เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าและระบบเบรตตันวูดส์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าและระบบเบรตตันวูดส์

ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า vs. ระบบเบรตตันวูดส์

ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade; ตัวย่อ: GATT) เป็นความตกลงระหว่างชาติเพื่อส่งเสริมประโยชน์ทางการค้าและเศรษฐกิจที่ร่วมกันลงนามเมื่อ พ.ศ. 2490 มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการค้าเสรีโดยการลดภาษีศุลกากรระหว่างชาติ การเจรจารอบที่ 8 ที่เรียกว่า "รอบอุรุกวัย" (Uruguay Round) เกิดปัญหาซับซ้อนและใช้เวลาเจรจากันนานถึง 7 ปี (พ.ศ. 2529-2536) และได้รับการต่อต้านมากที่สุดโดยเฉพาะเกษตรกรชาวฝรั่งเศส ผลการเจรจามีการตกลงลดภาษีมากถึงร้อยละ 40 และมีผลให้เกิดการจัดตั้งองค์การนานาชาติขึ้มาใหม่คือ "องค์การการค้าโลก" (WTO) เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง องค์การการค้าโลก จะทำหน้าที่ดูแลข้อตกลงย่อย 3 ข้อตกลง คือ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariff and Trade; GATT) ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services; GATS) และ ความตกลงว่าด้วยการค้าเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (The agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights; TRIPS) หมวดหมู่:การค้าระหว่างประเทศ หมวดหมู่:สนธิสัญญา หมวดหมู่:ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2490. ระบบการจัดการการเงินเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods system) สถาปนากฎสำหรับความสัมพันธ์พาณิชย์และการเงินระหว่างรัฐอุตสาหกรรมหลักของโลกช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระบบเบรตตันวูดส์เป็นตัวอย่างแรกของระเบียบการเงินที่มีการเจรจาอย่างสมบูรณ์โดยเจตนาเพื่อปกครองความสัมพันธ์การเงินระหว่างรัฐชาติเอกราช ลักษณะสำคัญของระบบเบรตตันวูดส์ คือ ทุกประเทศมีพันธกรณีใช้นโยบายการเงินซึ่งธำรงอัตราแลกเปลี่ยนโดยผูกเงินตราของประเทศกับทองคำและความสามารถของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเพื่อเชื่อมการเสียดุลการชำระเงินชั่วคราว นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นต้องจัดการการขาดความร่วมมือระหว่างประเทศอื่นและเพื่อป้องกันการลดค่าเงินตราแข่งขันด้วย ในการเตรียมบูรณะระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศระหว่างที่สงครามโลกครั้งที่สองกำลังดำเนินอยู่ ผู้แทน 730 คนจากทั้ง 44 ชาติฝ่ายสัมพันธมิตรประชุมกันที่โรงแรมเมาต์วอชิงตันในเบรตตันวูดส์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์ สหรัฐอเมริกา เพื่อการประชุมการเงินการคลังสหประชชาติ หรือเรียก การประชุมเบรตตันวูดส์ ผู้แทนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างวันที่ 1–22 กรกฎาคม 2487 และลงนามความตกลงในวันสุดท้าย ซึ่งเป็นการจัดตั้งระบบกฎ สถาบันและวิธีดำเนินงานเพื่อจัดระเบียบระบบการเงินระหว่างประเทศ ผู้วางแผนที่เบรตตันวูดส์สถาปนากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (IBRD) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธนาคารโลก องค์การเหล่านี้เริ่มปฏิบัติงานในปี 2488 หลังประเทศต่าง ๆ ให้สัตยาบันความตกลงมากแล้ว วันที่ 15 สิงหาคม 2514 สหรัฐอเมริกายุติการแปลงดอลลาร์สหรัฐเป็นทองคำฝ่ายเดียว นำให้ระบบเบรตตันวูดส์ถึงคราวสิ้นสุดและดอลลาร์กลายเป็นเงินเฟียต (fiat currency) การกระทำดังกล่าว ซึ่งเรียก นิกสันช็อก สร้างสถานการณ์ซึ่งดอลลาร์สหรัฐกลายเป็นเงินตราสำรองที่หลายรัฐใช้ ขณะเดียวกัน เงินตราอัตราแลกเปลี่ยนคงที่หลายสกุล (เช่น ปอนด์สเตอร์ลิง) กลายเป็นเงินอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวเสรีเช่นกัน หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ หมวดหมู่:มาตรฐานทองคำ หมวดหมู่:พ.ศ. 2487 หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ หมวดหมู่:ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมวดหมู่:การค้าระหว่างประเทศ หมวดหมู่:ธนาคารโลก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าและระบบเบรตตันวูดส์

ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าและระบบเบรตตันวูดส์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าและระบบเบรตตันวูดส์

ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า มี 4 ความสัมพันธ์ขณะที่ ระบบเบรตตันวูดส์ มี 7 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (4 + 7)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าและระบบเบรตตันวูดส์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: