โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความดันโลหิตสูง

ดัชนี ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

113 ความสัมพันธ์: ชะเอมเทศฟีโอโครโมไซโตมากลุ่มภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันกลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิดกลุ่มอาการคุชชิงกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดการชักการบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจการอักเสบการถ่ายภาพรังสีทรวงอกการทบทวนวรรณกรรมการทำหน้าที่ของไตการคาดหมายคงชีพการตรวจปัสสาวะการตั้งครรภ์การตายปริกำเนิดการฉีกเซาะของเอออร์ตาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่การเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวกาเฟอีนภาวะสมองเสื่อมภาวะสารไขมันสูงในเลือดภาวะหัวใจวายภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจายมิลลิเมตรปรอทยาลดความดันยาขับปัสสาวะยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ยีนระบบขับถ่ายปัสสาวะระบบต่อมไร้ท่อระบบประสาทซิมพาเทติกวิลเลียม ฮาร์วีย์วิตามินดีสภาพโตเกินไม่สมส่วนสมองบวมสารยับยั้งเอซีอีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอดสุราสงครามโลกครั้งที่สองสเตอรอยด์หมดสติชั่วคราวหลอดเลือดฝอยหลอดเลือดแดงหวงตี้หัวใจอัมพาตแบบเบลล์อัตราหัวใจเต้น...อาการรู้สึกหมุนอาการหายใจลำบากอายุครรภ์องค์การอนามัยโลกฮิปพอคราทีสฮีมาโทคริตท่อเลือดแดงโป่งพองท้ายทอยดัชนีมวลกายความชุกของโรคความละเหี่ยความวิตกกังวลความดันโลหิตสูงวิกฤตความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุความดันเลือดคอเลสเตอรอลคอเครน (องค์การ)คอเคเซียนตาตาบอดต่อมหมวกไตซัลฟานิลาไมด์ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีปลิงปวดศีรษะปอดบวมน้ำปาสกาล (หน่วยวัด)แมกนีเซียมแคลเซียมแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์โพแทสเซียมโรคโรคพิษแห่งครรภ์ระยะชักโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชักโรคระบบหัวใจหลอดเลือดโรคหลอดเลือดสมองโรคหลอดเลือดแดงแข็งโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจโรคอ้วนโรคของหลอดเลือดส่วนปลายโรคไตโรคไตเรื้อรังโทมัส ยังโคเคนโซเดียมโซเดียมคลอไรด์โปรตีนไวน์ไอบิวพรอเฟนไข้ไตไตรกลีเซอไรด์ไตวายไตเสียหายเฉียบพลันเบาหวานเบียร์เบตาบล็อกเกอร์เกเลนเมแทบอลิซึมเอสโตรเจนเอออร์ตาเจ็บหน้าอกเดอะแลนซิต ขยายดัชนี (63 มากกว่า) »

ชะเอมเทศ

''Glycyrrhiza glabra'' ชะเอมเทศ (มาจากภาษากรีกแปลว่า "รากหวาน") เป็นพรรณไม้ที่มีอายุนานหลายปี ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-2 เมตร มีรากใหญ่แตกแขนงจำนวนมาก ใบเป็นใบประกอบลักษณะเป็นรูปขนนก ก้านใบย่อยสั้นมาก แผ่นใบรูปไข่ มีใบย่อยประมาณ 9-17 ใบ ส่วนก้านใบย่อยนั้นจะสั้นมาก ใบจะเป็นสีเขียวอมเหลือง ดอกจะออกเป็นช่อ กลีบดอกจะเป็นสีม่วงอ่อน ๆ และก้านดอกจะสั้นมาก ฝักจะมีลักษณะแบน และผิวข้างนอกจะเรียบ นุ่ม.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและชะเอมเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ฟีโอโครโมไซโตมา

ฟีโอโครโมไซโตมา (pheochromocytoma) เป็นเนื้องอกประสาทต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine tumor) ของต่อมหมวกไตส่วนใน เจริญมาจากเซลล์โครมาฟิน (chromaffin cell) หรือเนื้อเยื่อโครมัฟฟินนอกต่อมหมวกไตที่ไม่ได้ย้ายที่มาตอนเกิด และหลั่งสารคาเตโคลามีน (catecholamine) จำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นอะดรีนาลีนหากเนื้องอกอยู่ในต่อมหมวกไต และนอร์อะดรีนาลีน พาราแกงกลิโอมา (paraganglioma) นอกต่อมหมวกไต (บางครั้งเรียกว่าฟีโอโครโมไซโตมานอกต่อมหมวกไต) เป็นเนื้องอกที่มีความใกล้เคียงกันแต่พบน้อยกว่ามาก ซึ่งเจริญมาจากปมประสาทของระบบประสาทซิมพาเทติก จะตั้งชื่อตามตำแหน่งทางกายวิภาคที่เก.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและฟีโอโครโมไซโตมา · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

กลุ่มภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือ กลุ่มอาการหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน (acute coronary syndrome, ACS) หมายภึงกลุ่มของอาการใดๆ ที่เป็นผลจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ อาการที่ทำให้นึกถึงโรคกลุ่ม ACS ที่พบบ่อยที่สุดคืออาการเจ็บหน้าอกโดยเฉพาะอาการเจ็บเค้นหัวใจ ที่ร้าวไปยังแขนซ้ายหรือมุมกราม มีลักษณะปวดเหมือนถูกกดทับ และสัมพันธ์กับอาการคลื่นไส้ เหงื่อแตก ส่วนใหญ่เกิดจากโรคสำคัญๆ 3 อย่าง ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดชนิดมีการยกของช่วง ST (STEMI) (30%), โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดชนิดไม่มีการยกของช่วง ST (NSTEMI) (25%) และอาการปวดเค้นไม่เสถียร (UA) (38%) หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:โรคหัวใจขาดเลือด.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและกลุ่มภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด

กลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด (infant respiratory distress syndrome (IRDS), neonatal respiratory distress syndrome, surfactant deficiency disorder (SDD), hyaline membrane disease (HMD)) เป็นกลุ่มอาการอย่างหนึ่งที่เกิดกับทารกคลอดก่อนกำหนด เกิดจากการที่โครงสร้างปอดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ และยังไม่ทันสร้างสารสร้างแรงตึงผิว (surfactant) ขึ้นในถุงลม นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายของทารกไม่สามารถสร้างสารเหล่านี้ได้เช่นกัน ทารกแรกเกิด 1% จะป่วยด้วยภาวะนี้ และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกที่มีอายุครรภ์มากขึ้นจะพบเป็นภาวะนี้น้อยลง โดยทารกที่คลอดที่อายุครรภ์ 26-28 สัปดาห์ พบมีภาวะนี้ประมาณ 50% และทารกที่คลอดที่อายุครรภ์ 30-31 สัปดาห์ พบประมาณ 25% และยังพบบ่อยกว่าในทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นเบาหวาน และในทารกแฝดคนที่คลอดตามมาทีหลัง หมวดหมู่:โรคระบบหายใจ หมวดหมู่:เวชบำบัดวิกฤต หมวดหมู่:ความผิดปกติของระบบหายใจและระบบหัวใจและหลอดเลือดที่พบเฉพาะในระยะปริกำเนิด หมวดหมู่:วิทยาทารกแรกเกิด.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและกลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการคุชชิง

กลุ่มอาการคุชชิง บางครั้งเรียก hyperadrenocorticism หรือ hypercorticism เป็นความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อที่ทำให้มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในเลือดสูง (hypercortisolism) อาจเกิดจากการได้รับยาเสตียรอยด์ หรือจากเนื้องอกที่หลั่งคอร์ติซอลหรือฮอร์โมน adrenocorticotropic (ACTH) โรคหนึ่งเรียกว่าโรคคุชชิงเป็นสาเหตุหนึ่งของกลุ่มอาการนี้ เกิดจากการมีเนื้องอก (อะดีโนมา) ที่ต่อมใต้สมอง แล้วหลั่งฮอร์โมน ACTH ปริมาณมากออกมาทำให้มีการสร้างคอร์ติซอลมาก เฉพาะโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด โรคนี้ได้รับการอธิบายโดยนายแพทย์ฮาร์วีย์ คุชชิง ในปี..

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและกลุ่มอาการคุชชิง · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial infarction; MI) หรือรู้จักกันว่า อาการหัวใจล้ม (heart attack) เกิดเมื่อเลือดไหลสู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวใจลดลงหรือหยุดไหล ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ อาการที่พบมากที่สุด คือ เจ็บอกหรือแน่นหน้าอกซึ่งอาจร้าวไปไหล่ แขน หลัง คอหรือกราม บ่อยครั้งเจ็บบริเวณกลางอกหรืออกด้านซ้ายและกินเวลาไม่ใช่เพียงไม่กี่นาที อาการแน่นหน้าอกบางทีอาจรู้สึกคล้ายอาการแสบร้อนกลางอก อาการอื่น ได้แก่ การหายใจลำบาก คลื่นไส้ รู้สึกหมดสติ เหงื่อแตก หรือรู้สึกล้า ผู้ป่วยประมาณ 30% มีอาการไม่ตรงแบบ หญิงมักมีอาการไม่ตรงแบบมากกว่าชาย ในผู้ป่วยอายุกว่า 75 ปีขึ้นไป ประมาณ 5% เคยมี MI โดยไม่มีหรือมีประวัติอาการเพียงเล็กน้อย MI ครั้งหนึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเสียจังหวะ ช็อกเหตุหัวใจ หรือหัวใจหยุด MI ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน ไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด กินอาหารเลวและบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินเป็นต้น กลไกพื้นเดิมของ MI ปกติเกิดจากการแตกของแผ่นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerotic plaque) ทำให้เกิดการอุดกั้นสมบูรณ์หลอดเลือดหัวใจ MI ที่เกิดจากการบีบเกร็งของหลอดเลือดหัวใจซึ่งอาจเกิดได้จากโคเคน ความเครียดทางอารมณ์อย่างสำคัญ และความเย็นจัด เป็นต้น นั้นพบน้อย มีการทดสอบจำนวนหนึ่งเป็นประโยชน์ช่วยวินิจฉัยรวมทั้งภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบเลือด และการบันทึกภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจ ECG ซึ่งเป็นบันทึกกัมมันตภาพไฟฟ้าของหัวใจ อาจยืนยัน MI ชนิด ST ยก (STEMI) หากมีการยกของ ST การทดสอบที่ใช้ทั่วไปมีทั้งโทรโปนินและครีเอตีนไคเนสเอ็มบีที่ใช้น้อยกว่า การรักษา MI นั้นสำคัญที่เวลา แอสไพรินเป็นการรักษาทันทีี่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สงสัยเป็น MI อาจใช้ไนโตรกลีเซอรีนหรือโอปิออยด์เพื่อช่วยระงับอาการเจ็บอก ทว่า ยาทั้งสองไม่ได้เพิ่มผลลัพธ์โดยรวมของการรักษา การให้ออกซิเจนเสริมอาจให้ในผู้ป่วยระดับออกซิเจนต่ำหรือหายใจกระชั้น ในผู้ป่วย STEMI การรักษาเป็นไปเพื่อพยายามฟื้นฟูการไหลเวียนโลหิตสู่หัวใจ และอาจรวมถึงการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (percutaneous coronary intervention, PCI) ซึ่งมีการผลักหลอดเลือดแดงให้เปิดออกและอาจถ่ายขยาย หรือการสลายลิ่มเลือด ซึ่งมีการใช้ยาเพื่อขจัดบริเวณที่เกิดการอุดกั้น ผู้มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดแบบไม่มี ST ยก (NSTEMI) มักรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเฮปาริน และการใช้ PCI อีกครั้งในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง ในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดหัวใจหลายเส้นและโรคเบาหวาน อาจแนะนำการผ่าตัดทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจแทนศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือด หลังเป็น MI ตรงแบบแนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการรักษาระยะยาวด้วยแอสไพริน เบตาบล็อกเกอร์ และสแตติน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดทั่วโลกประมาณ 15.9 ล้านครั้งในปี 2558 กว่า 3 ล้านคนมี MI ชนิด ST ยก และกว่า 4 ล้านคนเป็น NSTEMI สำหรับ STEMI เกิดในชายมากกว่าหญิงสองเท่า มีผู้ป่วย MI ประมาณหนึ่งล้านคนทุกปีในสหรัฐ ในประเทศพัฒนาแล้ว โอกาสเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI อยู่ี่ประมาณ 10% อัตรา MI สำหรับอายุต่าง ๆ ลดลงทั่วโลกระหว่างปี 2533 ถึง 2553 ในปี 2554 MI เป็นภาวะที่มีราคาแพงที่สุดห้าอันดับแรกระหว่างการให้เข้าโรงพยาบาลผู้ป่วยในในสหรัฐ โดยมีมูลค่าประมาณ 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการรักษาในโรงพยาบาล 612,000 ครั้ง.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การชัก

ัก (seizure) มีนิยามทางการแพทย์หมายถึงภาวะซึ่งมีภาวะกระตุ้นของเซลล์ประสาทในสมองอย่างมากผิดปกติ (abnormal excessive or synchronous neuronal activity in the brain) ซึ่งอาจแสดงอาการให้เห็นได้หลายอย่าง ตั้งแต่เป็นการชักเกร็งกระตุกอย่างรุนแรง ไปจนถึงเพียงเหม่อลอยชั่วขณ.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและการชัก · ดูเพิ่มเติม »

การบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

การบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและการบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง · ดูเพิ่มเติม »

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การติดเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าห้วใจแบบ 12 ขั้วไฟฟ้า การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจทางการแพทย์อย่างหนึ่งเพื่อดูกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วยการรับสัญญาณไฟฟ้าผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดบนผิวหนังบริเวณหน้าอก และบันทึกหรือแสดงบนจอภาพด้วยอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกร่างก.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

การอักเสบ

ฝีบนผิวหนัง แสดงลักษณะแดงและบวม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการอักเสบ (หรืออาจเป็นสีดำมากยิ่งขึ้นในกลุ่มคนผิวเข้ม) วงแหวนของเนื้อเยื่อเซลล์ที่ตายล้อมรอบพื้นที่ที่มีหนอง การอักเสบ (Inflammation) เป็นการตอบสนองทางชีวภาพที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อหลอดเลือดต่อสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย เช่นเชื้อโรค เซลล์ที่เสื่อมสภาพ หรือการระคายเคือง ซึ่งเป็นความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่จะนำสิ่งกระตุ้นดังกล่าวออกไปและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย การอักเสบไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ แม้ว่าการอักเสบหลายๆ ครั้งก็เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เพราะว่าการติดเชื้อนั้นเกิดจากจุลชีพก่อโรคภายนอกร่างกาย แต่การอักเสบคือการตอบสนองของร่างกายเพื่อต่อต้านจุลชีพก่อโรคหรือต่อปัจจัยอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บ สารเคมี สิ่งแปลกปลอม หรือภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง หากไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น เชื้อโรคจะไม่ถูกกำจัดออกไปและแผลจะไม่ถูกรักษาให้หาย ซึ่งอาจเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อมากขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ทั้งนี้อาการอักเสบที่มีมากเกินไปก็สามารถเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่นไข้ละอองฟาง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง และข้ออักเสบรูมาทอยด์ ด้วยเหตุผลนี้เอง ร่างกายจึงต้องมีกระบวนการควบคุมการอักเสบอย่างใกล้ชิด การอักเสบอาจถูกแบ่งออกเป็นแบบ เฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation) เป็นการต่อต้านวัตถุอันตรายของร่ายกายในระยะเริ่มแรก โดยเกิดการเคลื่อนที่ของพลาสมาและเม็ดเลือดขาวจากเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่อักเสบ กระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนนี้เองที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งต้องอาศัยส่วนร่วมของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อที่เสียหาย การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) นำไปสู่การเปลี่ยนชนิดของเซลล์ที่นำเสนอในบริเวณอักเสบ และมีลักษณะพิเศษของการทำลายที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรักษาเนื้อเยื่อจากกระบวนการอัก.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและการอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายภาพรังสีทรวงอก

การถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest radiograph) หรือการตรวจเอกซเรย์ทรวงอก (chest x-ray, CXR) หรืออาจเป็นที่รู้จักในชื่อการเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจทางรังสีวิทยาอย่างหนึ่ง โดยถ่ายภาพทรวงอกด้วยรังสีเอกซ์ ใช้ในการตรวจวินิจฉัยภาวะต่างๆ เกี่ยวกับทรวงอก อวัยวะภายใน และโครงสร้างข้างเคียง การถ่ายภาพรังสีทรวงอกเป็นการถ่ายภาพรังสีที่ทำบ่อยที่สุดอย่างหนึ่ง และช่วยในการวินิจฉัยโรคและภาวะต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่นเดียวกับการตรวจอื่นๆ ทางรังสีวิทยา การถ่ายภาพรังสีทรวงอกทำโดยฉายรังสีเอกซ์ผ่านทรวงอกลงบนฉากรับ เกิดเป็นภาพถ่ายรังสี โดยทั่วไปแล้วผู้รับการตรวจจะได้รับรังสีประมาณ 0.06 mSv ต่อครั้ง หมวดหมู่:ทรวงอก หมวดหมู่:การถ่ายภาพรังสีเอกซ์.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและการถ่ายภาพรังสีทรวงอก · ดูเพิ่มเติม »

การทบทวนวรรณกรรม

การทบทวนวรรณกรรม (literature review) เป็นเนื้อหาหลักส่วนหนึ่งในการเขียนรายงานการวิจัย โดยเน้นอธิบายเกี่ยวกับงานวิจัยหรือความรู้ในหัวข้อเดียวกันหรือใกล้เคียงในอดีต โดยการทบทวนวรรณกรรมนั้นมีจุดหมายในการรวบรวมข้อมูลปัจจุบันของผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมมักจะพบได้ในงานเขียนด้านวิชาการ เช่นในวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือผลงานในวารสารวิชาการ การทบทวนวรรณกรรมมักจะถูกลำดับเป็นส่วนที่สองของงานเขียนต่อจากบทนำ และมักจะอยู่ก่อนหน้าเป้าหมายงานวิจัย และขั้นตอนการวิจั.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและการทบทวนวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การทำหน้าที่ของไต

ในวักกะวิทยา (วิทยาไต) การทำงานของไตอาจหมายถึงค่าที่ใช้บ่งชี้สภาพของไต หรือหน้าที่โดยปกติของไตก็ได้ อัตราการกรองที่โกลเมอรูลัสคืออัตราการไหลของสารน้ำที่ถูกกรองผ่านไต อัตราการชำระครีเอทินีนคือปริมาตรของพลาสมา (น้ำเลือด) ที่ถูกกรองเอาครีเอทินีนออกไปจนหมด ในหนึ่งหน่วยเวลา มีประโยชน์สามารถใช้ประมาณค่า GFR ได้ เนื่องจากการวัด GFR ที่แท้จริง มีความยุ่งยากมากจนไม่อาจทำได้ในการให้บริการสาธารณสุขปกติ โดยค่า CrCl จะสูงกว่า GFR จริงๆ เนื่องจากร่างกายมีการขับครีเอทินีนผ่านกลไกอื่นที่ไม่ใช่การกรองด้วย ทั้งนี้กลไกนี้ยับยั้งได้ด้วยยา cimetidine หมวดหมู่:สรีรวิทยาของไต.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและการทำหน้าที่ของไต · ดูเพิ่มเติม »

การคาดหมายคงชีพ

การคาดหมายคงชีพ (life expectancy) เป็นค่าเฉลี่ยทางสถิติจำนวนปีที่มนุษย์คนหนึ่งมีชีวิต โดยสันนิษฐานภาวะการตายระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด ค่านี้แปรผันตามภูมิภาคและยุคสมัย ในยุคสำริดและยุคเหล็ก การคาดหมายคงชีพ คือ 26 ปี แต่ค่าเฉลี่ยของโลกใน..

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและการคาดหมายคงชีพ · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจปัสสาวะ

การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis หรือ UA) คือ วิธีการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ R&M (Routine and Microscopy) เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจพื้นฐานสำหรับการวินิจฉัยทางการแพทย์ การตรวจปัสสาวะสามารถหาค่าของสารหรือเซลล์ต่าง ๆ รวมทั้ง คุณสมบัติของปัสสาวะ เช่น ความถ่วงจำเพาะ ได้ โดยสามารถตรวจได้จากแถบตรวจปัสสาวะ (Urine test strip) ซึ่งจะอ่านผลจากการเปลี่ยนแปลงของสีและการตรวจปัสสาวะโดยใช้กล้องจุลทรรศน.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและการตรวจปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครร.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและการตั้งครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

การตายปริกำเนิด

การตายปริกำเนิดหรือภาวะการตายปริชาตะ (perinatal mortality) คือการเสียชีวิตของตัวอ่อนหรือทารกแรกเกิดในช่วงของการคลอด ก่อนการคลอด และหลังการคลอด เป็นข้อมูลสำคัญที่นำไปคำนวณเป็นอัตราภาวะการตายปริกำเนิด (-ปริชาตะ) (perinatal mortality rate) คำนี้มีนิยามหลากหลายขึ้นอยู่กับว่าจะนับรวมถึงการเสียชีวิตก่อนคลอดนานเท่าใดหรือหลังคลอดนานเท่าใด องค์การอนามัยโลกได้ให้คำนิยามของการตายปริกำเนิดเอาไว้ว่าเป็น "จำนวนของทารกตายคลอด และการตายของทารกภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด ต่อจำนวน 1,000 การเกิดมีชีพ" แต่ก็มีนิยามอื่นๆ ที่ใช้อยู่เช่นกัน.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและการตายปริกำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

การฉีกเซาะของเอออร์ตา

การฉีกเซาะของเอออร์ตา (aortic dissection) คือการที่เกิดการฉีดขาดขึ้นในผนังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาซึ่งทำให้มีเลือดไหลเข้าไประหว่างชั้นของผนังหลอดเลือดทำให้ชั้นผนังหลอดเลือดแยกออกจากกัน ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ มีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วแม้ได้รับการรักษาทันท่วงทีก็ตาม หากการฉีกเซาะทำให้เกิดการฉีกขาดของชั้นผนังหลอดเลือดเอออร์ตาทั้งหมดสามชั้นจะทำให้มีการเสียเลือดอย่างมากและรวดเร็ว การฉีกเซาะของเอออร์ตาที่มีการฉีกขาดของหลอดเลือดทุกชั้นมีอัตราการตาย 80% และผู้ป่วย 50% เสียชีวิตก่อนจะมาถึงโรงพยาบาล ถ้าการฉีกเซาะมีขนาดถึง 6 เซนติเมตร ผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉินทันที.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและการฉีกเซาะของเอออร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การให้ทารกกินนมจากอกแม่ สัญลักษณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สากล (Matt Daigle, ผู้ชนะการประกวดของนิตยสาร Mothering ปี ค.ศ. 2006) การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (breastfeeding, nursing) คือการป้อนนมให้กับทารกหรือเด็กด้วยน้ำนมจากหน้าอกของผู้หญิง ทารกจะมีกลไกอัตโนมัติในการดูดที่จะทำให้เขาสามารถดูดและกลืนน้ำนมได้ มีหลักฐานจากการทดลองชี้ให้เห็นว่า น้ำนมคนเป็นแหล่งสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก แต่ผู้เชี่ยวชาญยังมีความเห็นไม่ตรงกันว่าควรให้ทารกกินนมแม่นานเท่าไรจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด และจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเท่าไรจากการให้สารทดแทนน้ำนมคนแก่ทารก ทารกอาจจะกินน้ำนมจากอกของแม่ของตัวเองหรือผู้หญิงอื่นที่ร่างกายสามารถผลิตน้ำนมได้ (ซึ่งอาจจะเรียกว่า แม่นม) น้ำนมอาจจะถูกบีบออกมา (เช่น ใช้เครื่องปั๊มนม) และป้อนให้ทารกโดยใช้ขวด และอาจเป็นน้ำนมที่รับบริจาคมาก็ได้ สำหรับแม่หรือครอบครัวที่ไม่สามารถหรือไม่ต้องการให้ลูกกินนมแม่ก็อาจให้สารทดแทนนมแม่แทน การศึกษาวิจัยยังมีความขัดแย้งกันเกี่ยวกับคุณค่าสารอาหารในสารทดแทนนมแม่ เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าการให้ทารกกินนมผสมที่มีขายในท้องตลาดจะไปรบกวนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้งในทารกที่คลอดตามกำหนดและคลอดก่อนกำหนด ในหลายๆ ประเทศการให้ลูกกินสารทดแทนนมแม่ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงในทารกเพิ่มขึ้น แต่ในพื้นที่ที่มีน้ำสะอาดมีเพียงพอ การให้ลูกกินสารทดแทนนมแม่ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ มีนโยบายของรัฐบาลและความพยายามจากหน่วยงานนานาชาติในการส่งเสริมและสนับสนุนให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเลี้ยงทารกในช่วงปีแรกและนานกว่านั้น องค์การอนามัยโลกและสถาบันกุมารแพทย์ของอเมริกา (American Academy of Pediatrics) ก็มีนโยบายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว

การเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว (altered level of consciousness) คือภาวะใดๆ ก็ตาม ที่ความตื่นตัวของบุคคลไม่อยู่ในระดับปกติ โดยระดับความรู้สึกตัว (level of consciousness) คือการวัดระดับความตื่นตัวของบุคคลที่ทำให้มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อม การมีระดับความรู้สึกตัวลดลงเล็กน้อยอาจจัดอยู่ในภาวะง่วงงุน.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว · ดูเพิ่มเติม »

กาเฟอีน

กาเฟอีน (caféine) เป็นสารแซนทีนอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดได้แก่ เมล็ดกาแฟ, ชา, โคล่า กาเฟอีนถือว่าเป็นยากำจัดศัตรูพืชโดยธรรมชาติ เพราะมันออกฤทธิ์ทำให้อัมพาต และสามารถฆ่าแมลงบางชนิดได้ กาเฟอีนยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้ เครื่องดื่มหลายชนิดมีกาเฟอีนเป็นส่วนผสม เช่นในกาแฟ น้ำชา น้ำอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและกาเฟอีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะสมองเสื่อม

วะสมองเสื่อม หรือ โรคสมองเสื่อม (มาจากภาษาละติน de- "ออกไป" และ mens มาจาก mentis "จิตใจ") เป็นภาวะการเสื่อมถอยของหน้าที่การรับรู้อันเนื่องมาจากความเสียหายหรือโรคที่เกิดในสมองซึ่งมักเกิดจากการเสื่อมถอยไปตามอายุ แม้ว่าภาวะสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นโดยปกติในประชากรผู้สูงอายุ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ใหญ่ในทุกระยะ สำหรับกลุ่มอาการที่คล้ายคลึงกันอันเนื่องมาจากหน้าที่ของสมองผิดปกติในประชากรที่อายุน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ความผิดปกติในพัฒนาการ (developmental disorders) ภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการที่ไม่จำเพาะซึ่งเกิดจากความเสื่อมของการรับรู้ไม่ว่าจะเป็นความจำ, ความใส่ใจ, ภาษา, และการแก้ปัญหา ซึ่งหน้าที่การรับรู้ในระดับสูงจะได้รับผลกระทบก่อน ในระยะท้ายๆ ของภาวะสมองเสื่อมผู้ป่วยจะมีอาการไม่รับรู้เวลา (ไม่รู้ว่าเป็นวัน เดือน หรือปีอะไร) สถานที่ (ไม่รู้ว่ากำลังอยู่ที่ไหน) และบุคคล (ไม่รู้จักบุคคลว่าเป็นใคร) กลุ่มอาการของภาวะสมองเสื่อมนั้นจัดแบ่งออกได้เป็นประเภทย้อนกลับได้ และย้อนกลับไม่ได้ ซึ่งขึ้นกับสมุฏฐานโรค (etiology) ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมน้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งสามารถกลับมาเป็นปกติหลังจากการรักษาได้ สาเหตุของโรคเกิดจากการดำเนินโรคที่จำเพาะที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับการทำหน้าที่ผิดปรกติของอวัยวะอื่นๆ เช่น อาการหายใจสั้น, ดีซ่าน, หรืออาการปวดซึ่งเกิดมาจากสมุฏฐานต่างๆ กัน หากแพทย์เก็บประวัติผู้ป่วยได้ไม่ดีอาจทำให้สับสนกับกลุ่มอาการเพ้อ (delirium) เนื่องจากมีอาการแสดงที่คล้ายคลึงกันมาก อาการป่วยทางจิต (mental illness) บางชนิด เช่น ภาวะซึมเศร้า (depression) และโรคจิต (psychosis) อาจทำให้เกิดอาการแสดงซึ่งต้องแยกออกจากภาวะสมองเสื่อมและอาการเพ้อ.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและภาวะสมองเสื่อม · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะสารไขมันสูงในเลือด

ภาวะสารไขมันสูงในเลือด (hyperlipidemia, hyperlipidaemia) หรือภาวะไลโพโปรตีนสูงในเลือด (hyperlipoproteinemia) คือ การมีระดับลิพิดและ/หรือไลโพโปรตีนตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปสูงในเลือดผิดปกติ เป็นภาวะสารไขมันในเลือดผิดปกติ (dyslipidemia) ที่พบบ่อยที่สุด ลิพิด (โมเลกุลละลายในไขมัน) ถูกขนส่งในแคปซูลโปรตีน ขนาดของแปคซูลนั้นหรือไลโพโปรตีนจะตัดสินความหนาแน่นของแคปซูล ความหนาแน่นของไลโพโปรตีนและประเภทของอะโพไลโพโปรตีนที่บรรจุในแคปซูลตัดสินจุดหมายของอนุภาคและอิทธิพลของมันในเมแทบอลิซึม ภาวะสารไขมันสูงในเลือดแบ่งเป็นชนิดปฐมภูมิและทุติยภูมิ ภาวะสารไขมันสูงในเลือดชนิดปฐมภูมิปกติเกิดจากสาเหตุทางกรรมพันธุ์ (เช่น การกลายพันธุ์ในโปรตีนตัวรับ) ส่วนภาวะสารไขมันสูงในเลือดชนิดทุติยภูมิเกิดจากสาเหตุพื้นเดิม เช่น เบาหวาน ความผิดปกติของลิพิดและลิโปโปรตีนพบบ่อยในประชากรทั่วไป และถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ดัดแปรได้ของโรคหัวใจหลอดเลือดเนื่องจากอิทธิพลของลิพิดและลิโปโปรตีนต่อโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง นอกเหนือจากนี้ ภาวะสารไขมันสูงในเลือดบางแบบยังอาจชักนำให้เกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน หมวดหมู่:ความผิดปกติทางลิพิด.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและภาวะสารไขมันสูงในเลือด · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะหัวใจวาย

วะหัวใจวาย หรือภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure (HF)) มักใช้หมายถึงภาวะหัวใจวายเรื้อรัง (chronic heart failure (CHF)) เกิดเมื่อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพียงพอเพื่อคงการไหลของเลือดเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย คำว่า โรคหัวใจเลือดคั่ง (Congestive heart failure (CHF) หรือ congestive cardiac failure (CCF)) มักใช้แทนคำว่า หัวใจวายเรื้อรัง ได้ อาการและอาการแสดงโดยทั่วไปมีหายใจกระชั้น เหนี่อยเกิน และขาบวม การหายใจกระชั้นมักเลวลงเมื่อออกกำลังกาย เมื่อนอนราบและเมื่อกลางคืนขณะหลับ มักมีข้อจำกัดปริมาณการออกกำลังกายที่ผู้ป่วยทำได้ แม้รักษาอย่างดีแล้ว สาเหตุทั่วไปของภาวะหัวใจวาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งรวมกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (อาการหัวใจล้ม) ก่อนหน้านี้, ความดันโลหิตสูง, หัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว (atrial fibrillation), โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease), และโรคกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyopathy) สาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดอาการหัวใจล้มโดยเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ของหัวใจ มีอาการหัวใจล้มสองประเภทหลัก คือ อาการหัวใจล้มจากการทำหน้าที่ผิดปรกติของหัวใจห้องล่างซ้ายและอาการหัวใจล้มโดยมีเศษส่วนการสูบฉีดปกติแล้วแต่ว่าหัวใจห้องล่างซ้ายมีความสามารถหดตัวหรือไม่ หรือความสามารถคลายตัวของหัวใจ ปกติจัดลำดับความรุนแรงของโรคจากความสามารถการออกกำลังกายที่ลดลง ภาวะหัวใจวายมิใช่อย่างเดียวกับกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดหรือหัวใจหยุด (ซึ่งเลือดหยุดไหลทั้งหมด) ฦโรคอื่นซึ่งอาจมีอาการคล้ายกับภาวะหัวใจวาย เช่น โรคอ้วน ปัญหาไต ปัญหาตับ โลหิตจาง และโรคไทรอยด์ เป็นต้น การวินิจฉัยภาวะนี้อาศัยประวัติของอาการและการตรวจร่างกาย ยืนยันด้วยการบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiography) การตรวจเลือด การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการฉายรังสีทรวงอกอาจมีประโยชน์เพื่อตัดสินสาเหตุเบื้องหลัง การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของโร.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจวาย · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน

อาการไฮเปอร์ไทรอยด์ (hyperthyroidism) คือสภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมาเกินปกติ ซึ่งมักมีอาการนอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน ตาโปน กล้ามเนื้ออ่อนแรง มือสั่น ใจสั่น เหนื่อยหรือร้อนง่าย น้ำหนักลดแม้ว่าจะสามารถรับประทานอาหารได้อย่างเป็นปกติก็ตาม อาการเป็นพิษที่เกิดจากต่อมไทรอยด์นี้ เกิดจากการที่ฮอร์โมนที่ต่อมไทรอยด์สร้างขึ้นมีมากกว่าปกติและหลั่งเข้าสู่กระแสโลหิต ซึ่งได้เกิดการออกฤทธิ์กระตุ้นให้อวัยวะต่างๆทำงานหนักขึ้น โรคดังกล่าวมักเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม และมักพบในเพศหญิงมากกว.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย

วะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (disseminated intravascular coagulopathy/coagulation, consumptive coagulation, DIC) หรือ ดีไอซี หรือ ภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วไปในหลอดเลือด เป็นภาวะซึ่งมีการกระตุ้นกลไกการแข็งตัวของเลือดอย่างผิดปกติ ซึ่งเป็นผลที่ตามมาจากโรคหรือภาวะหลายๆ อย่าง ดีไอซีทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดเป็นลิ่มเลือดขนาดเล็กจำนวนมากในหลอดเลือดทั่วร่างกาย ซึ่งในการเกิดการแข็งตัวของเลือดนี้จะมีการใช้สิ่งสำคัญในกลไกการแข็งตัวของเลือด ได้แก่โปรตีนที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด และเกล็ดเลือด ไปจนไม่สามารถเกิดมีการแข็งตัวของเลือดในที่ที่ควรมีได้ ทำให้มีภาวะเลือดออกง่ายหรือหยุดยากทั่วร่างกาย อาจเกิดที่ผิวหนัง ในทางเดินอาหาร ในทางเดินหายใจ หรือที่แผลผ่าตัดได้ นอกจากนี้ลิ่มเลือดเล็กๆ ที่เกิดขึ้นยังทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ไม่ดี ทำให้เกิดการทำงานผิดปกติของอวัยวะนั้นๆ อวัยวะที่สำคัญเช่น ไต เป็นต้น ดีไอซีอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเฉียบพลัน หรืออาจเกิดช้าๆ แบบเรื้อรังก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัญหาที่เป็นสาเหตุ และสภาพร่างกายด้านอื่นๆ ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยหนัก และอาจมีส่วนทำให้เกิดการล้มเหลวของการทำงานของอวัยวะหลายๆ ชนิดพร้อมกัน ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิเมตรปรอท

มิลลิเมตรปรอท เป็นหน่วยวัดความดัน เดิมหมายถึงความดันภายนอกที่ทำให้ปรอทในหลอดแก้วสูงขึ้น 1 มิลลิเมตร ในปัจจุบันมีค่าที่แม่นยำอยู่ที่ 13.5951 × 9.80665.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและมิลลิเมตรปรอท · ดูเพิ่มเติม »

ยาลดความดัน

ลดความดัน (antihypertensives) เป็นกลุ่มของยาที่ใช้ในทางการแพทย์ และ เภสัชกรรมเพื่อใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและยาลดความดัน · ดูเพิ่มเติม »

ยาขับปัสสาวะ

ับปัสสาวะ (diuretic) เป็นยาที่เพิ่มอัตราการถ่ายปัสสาวะออกจากร่างกาย (ไดยูรีสิส) ยาขับปัสสาวะมีผลลดปริมาตรของเหลวนอกเซลล์ (extracellular fluid-ECF) ยาขับปัสสาวะธรรมดาทั่วไปได้แก่คาเฟอีน น้ำเครนเบอรรี่ และแอลกอฮอล์ ในทางการแพทย์ ยาขับปัสสาวะใช้รักษ.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและยาขับปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์

อ็นเซด (NSAID ย่อจาก Non-steroidal anti-inflammatory drugs) เป็นยาระงับปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบ ยากลุ่ม สเตอรอยด์ (steroids) ก็มีฤทธิ์แบบนี้เช่นกัน แต่กลไกการออกฤทธิ์ต่างกัน โดยยากลุ่ม สเตอรอยด์กดภูมิคุ้มกัน แต่พวกเอ็นเซดไม่ เพื่อแยกความแตกต่างให้ชัดเจนเรา จึงตั้งชื่อยากลุ่มนี้ว่า ไม่ใช่กลุ่มสเตอรอยด์ โดยการใช้คำ นอน-สเตอรอยดอล นำหน้า เอ็นเซด บางครั้งเรียกว่า นอน-สเตอรอยดอล แอนตี้-อินแฟลมเมตอรี่ อะนาเจซิก (non-steroidal anti-inflammatory agents/analgesics (NSAIAs)) ตัวอย่างยาที่บทบาทมากที่สุดในกลุ่มนี้คือ.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ยีน

รโมโซมคือสายดีเอ็นเอที่พันประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอที่ถอดรหัสออกมาเพื่อทำหน้าที่ ยีนสมมติในภาพนี้ประกอบขึ้นจากแค่สี่สิบคู่เบส ซึ่งยีนจริงๆ จะมีจำนวนคู่เบสมากกว่านี้ ยีน, จีน หรือ สิ่งสืบต่อพันธุกรรม (gene) คือลำดับดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอที่สามารถถอดรหัสออกมาเป็นโมเลกุลหนึ่งๆ ที่สามารถทำหน้าที่ได้ โดยปกติแล้วดีเอ็นเอจะถูกถอดรหัสออกมาเป็นอาร์เอ็รนเอ แล้วอาร์เอ็นเอนั้นอาจทำหน้าที่ได้เองโดยตรง หรือเป็นแบบให้กับขั้นตอนการแปลรหัส ซึ่งเป็นการสร้างโปรตีนเพื่อทำหน้าที่ต่อไปก็ได้ การถ่ายทอดยีนไปยังทายาทของสิ่งมีชีวิตเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการส่งต่อลักษณะไปยังรุ่นถัดไป ยีนต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นลำดับดีเอ็นเอเรียกว่าจีโนทัยป์หรือลักษณะพันธุกรรม ซึ่งเมื่อประกอบกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและการเจริญเติบโตแล้วจะเป็นตัวกำหนดฟีโนทัยป์หรือลักษณะปรากฏ ลักษณะทางชีวภาพหลายๆ อย่างถูกกำหนดโดยยีนหลายยีน บางอย่างถูกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างอาจปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีตา จำนวนแขนขา และบางอย่างก็ไม่ปรากฏให้เห็น เช่น หมู่เลือด ความเสี่ยงของการเกิดโรค รวมถึงกระบวนการทางชีวเคมีนับพันที่เป็นพื้นฐานของชีวิต ยีนอาจเกิดการกลายพันธุ์สะสมในลำดับพันธุกรรมได้ ทำให้เกิดความแตกต่างของการแสดงออกในกลุ่มประชากร เรียกว่าแต่ละรูปแบบที่แตกต่างนี้ว่า อัลลีล แต่ละอัลลีลของยีนยีนหนึ่งจะถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้เกิดลักษณะปรากฏทางฟีโนทัยป์ที่แตกต่างกันไป ในระดับคนทั่วไปเมื่อพูดถึงการมียีน เช่น มียีนที่ดี มียีนสีผมน้ำตาล มักหมายถึงการมีอัลลีลที่แตกต่างของยีนยีนหนึ่ง ยีนเหล่านี้จะผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติเพื่อให้เกิดการอยู่รอดของอัลลีลที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ยีนเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมที่ถอดรหัสได้เป็นสายพอลิเพปไทด์หนึ่งสายที่ทำงานได้ (single functional polypeptide) หรือได้เป็นอาร์เอ็นเอ ยีนประกอบด้วยส่วนที่สามารถถอดรหัสเป็นอาร์เอ็นเอได้ เรียกว่า exon และบริเวณที่ไม่สามารถถอดรหัสได้ เรียกว่า intron.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและยีน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบขับถ่ายปัสสาวะ

ระบบขับถ่ายปัสสาวะ หรือ การกำจัดของเสียทางไต ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดแล้วนำออกนอกร่างกายเป็นการทำงานของระบบขับถ่ายในรูปของปัสสาว.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและระบบขับถ่ายปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ สร้างและหลั่งพวกฮอร์โมน (Hormones) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือด หรือน้ำเหลืองไปยังเป้าหมาย คือ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ต่อมไร้ท่อบางชนิดสร้างฮอร์โมน ออกมาร่วมทำงาน หรือถูกควบคุมการหลั่งโดยระบบประสาท เรียกว่า neuroendocrine system เช่น ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เป็นต้น.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและระบบต่อมไร้ท่อ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทซิมพาเทติก

ระบบประสาทอัตโนมัติสีน้ำเงิน.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและระบบประสาทซิมพาเทติก · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม ฮาร์วีย์

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่ ('''William Harvey'''.; 1 เมษายน ค.ศ. 1578 - 3 มิถุนายน ค.ศ. 1657) เป็นแพทย์ชาวอังกฤษผู้ลบความเชื่อเก่าๆของแพทย์ในยุคศตวรรษที่ 17 ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับระบบโลหิตในร่างกาย เขาเป็นผู้ค้นพบการไหลเวียนโลหิตหากทว่ากว่าจะได้รับการยอมรับเขาเสียชีวิตไปเสียแล้ว.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและวิลเลียม ฮาร์วีย์ · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินดี

วิตามินดี หมายถึง เซกโคสเตอรอยด์ (secosteroids) ที่ละลายในไขมันกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เสริมการดูดซึมแคลเซียม เหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสเฟตและสังกะสี ในมนุษย์ สารประกอบที่สำคัญที่สุดในกลุ่มนี้ คือ วิตามินดี3 (หรือ คอเลแคลซิเฟรอล) และวิตามินดี2 (เออร์โกแคลซิเฟรอล) คอเลแคลซิเฟรอลและเออร์โกแคลซิเฟรอลสามารถดูดซึมจากอาหารและอาหารเสริมได้ มีอาหารน้อยชนิดมากที่มีวิตามินดี การสังเคราะห์วิตามินดี (โดยเฉพาะคอเลแคลซิเฟรอล) ในผิวหนังเป็นแหล่งของวิตามินดังกล่าวตามธรรมชาติที่สำคัญเพียงแหล่งเดียว การสังเคราะห์วิตามินดีของผิวหนังจากคอเลสเตอรอลอาศัยการได้รับแสงแดด (โดยเฉพาะรังสียูวีบี) หมวดหมู่:วิตามิน หมวดหมู่:ยา หมวดหมู่:โมเลกุลชีวภาพ.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและวิตามินดี · ดูเพิ่มเติม »

สภาพโตเกินไม่สมส่วน

ตเกินไม่สมส่วน.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและสภาพโตเกินไม่สมส่วน · ดูเพิ่มเติม »

สมองบวม

สมองบวม (cerebreal edema) คือภาวะที่มีการสะสมของสารน้ำในเนื้อสมองไม่ว่าจะเป็นในเซลล์หรือนอกเซลล์ หมวดหมู่:ซีรีบรัม หมวดหมู่:โรคของสมอง.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและสมองบวม · ดูเพิ่มเติม »

สารยับยั้งเอซีอี

อซีอี อินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors) หรือ ตัวยับยั้ง แองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ (Angiotensin-Converting Enzyme) เป็นกลุ่ม ยา ที่ใช้รักษาเบื้องต้นใน โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) และ หัวใจล้มเหลวแบบเลือดคั่ง (congestive heart failure) โดยจะเป็นยาเลือกใช้อันดับแรก.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและสารยับยั้งเอซีอี · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด

สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด (pulmonary embolism, PE) คือภาวะซึ่งมีการอุดกั้นของหลอดเลือดแดงหลักของปอด หรือหลอดเลือดย่อยที่แตกออกมา โดยสารซึ่งหลุดมาจากตำแหน่งอื่นของร่างกายผ่านทางหลอดเลือด (สิ่งหลุดอุดหลอดเลือด) ส่วนใหญ่เกิดจากการมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ลิ่มเลือดนี้หลุดออกมาและลอยมายังปอด เรียกว่าลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดดำ (venous thromboembolism, VTE) ส่วนน้อยอาจเกิดจากการมีอากาศ ไขมัน ผงแป้ง (ในผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ) หรือน้ำคร่ำ หลุดมาอุดหลอดเลือดปอด การที่เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปยังปอดหรือบางส่วนของปอดได้ ร่วมกับการมีความดันในหัวใจห้องล่างขวาสูงขึ้น เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการและอาการแสดงของ PE คนบางคนมีความเสี่ยงของการเกิด PE สูงกว่าคนทั่วไป เช่น เป็นมะเร็ง หรือนอนติดเตียงนานๆ เป็นต้น หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:โรคหัวใจเกี่ยวเนื่องกับปอดและโรคการไหลเวียนโลหิตของปอด.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด · ดูเพิ่มเติม »

สุรา

ราที่วางขายในร้าน สุรา (liquor หรือ spirit) หมายถึง น้ำเมาที่ได้จากการกลั่นสารบางประเภท อาทิ เอทิลแอลกอฮอล์ และเมรัย คือ น้ำเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่ให้เกิดสารบางประเภท เมื่อดื่มแล้วสารนั้นจะออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง หากดื่มไม่มากอาจรู้สึกผ่อนคลายเนื่องจากสารกดจิตใต้สำนึกที่คอยควบคุมตนเองทำให้กล้าแสดงออกมากขึ้น แต่เมื่อดื่มมากขึ้นก็จะกดสมองบริเวณอื่น ๆ ทำให้เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด จนแม้กระทั่งหมดสติในที่สุด ทั้งสุราและเมรัยเรียกโดยภาษาปากว่า "เหล้า" ประเทศต่าง ๆ ได้วางกฎเกณฑ์สำหรับการผลิต การขาย และการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตัวอย่างเช่น กฎหมายที่กำหนดอายุขั้นต่ำสำหรับผู้ที่สามารถบริโภคได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น อายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีสำหรับประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์, ไม่ต่ำกว่า 18 ปีในประเทศไทย หรือไม่ต่ำกว่า 21 ปีในสหรัฐอเมริกา การบริโภคทั้งสุราและเมรัยเป็นข้อห้ามในข้อสุราเมรยมัชปมาทัฏฐานหรือข้อที่ 5 แห่งเบญจศีลของพุทธศาสนา ซึ่งว่า "สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิ" แปลได้ว่า "เราจักถือศีลโดยเว้นจากการบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท".

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและสุรา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สเตอรอยด์

ตอรอยด์ (อังกฤษ: steroid) เป็นลิพิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยที่โครงสร้างคาร์บอนจะเป็นวงแหวน 4 วงเชื่อมต่อกัน ความแตกต่างของชนิดสเตอรอยด์จะผันแปรไปตามฟังก์ชันนัลกรุป (functional group) ที่ติดอยู่กับวงแหวนเหล่านี้ มีสเตอรอยด์แตกต่างกันนับร้อยชนิดที่สามารถตรวจพบในพืชและสัตว์ ตัวอย่างบทบาทสำคัญของสเตอรอยด์ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่คือ ฮอร์โมน Steroid skeleton. Carbons 18 and above can be absent. ในสรีรวิทยาและการแพทย์ของมนุษย์ สารสเตอรอยด์ที่สำคัญส่วนใหญ่ คือ คอเลสเตอรอล, สเตอรอยด์, ฮอร์โมน และสารตั้งต้น (precursor) และเมแทบอไลต์ คอเลสเตอรอลเป็นสารประกอบประเภท สเตอรอยด์แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ในสัตว์ แต่อย่างไรก็ดี ถ้ามันมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดโรค และภาวะผิดปกติมากมาย เช่น ภาวะผนังเส้นโลหิตแดงหนาและมีความยึดหยุ่นน้อยลง (atherosclerosis) สเตอรอยด์อื่นส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์จาก คอเลสเตอรอลฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมนเพศของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate) ก็เป็นสเตอรอยด์ที่สร้างจากคอเลสเตอรอล สเตอรอยด์แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและสเตอรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

หมดสติชั่วคราว

หมดสติชั่วคราว (syncope, "ซิงคะพี") คือการที่ผู้ป่วยมีทั้งอาการหมดสติและเสียการทรงตัว (postural tone) พร้อมกัน มีลักษณะเฉพาะคือ เป็นเร็ว เป็นไม่นาน และหายได้เอง ส่วนใหญ่เกิดจากการที่มีเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงจากสาเหตุต่างๆ ที่พบบ่อยคือภาวะความดันเลือดต่ำ.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและหมดสติชั่วคราว · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดฝอย

หลอดเลือดฝอย (capillary) คือ หลอดเลือดที่ขนาดเล็กมากแตกแขนงจากหลอดเลือดใหญ่ไปตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย มีผนังบาง ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวเป็นที่แลกเปลี่ยนแก๊สและสารต่าง ๆ ระหว่างเซลล์กับเลือ.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดฝอย · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดง

หลอดเลือดแดง (Artery) เป็นหลอดเลือดที่มีชั้นกล้ามเนื้อ ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ หลอดเลือดแดงทุกเส้นขนส่งเลือดที่มีออกซิเจน ยกเว้นหลอดเลือดแดงสู่ปอด (pulmonary artery) และหลอดเลือดแดงอัมบิลิคัล (umbilical artery) ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นระบบที่สำคัญมากในการดำรงชีวิต หน้าที่โดยทั่วไปของระบบนี้คือการขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์ต่างๆ รวมทั้งขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียออกจากเนื้อเยื่อ รักษา pH ให้เหมาะกับการดำรงชีวิต รวมถึงการขนส่งสาร โปรตีนอาทิฮีโมโกลบิน และเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ในประเทศที่พัฒนาแล้ว สาเหตุของการเสียชีวิต 2 อันดับแรกคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction) และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ซึ่งทั้งคู่ต่างเป็นผลมาจากความผิดปกติของการไหลของเลือดซึ่งเสื่อมสภาพไปตามอายุ (ดูเพิ่มที่ โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง) หมวดหมู่:ระบบไหลเวียนโลหิต.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

หวงตี้

หวงตี้ หรือ จักรพรรดิเหลือง (黃帝) เป็นหนึ่งในกษัตริย์ตามตำนานจีนและวีรบุรุษทางวัฒนธรรมHelmer Aslaksen, section (retrieved on 2011-11-18) เป็นหนึ่งในซานหวงอู่ตี้ ตำนานระบุว่า จักรพรรดิเหลืองครองราชย์ตั้งแต่ 2697 – 2597 หรือ 2696 – 2598 ปีก่อนคริสตกาลHerbert Allen Giles (1845–1935), A Chinese Biographical Dictionary (London: B. Quaritch, 1898), p. 338; cited in.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและหวงตี้ · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจ

หัวใจ เป็นอวัยวะกล้ามเนื้อซึ่งสูบเลือดทั่วหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยการหดตัวเป็นจังหวะซ้ำ ๆ พบในสัตว์ทุกชนิดที่มีระบบไหลเวียน ซึ่งรวมสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย หัวใจสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อลายที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ พบเฉพาะที่หัวใจ และทำให้หัวใจสามารถสูบเลือดได้ หัวใจมนุษย์ปกติเต้น 72 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะเต้นประมาณ 2,500 ล้านครั้งในช่วงอายุเฉลี่ย 66 ปี และสูบเลือดประมาณ 4.7-5.7 ลิตรต่อนาที หนักประมาณ 250 ถึง 300 กรัมในหญิง และ 300 ถึง 350 กรัมในชาย คำคุณศัพท์ cardiac มาจาก kardia ในภาษากรีก ซึ่งหมายถึงหัวใจ หทัยวิทยาเป็นแขนงแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับโรคและความผิดปกติของหัวใ.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

อัมพาตแบบเบลล์

ภาวะอัมพาตแบบเบลล์ (Bell's paly) เป็นอาการอัมพาตของใบหน้าชนิดหนึ่งทำให้มีการทำงานผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (เส้นประสาทเฟเชียล) จนควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้าด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ โรคหรือภาวะที่ทำให้มีใบหน้าชาเช่นนี้มีอีกหลายโรค ตั้งแต่เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง โรคไลม์ และอื่นๆ แต่หากไม่พบภาวะซึ่งเป็นสาเหตุได้จะถือว่าภาวะใบหน้าเป็นอัมพาตนั้นเกิดจากภาวะอัมพาตแบบเบลล์ ภาวะนี้ได้ชื่อตามนักกายวิภาคศาสตร์ชาวสก็อตชื่อชาร์ลส์ เบลล์ ซึ่งได้บรรยายภาวะนี้เอาไว้เป็นครั้งแรก อัมพาตแบบเบลล์เป็นโรคของเส้นประสาทเส้นเดียว (mononeuropathy) ที่พบบ่อยที่สุด และเป็นสาเหตุของภาวะเส้นประสาทเฟเชียลเป็นอัมพาตเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุดด้วย หมวดหมู่:ความผิดปกติทางประสาทวิทยา หมวดหมู่:โรคซึ่งไม่ทราบสาเหตุ หมวดหมู่:โรคของระบบประสาท หมวดหมู่:โสตศอนาสิกวิทยา.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและอัมพาตแบบเบลล์ · ดูเพิ่มเติม »

อัตราหัวใจเต้น

หัวใจ อัตราหัวใจเต้น (Heart rate) หมายถึงความเร็วของการบีบตัวของหัวใจในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ โดยทั่วไปนิยมใช้หน่วย "ครั้งต่อนาที" อัตราหัวใจเต้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับสรีรวิทยาของร่างกาย เช่นความต้องการออกซิเจนและการขับคาร์บอนไดออกไซด์ของร่างกาย สิ่งที่มีผลกับอัตราหัวใจเต้นได้แก่กิจกรรมของร่างกาย เช่น การออกกำลังกาย การนอนหลับ ความเจ็บป่วย การย่อยอาหาร และยาบางชนิด ถ้าหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอเรียกว่าภาวะหัวใจเสียจังหวะ (arrhythmia) ความผิดปกติของการเต้นหัวใจในบางครั้งอาจเป็นแสดงถึงการเป็นโรคแต่ก็ไม่เสมอไป.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและอัตราหัวใจเต้น · ดูเพิ่มเติม »

อาการรู้สึกหมุน

อาการรู้สึกหมุน (vertigo) เป็นอาการเวียนศีรษะแบบหนึ่ง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวทั้งที่จริงๆ แล้วไม่มีการเคลื่อนไหว อาการนี้เป็นผลจากความผิดปกติของระบบควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน อาจพบร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน ยืนหรือเดินลำบากได้ อาการรู้สึกหมุนนี้อาจแบ่งได้เป็นสามแบบ คือ แบบที่ 1 objective คือผู้ป่วยรู้สึกว่าวัตถุต่างๆ หมุนรอบตัวเอง แบบที่ 2 subjective คือผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองกำลังมีอาการเคลื่อนไหว และแบบที่ 3 pseudovertigo (อาการรู้สึกหมุนเทียม) คือรู้สึกว่ามีการหมุนอยู่ข้างในศีรษะ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการรู้สึกหมุนคืออาการหมุนเป็นระยะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าชนิดไม่ร้าย การกระทบกระเทือนที่ศีรษะ และไมเกรนของระบบควบคุมการทรงตัว สาเหตุอื่นๆ ที่พบไม่บ่อยเท่าเช่นโรคเมนิแยร์ และเส้นประสาทควบคุมการทรงตัวอักเสบ เป็นต้น การดื่มสุราก็สามารถทำให้มีอาการรู้สึกหมุนได้ การหมุนตัวหลายๆ รอบ เช่นการละเล่นของเด็ก ก็สามารถทำให้เกิดอาการรู้สึกหมุนชั่วคราวได้จากการที่ของเหลวในหูชั้นในยังคงมีการเคลื่อนไหว ("กระฉอก") จากแรงเฉื่อยจากการหมุนได้.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและอาการรู้สึกหมุน · ดูเพิ่มเติม »

อาการหายใจลำบาก

อาการหายใจลำบากหรืออาการหอบ (dyspnea, shortness of breath) เป็นอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าหายใจได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นิยามโดยสมาคมโรคทรวงอกแห่งประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวถึงอาการหายใจลำบากไว้ว่าหมายถึง "ประสบการณ์โดยอัตวิสัยที่คนผู้หนึ่งหายใจไม่สะดวก เป็นความรู้สึกที่วัดไม่ได้ ซึ่งมีความรุนแรงหลายระดับ" และแนะนำให้ผู้ที่ตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก ประเมินความรุนแรงของความรู้สึกที่ว่านี้ ระดับของความลำบากที่ปรากฎ และผลกระทบที่มีต่อกิจกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ความรู้สึกหายใจลำบากนี้มีหลายแบบ (เชิงคุณภาพ) เช่น รู้สึกว่าต้องใช้แรงมากในการหายใจ รู้สึกแน่นอยู่ในอก หรือรู้สึกหิวอากาศ หายใจไม่เพียงพอต่อความต้องการ เป็นต้น อาการหายใจลำบากเป็นอาการปกติของการออกกำลังกายอย่างหนัก แต่หากเกิดขึ้นในขณะที่ไม่ได้ออกกำลังกาย หรือออกแรงเพียงเล็กน้อย จะถือเป็นความผิดปกติ โรคที่เป็นสาเหตุมีอยู่หลายอย่าง เช่น โรคหืด ปอดอักเสบ หัวใจขาดเลือด โรคเนื้อปอด หัวใจวาย ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคทางจิตใจ เช่น โรคแพนิก โรควิตกกังวล เป็นต้น การรักษาอาการหายใจลำบากมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหต.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและอาการหายใจลำบาก · ดูเพิ่มเติม »

อายุครรภ์

อายุครรภ์ หมายถึงอายุของเอมบริโอในครรภ์ มีนิยามแตกต่างกันไปในแต่ละสาขาว.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและอายุครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปพอคราทีส

ปพอคราทีส บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก ฮิปพอคราทีส (Hippocrates; Ἱπποκράτης; Hippokrátēs; ประมาณ พ.ศ. 83-166) เป็นแพทย์ชาวกรีกโบราณ ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก" และต้นตอของ "คำสัตย์สาบานฮิปพอคราทีส (Hippocrates oath) ในจรรยาบรรณแพทย์ เกิดที่เกาะโคส ประเทศกรีซ ฮิปพอคราทีสได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงในวงการแพทย์รุ่นโบราณว่าเป็นผู้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิชาการแพทย์ไว้มากกว่า 70 ชิ้นงาน โดยเฉพาะเรื่อง "ฮิปพอคราทีสคอร์ปัส" (Hippogrates corpus) แต่ในภายหลังก็เป็นที่ทราบกันว่าใน 70 เรื่องนี้มีไม่กี่ชิ้นที่เขียนโดยฮิปพอคราทีสเอง แต่เชื่อว่าชิ้นงานทั้งหลายดังกล่าวเกิดจากการสะสมตำราและเอกสารในห้องสมุดของโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งในสมัยนั้นซึ่งได้มาจากหลายแหล่ง เขียนโดยหลายคนที่มีความเห็นต่าง ๆ กัน แต่นำมารวมผิด ๆ ถูก ๆ ภายใต้ชื่อฮิปพอคราทีส ฮิปพอคราทีสได้ทำคุณประโยชน์ทางการแพทย์ไว้อย่างใหญ่หลวงโดยการรักษาคนไข้อย่างมีแบบแผน ผิดกับแพทย์ทั่วไปในสมัยนั้นที่ตั้งตนเป็นผู้มีคาถาอาคมเป็นผู้วิเศษที่เชื่อว่าการเจ็บป่วยเป็นการถูกลงโทษโดยพระเจ้าต้องรักษาด้วยพิธีกรรม แต่ฮิปพอคราทีสกลับเห็นว่าเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ ฮิปพอคราทีสเป็นคนแรกที่ทำระเบียนบันทึกอาการและประวัติของคนไข้ วางกฎเกณฑ์วิธีการปฏิบัติตนของแพทย์กับคนไข้ ซึ่งยังคงถือปฏิบัติกันอยู่ถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดีความสำเร็จของผู้เขียนรวมนิพนธ์ฮิปพอคราทีส ผู้ปฏิบัติวิชาแพทย์แบบฮิปพอคราทีส และผลงานของฮิปพอคราทีสเองถูกหลอมรวมกันไปอย่างแยกไม่ออก ทำให้มีข้อมูลตกทอดมาถึงปัจจุบันน้อยมากว่าสิ่งใดกันแน่ที่ฮิปพอคราทีสเป็นผู้คิด เขียน และทำจริงๆ แม้กระนั้นฮิปพอคราทีสก็ได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างของการแพทย์ในยุคโบราณ โดยเฉพาะการเป็นผู้ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมากในการศึกษาวิชาแพทย์ทางคลินิกอย่างเป็นระบบ รวบรวมวิชาแพทย์ของคำสอนการแพทย์ในอดีตเอาไว้ และสั่งสอนเวชปฏิบัติแก่แพทย์ผ่านคำปฏิญาณฮิปพอคราทีส รวมนิพนธ์ และงานชิ้นอื่น.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและฮิปพอคราทีส · ดูเพิ่มเติม »

ฮีมาโทคริต

ีมาโทคริต (Hematocrit, Ht หรือ HCT) หรือ packed cell volume (PCV) หรือ erythrocyte volume fraction (EVF) คือ เปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาณเลือดทั้งหมด ค่าปกติของ HCT ในเพศชายอยู่ที่ 45% และเพศหญิงอยู่ที่ 40% HCT นับเป็นส่วนประกอบหนึ่งของผลการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ ร่วมกับ ความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน จำนวนเม็ดเลือดขาว และจำนวนเกล็ดเลือด ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ค่า HCT ขึ้นอยู่กับขนาดของร่างกาย คำว่า "hematocrit" มาจากภาษาเยอรมัน/ภาษาสวีเดน ซึ่ง "haematokrit" ถูกบัญญัติขึ้นโดย Blix ที่ Upsala เมื่อ ค.ศ. 1891 อ้างอิงจากบทความของ SG Hedin ที่ตีพิมพ์ใน Skandanavia Arch.f Physiolgie 2:134-140,1891 จากบทความที่มีชื่อว่า "The Haematokrit: a New Apparatus for the Investigation of Blood" คำว่า "Haematokrit" ถูกใช้เป็นต้นแบบหลังจากคำว่า "Lactokrit" ถูกใช้ในฟาร์มเลี้ยงนม (ดูเพิ่ม Scudder & Self in NEJM Oct 30, 1941 225:18 p.679 "Controlled Administration of Fluid in Surgery").

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและฮีมาโทคริต · ดูเพิ่มเติม »

ท่อเลือดแดงโป่งพอง

รคเอ-ออร์ตาโป่งพอง (Aortic aneurysm) เป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาโป่งพองหรือขยายขนาดมากกว่า 1.5 เท่าของปกติ มักเกิดจากผนังหลอดเลือดเอออร์ตาบริเวณนั้นบอบบาง เมื่อหลอดเลือดโป่งพองเกิดขึ้นอาจมีอาการรู้สึกปวดหรือไม่สบายท้องหรือหน้าอก มีก้อนเต้นที่ท้อง หากหลอดเลือดบริเวณที่โป่งพองนี้แตกออกทำให้มีการปวดอย่างรุนแรง เลือดออกภายในอย่างรุนแรง และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันทีจะเสียชีวิตได้.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและท่อเลือดแดงโป่งพอง · ดูเพิ่มเติม »

ท้ายทอย

ท้ายทอย (occiput) เป็นศัพท์เรียกส่วนหลังของศีรษ.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและท้ายทอย · ดูเพิ่มเติม »

ดัชนีมวลกาย

ัชนีมวลกาย (body mass index, ย่อ: BMI) เป็นค่าที่ได้จากน้ำหนักและส่วนสูงของปัจเจกบุคคล BMI นิยามว่า มวลกายหน่วยเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง และแสดงในหน่วย กก./ม.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและดัชนีมวลกาย · ดูเพิ่มเติม »

ความชุกของโรค

ในทางระบาดวิทยา ความชุกของโรค (Prevalence) หมายถึงจำนวนกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคทั้งหมดในประชากร ณ เวลาหนึ่งๆ หรือกล่าวคือจำนวนผู้ป่วยในประชากรหนึ่งๆ หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด ค่านี้ใช้ประมาณว่าโรคนี้เกิดบ่อยมากเพียงใดในประชากรที่ช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งช่วยให้แพทย์ทราบความน่าจะเป็นในการวินิจฉัยโรคและข้อมูลนี้ยังใช้ในงานของนักระบาดวิทยา ผู้ให้บริการสาธารณสุข ภาครัฐ และบริษัทประกันภัย สูตรคณิตศาสตร์ในการคำนวณความชุกของโรคคือ ให้ a.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและความชุกของโรค · ดูเพิ่มเติม »

ความละเหี่ย

วามละเหี่ย (malaise) ในทางการแพทย์หมายถึงความรู้สึกไม่สบายตัว ไม่เป็นปกติ ส่วนใหญ่เป็นอาการแรกเริ่มของโรคหลายๆ โรครวมถึงโรคติดเชื้อบางอย่าง ตำราแพทย์อธิบายคำว่า malaise เอาไว้ว่าเป็น "general feeling of being unwell" (ความรู้สึกไม่สบายทั่วไป) คำนี้แต่เดิมเป็นคำฝรั่งเศส มีใช้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและความละเหี่ย · ดูเพิ่มเติม »

ความวิตกกังวล

วิตกกังวล (Anxiety) เป็นอารมณ์อันไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากความยุ่งเหยิงภายในจิตใจ มักเกิดขึ้นพร้อมกับพฤติกรรมทางประสาท อาทิ ความแปรปรวนทางอารมณ์, ความวิตกกังวลทางกาย และภาวะคิดรำพึงความวิตกกังวลเป็นรู้สึกเชิงลบที่เป็นนามธรรม เกิดขึ้นได้เมื่อครุ่นคิดคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาทิ คิดเรื่องที่ตนเองจะตาย และการคิดคำนึงถึงเรื่องต่างๆ ความวิตกกังวลเป็นอารมณ์คนละอย่างกับความกลัวซึ่งความกลัวนั้นเป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์ใกล้ตัวและเป็นรูปธรรมมากกว่า ความวิตกกังวลเป็นความรู้สึกกระวนกระวายและกังวลใจ ผู้มีอาการนี้มักจะตอบสนองต่อภาวะถูกคุกคามต่างๆอย่างเกินจริง ความวิตกกังวลนอกจากจะส่งผลทางด้านจิตประสาทแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดความตึงเครียดในกล้ามเนื้อและความอิดโรยของร่างกายได้อีกด้วย ความวิตกกังวลหาได้เกิดจากความนึกคิดได้อย่างเดียว ยาบางประเภทอาจเป็นสาเหตุให้เกิดความวิตกกังวลได้.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและความวิตกกังวล · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูงวิกฤต

วามดันโลหิตสูงวิกฤต (Hypertension Crisis) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับความดันโลหิตสูงกว่าปกติมากๆ ในระยะเวลาสั้น โดยที่ไม่มีเกณฑ์แน่นอนที่วัดว่าสูงระดับใด แต่โดยทั่วไปอาจประมาณได้ว่า มีความดันโลหิตสูงกว่า 180/110 mmHg ซึ่งเกิดจากผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้วไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต ให้ลดลงเข้าสู้ระดับปกติได้.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตสูงวิกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ

วามผันแปรของความดันเลือดในหัวใจห้องล่างซ้าย (เส้นสีฟ้า) และหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (เส้นสีแดง) ในช่วงจังหวะหัวใจบีบ และหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ (Essential Hypertension) หรือ ความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (Primary Hypertension) เป็นความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจน เป็นความดันโลหิตสูงชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ราวร้อยละ 95 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด มีแนวโน้มที่จะเป็นกรรมพันธุ์ และน่าจะเป็นผลจากความสัมพันธ์ซับซ้อนระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ความชุกของความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุเพิ่มขึ้นตามอายุ และผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงเมื่ออายุน้อยจะมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงเมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตสูงเพิ่มความเสี่ยงของโรคสมอง หัวใจ และไตตามม.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ · ดูเพิ่มเติม »

ความดันเลือด

วามดันเลือด (blood pressure, ย่อ: BP) หรือเรียก ความดันเลือดแดง เป็นความดันที่เกิดจากเลือดหมุนเวียนกระทำต่อผนังหลอดเลือด และเป็นหนึ่งในอาการแสดงชีพที่สำคัญ คำว่า "ความดันเลือด" โดยไม่เจาะจงปกติหมายถึง ความดันเลือดแดงของการไหลเวียนเลือดทั่วกาย ระหว่างหัวใจเต้นแต่ละครั้ง ความดันเลือดแปรผันระหว่างความดันสูงสุด (ช่วงการบีบตัวของหัวใจ) และความดันต่ำสุด (ช่วงหัวใจคลายตัว) ความดันเลือดในการไหลเวียนเลือดเกิดจากการสูบของหัวใจเป็นหลัก ผลต่างของความดันเลือดเฉลี่ยเป็นผลให้เลือดไหลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในการไหลเวียนเลือด อัตราการไหลของเลือดเฉลี่ยขึ้นอยู่กับทั้งความดันเลือดและความต้านทานต่อการไหลของหลอดเลือด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงเมื่อเลือดไหลเวียนเคลื่อนห่างจากหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดฝอย เนื่องจากการสูญเสียพลังงานกับความหนืด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงตลอดทั้งการไหลเวียนเลือด แม้ส่วนมากจะตกลงในหลอดเลือดแดงเล็กและหลอดเลือดแดงจิ๋ว (arteriole) ความโน้มถ่วงมีผลต่อความดันเลือดผ่านแรงอุทกสถิต (คือ ระหว่างยืน) และลิ้นในหลอดเลือดดำ การหายใจและการสูบจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อลายยังผลต่อความดันในหลอดเลือดดำ.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและความดันเลือด · ดูเพิ่มเติม »

คอเลสเตอรอล

อเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นทั้งสารสเตอรอยด์ ลิพิด และแอลกอฮอล์ พบในเยื่อหุ้มเซลล์ของทุกเนื้อเยื้อในร่างกายและถูกขนส่งในกระแสเลือดของสัตว์ คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ไม่ได้มากับอาหารแต่จะถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกาย จะสะสมอยู่มากในเนื้อเยื้อของอวัยวะที่สร้างมันขึ้นมาเช่น ตับ ไขสันหลัง สมอง และผนังหลอดเลือดแดง (atheroma) คอเลสเตอรอลมีบทบาทในกระบวนการทางชีวเคมีมากมาย ในอดีต-ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคอเลสเตอรอลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจหลอดเลือด และภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด (Hypercholesterolemia) แต่กลุ่มนักโภชนาการบำบัดบางกลุ่มอ้างว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค และภาวะดังกล่าวนั้น เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ส่งผลให้ของเสียของน้ำตาล นั่นก็คือ CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) ทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในหลอดเลือด กัดเซาะผนังหลอดเลือดจนเสียหาย ร่างก่ายจึงต้องส่งคอเลสเตอรอลมาซ่อมแซมผนังหลอดเลือดที่เสียหาย ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นสารเบื้องต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี สร้างสารสเตอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนังให้เป็นเป็นวิตามินดี เมื่อโดนแสงแดด คอเลสเตอรอลจะพบมากในไข่แดง เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล ค่อนข้างสูง ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการ.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและคอเลสเตอรอล · ดูเพิ่มเติม »

คอเครน (องค์การ)

ัญลักษณ์ขององค์กรความร่วมมือคอเครน องค์กรความร่วมมือคอเครน (Cochrane Collaboration) เป็นกลุ่มของอาสาสมัครมากกว่า 11,500 คน จากมากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ที่ร่วมกันทบทวนงานวิจัยทางด้านการรักษาซึ่งมีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม การทบทวนในช่วงหลังยังรวมไปถึงงานวิจัยเชิงเฝ้าสังเกต (observational study) หรือไม่มีการสุ่มด้วย ผลจากงานวิจัยเชิงทบทวนอย่างมีระบบ (systematic review) เหล่านี้จะถูกรวบรวมไปตีพิมพ์เป็น "ปริทัศน์คอเครน" (Cochrane review) ในห้องสมุดคอเครน (Cochrane library).

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและคอเครน (องค์การ) · ดูเพิ่มเติม »

คอเคเซียน

อเคเซียน หรือ ยูโรปอยด์ เป็นแนวคิดเชื้อชาตินิยมวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การแยกแยะแบบนี้ถูกทำให้หมดความน่าเชื่อถือ และแนวคิดดังกล่าวไม่ได้ถูกใช้ในงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับมนุษย์ คำว่าคอเคเซียนยังคงใช้อยู่ในฐานะการแยกแยะ "คนผิวขาว" ในการศึกษาทางสังคมวิทยาหลายสาขา มันยังถูกใช้ควบคู่กับคำว่า นิกรอยด์ และ มองโกลอยด์ ในความหมายทางวิทยาศาสตร์ในสาขาชีวมานุษยวิท.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและคอเคเซียน · ดูเพิ่มเติม »

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและตา · ดูเพิ่มเติม »

ตาบอด

ตาบอด เป็นความพิการในลักษณะหนึ่งของร่างกาย ผู้ที่ตาบอดจะไม่สามารถมองเห็นภาพได้หรือมองเห็นได้เพียงบางส่วน ในอเมริกาเหนือและยุโรป จะถือว่า ผู้ที่ ตาบอดทางกฎหมาย หมายถึงผู้ที่มีวิสัยการมองเห็นภาพได้ไม่เกิน 20 องศา (จากวิสัยของคนปกติประมาณ 180 องศา) หมวดหมู่:การมองเห็น หมวดหมู่:ตาบอด.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและตาบอด · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไต อยู่ด้านบนของไตทั้งสองข้าง ต่อมหมวกไต (adrenal gland,suprarenal gland) เป็นต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) ผลิตฮอร์โมนสำคัญๆหลายชนิด เช่น อะดรีนาลิน จะอยู่เหนือไตทั้ง2ข้าง มีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของโลหิตและการหดตัวของเลือด ต่อมหมวกไตแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและต่อมหมวกไต · ดูเพิ่มเติม »

ซัลฟานิลาไมด์

ซัลฟานิลาไมด์ (Sulfanilamide)เป็นยาเภสัชต้านเชื้อแบดทีเรี.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและซัลฟานิลาไมด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที

ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที (Cardiac output) คือปริมาตรของเลือดที่ถูกสูบฉีดออกจากหัวใจห้องล่างซ้ายหรือห้องล่างขวาในระยะเวลาหนึ่งนาที อาจวัดผลได้หลายหน่วย เช่น ลูกบาศก์เดซิเมตรต่อนาที นอกจากนี้ยังคำนวณได้จากสูตร Cardiac output.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที · ดูเพิ่มเติม »

ปลิง

ปลิง (Aquatic Leech) และ ทากดูดเลือด (Land Leech) จัดอยู่ในไฟลัมแอนเนลิดา ลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้องและยืดหยุ่น ชอบอยู่ในน้ำนิ่งตามหนอง (สำหรับปลิง) และอยู่ตามพื้นที่ชื้นแฉะเช่นบริเวณป่าดงดิบเขตร้อน (สำหรับทากดูดเลือด) ดำรงชีพโดยการดูดเลือดสัตว์อื่น รวมทั้งเลือดมนุษย์เป็นอาหาร.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและปลิง · ดูเพิ่มเติม »

ปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะคืออาการปวดซึ่งเกิดกับบริเวณใดๆ ของศีรษะและคอ ซึ่งอาจเป็นอาการของหลายๆ ภาวะที่เกิดกับศีรษะและคอ ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองนั้นไม่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้เนื่องจากไม่มีตัวรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้นอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ รอบๆ สมองที่สามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ โดยอวัยวะเหล่านี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ส่วนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ (หลอดเลือด เยื่อหุ้มสมอง และเส้นประสาทสมอง) และนอกกะโหลกศีรษะ (เยื่อหุ้มกระดูกของกะโหลกศีรษะ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ตา หู โพรงอากาศ และเยื่อบุ) ระบบการจำแนกประเภทอาการปวดศีรษะมีใช้อยู่หลายระบบ ระบบหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายคือระบบของ International Headache Society (สมาคมอาการปวดศีรษะนานาชาติ) วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักมีการใช้ยาแก้ปวดร่วมในการรักษาด้วยเสมอ.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและปวดศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

ปอดบวมน้ำ

ปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) เป็นภาวะซึ่งมีการคั่งของสารน้ำในถุงลมของเนื้อปอด ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ตามปกติ เกิดเป็นภาวะการหายใจล้มเหลว สาเหตุอาจมาจากหัวใจซีกซ้ายล้มเหลว ทำให้ไม่สามารถบีบไล่เลือดออกจากระบบไหลเวียนในปอดได้ทัน (ปอดบวมน้ำเหตุหัวใจ, cardiogenic pulmonary edema) หรือเกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อปอดหรือระบบหลอดเลือดของปอด (ปอดบวมน้ำเหตุอื่นซึ่งไม่ใช่หัวใจ, noncardiogenic pulmonary edema) แม้สาเหตุจะมีหลายอย่างแต่วิธีรักษานั้นมีอยู่ไม่กี่วิธี และวิธีที่ได้ผลดีส่วนใหญ่ก็เป็นที่ใช้กันแพร่หลายไม่ว่าสาเหตุของการเกิดปอดบวมน้ำในผู้ป่วยรายนั้น ๆ จะเป็นอะไร การรักษาทั่วไปเน้น 3 ด้าน ได้แก่ แก้ไขภาวะหายใจล้มเหลว รักษาภาวะซึ่งเป็นสาเหตุ และป้องกันไม่ให้ปอดเสียหายมากขึ้น ภาวะปอดบวมน้ำนี้โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นขึ้นเฉียบพลันอาจนำไปสู่ภาวะการหายใจล้มเหลว ออกซิเจนในเลือดต่ำ จนหัวใจหยุด และเสียชีวิตได้ หมวดหมู่:Respiratory diseases principally affecting the interstitium หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและปอดบวมน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปาสกาล (หน่วยวัด)

ปาสคาล หรือ พาสคาล (pascal สัญลักษณ์ Pa) เป็นหน่วยอนุพันธ์เอสไอ ใช้วัดความดัน ความดันภายใน ความเค้น ค่ามอดูลัสของยัง และความทนแรงดึงสูงสุด นิยามค่าเท่ากับหนึ่งนิวตันต่อตารางเมตร ชื่อหน่วยตั้งตามผู้รู้รอบด้านชาวฝรั่งเศส แบลซ ปัสกาล พหุคูณของหน่วยปาสคาลที่พบทั่วไปคือ เฮกโตปาสคาล (1 hPa ≡ 100 Pa) เท่ากับ 1 มิลลิบาร์ กิโลปาสคาล (1 kPa ≡ 1000 Pa) เมกะปาสคาล (1 MPa ≡ 1,000,000 Pa) และจิกะปาสคาล (1 GPa ≡ 1,000,000,000 Pa) หน่วยวัดที่เป็นบรรยากาศมาตรฐาน (atm) นิยามไว้ที่ 101.325 กิโลปาสคาล และประมาณเท่ากับความดันเฉลี่ยที่ระดับน้ำทะเลที่ 45 องศาเหนือ รายงานอุตุนิยมวิทยาหลายรายงานกล่าวถึงความกดอากาศในหน่วยเฮกโตปาสคาล.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและปาสกาล (หน่วยวัด) · ดูเพิ่มเติม »

แมกนีเซียม

แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Mg และเลขอะตอม 12 แมกนีเซียมเป็นธาตุที่มีอยู่มากเป็นอันดับ 8 และเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกประมาณ 2% และเป็นธาตุที่ละลายในน้ำทะเลมากเป็นอันดับ 3 โลหะอัลคาไลเอิร์ธตัวนี้ส่วนมากใช้เป็นตัวผสมโลหะเพื่อทำโลหะผสมอะลูมิเนียม-แมกนีเซียม.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและแมกนีเซียม · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียม

แคลเซียม (Calcium) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Ca มีเลขอะตอมเป็น 20 แคลเซียมเป็นธาตุโลหะหนักประเภทอะคาไลที่มีสีเทาอ่อน มันถูกใช้เป็นสารรีดิวซิ่งเอเยนต์ในการสกัดธาตุ ทอเรียมเซอร์โคเนียม และยูเรเนียม แคลเซียมอยู่ในกลุ่ม 50 ธาตุที่มีมากที่สุดบนเปลือกโลก มันมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะในระบบสรีระวิทยาของเซลล์และการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ แคลเซียมมีพื้นดินเป็นแหล่งรองรับจะถูกพืชดูดไปใช้เป็นประโยชน์และสัตว์กินพืชก็ได้รับสารประกอบแคลเซียมเข้าไปด้วย เมื่อสีตว์และพืชตาย แคลเซียมก็จะกลับลงสู่ดินอีก.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและแคลเซียม · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์

แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blockers) เป็นกลุ่มของยาที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อในส่วนที่ทำให้ร่างกายพักผ่อน หลักใหญ่ในการออกฤทธิ์ของ แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ คือการทำให้ความดันโลหิตลดลง ซึ่งจะใช้ในผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง (hypertension) แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ ส่วนใหญ่จะลดแรงหดตัวของ กล้ามเนื้อหัวใจ (myocardium) จากผลของ อินโนโทรปิก ในทางลบของ แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ ซึ่งควรจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ในคนไข้ที่เป็นโรค คาร์ดิโอไมโอพาที่ (cardiomyopathy-กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง) แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ หลายตัวทำให้การนำไฟฟ้าในหัวใจช้าลง จากการที่มันไปหยุด แคลเซียม แชนเนล ตอนช่วงขาขึ้นของกร๊าฟ (plateau phase) ใน แอคชั่น โพเทนเชียล (action potential) ของหัวใจ (ดูคาร์ดิแอก แอคชั่น โพเทนเชียล) ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate) ลดลงและอาจเป็นให้ หัวใจหยุดเต้น (heart block)ได้ ผลของ แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ ชนิดนี้เรียกว่า ผลโครโนโทรปิก (chronotropic) ในทางลบ ซึ่งเหมาะสำหรับคนไข้ที่เป็นเอเทรียล ไฟบิเลชั่น (atrial fibrillation) หรือ ใจสั่น (atrial flutter).

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โพแทสเซียม

แทสเซียม (Potassium) ธาตุเคมีในกลุ่มโลหะ มีเลขอะตอม 19 สัญลักษณ์ K สัญลักษณ์ของโพแทสเซียม มาจากภาษาเยอรมันว่า Kalium ส่วนชื่อโพแทสเซียม มาจากคำว่า โพแทส ซึ่งเป็นชื่อเรียกแร่ชนิดหนึ่งที่สกัดธาตุโพแทสเซียมได้ โพแทสเซียมเป็นโลหะอัลคาไล เป็นผงสีขาว-เงินอ่อนๆ ในธรรมชาติมักเป็นสารประกอบร่วมกับธาตุอื่นเพราะไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก สามารถออกซิไดซ์ได้อย่างรวดเร็วในอากาศ มีสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกับโซเดียม.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโพแทสเซียม · ดูเพิ่มเติม »

โรค

รค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษ.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโรค · ดูเพิ่มเติม »

โรคพิษแห่งครรภ์ระยะชัก

โรคพิษแห่งครรภ์ระยะชัก (eclampsia) เป็นภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ซึ่งเกิดขึ้นเฉียบพลันและเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้มีอาการชักแบบเกร็งกระตุก ส่วนใหญ่พบในมารดาที่มีโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชักอยู่ก่อนแล้ว ทั้งสองภาวะเรียกรวมๆ ว่าโรคพิษแห่งครรภ์ หรือครรภ์เป็นพิษ Category:สูติศาสตร์ Category:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:อาการบวม มีโปรตีนในปัสสาวะ และความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ การคลอด และในระยะหลังคลอด pl:Nadciśnienie tętnicze w ciąży#Rzucawka.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโรคพิษแห่งครรภ์ระยะชัก · ดูเพิ่มเติม »

โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก

รคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก (Preeclampsia) คือกลุ่มอาการทางการแพทย์ที่มีลักษณะคือเกิดมีภาวะความดันเลือดสูงและภาวะปัสสาวะมีโปรตีนในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์เกินกว่า 20 สัปดาห์ และไม่มีความดันเลือดสูงมาก่อน แบ่งออกเป็นชนิดรุนแรงและไม่รุนแรง โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชักมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากการที่มีสารที่สร้างจากรกที่พัฒนาผิดปกติไปทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดของมารดา อาการที่รุนแรงหลายอย่างของโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชักเกิดจากการมีความเสียหายต่อเซลล์เยื่อบุของอวัยวะต่างๆ ของมารดา รวมถึงไต และตั.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก · ดูเพิ่มเติม »

โรคระบบหัวใจหลอดเลือด

รคหัวใจและหลอดเลือดหมายถึงโรคใดๆที่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด, โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดไต, และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปล.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโรคระบบหัวใจหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดสมอง

รคลมปัจจุบัน หรือ โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นการหยุดการทำงานของสมองอย่างฉับพลันโดยมีสาเหตุจากการรบกวนหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง โรคนี้อาจเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ของสมอง (ischemia) ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) หรือภาวะมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolism) หรืออาจเกิดจากการตกเลือด (hemorrhage) ในสมอง ผลจากภาวะดังกล่าวทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดหรือตกเลือดทำงานไม่ได้ และอาจส่งผลทำให้อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia; ไม่สามารถขยับแขนขาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือซีกใดซีกหนึ่ง) ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจหรือพูดได้ หรือตาบอดครึ่งซีก (hemianopsia; ไม่สามารถมองเห็นครึ่งซีกหนึ่งของลานสายตา) ทั้งนี้ถ้ามีความรุนแรงมาก อาจทำให้ถึงตายได้ โรคลมปัจจุบันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งสามารถทำให้เสียการทำงานของระบบประสาทอย่างถาวร อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมายทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นับเป็นสาเหตุหลักของความพิการในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของทั่วโลก และกำลังจะขึ้นเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกในไม่ช้.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง

รคหลอดเลือดแดงแข็ง หรือ โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดกับหลอดเลือดแดง เกิดจากปฏิกิริยาการอักเสบเรื้อรังที่ผนังหลอดเลือดแดง ส่วนใหญ่เป็นจากการสะสมของเม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจและถูกกระตุ้นโดยไขมันแอลดีแอลโดยไม่มีการกำจัดไขมันและคอเลสเตอรอลออกที่ดีพอจากการทำงานของแมคโครฟาจโดยไขมันเอชดีแอล.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดแดงแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

รคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease (CAD)) หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (accessdate หรือ atherosclerotic cardiovascular disease หรือ coronary heart disease) หรือ โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease (IHD)) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ และ สาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

โรคอ้วน

รคอ้วนเป็นสภาวะทางการแพทย์ที่มีการสะสมไขมันร่างกายมากถึงขนาดที่อาจมีผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้มีการคาดหมายคงชีพลดลง และมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น หรืออย่างใดอย่างหนึ่งWHO 2000 p.6 การพิจารณาว่าบุคคลใดอ้วนนั้นพิจารณาจากดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นการวัด มีค่าเท่ากับน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง บุคคลที่มีดัชนีมวลกายเกิน 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรถือว่าเป็นโรคอ้วน โดยในช่วง 25-30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรนิยามเป็นน้ำหนักเกิน โรคอ้วนเพิ่มโอกาสการป่วยเป็นโรคหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจ เบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น มะเร็งบางชนิด และโรคข้อเสื่อม โรคอ้วนมีสาเหตุมาจากการรับพลังงานจากอาหารมากเกิน การขาดกิจกรรมทางกาย และความเสี่ยงทางพันธุกรรมร่วมกันมากที่สุด แม้ว่าผู้ป่วยน้อยรายจะเกิดจากยีน ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ยาหรือการป่วยจิตเวชเป็นหลัก สำหรับมุมมองที่ว่าคนอ้วนบางรายกินน้อยแต่น้ำหนักเพิ่มเพราะเมแทบอลิซึมช้านั้นมีหลักฐานสนับสนุนจำกัด โดยเฉลี่ยแล้ว คนอ้วนมีการเสียพลังงานมากกว่าคนผอมเนื่องจากต้องใช้พลังงานมากกว่าในการรักษามวลร่างกายที่เพิ่มขึ้น การจำกัดอาหารและการออกกำลังกายเป็นหลักของการรักษาโรคอ้วน สามารถปรับปรุงคุณภาพอาหารได้โดยการลดการบริโภคอาหารพลังงานสูง เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และโดยการเพิ่มการรับใยอาหาร อาจบริโภคยาลดวามอ้วนเพื่อลดความอยากอาหารหรือลดการดูดซึมไขมันเมื่อใช้ร่วมกันกับอาหารที่เหมาะสม หากอาหาร การออกกำลังกายและยาไม่ได้ผล การทำบอลลูนกระเพาะอาหาร (gastric ballon) อาจช่วยให้น้ำหนักลดได้ หรืออาจมีการผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรกระเพาะอาหารและความยาวลำไส้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและลดความสามารถในการดูดซึมสารอาหาร โรคอ้วนเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ทั่วโลกที่สามารถป้องกันได้ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ทางการมองว่าโรคอ้วนเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่ร้ายแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 โรคอ้วนถูกระบุว่าเป็นปัญหาในโลกสมัยใหม่อย่างมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกตะวันตก) ทว่าในอดีต ความอ้วนถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งและความอุดมสมบูรณ์ และกระทั่งปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อดังกล่าวในบางบริเวณของโลก ใน..

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโรคอ้วน · ดูเพิ่มเติม »

โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย

รคของหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vascular disease - PVD) หรือ โรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (peripheral artery disease - PAD) หมายถึงโรคทั้งหมดที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ในแขนขา โรคของหลอดเลือดส่วนปลายอาจเกิดจากโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง เกิดจากการอักเสบที่ทำให้เกิดการตีบตัน เกิดจากมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดหรือมีลิ่มเลือด โรคนี้อาจทำให้เกิดการขาดเลือดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง โดยมักเป็นที.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย · ดูเพิ่มเติม »

โรคไต

รคไต หมายถึง โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของพยาธิสภาพของไตในการทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกายและรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายมนุษย์ โรคไตมีหลายประเภทดังนี้.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโรคไต · ดูเพิ่มเติม »

โรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรังคือภาวะซึ่งมีค่อยๆ มีการเสื่อมของการทำงานของไตเป็นเวลานาน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี อาการของการที่ไตทำงานเสื่อมลงนั้นเกือบทั้งหมดเป็นอาการซึ่งไม่มีความจำเพาะ อาจมีอาการเพียงความรู้สึกไม่สบายตัวหรือไม่รู้สึกอยากอาหารได้ ส่วนใหญ่การวินิจฉัยไตวายเรื้อรังจะพบจากการตรวจคัดกรองในผู้ที่มีความเสี่ยงของการเป็นโรคไต เช่น ผู้ป่วยความดันเลือดสูง เบาหวาน หรือผู้ที่มีญาติเป็นโรคไตเรื้อรัง นอกจากนี้ยังอาจตรวจพบเมื่อผู้ป่วยมีอาการจากภาวะแทรกซ้อนของโรคไต เช่น โรคของระบบหัวใจหลอดเลือด ซีด หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโรคไตเรื้อรัง · ดูเพิ่มเติม »

โทมัส ยัง

ทมัส ยัง โทมัส ยัง (Thomas Young; 14 มิถุนายน พ.ศ. 2316 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2372) เป็นนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ ชาวอังกฤษ มีความเฉลียวฉลาดถึงขนาดที่พูดได้กว่า 12 ภาษา เมื่ออายุได้ 14 ปี ผลงานที่เด่นที่สุดของเขาในด้านวัสดุศาสตร์ก็คือ มอดุลัสของยัง นอกจากนี้เขาได้ช่วยเขียนหนังสือสารานุกรม เอ็นไซโคลพีเดีย บริตเตนิกา (Encyclopedia Britannica) ในหลาย ๆ บทความ และยังศึกษาอักษรอียิปต์โบราณเช่นเดียวกับชอง-ฟรองซัว ชองโปลิยง นักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่ง.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโทมัส ยัง · ดูเพิ่มเติม »

โคเคน

ส่วนประกอบทางเคมีของโคเคน โคเคน (cocaine) คือ crystalline tropane alkaloid ซึ่งสกัดมาจากใบของต้นโคคา (Coca) ซึ่งออกฤทธิ์เป็นสารกระตุ้นมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง และเป็นสารที่ระงับความต้องการของร่างกาย (Appetite Suppressant) อีกนัยหนึ่งโคเคนอีน เป็นสาร Dopamine reuptake inhibitor ซึ่งผู้ได้รับสารนี้จะรู้สึกมีความสุข และมีพลังงานเพิ่มอย่างสูงในระยะเวลาสั้นๆ ผู้ที่ใช้สารเสพติดนี้ส่วนใหญ่มีอาการเครียด หรือวิตกกังวลอย่างรุนแรง พักผ่อนไม่เพียงพอ และต้องการผ่อนคลายความตึงเครียดลง ถึงแม้ว่าโคเคนจะเป็นสารเสพติด แต่ก็ได้มีการใช้ในวงการแพทย์โดยใช้เป็นสาร Topical Anesthesia มีการใช้ร่วมในเด็ก โดยเฉพาะการศัลยกรรม ตา จมูก และคอ ถ้าใครเสพสารนี้ไปแล้วจะต้องการสารโคเคนตลอดจนตาย ข้อเสียของการใช้สารโคเคนคือ มีผลให้ระบบการหายใจล้มเหลว มีโอกาสเป็น โรคหัวใจ และอัมพาต ในผู้ใช้สารโคเคนเป็นระยะเวลานาน หลังจากโคเคนหมดฤทธิ์แล้วอาจจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้าเนื่องจากภาวะการลดระดับของสารโดปามีนในสมองอย่างฉับพลัน หลังจากการกระตุ้นของสารเสพติด หมวดหมู่:สารก่อวิรูป หมวดหมู่:ยาเสพติด.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโคเคน · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียม

ซเดียม (Sodium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Na (จากคำว่า Natrium ในภาษาละติน) และหมายเลขอะตอม 11 โซเดียมเป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน และอยู่ในกลุ่มโลหะแอลคาไล โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะแฮไลต์) โซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง ออกซิไดส์ในอากาศและทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำมากจนเกิดเปลวไฟได้ จึงจำเป็นต้องเก็บอยู่ในน้ำมัน.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโซเดียม · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมคลอไรด์

ซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride, สูตรเคมี: NaCl) มีชื่อที่เรียกทั่วไปดังนี้ เกลือแกง หรือ ฮาไลต์ เป็นสารประกอบเคมี โซเดียมคลอไรด์เป็นเกลือที่มีบทบาทต่อความเค็มของมหาสมุทร และของเหลวภายนอกเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เป็นส่วนประกอบหลักในเกลือที่กินได้ มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการเป็นเครื่องปรุงรส และใช้ในการถนอมอาหาร.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโซเดียมคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ไวน์

วน์แดง (หน้า) และไวน์ขาว (หลัง) บนโต๊ะอาหาร ไวน์ (wine) เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำจากองุ่นหรือผลไม้อื่นหมัก สมดุลเคมีธรรมชาติขององุ่นทำให้มันหมักโดยไม่ต้องเพิ่มน้ำตาล กรด เอ็นไซม์ น้ำหรือสารอาหารอื่น ยีสต์บริโภคน้ำตาลในองุ่นแล้วเปลี่ยนเป็นเอทานอลและคาร์บอนไดออกไซด์ พันธุ์ขององุ่นและสายพันธุ์ของยีสต์ที่ต่างกันทำให้ได้ไวน์คนละแบบ แบบที่รู้จักกันดีเกิดจากอันตรกิริยาที่ซับซ้อนยิ่งระหว่างการเจริญทางชีวเคมีของผลไม้ ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องในการหมัก แหล่งที่ปลูก (terrior) และการระบุแหล่ง (appellation) ตลอดจนการแทรกแซงของมนุษย์ในกระบวนการโดยรวม.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและไวน์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอบิวพรอเฟน

อบิวพรอเฟน หรือ ไอบิวพรอเฟิน (Ibuprofen) เป็นยาแก้อักเสบปราศจากสเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drug) หรือเอ็นเซด (NSAID) ซึ่งใช้รักษาอาการปวด ไข้ และการอักเสบ รวมถึงอาการปวดระดู และข้ออักเสบรูมาติก โดยปรกติแล้ว ร้อยละ 60 ของผู้ได้รับเอ็นเซดจะมีอาการดีขึ้น แต่ถ้าเอ็นเซดประเภทหนึ่งไม่ได้ผล ก็อาจใช้อีกประเภทได้ อนึ่ง ไอบิวพรอเฟนยังอาจใช้ระงับอาการ "ดักตัส อาร์เทอริโอซัส ยังคงอยู่" ในทารกคลอดก่อนกำหนด และอาจบริโภคทางปากหรือหลอดเลือด ไอบิวพรอเฟนนั้นมักออกฤทธิ์ภายในหนึ่งชั่วโมง ไอบิวพรอเฟนมักก่อผลข้างเคียงเป็นอาการแสบร้อนกลางอกและผื่น แต่เมื่อเทียบกับเอ็นเซดประเภทอื่น ๆ ไอบิวพรอเฟนอาจมีผลข้างเคียงอย่างอาการเลือดออกในทางเดินอาหารน้อยกว่า ทว่า ถ้าใช้ในปริมาณมากและเป็นเวลานาน ไอบิวพรอเฟนจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหัวใจล้มเหลว ไตล้มเหลว และตับล้มเหลว ถ้าใช้น้อยและไม่นาน ก็ไม่ปรากฏว่าเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายขาดเลือด แต่ถ้าใช้มากและนานก็ไม่แน่ นอกจากนี้ ไอบิวพรอเฟนอาจทำให้โรคหืดแย่ลงได้ อนึ่ง แม้ยังไม่แน่ชัดว่า ไอบิวพรอเฟนเป็นอันตรายต่อครรภ์ในระยะแรกเริ่มหรือไม่ แต่ปรากฏว่า มีอันตรายต่อครรภ์ในระยะท้าย ไอบิวพรอเฟนนั้น สตูเวิร์ด แอดัมส์ (Stewart Adams) ค้นพบใน..

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและไอบิวพรอเฟน · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและไข้ · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและไต · ดูเพิ่มเติม »

ไตรกลีเซอไรด์

ตัวอย่างไตรกลีเซอไรด์ ซ้าย: กลีเซอรอล, ขวาจากบนลงล่าง: กรดพาล์มมิติก, กรดโอเลอิก, กรดลิโนเลนิก, สูตรเคมี: C55H98O6 ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) หรือไตรเอซิลกลีเซอรอล (Triacylglycerol) เป็นไขมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันสามโมเลกุลรวมตัวกับกลีเซอรอลหนึ่งโมเลกุล กรดไขมันที่มาประกอบเป็นไตรกลีเซอไรด์นั้นอาจจะเป็นกรดไขมันชนิดเดียวกัน เช่น ไตรสเตียริน มีกรดสเตียริกเป็นองค์ประกอบเท่านั้น หรือเป็นกรดไขมันคนละชนิด เช่น 1-พาล์มิโทสเตียริน (1-Palmitostearin) หมายถึงไตรกลีเซอไรด์ที่กรดไขมันตัวแรกเป็นกรดพาล์มมิติก ส่วนกรดไขมันตัวที่ 2 และ 3 เป็นกรดสเตียริก เป็นพลังงานสะสมในสัตว์ และใช้สะสมใต้ผิวหนังเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกาย โดยสะสมในเซลล์ไขมัน (Adipocyte หรือ Fat cell) ในรูปเม็ดไขมัน หรืออยู่ในรูปไมเซลล์ (Micelle) ปัญหาและอันตรายจากโรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดทำให้ หลอดเลือดแดงแข็งตัว ถ้าเกิดที่หัวใจทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าเกิดที่สมองทำให้เป็นอัมพาต หรือ ทำให้เกิดอาการร่วมคือ ปวดท้อง ตับโต ม้ามโต และทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ปวดข้อ แหล่งอาหารที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ได้แก่ อาหารทุกชนิดที่มีปริมาณไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันสัตว์ น้ำตาล อาหารรสหวานจัด ขนมหวานทุกชนิด เนื่องจากร่างกายสามารถนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ คนอายุ 30 ปีขึ้นไปไม่ควรมีค่า triglyceride เกิน 200 mg/dl.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและไตรกลีเซอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไตวาย

ตวาย (renal failure, kidney failure, renal insufficiency) เป็นภาวะซึ่งการทำงานของไตผิดปกติไปจนไม่สามารถกรองสารพิษและของเสียออกจากเลือดได้เพียงพอ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดเฉียบพลัน (ไตเสียหายเฉียบพลัน) และเรื้อรัง (ไตวายเรื้อรัง) ซึ่งเกิดจากโรคหรือภาวะอื่นๆ ได้หลายสาเหตุ ไตที่วายจะมีอัตราการกรองผ่านโกลเมอรูลัสลดลง ตรวจเคมีในเลือดมักพบว่ามีระดับครีแอทินีนในซีรัม (serum creatinine) สูงขึ้น ปัญหาที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของไตได้แก่ความผิดปกติของปริมาณสารน้ำในร่างกาย กรดด่างไม่สมดุล ระดับโพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสเฟต ผิดปกติ เมื่อเป็นเรื้อรังทำให้เลือดจาง กระดูกหักแล้วหายช้า ในบางสาเหตุอาจทำให้มีปัสสาวะเป็นเลือดหรือมีโปรตีนปนในปัสสาวะได้ การเป็นโรคไตเรื้อรังส่งผลต่อโรคอื่นๆ เช่น โรคระบบหัวใจหลอดเลือด ได้อย่างมาก.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและไตวาย · ดูเพิ่มเติม »

ไตเสียหายเฉียบพลัน

วะไตเสียหายเฉียบพลัน (acute kidney injury, AKI) หรือเดิมใช้ชื่อว่าภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure, ARF) คือภาวะซึ่งร่างกายมีการสูญเสียการทำงานของไตอย่างเฉียบพลัน มีสาเหตุหลากหลายตั้งแต่ภาวะปริมาตรเลือดต่ำทุกแบบ การได้รับสารซึ่งเป็นอันตรายต่อไต การอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ และสาเหตุอื่นๆ การวินิจฉัยภาวะไตเสียหายเฉียบพลันอาศัยลักษณะเฉพาะของผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การมีระดับของยูเรียไนโตรเจนในเลือดและครีแอทินีนขึ้นสูง หรือการตรวจพบว่าไตผลิตปัสสาวะออกมาได้น้อยกว่าปกติ ภาวะไตเสียหายเฉียบพลันสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่าง เช่น ภาวะเลือดเป็นกรดเหตุเมตะบอลิก ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ยูเรียคั่งในเลือด เสียสมดุลของปริมาณสารน้ำในร่างกาย และส่งผลต่อระบบอวัยวะอื่นๆ การให้การรักษาทำได้โดยให้การรักษาประคับประคอง เช่น การบำบัดทดแทนไต และการรักษาภาวะซึ่งเป็นสาเหต.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและไตเสียหายเฉียบพลัน · ดูเพิ่มเติม »

เบาหวาน

รคเบาหวาน (Diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน · ดูเพิ่มเติม »

เบียร์

ียร์ในแก้ว เบียร์ เป็นเมรัยหลาย ๆ รูปแบบที่ผ่านกระบวนการหมัก ผลิตภัณฑ์พวกธัญพืช ประวัติศาสตร์ของเบียร์นั้นมีมายาวนาน เบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอลชนิดแรกของโลก เริ่มผลิต 6,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยชนชาติ บาบิโลเนียน เบียร์เป็นที่รู้จักในสมัยอียิปต์โบราณและเมโสโปเตเมีย และมีหลักฐานย้อนไปยาวนานถึง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้ข้าวบาร์เลย์ เป็นวัตถุดิบ ในราว 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ทีการผสมพืชอีกหนึ่งชนิดเข้าไปคือ ฮอปส์ ทำให้มีกลิ่นหอม, รสชาติขม และ สามารถรักษาคุณภาพของเบียร์ให้เก็บได้นานขึ้น แต่เบียร์เหล่านี้แตกต่างจากเบียร์ในปัจจุบัน และเนื่องจากเครื่องปรุงและกรรมวิธีในการผลิตเบียร์แตกต่างกันไปตามสถานที่ ลักษณะของเบียร์ (ชนิดของเบียร์, รสชาติ, และสี) จึงมีความแตกต่างกันได้มาก.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและเบียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เบตาบล็อกเกอร์

เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta blockers หรือบางครั้งเขียน β-blockers) เป็นยาลดความดันชนิดหนึ่ง ออกฤทธิ์ผ่านทางระบบประสาท โดยยับยั้งผลของการกระตุ้นของ Adrenalin หรือ Norepinephrine เป็นผลให้หัวใจเต้นช้าลง และเบาลง ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด ลดภาวะบางอย่างที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เช่น อาการตื่นเต้น รักษาโรคต่าง ๆ เช่น ต้อหิน ไมเกรน กระวนกระวาย ตื่นเต้น ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น หมวดหมู่:ยาลดความดัน หมวดหมู่:บทความยาที่ต้องการภาพประกอบ.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและเบตาบล็อกเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เกเลน

วาดเกเลนในศตวรรษที่ 18 โดยเกออร์ก เพาล์ บัสช์ เกเลน (Galen; Γαληνός, Galēnos; Claudius Galenus; ค.ศ. 129 - ประมาณ ค.ศ. 200 หรือ 216) แห่งเพอร์กามอน เป็นแพทย์ชาวกรีกซึ่งมีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ของตะวันตกมาเป็นเวลานานกว่าพันปี ชื่อหน้า "Claudius" ซึ่งไม่ได้ระบุเอาไว้ในเอกสารภาษากรีก ปรากฏอยู่ในเอกสารในยุคฟื้นฟูศิลปวิท.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและเกเลน · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เอสโตรเจน

อสโตรเจน (Estrogen) คือฮอร์โมนเพศขั้นพื้นฐานที่พบอยู่ในเพศหญิงและยังถือเป็นยาชนิดหนึ่งด้วย ฮอร์โมนเอสโตรเจนคอยพัฒนาและควบคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงตลอดจนลักษณะทางเพศทุติยภูมิ คำว่าเอสโตรเจนยังอาจหมายถึงสารอินทรีย์หรือสารสังเคราะห์ใดๆที่ให้ผลเหมือนกับฮอร์โมนตามธรรมชาติ สารทดแทนเอสโตรเจนมักถูกใช้ใน ยาเม็ดคุมกำเนิด, ถูกใช้เป็นฮอร์โมนทดแทนในสตรีวัยหมดประจำเดือน, สตรีผู้มีภาวะการมีฮอร์โมนเพศต่ำ ตลอดจนถูกใช้โดยหญิงข้ามเพศ ส่วนยาระงับเอสโตรเจนอาจถูกใช้ในการรักษาโรคมะเร็งที่ตอบสนองต่อฮอร์โมน (hormone-sensitive cancer) อาทิ มะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งเต้านม.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและเอสโตรเจน · ดูเพิ่มเติม »

เอออร์ตา

อออร์ตา เป็นหลอดเลือดแดงที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ เริ่มต้นจากหัวใจห้องล่างซ้าย และนำเลือดที่มีออกซิเจนสูงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในระบบการไหลเวียนเลี้ยงกาย (systemic circulation).

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและเอออร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

เจ็บหน้าอก

อาการเจ็บหน้าอกอาจเป็นอาการของภาวะที่มีอันตรายหลายอย่าง รวมถึงโรคหัวใจขาดเลือด ส่วนใหญ่เบื้องต้นมักถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ไว้ก่อนจนกว่าจะยืนยันได้ว่าไม่ใช่ ทั้งนี้สาเหตุของอาการเจ็บหน้าอกมีมากมาย และส่วนใหญ่ไม่ใช่โรคหัวใจ หมวดหมู่:ความเจ็บปวด.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและเจ็บหน้าอก · ดูเพิ่มเติม »

เดอะแลนซิต

อะแลนซิต (The Lancet) เป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปรายสัปดาห์ที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน ที่เก่าแก่ที่สุดและรู้จักกันดีที่สุดวารสารหนึ่ง โดยมีการกล่าวว่า เป็นวารสารการแพทย์ที่มีเกียรติมากที่สุดวารสารหนึ่งของโลก ในปี 2557 เดอะแลนซิต จัดว่ามีอิทธิพลเป็นที่สองในบรรดาวารสารการแพทย์ทั่วไป โดยมีปัจจัยกระทบที่ 45 ต่อจากวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ ที่มีปัจจัยกระทบที่ 56 หน้าต่างแบบแลนซิตที่โบสถ์แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร น.ทอมัส เวคลีย์ ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ ได้จัดตั้งวารสารขึ้นในปี 2366 (ค.ศ. 1823) โดยตั้งชื่อวารสารตามเครื่องมือผ่าตัดที่เรียกว่า "lancet" (มีดปลายแหลมสองคมขนาดเล็กสำหรับผ่าตัด) และตามชื่อส่วนของสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษที่เป็นช่องหน้าต่างโค้งยอดแหลม ซึ่งหมายถึง "แสงสว่างแห่งปัญญา" หรือ "เพื่อให้แสงสว่างเข้ามา" เดอะแลนซิต พิมพ์บทความงานวิจัยดั้งเดิม บทความปริทัศน์ บทความบรรณาธิการ งานปฏิทัศน์หนังสือ การติดต่อทางจดหมาย ข่าว และรายงานเค้ส และมีสำนักพิมพ์แอ็ลเซอเฟียร์เป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2534 หัวหน้าบรรณาธิการคือนายริชาร์ด ฮอร์ตัน ตั้งแต่ปี 2538 วารสารมีสำนักงานบรรณาธิการในนครลอนดอน นิวยอร์ก และปักกิ่ง.

ใหม่!!: ความดันโลหิตสูงและเดอะแลนซิต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

High blood pressureHypertensionภาวะความดันโลหิตสูงภาวะความดันเลือดสูงความดันสูงความดันโลหิตหลอดเลือดแดงสูงความดันเลือดสูงโรคความดันสูงโรคความดันโลหิตสูง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »