โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คลองและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คลองและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

คลอง vs. รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

ลองในประเทศฝรั่งเศส คลอง (canal) คือ ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล ในภาษาไทยมีคำที่ใช้เรียกทางน้ำหรือลำน้ำขนาดต่างๆ รวมกันว่า แม่น้ำคูคลอง โดยแม่น้ำเป็นลำน้ำที่มีขนาดใหญ่มาก ส่วนคลอง และคูมีขนาดเล็กรองลงมาตามลำดับ คลองมักจะเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำ สู่แม่น้ำ หรือ ระหว่างทะเลสาบ และมหาสมุทร คลองมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการส่งน้ำสำหรับการเดินทาง และอุปโภคบริโภค คลองที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏในยุคเมโสโปเตเมีย ประมาณ 4000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันในประเทศไทย คลองในฐานะที่เป็นเส้นทางการขนส่งทางน้ำเริ่มมีใช้ลดน้อยลง เนื่องจากการเพิ่มของถนนและทางรถไฟ ทำให้คลองในหลายสถานที่ไม่ได้รับความดูแล เกิดความเน่าเสียได้ง่าย ในหลายๆเมือง ได้นำคลองมาใช้ในการนันทนาการแทนที่ โดยมีการล่องเรือนำเที่ยวเมืองภายในคลอง ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีความเชื่อว่าบนดาวอังคารได้มีคลอง. ตัดกันระหว่างคลองบางน้อย กับคลองบางกอกใหญ่ ในพื้นที่แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน คลองในกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 1,161 คลอง และคูลำกระโดง จำนวน 521 คู รวมเป็น 1,682 คูคลอง ความยาว 2,604 กม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คลองและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

คลองและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร มี 18 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานครคลองบางกอกน้อยคลองบางกอกใหญ่คลองภาษีเจริญคลองมหาสวัสดิ์คลองมหานาคคลองมอญคลองรอบกรุงคลองสนามชัยคลองหกวาสายล่างคลองหลอดคลองผดุงกรุงเกษมคลองทวีวัฒนาคลองคูเมืองเดิมคลองประปาคลองประเวศบุรีรมย์คลองแสนแสบคลองเปรมประชากร

รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

ตัดกันระหว่างคลองบางน้อย กับคลองบางกอกใหญ่ ในพื้นที่แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน คลองในกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 1,161 คลอง และคูลำกระโดง จำนวน 521 คู รวมเป็น 1,682 คูคลอง ความยาว 2,604 กม.

คลองและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานครและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองบางกอกน้อย

ลองบางกอกน้อยช่วงที่ไหลผ่านวัดศรีสุดาราม มองไปทางด้านทิศตะวันตก คลองบางกอกน้อยเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงที่๑ ซึ่งทำให้แม่น้ำไหลเปลี่ยนทิศทางไปเป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้ คลองบางกอกน้อย ตั้งอยู่ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2077 - 2089) ได้โปรดฯ ให้ขุดคลองลัดแม่น้ำขึ้นจากปากคลองบางกอกน้อยไปยังปากคลองบางกอกใหญ่ ซึ่งกล่าวกันว่าช่วยย่นระยะทางได้ถึง 1 วัน ต่อมากระแสน้ำส่วนใหญ่ได้ไหลเข้าสู่คองลัดทำให้คลองกว้างขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ ส่วนแม่น้ำสายเดิมแคบลงกลายเป็นคลองบางกอกน้อย คลองชักพระ และคลองบางกอกใหญ่แทน คลองบางกอกน้อยเริ่มต้นตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยาทางเหนือของสถานีรถไฟธนบุรี ไหลขึ้นไปบรรจบคลองชักพระ (คลองบางขุนศรี) และคลองลัดบางกรวย ตรงข้ามวัดสุวรรณคีรี มีความกว้างมากถึง 40 เมตร และยาว 3.3 กิโลเมตร คณะรัฐมนตรีมีมติให้คลองบางกอกน้อยเป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ในปัจจุบันช่วง คลองลัดบางกรวย (หมายเลข ๒ ในภาพ) ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งคลองบางกอกน้อยไปด้วย รวมถึงคลองอ้อม หรือคลองอ้อมนนท์ ก็เรียกกันทั่วไปว่าคลองบางกอกน้อยเช่นกัน ปัจจุบัน คลองบางกอกน้อยใช้ในการคมนาคม สัญจร ทัศนาจร ท่องเที่ยว ใช้ขนส่งสินค้า ใช้เล่นกีฬาทางน้ำ ใช้อาบน้ำ ใช้ล้างภาชนะ ใช้ระบายน้ำ และยังเป็นเส้นทางชักพระของวัดนางชี ซึ่งมีขึ้นในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี โดยชักแห่ไปทางน้ำ ผ่านคลองชักพระ คลองบางกอกน้อย แล้ววกลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกใหญ่ กลับไปยังวัดนางชีตามเดิม ไหลผ่าน เขตบางกอกน้อย เขตตลิ่งชัน อ.บางกรวย อ.บางใหญ่ อ.เมืองนนทบุรี.

คลองและคลองบางกอกน้อย · คลองบางกอกน้อยและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองบางกอกใหญ่

ปากคลองบางกอกใหญ่ บรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกใหญ่ช่วงที่ผ่านวัดอินทารามวรวิหาร (วัดบางยี่เรือนอก) การขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงที่ ๑ ซึ่งทำให้แม่น้ำสายเดิมกลายเป็นคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบัน คลองบางกอกใหญ่ หรือชื่อในอดีตว่า คลองบางหลวง เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อน กล่าวคือบริเวณตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย ตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปจนถึงปากคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนั้น ยังเป็นแผ่นดินอยู่ แม่น้ำเจ้าพระยาเดิมจะอ้อมเลี้ยวจากหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคุ้งกว้างมาทะลุออกข้างวัดท้ายตลาด ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. 2077 - 2089) โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดระหว่างคุ้งแม่น้ำทั้งสอง เพื่อย่นระยะทางและอำนวยความสะดวกให้กับบรรดาพ่อค้าทูตานุทูตชาวตะวันตกที่เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยนั้น ต่อมาคลองลัดเริ่มกว้างใหญ่ขึ้นกลายเป็นแม่น้ำ ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็เล็กลงกลายเป็นคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ ถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ราชสำนักย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรี คลองบางกอกใหญ่กลายมาเป็นชุมชนของข้าหลวง และโปรดเกล้าให้บรรดาชาวจีนซึ่งได้เคยช่วยเหลือพระองค์มาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ ผู้คนจึงนิยมเรียกกันติดปากว่า "คลองบางข้าหลวง" หรือ "คลองบางหลวง" สืบมาถึงในปัจจุบัน รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร กำหนดให้คลองบางกอกใหญ่เป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ปากคลองบางกอกใหญ่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งขวาของป้อมวิไชยประสิทธิ์ ไปสิ้นสุดที่คลองมอญ ตรงข้ามปากคลองชักพระ มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร คลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนั้นถือเป็นเส้นทางสัญจรและระบายน้ำ และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างมาก มีศาสนสถานตั้งอยู่อย่างหนาแน่นทั้งสองฝั่ง วัดและมัสยิดริมคลองบางกอกใหญ่ได้แก.

คลองและคลองบางกอกใหญ่ · คลองบางกอกใหญ่และรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองภาษีเจริญ

ลองภาษีเจริญ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2559 มองเห็นพระมหาเจดีย์มหารัชมงคล วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ คลองภาษีเจริญ บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสบางหว้า คลองภาษีเจริญ เริ่มต้นที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่และคลองบางขุนศรีมาบรรจบกัน ไปเชื่อมแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลดอนไก่ดี จังหวัดสมุทรสาคร รวมความยาว 28 กิโลเมตร โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) เจ้าภาษีฝิ่นเป็นแม่กองขุด ใช้เงินภาษีฝิ่นพระราชทานเป็นเงิน 112,000 บาท พระราชทานนามว่า “คลองภาษีเจริญ” แล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเปิดคลองในปี พ.ศ. 2415 ได้คลองมีความยาว 620 เส้น กว้าง 7 วา ลึก 5 ศอก ต่อมาในปี พ.ศ. 2428 -พ.ศ. 2429 และพ.ศ. 2446 ได้มีการขุดลอกอีกครั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ทำพิธีเปิดคลองเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม มีประตูน้ำ 2 แห่ง สร้างเมื่อปี..

คลองและคลองภาษีเจริญ · คลองภาษีเจริญและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองมหาสวัสดิ์

ลองมหาสวัสดิ์ คลองมหาสวัสดิ์ หรือ คลองชัยพฤกษ์ เป็นคลองที่เริ่มต้นจากคลองลัดบางกรวยหรือคลองบางกอกน้อย ใกล้วัดชัยพฤกษมาลา ไหลผ่านเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี กับเขตตลิ่งชันและเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ผ่านอำเภอพุทธมณฑล ไปออกแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม รวมความยาว 28 กิโลเมตร คลองสายนี้เริ่มขุดตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน..

คลองและคลองมหาสวัสดิ์ · คลองมหาสวัสดิ์และรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองมหานาค

ลองมหานาค ช่วงสะพานมหาดไทยอุทิศ คลองมหานาค เป็นคลองขุดสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่แยกมาจากคลองรอบกรุง ในอดีตใช้เป็นสถานที่สำหรับให้ชาวพระนครมาเล่นเพลงสักวากันในช่วงน้ำหลาก ต่อมาได้มีการขุดคลองเพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายคลองสายอื่นสำหรับขนส่งกำลังพลและเสบียงช่วงอานัมสยามยุท.

คลองและคลองมหานาค · คลองมหานาคและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองมอญ

ลองมอญ คลองมอญ เป็นคลองธรรมชาติคลองหนึ่งที่ตั้งอยู่ระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตบางกอกน้อย ที่มาของชื่อคลองมาจากที่ริมสองฝั่งคลองเป็นชุมชนชาวมอญเรียงรายกันไปตลอดแนว คลองมอญแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก พาดผ่านเป็นแนวแบ่งเขตแดนระหว่างเขตบางกอกน้อย และบางกอกใหญ่ ไปออกยังบริเวณที่คลองบางน้อยและคลองบางเชือกหนังไหลมาบรรจบกัน ในรอยต่อเขตภาษีเจริญและเขตตลิ่งชัน คลองมอญมีความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีศาสนสถานและวัดสำคัญ ๆ มากมาย เช่น วัดเครือวัลย์ วัดนาคกลาง วัดพระยาทำ วัดครุฑ วัดโพธิ์เรียง วัดบางเสาธง วัดปากน้ำฝั่งใต้ วัดเกาะ คลองมอญจึงมีความสำคัญต่อการระบายน้ำและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตกรุงเทพมหานครชั้นในเป็นอย่างมาก ชื่ออื่นๆ ของคลองมอญที่นิยมเรียกกัน ก็คือคลองบางเสาธง ซึ่งเรียกกันในช่วงที่มารวมกับคลองบางน้อย และบางเชือกหนัง หรือบางครั้งก็ถือว่าคลองช่วงนี้เป็นส่วนหนึ่งของคลองบางน้อ.

คลองและคลองมอญ · คลองมอญและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองรอบกรุง

ลองรอบกรุงและป้ายในปัจจุบัน คลองรอบกรุงในอดีต ด้านหลังคือ ภูเขาทอง วัดสระเกศ คลองรอบกรุง (Khlong Rop Krung) เป็นคลองขุด ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นเมื่อ..

คลองและคลองรอบกรุง · คลองรอบกรุงและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองสนามชัย

ลองสนามชัย หรือ คลองมหาชัย เป็นคลองที่ขุดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8แห่งกรุงศรีอยุธยา แทนที่คลองโคกขามเดิม ซึ่งมีความคดเคี้ยวอย่างมาก เรียกคลองที่ขุดขึ้นใหม่นี้ว่า คลองพระพุทธเจ้าหลวง แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็สวรรคตไปก่อน ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้โปรดเกล้าให้พระราชสงครามเป็นนายกอง เกณฑ์คนจากหัวเมืองปักษ์ใต้มาขุดต่อ หัวเมืองปักษ์ใต้ในสมัยนั้น หมายถึงหัวเมืองที่อยู่ทางใต้ของกรุงศรีอยุธยา เช่น เมืองสาครบุรี สามโคก ราชบุรี ธนบุรี นนทบุรี เพชรบุรี ใช้เวลาขุดสองเดือนจึงแล้วเสร็จ จุดเริ่มต้นของคลองอยู่ต่อจากคลองด่าน บริเวณแยกคลองบางขุนเทียน ในเขตจอมทอง แล้วไปออกแม่น้ำท่าจีนที่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ตัวคลองลึก 6 ศอก และกว้าง 7 วา ใช้ในการคมนาคมขนส่ง และทำสงคราม และยังมีชาวต่างชาติใช้เส้นทางนี้ไปกรุงศรีอยุธยาโดยไม่ต้องผ่านเข้าทางแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย ผลสืบเนื่องที่สำคัญคือการบุกเบิกพื้นที่สองฝั่งคลองมาใช้ในการเกษตรอย่างกว้างขวาง นับเป็นผลงานสำคัญในรัชกาลนี้ นอกจากนั้นแล้ว ในปี พ.ศ. 2352 คลองสายนี้เป็นเส้นทางที่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ทรงใช้ยกทัพไปปราบพม่าที่เมืองถลางและเมืองชุมพรอีกด้วย ปัจจุบันคลองสนามชัยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร และจ.สมุทรสาคร คลองมหาชัยนี้ยังเป็นที่มาของชื่อเรียกจังหวัดสมุทรสาครที่นิยมอีกด้วย เนื่องจากตัวเมืองตั้งอยู่ที่บริเวณปากคลองมหาชัยพอดี ในปัจจุบันนิยมเรียกคลองนี้ว่าคลองมหาชัย ใน.สมุทรสาคร และเรียกคลองสนามชัย ในฝั่งธนบุรี โดยทั่วไปไม่ได้เจาะจงว่าบริเวณใดเป็นจุดเริ่มต้นคลองสนามชัย แต่จะถือกันว่าคลองสนามชัยและคลองด่านเป็นคลองเดียวกันในละแวกนั้น ในเขตจอมทองจึงเรียกคลองนี้ทั้งคลองสนามชัย และคลองด่าน.

คลองและคลองสนามชัย · คลองสนามชัยและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองหกวาสายล่าง

แผนที่แสดงคลองต่างๆ ในโครงการทุ่งรังสิต ระหว่างปี พ.ศ. 2433 – พ.ศ. 2447 คลองหกวาสายล่างอยู่ทางด้านล่างสุด คลองหกวาสายล่าง หรือคลองหกวา ขุดขึ้นโดยบริษัทขุดคลองแลคูนาสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ตามโครงการทุ่งรังสิต ระหว่างปี..

คลองและคลองหกวาสายล่าง · คลองหกวาสายล่างและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองหลอด

นหก คลองหลอด เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 คลองหลอด เป็นคลองขุดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2326 เมื่อครั้งย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร เชื่อมคลองคูเมืองเดิมออกไปบรรจบกับคลองรอบกรุง มี 2 คลอง เรียกกันตามลักษณะของคลองว่า "คลองหลอด".

คลองและคลองหลอด · คลองหลอดและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองผดุงกรุงเกษม

ลองผดุงกรุงเกษมบริเวณสะพานเจริญสวัสดิ์ (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5) คลองผดุงกรุงเกษม ในปัจจุบัน คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองรอบพระนครชั้นนอก ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดเมื่อ..

คลองและคลองผดุงกรุงเกษม · คลองผดุงกรุงเกษมและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองทวีวัฒนา

ลองทวีวัฒนา คลองทวีวัฒนา เป็นคลองที่ขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต่อจากคลองเปรมประชากร เริ่มขุดในปี..

คลองและคลองทวีวัฒนา · คลองทวีวัฒนาและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองคูเมืองเดิม

ลองคูเมืองเดิม คลองคูเมืองเดิม เป็นคลองขุดที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเป็นคูเมืองด้านตะวันออกของกรุงธนบุรีซึ่งกินอาณาเขตเลยมาทางด้านฝั่งพระนคร โดยโปรดฯ ให้ขุดคูเมืองออกแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านเหนือที่ท่าช้างวังหน้า ด้านใต้ที่ปากคลองตลาด ดินจากการขุดคลองโปรดให้พูนขึ้นเป็นเชิงเทิน ตั้งค่ายไม้ทองหลางทั้งต้นตลองแนวคลองเพือป้องกันข้าศึก เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งพระนคร โปรดให้ขุดคูเมืองใหม่เพื่อขยายอาณาเขตราชธานี คลองคูเมืองเดิมจึงกลายเป็นเส้นทางคมนาคมของราษฎร ไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นคูเมืองอีกต่อไป ประชาชนเรียกชื่อคลองนี้ตามสถานที่ที่คลองผ่าน เช่น ปากคลองด้านเหนือผ่านโรงไหมหลวง เรียก "คลองโรงไหมหลวง" ปากคลองด้านใต้เป็นตลาดที่คึกคักทั้งบนบกและในน้ำ จึงเรียก "ปากคลองตลาด" ส่วนตอนกลางระหว่างคลองหลอดวัดราชนัดดา (คลองหลอดข้างวัดบุรณศิริมาตยาราม) กับคลองหลอดวัดราชบพิธ ได้มีประกาศของสุขาภิบาล ร..

คลองและคลองคูเมืองเดิม · คลองคูเมืองเดิมและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองประปา

ลองประปา เป็นคลองขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงเห็นว่าในขณะนั้นประชาชนทั่วไปยังคงใช้น้ำที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง น้ำทะเลจะเข้าถึงแม่น้ำเจ้าพระยาได้ ดำเนินการโดยเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ ผู้บัญชาการกรมสุขาภิบาล ในระยะแรกได้กั้นแม่น้ำน้อย หรือคลองเชียงรากในปัจจุบันกักน้ำไว้ เรียกว่าคลองขัง แล้วขุดคลองจากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดสำแลที่น้ำทะเลขึ้นไปไม่ถึง เข้ามาที่คลองขัง จากนั้นจึงขุดคลองอ้อมไปออกคลองบ้านพร้าวให้เรือสัญจรได้ ขุดคลองบางหลวงหัวป่า และคลองบางสิงห์ ไปเชื่อมกับคลองระพีพัฒน์และคลองเปรมประชากร รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาที่คลองขัง คลองขังมีความยาวยาว 8 กิโลเมตร กว้าง 60–100 เมตร ลึกตั้งแต่ 2–6 เมตร ใช้ผลิตน้ำประปาในตอนเริ่มแรก ในระยะต่อมาได้ขุดคลองประปาจากตำบลบางพูนมายังโรงกรองสามเสน มีเขื่อนกั้นจากสามเสนถึงโรงกรองน้ำบางเขน ปลายคลองประตูน้ำกั้นไม่ให้น้ำที่ไม่สะอาดไหลเข้าคลองได้ และเวลาน้ำในคลองสามเสนลดลงประตูน้ำจะเปิดให้น้ำไหลลงคลองสามเสน ตลอดแนวคลองประปามีที่ทำการเจ้าหน้าที่รักษาคลอง 7 แห่ง ที่ตำบลสำแล เชียงราก รังสิต สีกัน บางเขน บางซื่อ และสามเสน เพื่อรักษาคลอง ขุดแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม..

คลองและคลองประปา · คลองประปาและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองประเวศบุรีรมย์

ลองประเวศบุรีรมย์เมื่อ พ.ศ. 2492 บริเวณโรงเรียนพรตพิทยพยัต คลองประเวศบุรีรมย์ (Khlong Prawet Buri Rom) เป็นคลองขุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ให้ขุดต่อจากคลองพระโขนงไปเชื่อมกับ แม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกคลองที่ขุดต่อออกไปว่า "คลองประเวศบุรีรมย์" และให้ขุดคลองแยกจากคลองประเวศบุรีรมย์ อีก 4 คลอง คือ คลองหนึ่ง คลองสอง คลองสาม และคลองสี่ เริ่มขุดตั้งแต่ พ.ศ. 2421 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2423 มีความยาวทั้งสิ้น 1150 เส้น (46 กิโลเมตร) ในการขุดคลองประเวศบุรีรมย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติ "ประกาศขุดคลอง" ใน..

คลองและคลองประเวศบุรีรมย์ · คลองประเวศบุรีรมย์และรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองแสนแสบ

รือด่วนในคลองแสนแสบ คลองแสนแสบ เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2380 ด้วยพระราชประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบ และเสบียงอาหารไปยังญวน (เวียดนาม) ในราชการสงครามไทย-ญวน ซึ่งใช้เวลารบนานถึง 14 ปี ใน คือ อานามสยามยุทธ คลองแสนแสบเป็นเส้นทางโดยสารที่นิยมเป็นอย่างมากเพราะสะดวกและรวดเร็ว แต่ในปัจจุบันนั้นมีปัญหามลภาวะทางน้ำ ส่งกลิ่นเหม็นเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยการทิ้งขยะลงในแม่น้ำ ทำให้คลองแสนแสบนั้นมีสภาพที่สกปรกไม่น่ามอง.

คลองและคลองแสนแสบ · คลองแสนแสบและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

คลองเปรมประชากร

ริ่มต้นคลองเปรมประชากรเชื่อมต่อกับคลองผดุงกรุงเกษม คลองเปรมประชากรที่ไหลผ่านบริเวณข้างทำเนียบรัฐบาล คลองเปรมประชากร (Khlong Prem Prachakon) หรือชื่อเดิมว่า คลองสวัสดิ์เปรมประชากร เป็นคลองขุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2413 เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาจากคลองผดุงกรุงเกษมบริเวณหน้าวัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร ไปทะลุตำบลเกาะใหญ่ แขวงกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ปัจจุบันอยู่ในตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) เป็นระยะทาง 1271 เส้น 3 วา (50846 เมตร) เนื่องจากทรงเห็นว่าการเดินเรือขึ้นล่องตามแม่น้ำเจ้าพระยานั้นมีเส้นทางอ้อมไปมาทำให้เสียเวลาในการเดินทางมาก คลองเปรมประชากร เป็นคลองที่มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับคลองผดุงกรุงเกษม ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยไหลผ่านเขตดุสิต เขตบางซื่อ เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง (กรุงเทพมหานคร) อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก (จังหวัดปทุมธานี) และไหลสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอ.

คลองและคลองเปรมประชากร · คลองเปรมประชากรและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คลองและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

คลอง มี 44 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร มี 149 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 18, ดัชนี Jaccard คือ 9.33% = 18 / (44 + 149)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คลองและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »