เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

คลองและนากเล็กเล็บสั้น

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คลองและนากเล็กเล็บสั้น

คลอง vs. นากเล็กเล็บสั้น

ลองในประเทศฝรั่งเศส คลอง (canal) คือ ทางน้ำหรือลำน้ำที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่น้ำหรือทะเล ในภาษาไทยมีคำที่ใช้เรียกทางน้ำหรือลำน้ำขนาดต่างๆ รวมกันว่า แม่น้ำคูคลอง โดยแม่น้ำเป็นลำน้ำที่มีขนาดใหญ่มาก ส่วนคลอง และคูมีขนาดเล็กรองลงมาตามลำดับ คลองมักจะเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำ สู่แม่น้ำ หรือ ระหว่างทะเลสาบ และมหาสมุทร คลองมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการส่งน้ำสำหรับการเดินทาง และอุปโภคบริโภค คลองที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏในยุคเมโสโปเตเมีย ประมาณ 4000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันในประเทศไทย คลองในฐานะที่เป็นเส้นทางการขนส่งทางน้ำเริ่มมีใช้ลดน้อยลง เนื่องจากการเพิ่มของถนนและทางรถไฟ ทำให้คลองในหลายสถานที่ไม่ได้รับความดูแล เกิดความเน่าเสียได้ง่าย ในหลายๆเมือง ได้นำคลองมาใช้ในการนันทนาการแทนที่ โดยมีการล่องเรือนำเที่ยวเมืองภายในคลอง ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้มีความเชื่อว่าบนดาวอังคารได้มีคลอง. นากเล็กเล็บสั้น (oriental small-clawed otter, Asian small-clawed otter) เป็นนากขนาดเล็กที่สุดในโลก ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย ขนตามลำตัวมีสีเทาเข้มหรือสีน้ำตาล แต่สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่า แต่สามารถเปลี่ยนสีขนได้ตามฤดูกาล ลักษณะเด่นคือ พังผืดบริเวณนิ้วตีนจะมีขนาดเล็กลง ช่วยให้นิ้วเคลื่อนไหวได้คล่องตัวมากขึ้น ใต้คอมีสีขาว มีจมูกที่สั้นมากกว่านากชนิดอื่น ๆ ตัวที่ยังไม่โตเต็มวัยจะมีจมูกยาว และโค้งกว่า เมื่ออายุได้ 5 สัปดาห์จมูกก็จะหดสั้นลง มีความยาวลำตัวและหางประมาณ 45-55 เซนติเมตร ความยาวหาง 25-35 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางทั้งในทวีปแอฟริกาและในทวีปเอเชีย ในทวีปเอเชียพบตั้งแต่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ, ภาคใต้ของจีน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียวและเกาะชวา (แบ่งเป็น 3 ชนิดย่อย ดูในตาราง) นากเล็กเล็บสั้นมีความสามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ในธรรมชาติจะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ลำธารขนาดเล็ก, ป่าชายเลน, ริมทะเลสาบ, ห้วย, หนอง, คลอง, บึง หรือแม้แต่ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นเขตเกษตรกรรมของมนุษย์ เช่น ตามท้องร่องสวนต่าง ๆ อาหารหลักได้แก่ สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ แต่ชอบกินปูมากที่สุด มักอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ นากเล็กเล็บสั้นไม่ได้ใช้หนวดเป็นประสาทสัมผัสในการรับรู้เหมือนนากชนิดอื่น ๆ เพราะมีประสาทสัมผัสอยู่ที่ขาหน้า ออกลูกตามโพรงไม้หรือโพรงหินที่มีอยู่แล้ว เพราะขาหน้าไม่แข็งแรงพอจะขุดโพรงริมตลิ่งได้เหมือนนากชนิดอื่น ๆ ออกหากินในเวลากลางคืน บางครั้งอาจพบได้ตั้งแต่ช่วงพลบค่ำจนถึงรุ่งเช้า นากเล็กเล็บสั้นหากนำมาเลี้ยงตั้งแต่ยังเล็ก จะเชื่องและสามารถทำตามคำสั่งของมนุษย์ได้ จึงมีการนำมาแสดงโชว์ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ เช่น ซาฟารีเวิลด์ เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค แม้แต่กระทั่งพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยพบในพื้นที่แถบคลองบางมด เขตทุ่งครุ ฝั่งธนบุรี เป็นนากเล็กเล็บสั้นที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง มีพฤติกรรมขโมยกินปลาของเกษตรกรในพื้นที่ตามท้องร่องสวนในเวลากลางคืน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คลองและนากเล็กเล็บสั้น

คลองและนากเล็กเล็บสั้น มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ทะเลสาบประเทศไทย

ทะเลสาบ

ทะเลสาบกลางสวนเบญจกิตติ ขนาด 200x800 เมตร เมืองชิคาโก และทะเลสาบมิชิแกน 1 ในทะเลสาบทั้ง 5 ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ทะเลสาบ หรือ บึง เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่ล้อมรอบด้วยผืนดิน โดยทั่วไปทะเลสาบจะไม่มีทางไหลออกสู่ทะเล และมีน้ำจืด เรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำจืด" แต่ทะเลสาบบางแห่งอาจไหลออกสู่ทะเลได้ และมีน้ำเค็ม จึงเรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำเค็ม" คำว่า "ทะเลสาบ" ยังครอบคลุมถึงแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ทะเลสาบขนาดเล็กในสนามกอล์ฟ หรือ ทะเลสาบขนาดเล็กในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ หรือ แอ่งเก็บน้ำเหนือเขื่อน และ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งนับเป็นทะเลสาบขนาดใหญ.

คลองและทะเลสาบ · ทะเลสาบและนากเล็กเล็บสั้น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

คลองและประเทศไทย · นากเล็กเล็บสั้นและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คลองและนากเล็กเล็บสั้น

คลอง มี 44 ความสัมพันธ์ขณะที่ นากเล็กเล็บสั้น มี 44 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 2.27% = 2 / (44 + 44)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คลองและนากเล็กเล็บสั้น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: