โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความคิดเชิงไสยศาสตร์และจิตวิทยาคลินิก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ความคิดเชิงไสยศาสตร์และจิตวิทยาคลินิก

ความคิดเชิงไสยศาสตร์ vs. จิตวิทยาคลินิก

วามคิดเชิงไสยศาสตร์ (Magical thinking) หรือ ความคิดเชิงเวทมนตร์ เป็นการอ้างการกระทำหนึ่ง ๆ ว่าเป็นเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ไม่สมเหตุผลและไม่สมกับสิ่งที่สังเกตได้ เช่น ในความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อพื้นบ้าน และความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ มักจะมีการอ้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อวัตร การสวดมนต์หรือการสวดอ้อนวอน การบูชายัญ หรือการเว้นจากสิ่งต้องห้าม กับประโยชน์หรืออานิสงส์ที่พึงจะได้จากการกระทำเหล่านั้น ในจิตวิทยาคลินิก ความคิดเชิงไสยศาสตร์อาจทำให้คนไข้ประสบกับความกลัวที่จะทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเกิดความคิดบางอย่าง เพราะความเชื่อว่าจะมีสิ่งเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำนั้น นอกจากนั้นแล้ว ความคิดเชิงไสยศาสตร์อาจทำให้เราเชื่อว่า เพียงแค่ความคิดเท่านั้นสามารถทำให้เกิดผลต่าง ๆ ในโลกได้ นี้เป็นวิธีการคิดหาเหตุ (causal reasoning) แบบหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุผลวิบัติโดยเหตุ (causal fallacy) ที่เราพยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์สองอย่างที่เกิดขึ้นต่อ ๆ กันหรือพร้อมกัน คือระหว่างการกระทำและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ไม่ได้เป็นเหตุผลต่อกันและกันจริง ๆ ส่วนความคิดเชิงไสยศาสตร์เสมือน (Quasi-magical thinking) หมายถึง "กรณีที่เรามีพฤติกรรมเหมือนกับเชื่อผิด ๆ ว่า การกระทำของตนมีอิทธิพลต่อผลที่เกิดขึ้น แม้ว่าจริง ๆ แล้ว ตนจะไม่ได้เชื่ออย่างนั้น". ตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology) คือ สาขาหนึ่งของวิชาจิตวิทยา (Psychology) ที่มีองค์ประกอบของข้อมูลวิชาความรู้ที่หลากหลายทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ (Arts and Science) นอกเหนือไปจากวิชาจิตวิทยาในแขนงต่างๆ (จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย จิตวิทยาบุคลิกภาพ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาแรงจูงใจ จิตวิทยาการรับรู้ ฯลฯ) ที่จำเป็นต่อการเข้าใจบุคคลแล้ว วิชาจิตวิทยาคลินิกยังต้องการองค์ความรู้อื่นที่สำคัญ อาทิ องค์ความรู้ด้านจิตเวช(Psychiatry) จิตวิเคราะห์(Psychoanalysis) ประสาทวิทยา(Neurology) ประสาทจิตวิทยา(Neuropsychology) สารเสพติดและการติดยา นิติจิตเวช (Forensic Psychiatry) จิตเวชเด็กและวัยรุ่น การทำจิตบำบัดและการให้การปรึกษา(Psychotherapy and Counseling) พฤติกรรมบำบัด การฟื้นฟูดูแลทางด้านจิตใจ และ การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือทางจิตวิทยาคลินิก เป็นต้น ผู้รับบริการด้านจิตวิทยาคลินิก ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้ป่วยจิตเวชหรือผู้มีอาการทางจิตเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมอง ผู้ป่วยโรคทางด้านร่างกายอื่นๆที่มีปัญหาทางจิตใจอารมณ์หรือพฤติกรรมร่วมด้วย นอกจากนี้ บุคคลทั่วไปที่มีประสบการณ์ชีวิตที่ทำให้เกิดความเครียด ความเศร้า ความกลัว หรือความรู้สึกไม่สามารถปรับตัวกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ก็สามารถรับบริการจิตวิทยาคลินิกได้เช่นกัน หรือแม้แต่ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาครอบครัว คู่สมรส หรือปัญหาด้านสัมพันธภาพต่าง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความคิดเชิงไสยศาสตร์และจิตวิทยาคลินิก

ความคิดเชิงไสยศาสตร์และจิตวิทยาคลินิก มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ความคิดเชิงไสยศาสตร์และจิตวิทยาคลินิก

ความคิดเชิงไสยศาสตร์ มี 27 ความสัมพันธ์ขณะที่ จิตวิทยาคลินิก มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (27 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความคิดเชิงไสยศาสตร์และจิตวิทยาคลินิก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »