เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและเบนจามิน เนทันยาฮู

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและเบนจามิน เนทันยาฮู

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล vs. เบนจามิน เนทันยาฮู

วามขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล (الصراع العربي الإسرائيلي Al-Sura'a Al'Arabi A'Israili; הסכסוך הישראלי-ערבי Ha'Sikhsukh Ha'Yisraeli-Aravi) หมายถึงความตึงเครียดทางการเมืองและความขัดแย้งทางทหารระหว่างสันนิบาตอาหรับและอิสราเอล และระหว่างชาวอาหรับกับชาวอิสราเอล ต้นตอของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลสมัยใหม่นี้เกิดจากความรุ่งเรืองของขบวนการไซออนิสต์และลัทธิชาตินิยมอาหรับช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดินแดนที่ชาวยิวมองว่าเป็นบ้านเกิดทางประวัติศาสตร์ของพวกตนนั้น ก็ถูกมองโดยขบวนการรวมอาหรับว่าเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นของชาวอาหรับปาเลสไตน์ และเป็นดินแดนของมุสลิมในบริบทรวมอิสลาม ความขัดแย้งระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับปาเลสไตน์อุบัติขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระหว่างเหตุจลาจลนบีมูซาเมื่อปี 1920 และบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มขั้นในปี 1947 และขยายเป็นประเทศสันนิบาตอาหรับทั้งหมดเมื่อมีการสถาปนารัฐอิสราเอลสมัยใหม่ขึ้นในเดือนพฤษภาคม 1948 เมื่อเวลาผ่านไป ความขัดแย้งดังกล่าว ซึ่งเริ่มต้นเป็นความขัดแย้งทางการเมืองและชาตินิยมเหนือความปรารถนาดินแดนที่แข่งกันหลังจักรวรรดิออตโตมันล่มสลาย ได้เปลี่ยนแปลงจากความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลในภูมิภาคเต็มขั้น ไปเป็นความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ที่จำกัดบริเวณกว่า โดยความเป็นปรปักษ์เต็มขั้นส่วนใหญ่สิ้นสุดลงด้วยการหยุดยิง หลังสงครามเดือนตุลาคม ปี 1973 ต่อมา มีการลงนามความตกลงสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ในปี 1979 และอิสราเอลกับจอร์แดนในปี 1994 ข้อตกลงออสโลนำไปสู่การสถาปนาองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ในปี 1993 แม้จะยังไม่บรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายก็ตาม ปัจจุบัน การหยุดยิงยังมีผลระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย เช่นเดียวกับเลบานอนที่เพิ่งลงนามไป (ตั้งแต่ปี 2006) ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกาซาที่ปกครองโดยฮามาส แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสันนิบาตอาหรับ แต่โดยปกตินับเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ จึงเป็นความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลด้วย แม้จะบรรลุความตกลงสันติภาพและการหยุดยิงต่าง ๆ แต่โลกอาหรับและอิสราเอลโดยทั่วไปยังหมางใจกันอยู่เหนือบางดินแดน. เบนจามิน "บีบี" เนทันยาฮู (Benjamin "Bibi" Netanyahu; בִּנְיָמִין "בִּיבִּי" נְתָנְיָהוּ; بنيامين نتانياهو; เกิด 21 ตุลาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนปัจจุบัน เขายังเป็นสมาชิกรัฐสภา (Knesset) และหัวหน้าพรรคลิคุด (Likud) เขาเกิดในกรุงเทลอาวีฟ มีบิดามารดาเป็นชาวยิวโลกิยะ เนทนยาฮูเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนแรกที่เกิดในประเทศอิสราเอลหลังการสถาปนารัฐ เนทันยาฮูเข้าร่วมกำลังป้องกันอิสราเอลไม่นานหลังสงครามหกวันในปี 2510 และเป็นหัวหน้าทีมในหน่วยรบพิเศษซาเยเรตแมตกัล (Sayeret Matkal) เขาเข้าร่วมหลายภารกิจ ซึ่งประกอบด้วยปฏิบัติการอินเฟอร์โน (ปี 2511), ปฏิบัติการกิฟต์ (ปี 2511) และปฏิบัติการไอโซโทป (ปี 2525) ซึ่งระหว่างนั้นเขาถูกยิงที่ไหล่ เขาต่อสู้ในแนวหน้าในสงครามการบั่นทอนกำลัง (War of Attrition) และสงครามยมคิปปูร์ในปี 2516 โดยร่วมกับกำลังพิเศษตีโฉบฉวยตามคลองสุเอซ แล้วนำการโจมตีของคอมมานโดลึกเข้าดินแดนซีเรีย เขาได้ยศร้อยเอกก่อนได้รับการปลด หลังสำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ด้วยปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิตและวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต เขาได้รับสรรหาเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางเศรษฐกิจแก่บอสตันคอนซัลทิงกรุป เขากลับประเทศอิสราเอลในปี 2521 เพื่อก่อตั้งสถาบันต่อต้านการก่อการร้ายโยนาทัน เนทันยาฮู (Yonatan Netanyahu Anti-Terror Institute) ซึ่งได้ชื่อตามโยนาทัน เนทันยาฮู ผู้เสียชีวิตขณะเป็นผู้นำปฏิบัติการเอนเทบบี (Entebbe) เนทันยาฮูรับราชการเป็นเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำสหประชาชาติตั้งแต่ปี 2527 ถึง 2531 เนทันยาฮูเป็นหัวหน้าพรรคลิคุดในปี 2536 เนทันยาฮูชนะการเลือกตั้งปี 2539 ทำให้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลที่หนุ่มที่สุด ดำรงวาระแรกระหว่างเดือนมิถุนายน 2539 ถึงกรกฎาคม 2541 เขาย้ายจากเวทีการเมืองไปภาคเอกชนหลังพ่ายการเลือกตั้งชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปี 2542 แก่เอฮุด บารัค (Ehud Barak) เนทันยาฮูหวนคืนการเมืองในปี 2545 โดยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ปี 2545–2546) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ปี 2546–2548) ในรัฐบาลแอเรียล ชารอน แต่เขาออกจากรัฐบาลเพราะความไม่ลงรอยต่อแผนการปลดปล่อยกาซา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนทันยาฮูปฏิรูปเศรษฐกิจอิสราเอลขนานใหญ่ ซึ่งผู้วิจารณ์ยกย่องว่าพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในเวลาต่อมาอย่างสำคัญ เขาทวงตำแหน่งหัวหน้าพรรคลิคุดในเดือนธันวาคม 2548 หลังชารอนออกไปตั้งพรรคการเมืองต่างหาก ในเดือนธันวาคม 2549 เนทันยาฮูเป็นผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภาและหัวหน้าพรรคลิคุดอย่างเป็นทางการ หลังการเลือกตั้งรัฐสภาปี 2552 ซึ่งลิคุดได้อันดับสองและพรรคฝ่ายขวาได้เสียงข้างมาก เนทันยาฮูตั้งรัฐบาลผสม หลังชัยชนะในการเลือกตั้งปี 2556 เขากลายเป็นบุคคลที่สองที่ได้รับเลือกตั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สาม ถัดจากเดวิด เบนกูเรียน ในเดือนมีนาคม 2558 เนทันยาฮูได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สี่ เนทันยาฮูได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลสี่สมัย เท่ากับสถิติของเดวิด เบนกูเรียน เขาเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียวในประวัติศาสตร์อิสราเลที่ได้รับเลือกตั้งสามครั้งติดต่อกัน ปัจจุบันเขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวที่สุดเป็นอันดับที่สอง หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีอิสราเอล หมวดหมู่:ทหารชาวอิสราเอล หมวดหมู่:ชาวยิว หมวดหมู่:ชาวเทลอาวีฟ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและเบนจามิน เนทันยาฮู

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและเบนจามิน เนทันยาฮู มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและเบนจามิน เนทันยาฮู

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ เบนจามิน เนทันยาฮู มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (15 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและเบนจามิน เนทันยาฮู หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: