เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าและชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าและชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง

ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า vs. ชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง

ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade; ตัวย่อ: GATT) เป็นความตกลงระหว่างชาติเพื่อส่งเสริมประโยชน์ทางการค้าและเศรษฐกิจที่ร่วมกันลงนามเมื่อ พ.ศ. 2490 มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการค้าเสรีโดยการลดภาษีศุลกากรระหว่างชาติ การเจรจารอบที่ 8 ที่เรียกว่า "รอบอุรุกวัย" (Uruguay Round) เกิดปัญหาซับซ้อนและใช้เวลาเจรจากันนานถึง 7 ปี (พ.ศ. 2529-2536) และได้รับการต่อต้านมากที่สุดโดยเฉพาะเกษตรกรชาวฝรั่งเศส ผลการเจรจามีการตกลงลดภาษีมากถึงร้อยละ 40 และมีผลให้เกิดการจัดตั้งองค์การนานาชาติขึ้มาใหม่คือ "องค์การการค้าโลก" (WTO) เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง องค์การการค้าโลก จะทำหน้าที่ดูแลข้อตกลงย่อย 3 ข้อตกลง คือ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariff and Trade; GATT) ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services; GATS) และ ความตกลงว่าด้วยการค้าเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (The agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights; TRIPS) หมวดหมู่:การค้าระหว่างประเทศ หมวดหมู่:สนธิสัญญา หมวดหมู่:ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2490. ชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most favoured nation; ตัวย่อ: MFN) เป็นสถานะซึ่งชาติหนึ่งให้แก่อีกชาติหนึ่งในการค้าระหว่างประเทศ ถึงแม้ว่าคำ ชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง จะฟังดูขัดแย้งก็ตาม เนื่องจากคำดังกล่าวหมายความว่า ชาติที่ได้รับสถานะดังกล่าวจะได้ข้อได้เปรียบทางการค้าทั้งหมดมากกว่าชาติอื่น เช่น อัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำ ในทางปฏิบัติแล้ว ชาติที่ได้รับสถานะชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งจะไม่ถูกปฏิบัติในระดับต่ำกว่าชาติอื่นซึ่งไม่ได้รับ สมาชิกขององค์การการค้าโลกจะปฏิบัติต่อสมาชิกอื่นในฐานะคู่ค้าที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งทั้งสิ้น สมาชิกขององค์การการค้าโลก ซึ่งรวมถึงประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมด จะต้องสมัครใจมอบสถานะดังกล่าวให้แก่กัน โดยมีข้อยกเว้นเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา เขตการค้าเสรีในภูมิภาค และสหภาพการค้า ร่วมกับหลักการว่าด้วยการทำสนธิสัญญา หลักการว่าด้วยชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งเป็นหลักการสำคัญหนึ่งในกฎหมายการค้าองค์การการค้าโลก หมวดหมู่:การค้าระหว่างประเทศ หมวดหมู่:กฎหมายระหว่างประเทศ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าและชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง

ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าและชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): องค์การการค้าโลก

องค์การการค้าโลก

องค์การการค้าโลก (World Trade Organization, WTO) เป็นองค์การนานาชาติสังกัดองค์การสหประชาชาติ (UN) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงทางด้านการค้าระหว่างชาติ เป็นเวทีสำหรับการเจรจาต่อรอง ตกลงและขจัดข้อขัดแย้งในเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางการค้าและการบริการระหว่างประเทศสมาชิก องค์การการค้าโลกจัดตั้งขึ้นแทนความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีสมาชิก 164 ประเทศและดินแดน องค์การการค้าโลกมีงบประมาณปี..

ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าและองค์การการค้าโลก · ชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งและองค์การการค้าโลก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าและชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง

ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า มี 4 ความสัมพันธ์ขณะที่ ชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง มี 2 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 16.67% = 1 / (4 + 2)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าและชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: