละสังคม การที่มนุษย์รวมกันเป็นสังคมนั้น ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างและพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งอาจเป็นไปไม่ได้ถ้าต้องทำสิ่งนั้นโดยลำพัง ขณะเดียวกันสังคมที่พัฒนาหรือกำลังพัฒนาเป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงานอย่างมากนั้น ก็อาจส่งผลให้ประชากรที่ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือความรู้สึกว่าตนเองไม่มีส่วนร่วมในสังคมขึ้นมาได้.

ใหม่!!: ความผิดปกติทางจิตและสังคม · ดูเพิ่มเติม »

สุขภาพจิต

ตเป็นระดับความเป็นอยู่ดีทางจิตใจ หรือการปลอดโรคทางจิต เป็น "สถานะทางจิตของบุคคลที่ทำหน้าที่ได้ในระดับการปรับตัวได้ทางอารมณ์และพฤติกรรมที่น่าพอใจ" จากทัศนะจิตวิทยาเชิงบวกหรือสัมพฤตินิยม (holism) สุขภาพจิตอาจรวมความสามารถของบุคคลในการมีความสุขกับชีวิต และสร้างสมดุลระหว่างกิจกรรมชีวิตและความพยายามบรรลุความยืดหยุ่นทางจิตวิทยา องค์การอนามัยโลกระบุว่า สุขภาพจิตรวม "ความเป็นอยู่ดีอัตวิสัย การก่อผลตนเองที่รับรู้ อัตตาณัติ ความสามารถ การพึ่งระหว่างรุ่นและความตระหนักในศักยภาพตนในด้านปัญญาและอารมณ์ เป็นต้น" องค์การอนามัยโลกยังกล่าวอีกว่า ความเป็นอยู่ดีของปัจเจกบุคคลรวมอยู่ในการตระหนักถึงความสามารถของตน การจัดการกับความเครียดปกติของชีวิต การทำงานและการเข้ามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ต่อชุมชนของพวกเขา ความแตกต่างทางวัฒนธรรม การประเมินอัตวิสัย และทฤษฎีของมืออาชีพที่ขัดกันล้วนมีผลต่อการนิยาม "สุขภาพจิต" ทั้งสิ้น.

ใหม่!!: ความผิดปกติทางจิตและสุขภาพจิต · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: ความผิดปกติทางจิตและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยา

ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม.

ใหม่!!: ความผิดปกติทางจิตและจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยาคลินิก

ตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology) คือ สาขาหนึ่งของวิชาจิตวิทยา (Psychology) ที่มีองค์ประกอบของข้อมูลวิชาความรู้ที่หลากหลายทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ (Arts and Science) นอกเหนือไปจากวิชาจิตวิทยาในแขนงต่างๆ (จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย จิตวิทยาบุคลิกภาพ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาแรงจูงใจ จิตวิทยาการรับรู้ ฯลฯ) ที่จำเป็นต่อการเข้าใจบุคคลแล้ว วิชาจิตวิทยาคลินิกยังต้องการองค์ความรู้อื่นที่สำคัญ อาทิ องค์ความรู้ด้านจิตเวช(Psychiatry) จิตวิเคราะห์(Psychoanalysis) ประสาทวิทยา(Neurology) ประสาทจิตวิทยา(Neuropsychology) สารเสพติดและการติดยา นิติจิตเวช (Forensic Psychiatry) จิตเวชเด็กและวัยรุ่น การทำจิตบำบัดและการให้การปรึกษา(Psychotherapy and Counseling) พฤติกรรมบำบัด การฟื้นฟูดูแลทางด้านจิตใจ และ การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือทางจิตวิทยาคลินิก เป็นต้น ผู้รับบริการด้านจิตวิทยาคลินิก ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้ป่วยจิตเวชหรือผู้มีอาการทางจิตเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมอง ผู้ป่วยโรคทางด้านร่างกายอื่นๆที่มีปัญหาทางจิตใจอารมณ์หรือพฤติกรรมร่วมด้วย นอกจากนี้ บุคคลทั่วไปที่มีประสบการณ์ชีวิตที่ทำให้เกิดความเครียด ความเศร้า ความกลัว หรือความรู้สึกไม่สามารถปรับตัวกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ก็สามารถรับบริการจิตวิทยาคลินิกได้เช่นกัน หรือแม้แต่ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาครอบครัว คู่สมรส หรือปัญหาด้านสัมพันธภาพต่าง.

ใหม่!!: ความผิดปกติทางจิตและจิตวิทยาคลินิก · ดูเพิ่มเติม »

จิตแพทย์

ตแพทย์ (psychiatrist) เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านจิตเวชศาสตร์และได้รับการรับรองให้ทำการรักษาความผิดปกติทางจิตAmerican Psychiatric Association.

ใหม่!!: ความผิดปกติทางจิตและจิตแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

ความพิการ

ัญลักษณ์สากลของคนพิการ คนพิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประกาศกำหน.

ใหม่!!: ความผิดปกติทางจิตและความพิการ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Mental disorderการป่วยทางจิตโรคทางจิตใจ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »