เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

คลอเฟนะมีนและเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คลอเฟนะมีนและเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

คลอเฟนะมีน vs. เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

ลอเฟนะมีน (Chlorphenamine) ซึ่งเป็นชื่อสากล หรือ คลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา (USAN) และเคยใช้ในประเทศอังกฤษ (BAN) เป็นยาที่ขายในรูปแบบ chlorphenamine maleate เป็นสารต้านฮิสทามีนประเภท alkylamine รุ่นแรกที่ใช้ป้องกันอาการแพ้ เช่น เยื่อจมูกอักเสบและลมพิษ ผลระงับประสาทของมันค่อนข้างอ่อนเทียบกับสารต้านฮิสทามีนรุ่นแรกอื่น ๆ คลอเฟนะมีนเป็นสารต้านฮิสทามีนที่ใช้มากที่สุดในสัตวแพทย์สำหรับสัตว์เล็ก แม้จะไม่ได้อนุมัติให้ใช้เป็นยาแก้ซึมเศร้าหรือยาแก้วิตกกังวล (anxiolytic) คลอเฟนะมีนก็มีฤทธิ์เหล่านั้นด้วย คลอเฟนะมีนเป็นส่วนของกลุ่มสารต้านฮิสทามีน ที่รวมเฟนิรามีน, สารอนุพันธ์แบบเฮโลเจน (halogenated) ของเฟนิรามีน, และยาอื่น ๆ รวมทั้ง fluorpheniramine, เดกซ์คลอเฟนิรามีน, บรอมเฟนิรามีน, เดกซ์บรอมเฟนิรามีน, deschlorpheniramine, ไตรโพรลิดีน, และ iodopheniramine สารต้านฮิสทามีนประเภท alkylamine แบบเฮโลเจนทั้งหมดรวมทั้งคลอเฟนะมีน มี optical isomerism เช่นกัน และคลอเฟนะมีนที่วางขายจะอยู่ในรูปแบบ chlorphenamine maleate แบบแรซิมิก เทียบกับเดกซ์คลอเฟนิรามีน ซึ่งเป็น dextrorotary stereoisomer. ื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อจมูก ซึ่งเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาไวเกินกับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ผู้ป่วยอาจมีอาการน้ำมูกไหล คัดจมูก จาม ตาแดง คันตา น้ำตาไหล และตาบวม น้ำมูกของผู้ป่วยมักเป็นน้ำมูกใส อาการมักเริ่มกำเริบภายในไม่กี่นาทีหลังสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ อาการเหล่านี้อาจส่งผลต่อการนอน การทำงาน และการเรียนได้ ผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรมักมีอาการในช่วงใดช่วงหนึ่งของปี ผู้ป่วยโรคนี้หลายรายจะมีโรคอื่นๆ ในกลุ่มภูมิแพ้ร่วมด้วย ได้แก่ โรคหืด เยื่อตาอักเสบจากภูมิแพ้ และผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ ผู้ป่วยมักถูกกระตุ้นให้มีอาการเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม เช่น ละอองเกสร ขนสัตว์เลี้ยง ฝุ่น หรือเชื้อรา การเกิดภูมิแพ้เหล่านี้เป็นผลจากทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมประกอบกันทำให้เกิดโรค ปัจจัยบางอย่างช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ เช่น การใช้ชีวิตวัยเด็กในฟาร์ม การมีพี่น้องหลายคน เป็นต้น กลไกของการเกิดโรคที่สำคัญอยู่ที่สารภูมิคุ้มกันชนิดไอจีอี ซึ่งสามารถจับกับสารก่อภูมิแพ้และกระตุ้นให้เกิดการปล่อยสารการอักเสบหลายๆ อย่างออกมาภายในร่างกาย เช่นมีการปล่อยฮิสตามีนออกมาจากเม็ดเลือดขาวชนิดแมสท์เซลล์ การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากประวัติผู้ป่วย ร่วมกับการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือตรวจเลือดหาไอจีอีที่จำเพาะต่อการก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ การทดสอบเหล่านี้บางครั้งอาจให้ผลบวกลวง (ผลการทดสอบบ่งชี้ว่าเป็นโรค แต่จริงๆ แล้วไม่ได้เป็นโรค) ได้ อาการของเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้จะคล้ายคลึงกับโรคหวัด แต่ต่างกันตรงนี้ภูมิแพ้จะเป็นนานกว่าคือเป็นมากกว่า 2 สัปดาห์ และมักจะไม่มีไข้ การได้มีโอกาสสัมผัสสัตว์ในวัยเด็กอาจเป็นปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงของการป่วยโรคนี้ในตอนโตได้ ยาที่ช่วยบรรเทาอาการของโรคได้มีหลายอย่าง เช่น สเตอรอยด์ ยาต้านฮิสตามีน เช่น ไดเฟนไฮดรามีน โครโมลินโซเดียม และยาต้านลิวโคไทรอีน เช่น มอนทีลูคาสท์ ผู้ป่วยบางรายอาจใช้ยาแล้วลดอาการได้ไม่ดีนัก หรือใช้แล้วมีผลข้างเคียง การทำภูมิคุ้มกันบำบัดต่อสารก่อภูมิแพ้เป็นวิธีหนึ่งที่อาจได้ผล ทำโดยค่อยๆ ให้สารก่อภูมิแพ้ในขนาดน้อยแก่ผู้ป่วย แล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดขึ้นไปตามแนวทางที่กำหนด อาจให้ด้วยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือเป็นเม็ดอมใต้ลิ้นก็ได้ ผลการรักษามักคงอยู่ได้ 3-5 ปี และอาจมีประโยชน์อื่นคงอยู่นานกว่านั้น เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เป็นโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยที่สุด ในประเทศตะวันตกพบว่าปีหนึ่งๆ จะมีผู้ป่วยถึง 10-30% ในประชากร ส่วนในไทยพบ 23-30% พบบ่อยที่สุดในคนอายุ 20-40 ปี โรคนี้ถูกบรรยายไว้อย่างถูกต้องเป็นครั้งแรกเมื่อคริสตศตวรรษที่ 10 โดยแพทย์และปราชญ์ชาวเปอร์เซียชื่อมุฮัมหมัด อัล-รอสี ต่อม..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คลอเฟนะมีนและเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

คลอเฟนะมีนและเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภูมิแพ้สารต้านฮิสตามีนฮิสตามีนโรคหวัดไดเฟนไฮดรามีนเยื่อจมูกอักเสบ

ภูมิแพ้

ูมิแพ้ (allergy) คือความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินของระบบภูมิคุ้มกัน อาการภูมิแพ้เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ตอบสนองต่อสสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายซึ่งมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ซึ่งสารที่ก่อให้เกิดการตอบสนองนั้นเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ โดยอาการตอบสนองต่อสารเหล่านี้ไม่ใช่ความผิดปกติแต่กำเนิด, สามารถคาดเดาได้ และไม่เรื้อรัง ภูมิแพ้เป็นหนึ่งในความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินและถูกเรียกในเชิงวิชาการว่า ประเภทที่หนึ่ง (type I) หรือ ประเภทเฉียบพลัน (immediate) อาการภูมิแพ้เหล่านี้เฉพาะเจาะจงเนื่องจากเกิดขึ้นโดยการกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากเกินไป คือ แมสต์เซลล์ และเบโซฟิล โดยแอนติบอดีที่ชื่อว่า อิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) การกระตุ้นนี้ส่งผลให้เกิดการอักเสบซึ่งมีระดับตั้งแต่ทำให้ระคายเคืองไปจนถึงการเสียชีวิต ภูมิแพ้ระดับเบา เช่น เยื่อจมูกอักเสบ พบได้ทั่วไปในหมู่ประชากรของมนุษย์และก่อให้เกิดอาการ เช่น ตาแดง, การคัน, น้ำมูกไหล, กลาก, ลมพิษ และหอบหืด ซึ่งภูมิแพ้นี้เองที่ในบางสถานการณ์อาจจะเป็นต้นเหตุสำคัญในอาการหอบหืด ในคนไข้บางราย อาการแพ้รุนแรงต่อสภาวะแวดล้อม, สารก่อภูมิแพ้ทางโภชนาการ หรือยาบางชนิด อาจส่งผลให้เกิดอาการตอบสนองที่เป็นอันตรายต่อชีวิตที่เรียกว่าแอนาฟิแล็กซิส นอกจากนี้อาการแพ้อาหารหรืออาการตอบสนองต่อพิษของการกัดต่อยจากแมลง เช่น ต่อและผึ้ง ก็มักเกี่ยวข้องกับอาการรุนแรงเหล่านี้ การทดสอบหลากหลายวิธีเพื่อวินิจฉัยอาการภูมิแพ้ เช่น การนำสารก่อภูมิแพ้ที่น่าจะเป็นไปได้ทาลงบนผิวหนังเพื่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น อาการบวม หรือการทดสอบเลือด ต่างก็สามารถช่วยให้ค้นพบสารก่อภูมิแพ้แบบเจาะจงที่เป็นอิมมูโนโกลบูลินอีได้ การรักษาภูมิแพ้ เช่น การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือการรับประทานยาต้านฮิสทามีน ก็สามารถป้องกันการเกิดอาการภูมิแพ้แบบเจาะจงได้ หรือไม่ว่าจะเป็นการรับสารสเตอรอยด์ซึ่งจะช่วยปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกัน และยาบรรเทาอาการคัดจมูกก็สามารถบรรเทาอาการแพ้ลงได้ ส่วนมากแล้วยาเหล่านี้เป็นยาที่ใช้รับประทาน ยกเว้นอะดรีนาลินที่จำเป็นต้องรับผ่านทางการฉีดยา นอกจากนี้แล้วยังมีอีกวิธีคือการบำบัดด้วยสารก่อนภูมิแพ้ ซึ่งจะฉีดสารก่อนภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายทีละน้อยเพื่อให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่ออาการแพ้นั้นได้เอง.

คลอเฟนะมีนและภูมิแพ้ · ภูมิแพ้และเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ · ดูเพิ่มเติม »

สารต้านฮิสตามีน

รต้านฮิสตามีน (antihistamine) หรือ ทั่วไปเรียกว่า ยาแก้แพ้ เป็น ยา ที่ใช้กำจัดหรือลดผลของ ฮิสตามีน (histamine) ซึ่งเป็นเป็นสารเคมีที่ถูกปลดปล่อยภายในร่างกายจาก ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (allergic reactions) โดยผ่านการกระทำที่ ตัวรับฮิสตามีน (histamine receptors) สารที่มีผลในการรักษาจะออกฤทธิ์ในการยับยั้งตัวรับฮีสทามีนนี้จึงถูกเรียกว่า สารต้านฮีสตามีน - สารอื่นที่มีผลต้านฮีสทามีนแต่ไม่ออกฤทธิ์ที่ ตัวรับฮิสตามีน จะไม่เป็นสารต้านฮีสทามีนที่แท้จริง โดยทั่วไป สารต้านฮีสตามีนจะหมายถึง ตัวรับปฏิปักษ์ H1 ซึ่งเรียกว่า สารต้านฮิสตามีน-H1 เราพบว่า สารต้านฮิสตามีน-H1เป็น ตัวทำการกลับ (inverse agonist) ที่ตัวรับฮิสตามีน-H1มากกว่าที่จะเป็น ตัวรับปฏิปักษ์ per se.

คลอเฟนะมีนและสารต้านฮิสตามีน · สารต้านฮิสตามีนและเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิสตามีน

ีสตามีน (Histamine) เป็นสารที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการอักเสบ หลั่งจากมาสต์เซลล์ (Mast cell) เบโซฟิล และเกล็ดเลือด เมื่อเนื้อเยื่อถูกทำลาย ฮีสตามีนที่หลังมาจากเซลล์เหล่านี้จะจับกับตัวรับ (Receptor) ที่เส้นเลือดฝอยและเส้นเลือดดำขนาดเล็ก (Venule) ทำให้เส้นเลือดขยายตัวและเพิ่มการไหลผ่านของพลาสมาในเส้นเลือ.

คลอเฟนะมีนและฮิสตามีน · ฮิสตามีนและเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ · ดูเพิ่มเติม »

โรคหวัด

อหอยส่วนจมูกอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคเยื่อจมูกและลำคออักเสบเฉียบพลัน (Acute nasopharyngitis) เรียกโดยทั่วไปว่า โรคหวัด หรือ ไข้หวัด (Common cold) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบนที่กระทบต่อจมูกเป็นหลัก อาการของโรคมีทั้งไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไข้ซึ่งมักหายไปเองในเจ็ดถึงสิบวัน แต่บางอาการอาจอยู่ได้นานถึงสามสัปดาห์ ไวรัสกว่า 200 ชนิดเป็นสาเหตุของโรคหวัด โดยไรโนไวรัสเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนจำแนกได้หลวม ๆ ตามบริเวณที่ได้รับผลจากไวรัส โดยโรคหวัดกระทบต่อจมูก คอหอย (คอหอยอักเสบ) และโพรงจมูก (โพรงจมูกอักเสบ) เป็นหลัก ส่วนใหญ่อาการเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อมากกว่าการทำลายเนื้อเยื่อจากไวรัสเอง การล้างมือเป็นวิธีการป้องกันหลัก และหลักฐานบางชิ้นสนับสนุนประสิทธิภาพของการสวมหน้ากากอนามัย โรคหวัดไม่มีวิธีรักษาจำเพาะ แต่สามารถรักษาอาการได้ โรคหวัดเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่พบบ่อยที่สุดในมนุษย์ และอยู่คู่กับมนุษยชาติมาแต่โบราณ ผู้ใหญ่ติดโรคหวัดโดยเฉลี่ยสองถึงสามครั้งต่อปี ขณะที่เด็กโดยเฉลี่ยติดโรคหวัดระหว่างหกถึงสิบสองครั้งต่อปี.

คลอเฟนะมีนและโรคหวัด · เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และโรคหวัด · ดูเพิ่มเติม »

ไดเฟนไฮดรามีน

ฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine).

คลอเฟนะมีนและไดเฟนไฮดรามีน · เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และไดเฟนไฮดรามีน · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อจมูกอักเสบ

ื่อจมูกอักเสบ (Rhinitis) หรือ ไข้หวัดอักเสบ (Coryza) เป็นการระคายเคืองและการอักเสบของเยื่อเมือกภายในจมูก มักจะแสดงอาการทั่วไปเช่นคัดจมูก, มีน้ำมูก, จาม และ น้ำเมือกหยด โรคนี้ถือเป็นโรคสามัญที่ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศมักจะป่วยเป็นประจำ การอักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัส, แบคทีเรีย, จุลปรสิต หรือ ละออง นอกจากนี้ อากาศหนาวก็เป็นสาเหตุได้เช่นเดียวกัน ซึ่งในบรรดาสาเหตุทั้งหมดนี้ เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เป็นกรณีที่พบได้มากที่สุด ภาวะเยื่อจมูกอักเสบอาจแสดงอาการอื่นร่วมด้วยอาทิ คันจมูก, ไอ, ปวดหัว, ล้า, ละเหี่ย และรับรู้ช้าลง และยังอาจส่งผลให้มองเห็นพร่ามัวและเกิดการบวมบริเวณรอบดวงตา นอกจากนี้ การอักเสบยังก่อให้เกิดเมือกจำนวนมาก ซึ่งนำมาซึ่งภาวะคัดจมูกและมีน้ำมูก ในกรณีของการอักเสบจากภูมิแพ้นั้นมีสาเหตุมาจากการสลายเกล็ดของแมสต์เซลล์ ซึ่งเมื่อเซลล์ถูกสลายเกล็ดจะปล่อยฮิสตามีนและสารอื่นๆออกมาที่ทำร่างกายเมื่อยล้าและละเหี่ย สามารถทำการป้องกันการเป็นเยื่อจมูกอักเสบได้โดยรับวัคซีนจำพวกวัคซีนไข้หวัดใหญ่, วัคซีนต้านอดีโนไวรัส, วัคซีนโรคหัด, วัคซีนโรคหัดเยอรมัน, วัคซีนต้านเยื่อหุ้มสมองอักเสบ, วัคซีนป้องกันเชื้อฮีโมฟิลุสชนิดบี, วัคซีนโรคคอตีบ และหากเป็นโรคนี้แล้ว ยาทานจำพวกสารต้านฮิสทามีนหรือคอร์ดิโคสเตียรอยด์จะช่วยทุเลาอาการลงได้.

คลอเฟนะมีนและเยื่อจมูกอักเสบ · เยื่อจมูกอักเสบและเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คลอเฟนะมีนและเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

คลอเฟนะมีน มี 43 ความสัมพันธ์ขณะที่ เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 9.52% = 6 / (43 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คลอเฟนะมีนและเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: