โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและราชอาณาจักรอียิปต์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและราชอาณาจักรอียิปต์

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล vs. ราชอาณาจักรอียิปต์

วามขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล (الصراع العربي الإسرائيلي Al-Sura'a Al'Arabi A'Israili; הסכסוך הישראלי-ערבי Ha'Sikhsukh Ha'Yisraeli-Aravi) หมายถึงความตึงเครียดทางการเมืองและความขัดแย้งทางทหารระหว่างสันนิบาตอาหรับและอิสราเอล และระหว่างชาวอาหรับกับชาวอิสราเอล ต้นตอของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลสมัยใหม่นี้เกิดจากความรุ่งเรืองของขบวนการไซออนิสต์และลัทธิชาตินิยมอาหรับช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดินแดนที่ชาวยิวมองว่าเป็นบ้านเกิดทางประวัติศาสตร์ของพวกตนนั้น ก็ถูกมองโดยขบวนการรวมอาหรับว่าเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นของชาวอาหรับปาเลสไตน์ และเป็นดินแดนของมุสลิมในบริบทรวมอิสลาม ความขัดแย้งระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับปาเลสไตน์อุบัติขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระหว่างเหตุจลาจลนบีมูซาเมื่อปี 1920 และบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มขั้นในปี 1947 และขยายเป็นประเทศสันนิบาตอาหรับทั้งหมดเมื่อมีการสถาปนารัฐอิสราเอลสมัยใหม่ขึ้นในเดือนพฤษภาคม 1948 เมื่อเวลาผ่านไป ความขัดแย้งดังกล่าว ซึ่งเริ่มต้นเป็นความขัดแย้งทางการเมืองและชาตินิยมเหนือความปรารถนาดินแดนที่แข่งกันหลังจักรวรรดิออตโตมันล่มสลาย ได้เปลี่ยนแปลงจากความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลในภูมิภาคเต็มขั้น ไปเป็นความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ที่จำกัดบริเวณกว่า โดยความเป็นปรปักษ์เต็มขั้นส่วนใหญ่สิ้นสุดลงด้วยการหยุดยิง หลังสงครามเดือนตุลาคม ปี 1973 ต่อมา มีการลงนามความตกลงสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ในปี 1979 และอิสราเอลกับจอร์แดนในปี 1994 ข้อตกลงออสโลนำไปสู่การสถาปนาองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ในปี 1993 แม้จะยังไม่บรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายก็ตาม ปัจจุบัน การหยุดยิงยังมีผลระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย เช่นเดียวกับเลบานอนที่เพิ่งลงนามไป (ตั้งแต่ปี 2006) ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกาซาที่ปกครองโดยฮามาส แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสันนิบาตอาหรับ แต่โดยปกตินับเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ จึงเป็นความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลด้วย แม้จะบรรลุความตกลงสันติภาพและการหยุดยิงต่าง ๆ แต่โลกอาหรับและอิสราเอลโดยทั่วไปยังหมางใจกันอยู่เหนือบางดินแดน. ราชอาณาจักรอียิปต์ (المملكة المصرية) เป็นชื่อของรัฐอิยิปต์สมัยใหม่รัฐแรก ซึ่งดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1922 - ค.ศ. 1953 ราชอาณาจักรได้รับสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1922 เมื่อสหราชอาณาจักรตัดสินใจจะให้อียิปต์พ้นจากฐานะความเป็นรัฐในอารักขาของตนซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914 สุลต่านฟูอัดที่ 1 เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของราชอาณาจักรแห่งนี้ ต่อมาพระเจ้าฟารุกที่ 1 จึงทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาในปี ค.ศ. 1936 ก่อนหน้าสมัยราชอาณาจักร ประเทศอียิปต์ได้ถูกยึดครองและควบคุมโดยสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่ ค.ศ. 1882 เมื่อมหาอำนาจยุโรปได้ส่งกองทัพเข้ามาสนับสนุนการปกครองระบอบเคดีฟเพื่อต่อต้านการลุกฮือของขบวนการชาตินิยม เหตุการณ์ดังกล่าวได้เป็นจุดเริ่มต้นให้สหราชอาณาจักรเข้าควบคุมอียิปต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันแต่เพียงในนาม ในปี ค.ศ. 1914 ผลจากการประกาศสงครามต่อจักรวรรดิออตโตมันได้ทำให้สหราชอาณาจักรต้องประกาศให้อียิปต์เป็นรัฐในอารักขาและถอดถอนเคดีฟออกจากตำแหน่ง พร้อมทั้งแต่งตั้งฮุสเซน กามิล พระญาติของเคดีฟ ขึ้นเป็นสุลต่านแห่งอียิปต์แทน อียิปต์ได้รับการสถาปนาและได้รับการยอมรับโดยสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1922 โดยมีพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ และได้ต่อสู้ทางการเมืองกับพรรควาฟด์ (Wafd) อันเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่แนวทางชาตินิยมที่ต่อต้านทั้งอิทธิพลของสหราชอาณาจักรและประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งพรรคดังกล่าวต้องการจะให้อียิปต์เข้าควบคุมคลองสุเอซโดยตรง นอกจากนั้นยังมีขบวนการทางการเมืองอื่นๆ ที่เคลื่อนไหวในยุคนี้ เช่น พรรคคอมมิวนิสต์อียิปต์ (ก่อตั้ง ค.ศ. 1925) และขบวนการภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood - ก่อตั้ง ค.ศ. 1928) ซึ่งขบวนการหลังนี้เป็นขบวนการที่ทรงอำนาจทั้งทางการเมืองและศาสนา พระเจ้าฟูอัดที่ 1 เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1936 ราชสมบัติจึงตกอยู่กับเจ้าชายฟารุกซึ่งขณะนั้นมีพระชนม์ได้ 16 พรรษา การรุกรานเอธิโอเปียโดยอิตาลีในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน เป็นสัญญานเตือนให้พระองค์ต้องลงพระนามในสนธิสัญญาอังกฤษ-อียิปต์ เพื่อให้สหราชอาณาจักรถอนทหารออกไปจากอียิปต์ทั้งหมด โดยยกเว้นเพียงบริเวณคลองสุเอซ ซึ่งสหราชอาณาจักรได้ตกลงถอนทหารในปี ค.ศ. 1949 ราชอาณาจักรอียิปต์ประสบความยุ่งยากจากภาวะการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการที่พลเมืองของตนเองมองว่าประเทศของตนเป็นเพียงหุ่นเชิดของสหราชอาณาจักร จากเหตุเหล่านี้ และซ้ำเติมด้วยสงครามอาหรับ-อิสราเอล ในปี ค.ศ. 1948 ได้นำไปสู่การปฏิวัติอียิปต์ในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและราชอาณาจักรอียิปต์

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและราชอาณาจักรอียิปต์ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): จักรวรรดิออตโตมัน

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและจักรวรรดิออตโตมัน · จักรวรรดิออตโตมันและราชอาณาจักรอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและราชอาณาจักรอียิปต์

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ ราชอาณาจักรอียิปต์ มี 25 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.50% = 1 / (15 + 25)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลและราชอาณาจักรอียิปต์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »