โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและอาหรับ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและอาหรับ

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล vs. อาหรับ

วามขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล (الصراع العربي الإسرائيلي Al-Sura'a Al'Arabi A'Israili; הסכסוך הישראלי-ערבי Ha'Sikhsukh Ha'Yisraeli-Aravi) หมายถึงความตึงเครียดทางการเมืองและความขัดแย้งทางทหารระหว่างสันนิบาตอาหรับและอิสราเอล และระหว่างชาวอาหรับกับชาวอิสราเอล ต้นตอของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลสมัยใหม่นี้เกิดจากความรุ่งเรืองของขบวนการไซออนิสต์และลัทธิชาตินิยมอาหรับช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดินแดนที่ชาวยิวมองว่าเป็นบ้านเกิดทางประวัติศาสตร์ของพวกตนนั้น ก็ถูกมองโดยขบวนการรวมอาหรับว่าเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นของชาวอาหรับปาเลสไตน์ และเป็นดินแดนของมุสลิมในบริบทรวมอิสลาม ความขัดแย้งระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับปาเลสไตน์อุบัติขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระหว่างเหตุจลาจลนบีมูซาเมื่อปี 1920 และบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มขั้นในปี 1947 และขยายเป็นประเทศสันนิบาตอาหรับทั้งหมดเมื่อมีการสถาปนารัฐอิสราเอลสมัยใหม่ขึ้นในเดือนพฤษภาคม 1948 เมื่อเวลาผ่านไป ความขัดแย้งดังกล่าว ซึ่งเริ่มต้นเป็นความขัดแย้งทางการเมืองและชาตินิยมเหนือความปรารถนาดินแดนที่แข่งกันหลังจักรวรรดิออตโตมันล่มสลาย ได้เปลี่ยนแปลงจากความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลในภูมิภาคเต็มขั้น ไปเป็นความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ที่จำกัดบริเวณกว่า โดยความเป็นปรปักษ์เต็มขั้นส่วนใหญ่สิ้นสุดลงด้วยการหยุดยิง หลังสงครามเดือนตุลาคม ปี 1973 ต่อมา มีการลงนามความตกลงสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ในปี 1979 และอิสราเอลกับจอร์แดนในปี 1994 ข้อตกลงออสโลนำไปสู่การสถาปนาองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ในปี 1993 แม้จะยังไม่บรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายก็ตาม ปัจจุบัน การหยุดยิงยังมีผลระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย เช่นเดียวกับเลบานอนที่เพิ่งลงนามไป (ตั้งแต่ปี 2006) ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกาซาที่ปกครองโดยฮามาส แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสันนิบาตอาหรับ แต่โดยปกตินับเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ จึงเป็นความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลด้วย แม้จะบรรลุความตกลงสันติภาพและการหยุดยิงต่าง ๆ แต่โลกอาหรับและอิสราเอลโดยทั่วไปยังหมางใจกันอยู่เหนือบางดินแดน. กลุ่มประเทศอาหรับ อาหรับ (عربي, ʿarabi พหูพจน์ العرب al-ʿarab, Arab) คือบุคคลกลุ่มบุคคลที่มีชาติพันธุ์ พูดภาษา หรือมีวัฒนธรรมที่เรียกว่า “อาหรับ”เป็นชนชาติหนึ่งที่อาศัยในบริเวณคาบสมุทรอาหรับที่เป็นทะเลทราย รวมทั้งชนชาติที่พูดภาษาอาหรับในเอเชียตะวันตก และแอฟริกาเหนือ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คำว่าอาหรับในตระกูลภาษาเซมิติกแปลว่าทะเลทรายหรือผู้อาศัยอยู่ในทะเลทราย ส่วนใหญ่ดำรงชีพแบบเร่ร่อน จึงแปลคำว่าอาหรับว่าเร่ร่อนได้ด้วย ชาวอาหรับเป็นชาวเซมิติกเช่นเดียวกับชาวยิว จัดอยู่ในพวกคอเคเซอยด์ ในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเก่ากล่าวว่าอับราฮัมมีลูกชาย 2 คน คนโตชื่ออิสไมส์หรืออิสมาอีลเป็นต้นตระกูลของชาวอาหรับ คนที่ 2 ชื่อไอแซกเป็นต้นตระกูลของชาวยิว ก่อนที่มุฮัมมัดจะประกาศศาสนาอิสลามชาวอาหรับจะอยู่กันเป็นเผ่า จงรักภักดีต่อเผ่าของตนมาก วิถีชีวิตของชาวอาหรับมีสองแบบ คือแบบอยู่เป็นหมู่บ้าน มีอาชีพค้าขายและทำการเกษตร อีกกลุ่มหนึ่งใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนเรียกว่าเบดูอิน อาศัยอยู่ในกระโจมเพื่อเคลื่อนย้ายได้สะดวก ชาวเบดูอินกับชาวอาหรับที่ตั้งถิ่นฐานมักดูถูกกัน ไม่ลงรอยกัน หลังจากมุฮัมมัดประกาศศาสนาอิสลาม จึงเกิดความสามัคคีในหมูชาวอาหรับ ผู้นับถือศาสนาอิสลามในยุคแรกๆมักถูกกลั่นแกล้งและปราบปรามจึงเกิดการทำญิฮาดหรือการต่อสู้เพื่อศาสนาขึ้น ปัจจุบันประเทศที่จัดว่าเป็นประเทศอาหรับเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ ในปัจจุบันมีสมาชิก 21 ประเทศ ได้แก่ แอลจีเรีย จิบูตี บาห์เรน อิรัก จอร์แดน คูเวต เลบานอน ลิเบีย มอริตาเนีย โมร็อกโก โอมาน ปาเลสไตน์ กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย โซมาเลีย ซูดาน ซีเรีย ตูนีเซีย อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เยเมน ในปัจจุบันยังมีความขัดแย้งในหมู่ชาวอาหรับอยู่ เช่น ปัญหาปาเลสไตน์ ความขัดแย้งทางศาสนา เช่น ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ในเลบานอน ความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่และชีอะห์ เป็นต้น ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่เก่ากว่าวัฒนธรรมอาหรับที่เริ่มเผยแพร่ในตะวันออกกลางตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 เมื่ออาหรับคริสเตียนเช่นกาสนาวิยะห์ ลักห์มิยะห์ และ Banu Judham เริ่มโยกย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานในทะเลทรายซีเรียและในบริเวณลว้าน ภาษาอาหรับเพิ่มความสำคัญมากขึ้นพร้อมกับการรุ่งเรืองของศาสนาอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในการเป็นภาษาของอัลกุรอาน และวัฒนธรรมอาหรับก็เริ่มเผยแพร่ออกไปพร้อมกับการขยายดินแดนของอิสลาม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและอาหรับ

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและอาหรับ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชาวยิวสันนิบาตอาหรับ

ชาวยิว

ว (ภาษาฮิบรู: יהודים) หรือที่เรียกว่า ชาวยิว (Jewish people) เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่นๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลกมีอยู่ราว 14.4 ถึง 17.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอลและสหรัฐอเมริก.

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและชาวยิว · ชาวยิวและอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตอาหรับ

ันนิบาตอาหรับ สันนิบาตอาหรับ (جامعة الدول العربية‎) คือองค์กรของกลุ่มประเทศอาหรับ ตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 มีศูนย์กลางที่ประเทศอียิปต์ ซึ่งต่อมาย้ายไปยังเมืองตูนิส ในประเทศตูนิเซียในช่วงปี พ.ศ. 2522 ถึงปี พ.ศ. 2532 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 22 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องเอกราชและอธิปไตยของประเทศสมาชิก.

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและสันนิบาตอาหรับ · สันนิบาตอาหรับและอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและอาหรับ

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาหรับ มี 38 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 3.77% = 2 / (15 + 38)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและอาหรับ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »