โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คลอโรพลาสต์และออโตทรอพ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คลอโรพลาสต์และออโตทรอพ

คลอโรพลาสต์ vs. ออโตทรอพ

องค์ประกอบภายในของคลอโรพลาสต์ คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) เป็นออร์แกแนลล์ภายในไซโทพลาสซึม ชนิดเยื่อยูนิตสองชั้น (Double unit membrane) ภายในเป็นของเหลวที่เรียกว่า (Stroma) ภายในสโตรมานี้มีชั้นที่พับไปมา เรียกว่ากรานูล บริเวณผิวของกรานูลนี้เรียกว่า ไทลาคอยด์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสารสีสำหรับการสังเคราะสโตรมาห์ด้วยแสง ระหว่างกรานูลมีเยื่อที่เชื่อมโยงแต่ละกรานูลไว้ เรียกว่าสโตรมาลาเมลลา (Stroma lamella) คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นออร์แกแนลที่พบในพืช เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด พลาสติดมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติด จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส พลาสติดไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี (starch grains) เรียกว่า amyloplast ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ไม่ต้องใช้แสง (dark reaction) มี DNA RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิด ปะปนกันอยู่ ในของเหลวเป็นเยื่อลักษณะคล้ายเหรียญ ที่เรียงซ้อนกันอยู่ เรียกว่า กรานา (grana) ระหว่างกรานา จะมีเยื่อเมมเบรน เชื่อมให้กรานาติดต่อถึงกัน เรียกว่า อินเตอร์กรานา (intergrana) หน่วยย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน เหรียญแต่ละอัน เรียกเหรียญแต่ละอันว่า กรานาลาเมลลา (grana lamella) หรือ กรานาไทลาคอยด์ (grana thylakoid) ไทลาคอยด์ในตั้งเดียวกัน ส่วนที่เชื่อมติดกัน เรียกว่า สโตรมา ไทลาคอยด์ (stroma thylakoid) ไม่มีทางติดต่อกันได้ แต่อาจติดกับไทลาคอยด์ในตั้งอื่น หรือกรานาอื่นได้ ทั้งกรานา และอินเตอร์กรานา เป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ รงควัตถุอื่นๆ และพวกเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ต้องใช้แสง (light reaction) บรรจุอยู่ หน้าที่สำคัญ ของคลอโรพลาส คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) โดยแสงสีแดง และแสงสีน้ำเงิน เหมาะสม ต่อการสังเคราะห์ ด้วยแสงมากที. สีเขียวจากต้นเฟิร์นบ่งบอกว่าต้นเฟิร์นมีคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นตัวที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง จึงทำให้มันเป็นออโตทรอพ ออโตทรอพ (Autotroph. หรือ อัตโภชนาการ เป็นคำสมาสภาษากรีกมาจากคำว่า autos ที่แปลว่าตัวเอง และ trophe ที่แปลว่าโภชนาการ) คือสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้ โดยทำการผลิตอาหารขึ้นมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นแหล่งคาร์บอน และแสงหรือสารอนินทรีย์อื่นๆ เป็นแหล่งพลังงาน สิ่งมีชีวิตประเภทออโตทรอพถูกจัดให้เป็นผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหาร สิ่งมีชีวิตจำพวกพืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ผลิตอาหารโดยการสังเคราะห์แสงถือว่าเป็นโฟโตทรอพ (phototroph) ส่วนแบคทีเรียที่นำการออกซิเดชันของสารอนินทรีย์ต่างๆ เช่นก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือเหล็กโลหะมาเป็นแหล่งพลังงานเรียกว่า คีโมออโตทรอพ (chemoautotroph) สิ่งมีชีวิตจำพวกออโตทรอพถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งในห่วงโซ่อาหารในทุกๆ ระบบนิเวศ โดยที่พวกมันจะรับพลังงานมาจากแสงอาทิตย์ (หรือแหล่งอนินทรีย์อื่นๆ) แล้วแปลงพลังงานเหล่านี้ให้กลางเป็นโมเลกุลที่มีโครงสร้างเป็นคาร์บอนหรือโมเลกุลอินทรีย์อื่นๆ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานเชิงชีวภาพของสิ่งมีชีวิต เช่นการสร้างเซลล์ รวมถึงเป็นอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตจำพวกเฮเทโรทรอพ ที่ผลิตอาหารเองไม่ได้เพื่อนำไปใช้ในการทำงานเชิงชีวภาพเช่นเดียวกัน ฉะนั้นเฮเทโรทรอพต่างๆ ได้แก่สัตว์กินพืช, ฟังไจหรือเห็ดรา เช่นเดียวกับแบคทีเรียส่วนใหญ่และโปรโตซัวจะพึ่งพาออโตทรอพเป็นอาหารที่จะให้พลังงานและวัตถุดิบที่จะนำไปใช้ในการผลิตโมเลกุลอินทรีย์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยเฮเทโรทรอพทำการแปลงอาหารเป็นพลังงานโดยการแตกโมเลกุลอาหารให้เล็กลง สัตว์กินเนื้อก็พึ่งพาออโตทรอพเช่นเดียวกัน เนื่องจากพลังงานและคุณค่าโภชนาการในอาหารก็มาจากอาหารประเภทพืชที่เหยื่อของสัตว์กินเนื้อได้กินเข้าไป มีสิ่งมีชีวิตอยู่บางสายพันธุ์ที่อาศัยอินทรียสารเป็นแหล่งคาร์บอน แต่ก็สามารถอาศัยแสงหรืออนินทรียสารมาเป็นแหล่งพลังงานได้ด้วย แต่สิ่งมีชีวิตจำพวกนี้มักไม่ถูกจัดให้อยู่ในสิ่งมีชีวิตจำพวกออโตทรอพ แต่มักจะถูกจัดให้อยู่ในจำพวกเฮเทโรทรอพเสียมากกว่า โดยสิ่งมีชีวิตที่อาศัยคาร์บอนจากอินทรีย์สาร แต่อาศัยพลังงานจากแสง จัดอยู่ในพวกโฟโตเฮเทโรทรอพ (photoheterotroph) ส่วนสิ่งมีชีวิตที่อาศัยคาร์บอนมาจากอินทรีย์สาร แต่อาศัยพลังงานจากการออกซิเดชันของอนินทรีย์สาร จะถูกจัดอยู่ในพวกคีโมเฮเทโรทรอพ (chemoheterotroph) หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:พฤกษศาสตร์.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คลอโรพลาสต์และออโตทรอพ

คลอโรพลาสต์และออโตทรอพ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คลอโรพลาสต์และออโตทรอพ

คลอโรพลาสต์ มี 5 ความสัมพันธ์ขณะที่ ออโตทรอพ มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (5 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คลอโรพลาสต์และออโตทรอพ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »