ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และสหราชอาณาจักร
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และสหราชอาณาจักร
ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ vs. สหราชอาณาจักร
วามขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ เป็นการต่อสู้ที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความขัดแย้งนี้เกิดเป็นวงกว้าง และบางครั้งยังใช้คำนี้อ้างอิงถึงความขัดแย้งนิกายในปาเลสไตน์ในอาณัติระหว่างยีชูฟ (yishuv) ขบวนการไซออนิสต์กับประชากรอาหรับภายใต้การปกครองของอังกฤษ ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ก่อเกิดเป็นส่วนสำคัญของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลที่ใหญ่กว่า ถูกเรียกอย่างกว้างขวางว่าเป็น "ความขัดแย้งที่หายยากที่สุด" ของโลก แม้มีกระบวนการสันติภาพระยะยาวและการปรองดองทั่วไปของอิสราเอลกับอียิปต์และจอร์แดน แต่อิสราเอลและปาเลสไตน์ไม่สามารถบรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายได้ ประเด็นสำคัญที่ยังเหลืออยู่ คือ การรับรองร่วมกัน เขตแดน ความมั่นคง สิทธิน้ำ การควบคุมเยรูซาเลม นิคมอิสราเอล เสรีภาพในการเคลื่อนไหวของปาเลสไตน์ และการแก้ไขการอ้างสิทธิการเดินทางกลับสำหรับผู้ลี้ภัยของปาเลสไตน์ ความรุนแรงของความขัดแย้งในภูมิภาคอันอุดมไปด้วยแหล่งความสนใจทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศาสนาทั่วโลก กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างประเทศจำนวนมากว่าด้วยสิทธิทางประวัติศาสตร์ ประเด็นความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน และเป็นปัจจัยขัดขวางการท่องเที่ยวและการเข้าถึงพื้นที่ซึ่งพิพาทกันอย่างดุเดือดโดยทั่วไป มีความพยายามหลายครั้งเพื่อเป็นนายหน้าทางแก้สองรัฐ (two-state solution) อันเกี่ยวข้องกับการสถาปนารัฐปาเลสไตน์เอกราชขึ้นคู่กับรัฐอิสราเอล (หลังการสถาปนาอิสราเอลในปี 2491) ในปี 2550 ตามการหยั่งเสียงจำนวนหนึ่ง ทั้งชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ส่วนใหญ่เห็นชอบทางแก้สองรัฐเป็นวิธีแก้ไขความขัดแย้งมากกว่าทางแก้อื่น ยิ่งไปกว่านั้น สาธารณชนยิวส่วนใหญ่ยังมองว่าข้อเรียกร้องรัฐเอกราชของชาวปาเลสไตน์ชอบธรรม และคิดว่าประเทศอิสราเอลสามารถตกลงให้จัดตั้งรัฐเช่นว่าได้ ความไม่ไว้วางใจร่วมกันและความไม่ลงรอยอย่างสำคัญหยั่งลึกในประเด็นพื้นฐาน เช่นเดียวกับกังขาคติต่อกันและกันเกี่ยวกับการผูกมัดตามพันธกรณีที่รักษาในความตกลงท้ายที่สุด ในสังคมอิสราเอลและปาเลสไตน์ ความขัดแย้งนี้ก่อให้เกิดมุมมองและความคิดเห็นหลากหลาย ซึ่งเน้นการแบ่งแยกลึกล้ำซึ่งไม่ได้มีเฉพาะระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์เท่านั้น แต่ยังภายในแต่ละสังคมด้วย ลักษณะเด่นของความขัดแย้งนี้เป็นระดับความรุนแรงที่สังเกตได้แทบตลอดระยะของความขัดแย้ง มีการสู้รบโดยกองทัพตามแบบ กลุ่มกึ่งทหาร กลุ่มก่อการร้ายและปัจเจกบุคคล กำลังพลสูญเสียมิได้จำกัดแต่เฉพาะทหาร แต่ทั้งสองฝ่ายยังสูญเสียประชากรพลเรือนไปเป็นอันมาก มีตัวแสดงระหว่างประเทศที่โดดเด่นเกี่ยวข้องในความขัดแย้งนี้ด้วย สองภาคีที่เข้าร่วมการเจรจาโดยตรง คือ รัฐบาลอิสราเอลและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ การเจรจาอย่างเป็นทางการมีผู้แทนระหว่างประเศเป็นสื่อกลาง เรียก กลุ่มสี่ว่าด้วยตะวันออกกลาง (Quartet on the Middle East) ซึ่งมีผู้แทนทางการทูตพิเศษเป็นผู้แทน ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหภาพยุโรปและสหประชาชาติ สันนิบาตอาหรับเป็นอีกตัวแสดงหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งเสนอแผนสันติภาพทางเลือด อียิปต์ สมาชิกผู้ก่อตั้งสันนิบาตอาหรับ ในอดีตเคยเป็นผู้มีส่วนหลัก นับแต่ปี 2549 ฝ่ายปาเลสไตน์แตกแยกด้วยความขัดแย้งระหว่างสองกลุ่มแยกหลัก คือ ฟาตาห์ พรรคเด่นเดิม และผู้ท้าชิงเลือกตั้งในภายหลัง ฮามาส หลังฮามาสชนะการเลือกตั้งในปี 2549 สหรัฐ สหภาพยุโรป และอิสราเอลปฏิเสธการรับรองรัฐบาลฮามาสและเงินทุนให้องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ส่วนมากถูกระงับ หนึ่งปีให้หลัง หลังการยึดอำนาจในฉนวนกาซาของฮามาสในเดือนมิถุนายน 2550 ดินแดนซึ่งรับรองอย่างเป็นทางการเป็นรัฐปาเลสไตน์ (อดีตองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ องค์การปกครองชั่วคราวของปาเลสไตน์) ถูกแบ่งระหว่างฟาตาห์ในเวสต์แบงก์และฮามาสในฉนวนกาซา การแบ่งการปกครองระหว่างภาคีนี้ส่งผลให้การปกครองสองพรรคขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง การเจรจาสันติภาพรอบล่าสุดเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2556 และกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ในวันที่ 7 ธันวาคม..2560 ภายหลังประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ รับรอง กรุงเยรูซาเล็ม ให้เป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอล การเจรจาสันติภาพก็มีแนวโน้มว่าจะจบลง สงครามรอบใหม่เริ่มขึ้นภายหลังการประกาศรับรองดังกล่าว ในวันที่ 9 ธันวาคม.. หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และสหราชอาณาจักร
ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และสหราชอาณาจักร มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และสหราชอาณาจักร มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และสหราชอาณาจักร
การเปรียบเทียบระหว่าง ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และสหราชอาณาจักร
ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ มี 17 ความสัมพันธ์ขณะที่ สหราชอาณาจักร มี 164 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 0.55% = 1 / (17 + 164)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และสหราชอาณาจักร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: