เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

คลื่นกระแทกและไฟ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คลื่นกระแทกและไฟ

คลื่นกระแทก vs. ไฟ

ลื่นเสียงของคลื่นกระแทกที่เกิดจากวัตถุความเร็วเหนือเสียงที่มีรูปร่างทรงแหลม คลื่นกระแทก (shock wave) คือรูปแบบการรบกวนที่แพร่ออกไปชนิดหนึ่ง เหมือนกับคลื่นปกติทั่วไปซึ่งมีพลังงานอยู่ในตัวและสามารถแพร่พลังงานนั้นออกไปผ่านตัวกลางหนึ่งๆ (อาจเป็นของแข็ง ของเหลว แก๊ส หรือพลาสมา) หรือบางครั้งก็อาจสูญหายไปในวัสดุที่เป็นตัวกลางโดยผ่านสนาม เช่น สนามแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นกระแทกมีคุณลักษณะที่เกิดแบบทันทีทันใด เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่องในสารตัวกลาง เมื่อเกิดการกระแทก จะมีกระแสความดัน อุณหภูมิ และความหนาแน่นที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเสมอ คลื่นกระแทกจะเดินทางผ่านสารตัวกลางส่วนใหญ่ด้วยความเร็วที่สูงกว่าคลื่นโดยทั่วไป วัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงอาจเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่น้อยกว่าหรือมากกว่าอัตราเร็วเสียงในตัวกลางก็ได้ ในกรณีที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วน้อยกว่าอัตราเร็วเสียง เสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะเป็นไปตามปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ แต่หากเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าอัตราเร็วเสียง เสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะแตกต่างไปจากปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ และไม่สามารถใช้ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตัวอย่างของเสียงในกรณีนี้ เช่น เสียงจากเครื่องบินที่มีความเร็วมากกว่าอัตราเร็วเสียงโดยเป็นเสียงที่ดังมกและเกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินเคลื่อนที่ผ่านผู้ฟัง คลื่นเสียงในกรณีนี้คือ คลื่นกระแทก และเสียงจากคลื่นกระแทกซึ่งเป็นเสียงที่ดังมากจะเรียกว่า ซอนิกบูม (sonic boom) ผู้ฟังที่เคยได้ยินเสียงจากคลื่นกระแทกที่เกิดจากเครื่องบินจะสังเกตได้ว่า เสียงจากคลื่นกระแทกมักเกิดขึ้นหลังจากเครื่องบินเคลื่อนที่ผ่านผู้ฟังไปแล้ว สาเหตุเนื่องจากคลื่นกระแทกเป็นคลื่นรูปกรวย ซึ่งหน้าคลื่นจะเคลื่อนที่มาถึงผู้ฟังเมื่อเครื่องบินเคลื่อนผ่านผู้ฟังไปแล้ว เสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะเป็นเสียงดังมากเนื่องจากคลื่นกระแทกมีแอมพลิจูดมากและพลังงานสูง ในบางครั้งพลังงานของคลื่นกระแทกสามารถทำให้หน้าต่างแตกได้ และดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้นเสียงดังนี้เรียกว่า ซอนิกบูม ซึ่งผู้ฟังอาจได้ยินเสียงซอนิกบูมจากเครื่องบินลำหนึ่งหลายครั้ง เนื่องจากคลื่นกระแทกสามารถเกิดขึ้นบนเครื่องบินได้หลายตำแหน่ง. ฟ ไฟ เป็นการออกซิเดชันของวัสดุอย่างรวดเร็วในกระบวนการเผาไหม้ชนิดคายความร้อนซึ่งปล่อยความร้อน แสงสว่าง และผลิตภัณฑ์มากมายจากปฏิกิริยา กระบวนการออกซิเดชันที่ช้ากว่านั้น เช่น การขึ้นสนิม หรือการย่อยอาหาร ไม่นับรวมในนิยามนี้ ไฟร้อนเนื่องจากการแปลงพันธะคู่อ่อนของโมเลกุลของออกซิเจน (O2) ไปเป็นพันธะที่แข็งแกร่งกว่าทำให้เกิดผลิตภัณฑ์เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ปล่อยพลังงานออกมา (418 กิโลจูลต่อออกซิเจน 32 กรัม) พลังงานพันธะของเชื้อเพลิงมีส่วนเพียงเล็กน้อยSchmidt-Rohr, K. (2015).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คลื่นกระแทกและไฟ

คลื่นกระแทกและไฟ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พลาสมา (สถานะของสสาร)

พลาสมา (สถานะของสสาร)

หลอดไฟพลาสมา แสดงปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนบางประการ รวมทั้งปรากฏการณ์ "ฟิลาเมนเตชั่น" (filamentation) พลาสมา ในทางฟิสิกส์และเคมี คือ แก๊สที่มีสภาพเป็นไอออน และมักจะถือเป็นสถานะหนึ่งของสสาร การมีสภาพเป็นไอออนดังกล่าวนี้ หมายความว่า จะมีอิเล็กตรอนอย่างน้อย 1 ตัว ถูกดึงออกจากโมเลกุล ประจุไฟฟ้าอิสระทำให้พลาสมามีสภาพการนำไฟฟ้าเกิดขึ้น สถานะที่ 4 ของสสารนี้ มีการเอ่ยถึงครั้งแรก โดยเซอร์ วิลเลียม ครูกส์ (Sir William Crookes) เมื่อ ค.ศ. 1879 และในปี ค.ศ. 1928 นั้น เออร์วิง แลงเมียร์ (Irving Langmuir) คิดคำว่าพลาสมา (plasma) ขึ้นมาแทนสถานะของสสารนี้เนื่องจากเขานึกถึงพลาสมาของเลือด พลาสมาจัดได้ว่าเป็นสถานะที่ 4 ของสสาร เนื่องจากมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากสถานะอื่นอย่างชัดเจน พลาสมาประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุทั้งประจุบวกและลบ ในสัดส่วนที่ทำให้ประจุสุทธิเป็นศูนย์ การอยู่รวมกันของอนุภาคเหล่านี้เป็นแบบประหนึ่งเป็นกลาง (quasineutral) ซึ่งหมายความว่าอิเล็กตรอนและไอออนในบริเวณนั้น โดยรวมแล้วมีจำนวนเท่า ๆ กัน และแสดงพฤติกรรมร่วม (collective behavior) พฤติกรรมร่วมนี้หมายถึง การเคลื่อนที่ของอนุภาคในพลาสมา ไม่เพียงแต่จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในบริเวณนั้นๆ เท่านั้น แต่เป็นผลโดยรวมจากพลาสมาส่วนใหญ่ มากกว่าจะเป็นผลมาจากการชนกันของอนุภาคที่อยู่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากอนุภาคในพลาสมาที่สถานะสมดุล จะมีการสั่นด้วยความถี่ที่สูงกว่าความถี่ในการชนกันของอนุภาค 2 ตัวที่อยู่ใกล้กัน ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าพฤติกรรมร่วมนี้เป็นพฤติกรรมที่กลุ่มพลาสมาแสดงออกมาร่วมกัน พลาสมาสามารถเกิดได้โดย การให้สนามไฟฟ้าปริมาณมากแก่ก๊าซที่เป็นกลาง เมื่อพลังงานส่งผ่านไปยังอิเล็กตรอนอิสระมากพอ จะทำให้อิเล็กตรอนอิสระชนกับอะตอม และทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอม กระบวนการนี้เรียกว่ากระบวนการแตกตัวเป็นไอออน (ionization) ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้จำนวนอิเล็กตรอนที่หลุดออกมานี้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากซึ่งจะทำให้ก๊าซแตกตัวและกลายเป็นพลาสมาในที่สุด พลาสมามีความแตกต่างจากสถานะของแข็ง สถานะของเหลว และสถานะก๊าซ โดยมีเงื่อนไข 3 ประการ ในเรื่องดังต่อไปนี้คือ ความยาวคลื่นเดอบาย จำนวนอนุภาค และความถี่พลาสมา ซึ่งทำให้พลาสมามีความจำเพาะเจาะจงที่แตกต่างจากสถานะอื่นออกไป หมวดหมู่:ฟิสิกส์พลาสมา หมวดหมู่:ฟิสิกส์ หมวดหมู่:เคมี หมวดหมู่:สถานะของสสาร หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์.

คลื่นกระแทกและพลาสมา (สถานะของสสาร) · พลาสมา (สถานะของสสาร)และไฟ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คลื่นกระแทกและไฟ

คลื่นกระแทก มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไฟ มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 5.26% = 1 / (9 + 10)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คลื่นกระแทกและไฟ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: