โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและรายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและรายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล vs. รายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์

วามขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล (الصراع العربي الإسرائيلي Al-Sura'a Al'Arabi A'Israili; הסכסוך הישראלי-ערבי Ha'Sikhsukh Ha'Yisraeli-Aravi) หมายถึงความตึงเครียดทางการเมืองและความขัดแย้งทางทหารระหว่างสันนิบาตอาหรับและอิสราเอล และระหว่างชาวอาหรับกับชาวอิสราเอล ต้นตอของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลสมัยใหม่นี้เกิดจากความรุ่งเรืองของขบวนการไซออนิสต์และลัทธิชาตินิยมอาหรับช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดินแดนที่ชาวยิวมองว่าเป็นบ้านเกิดทางประวัติศาสตร์ของพวกตนนั้น ก็ถูกมองโดยขบวนการรวมอาหรับว่าเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นของชาวอาหรับปาเลสไตน์ และเป็นดินแดนของมุสลิมในบริบทรวมอิสลาม ความขัดแย้งระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับปาเลสไตน์อุบัติขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระหว่างเหตุจลาจลนบีมูซาเมื่อปี 1920 และบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มขั้นในปี 1947 และขยายเป็นประเทศสันนิบาตอาหรับทั้งหมดเมื่อมีการสถาปนารัฐอิสราเอลสมัยใหม่ขึ้นในเดือนพฤษภาคม 1948 เมื่อเวลาผ่านไป ความขัดแย้งดังกล่าว ซึ่งเริ่มต้นเป็นความขัดแย้งทางการเมืองและชาตินิยมเหนือความปรารถนาดินแดนที่แข่งกันหลังจักรวรรดิออตโตมันล่มสลาย ได้เปลี่ยนแปลงจากความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลในภูมิภาคเต็มขั้น ไปเป็นความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ที่จำกัดบริเวณกว่า โดยความเป็นปรปักษ์เต็มขั้นส่วนใหญ่สิ้นสุดลงด้วยการหยุดยิง หลังสงครามเดือนตุลาคม ปี 1973 ต่อมา มีการลงนามความตกลงสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ในปี 1979 และอิสราเอลกับจอร์แดนในปี 1994 ข้อตกลงออสโลนำไปสู่การสถาปนาองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ในปี 1993 แม้จะยังไม่บรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายก็ตาม ปัจจุบัน การหยุดยิงยังมีผลระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย เช่นเดียวกับเลบานอนที่เพิ่งลงนามไป (ตั้งแต่ปี 2006) ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกาซาที่ปกครองโดยฮามาส แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสันนิบาตอาหรับ แต่โดยปกตินับเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ จึงเป็นความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลด้วย แม้จะบรรลุความตกลงสันติภาพและการหยุดยิงต่าง ๆ แต่โลกอาหรับและอิสราเอลโดยทั่วไปยังหมางใจกันอยู่เหนือบางดินแดน. รัฐสมาชิกสหประชาชาติ ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งประเทศ การขาดการรับรองทางการทูตเป็นอุปสรรคต่อหน่วย (entity) ทางภูมิรัฐศาสตร์ร่วมสมัยซึ่งปรารถนาจะได้รับการรับรองเป็นรัฐเอกราชโดยนิตินัย ในอดีต เคยมีหน่วยที่คล้ายกัน และปัจจุบันมีหน่วยที่ประกาศอิสรภาพ ซึ่งมีการควบคุมดินแดนของตนโดยพฤตินัย โดยมีการรับรองแปรผันตั้งแต่ได้รับการรับรองจากรัฐที่ได้รับการรับรองอื่นแทบทั้งหมดไปจนถึงแทบไม่มีรัฐใดรับรองเลย มีสองลัทธิแต่เดิมที่มให้การตีความว่าเมื่อใดรัฐเอกราชโดยนิตินัยควรได้รับการรับรองเป็นสมาชิกประชาคมระหว่างประเทศ ทฤษฎี "ประกาศ" (declarative) นิยามรัฐเป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศหากเป็นไปตามเกณฑ์ต่อไปนี้: 1) มีดินแดนแน่นอน 2) มีประชากรถาวร 3) มีรัฐบาล และ 4) มีความสามารถสร้างความสัมพันธ์กับรัฐอื่น ตามทฤษฎีประกาศ สภาพเป็นรัฐของหน่วยไม่ขึ้นอยู่กับการรับรองของรัฐอื่น ทว่า ทฤษฎี "ก่อตั้ง" นิยามรัฐว่าเป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศหากได้รับการรับรองจากรัฐอื่นซึ่งเป็นสมาชิกประชาคมระหว่างประเทศอยู่แล้ว หลายหน่วยอ้างลัทธิข้างต้นหนึ่งหรือทั้งสองลัทธิเพื่ออ้างความชอบของการอ้างสิทธิ์สภาพเป็นรัฐของหน่วย ตัวอย่างเช่น มีหน่วยที่เป็นไปตามเกณฑ์ทฤษฎีประกาศ (คือ มีการควบคุมเหนือดินแดนที่อ้างสิทธิ์อย่างสมบูรณ์หรือบางส่วนโดยพฤตินัย มีรัฐบาลและประชากรถาวร) แต่สภาพเป็นรัฐของหน่วยเหล่านั้นไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอย่างน้อยหนึ่งรัฐ การไม่รับรองมักเป็นผลแห่งข้อขัดแย้งกับประเทศอื่นซึ่งอ้างว่าหน่วยเหล่านั้นเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตน ในกรณีอื่น หน่วยที่ได้รับการรับรองบางส่วนสองหน่วยหรือกว่านั้นอาจอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่เดียวกัน ซึ่งแต่ละหน่วยมีการควบคุมบางส่วนของพื้นที่นั้นโดยพฤตินัย (เช่นในกรณีสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐจีน และเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้) หน่วยซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐส่วนน้อยของโลกปกติอ้างอิงลัทธิประกาศเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่การอ้างสิทธิ์ของตน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและรายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและรายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รัฐปาเลสไตน์สันนิบาตอาหรับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ประเทศอิสราเอล

รัฐปาเลสไตน์

แผนการแบ่งดินแดนของสหประชาชาติ รัฐปาเลสไตน์ (دولة فلسطين‎ Dawlat Filasṭin) เป็นรัฐที่ประกาศเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1988 โดยสภาแห่งชาติขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ที่พลัดถิ่นในกรุงแอลเจียร์ ซึ่งเห็นชอบคำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ฝ่ายเดียว รัฐปาเลสไตน์อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งนิยามตามพรมแดนเมื่อปี 1967: "I would like to inform you that, before delivering this statement, I, in my capacity as President of the State of Palestine and Chairman of the Executive Committee of the Palestine Liberation Organization, submitted to H.E. Ban Ki-moon, Secretary-General of the United Nations, an application for the admission of Palestine on the basis of the 4 June 1967 borders, with Al-Kuds Al-Sharif as its capital, as a full member of the United Nations." และกำหนดเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวง พื้นที่ที่พรรณนาว่าจะประกอบเป็นรัฐปาเลสไตน์นั้นถูกอิสรเอลยึดครองตั้งแต่ปี 1967 การประชุดสุดยอดสันนิบาตอาหรับปี 1974 กำหนดให้องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็น "ผู้แทนชาวปาเลสไตน์โดยชอบด้วยกฎหมายแต่ผู้เดียว" และยืนยันอีกครั้งถึง "สิทธิของพวกเขาในการสถาปนารัฐที่มีเอกราชอย่างเร่งด่วน" องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในสหประชาชาติเป็น "องค์การมิใช่รัฐ" (non-state entity) ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 1974 ซึ่งให้สิทธิพูดในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หลังคำประกาศอิสรภาพ สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ "รับรอง" คำประกาศดังกล่าวอย่างเป็นทางการ และออกเสียงให้ใช้ชื่อ "ปาเลสไตน์" แทน "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" เมื่อเอ่ยถึงผู้สังเกตการณ์ถาวรปาเลสไตน์Hillier, 1998, (via Google Books).

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ · รัฐปาเลสไตน์และรายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตอาหรับ

ันนิบาตอาหรับ สันนิบาตอาหรับ (جامعة الدول العربية‎) คือองค์กรของกลุ่มประเทศอาหรับ ตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2488 มีศูนย์กลางที่ประเทศอียิปต์ ซึ่งต่อมาย้ายไปยังเมืองตูนิส ในประเทศตูนิเซียในช่วงปี พ.ศ. 2522 ถึงปี พ.ศ. 2532 ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 22 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องเอกราชและอธิปไตยของประเทศสมาชิก.

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและสันนิบาตอาหรับ · รายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์และสันนิบาตอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์

องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization, ย่อ: PLO; منظمة التحرير الفلسطينية) เป็นองค์การซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2507 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรัฐปาเลสไตน์เอกราช กว่า 100 รัฐรับรององค์การฯ เป็น "ผู้แทนโดยชอบแต่ผู้เดียวของชาวปาเลสไตน์" ซึ่งองค์การฯ มีความสัมพันธ์ทางทูตด้วยMadiha Rashid al Madfai, Jordan, the United States and the Middle East Peace Process, 1974–1991, Cambridge Middle East Library, Cambridge University Press (1993).

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ · รายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์และองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและประเทศอิสราเอล · ประเทศอิสราเอลและรายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและรายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์ มี 62 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 5.19% = 4 / (15 + 62)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและรายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »