โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คลอโรฟิลล์และออโตทรอพ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คลอโรฟิลล์และออโตทรอพ

คลอโรฟิลล์ vs. ออโตทรอพ

ลอโรฟิลล์พบได้ตามคลอโรพลาสต์ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เป็นสารประกอบที่พบได้ในส่วนที่มีสีเขียวของพืช โดยพบมากที่ใบของพืชนอกจากนี้ยังพบได้ที่แบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ และยังพบได้ในสาหร่ายเกือบทุกชนิด นอกจากนี้คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่เป็นโมเลกุลรับพลังงานจากแสง และนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ในการสร้างพลังงานเคมีโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ เช่น น้ำตาล และนำไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต คลอโรฟิลล์ อยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า เยื่อหุ้มไทลาคอยล์ (Thylakoid membrane) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ภายใน คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) ภาคภูมิ พระประเสร. สีเขียวจากต้นเฟิร์นบ่งบอกว่าต้นเฟิร์นมีคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นตัวที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง จึงทำให้มันเป็นออโตทรอพ ออโตทรอพ (Autotroph. หรือ อัตโภชนาการ เป็นคำสมาสภาษากรีกมาจากคำว่า autos ที่แปลว่าตัวเอง และ trophe ที่แปลว่าโภชนาการ) คือสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้ โดยทำการผลิตอาหารขึ้นมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นแหล่งคาร์บอน และแสงหรือสารอนินทรีย์อื่นๆ เป็นแหล่งพลังงาน สิ่งมีชีวิตประเภทออโตทรอพถูกจัดให้เป็นผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหาร สิ่งมีชีวิตจำพวกพืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ผลิตอาหารโดยการสังเคราะห์แสงถือว่าเป็นโฟโตทรอพ (phototroph) ส่วนแบคทีเรียที่นำการออกซิเดชันของสารอนินทรีย์ต่างๆ เช่นก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือเหล็กโลหะมาเป็นแหล่งพลังงานเรียกว่า คีโมออโตทรอพ (chemoautotroph) สิ่งมีชีวิตจำพวกออโตทรอพถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งในห่วงโซ่อาหารในทุกๆ ระบบนิเวศ โดยที่พวกมันจะรับพลังงานมาจากแสงอาทิตย์ (หรือแหล่งอนินทรีย์อื่นๆ) แล้วแปลงพลังงานเหล่านี้ให้กลางเป็นโมเลกุลที่มีโครงสร้างเป็นคาร์บอนหรือโมเลกุลอินทรีย์อื่นๆ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานเชิงชีวภาพของสิ่งมีชีวิต เช่นการสร้างเซลล์ รวมถึงเป็นอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตจำพวกเฮเทโรทรอพ ที่ผลิตอาหารเองไม่ได้เพื่อนำไปใช้ในการทำงานเชิงชีวภาพเช่นเดียวกัน ฉะนั้นเฮเทโรทรอพต่างๆ ได้แก่สัตว์กินพืช, ฟังไจหรือเห็ดรา เช่นเดียวกับแบคทีเรียส่วนใหญ่และโปรโตซัวจะพึ่งพาออโตทรอพเป็นอาหารที่จะให้พลังงานและวัตถุดิบที่จะนำไปใช้ในการผลิตโมเลกุลอินทรีย์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยเฮเทโรทรอพทำการแปลงอาหารเป็นพลังงานโดยการแตกโมเลกุลอาหารให้เล็กลง สัตว์กินเนื้อก็พึ่งพาออโตทรอพเช่นเดียวกัน เนื่องจากพลังงานและคุณค่าโภชนาการในอาหารก็มาจากอาหารประเภทพืชที่เหยื่อของสัตว์กินเนื้อได้กินเข้าไป มีสิ่งมีชีวิตอยู่บางสายพันธุ์ที่อาศัยอินทรียสารเป็นแหล่งคาร์บอน แต่ก็สามารถอาศัยแสงหรืออนินทรียสารมาเป็นแหล่งพลังงานได้ด้วย แต่สิ่งมีชีวิตจำพวกนี้มักไม่ถูกจัดให้อยู่ในสิ่งมีชีวิตจำพวกออโตทรอพ แต่มักจะถูกจัดให้อยู่ในจำพวกเฮเทโรทรอพเสียมากกว่า โดยสิ่งมีชีวิตที่อาศัยคาร์บอนจากอินทรีย์สาร แต่อาศัยพลังงานจากแสง จัดอยู่ในพวกโฟโตเฮเทโรทรอพ (photoheterotroph) ส่วนสิ่งมีชีวิตที่อาศัยคาร์บอนมาจากอินทรีย์สาร แต่อาศัยพลังงานจากการออกซิเดชันของอนินทรีย์สาร จะถูกจัดอยู่ในพวกคีโมเฮเทโรทรอพ (chemoheterotroph) หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:พฤกษศาสตร์.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คลอโรฟิลล์และออโตทรอพ

คลอโรฟิลล์และออโตทรอพ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การสังเคราะห์ด้วยแสงคาร์บอนแสง

การสังเคราะห์ด้วยแสง

ใบไม้เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์ด้วยแสง การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้พืช สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดสามารถเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานทางเคมีได้ สิ่งมีชีวิตแทบทั้งหมดล้วนอาศัยพลังงานที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อการเจริญเติบโตทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังมีการผลิตออกซิเจน ซึ่งมีเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่มากของบรรยากาศโลกด้วย สิ่งมีชีวิตที่สร้างพลังงานจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่า "phototrophs" โดยโมเลกุลที่มีความสามารถในการดูดกลืนแสงที่มีอยู่ในพืชและสิ่งมีชีวิตนี้คือ รงควัตถุ (pigment).

การสังเคราะห์ด้วยแสงและคลอโรฟิลล์ · การสังเคราะห์ด้วยแสงและออโตทรอพ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอน

ร์บอน (Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป.

คลอโรฟิลล์และคาร์บอน · คาร์บอนและออโตทรอพ · ดูเพิ่มเติม »

แสง

ปริซึมสามเหลี่ยมกระจายลำแสงขาว ลำที่ความยาวคลื่นมากกว่า (สีแดง) กับลำที่ความยาวคลื่นน้อยกว่า (สีม่วง) แยกจากกัน แสง (light) เป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในบางส่วนของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คำนี้ปกติหมายถึง แสงที่มองเห็นได้ ซึ่งตามนุษย์มองเห็นได้และทำให้เกิดสัมผัสการรับรู้ภาพ แสงที่มองเห็นได้ปกตินิยามว่ามีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400–700 นาโนเมตร ระหวางอินฟราเรด (ที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าและมีคลื่นแคบกว่านี้) และอัลตราไวโอเล็ต (ที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าและมีคลื่นกว้างกว่านี้) ความยาวคลื่นนี้หมายถึงความถี่ช่วงประมาณ 430–750 เทระเฮิรตซ์ ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสงหลักบนโลก แสงอาทิตย์ให้พลังงานซึ่งพืชสีเขียวใช้ผลิตน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ในรูปของแป้ง ซึ่งปลดปล่อยพลังงานแก่สิ่งมชีวิตที่ย่อยมัน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ให้พลังงานแทบทั้งหมดที่สิ่งมีชีวิตใช้ ในอดีต แหล่งสำคัญของแสงอีกแหล่งหนึ่งสำหรับมนุษย์คือไฟ ตั้งแต่แคมป์ไฟโบราณจนถึงตะเกียงเคโรซีนสมัยใหม่ ด้วยการพัฒนาหลอดไฟฟ้าและระบบพลังงาน การให้แสงสว่างด้วยไฟฟ้าได้แทนแสงไฟ สัตว์บางชนิดผลิตแสงไฟของมันเอง เป็นกระบวนการที่เรียก การเรืองแสงทางชีวภาพ คุณสมบัติปฐมภูมิของแสงที่มองเห็นได้ คือ ความเข้ม ทิศทางการแผ่ สเปกตรัมความถี่หรือความยาวคลื่น และโพลาไรเซชัน (polarization) ส่วนความเร็วในสุญญากาศของแสง 299,792,458 เมตรต่อวินาที เป็นค่าคงตัวมูลฐานหนึ่งของธรรมชาติ ในวิชาฟิสิกส์ บางครั้งคำว่า แสง หมายถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในทุกความยาวคลื่น ไม่ว่ามองเห็นได้หรือไม่ ในความหมายนี้ รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ ไมโครเวฟและคลื่นวิทยุก็เป็นแสงด้วย เช่นเดียวกับแสงทุกชนิด แสงที่มองเห็นได้มีการเแผ่และดูดซํบในโฟตอนและแสดงคุณสมบัติของทั้งคลื่นและอนุภาค คุณสมบัตินี้เรียก ทวิภาคของคลื่น–อนุภาค การศึกษาแสง ที่เรียก ทัศนศาสตร์ เป็นขอบเขตการวิจัยที่สำคัญในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่) ^~^.

คลอโรฟิลล์และแสง · ออโตทรอพและแสง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คลอโรฟิลล์และออโตทรอพ

คลอโรฟิลล์ มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ ออโตทรอพ มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 7.50% = 3 / (21 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คลอโรฟิลล์และออโตทรอพ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »