โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ครีบหลัง

ดัชนี ครีบหลัง

รีบหลังของฉลาม ครีบหลัง คือครีบที่อยู่ด้านหลังของสัตว์น้ำทั้งในน้ำเค็มและน้ำจืดเช่นปลา,วาฬและโลมารวมถึงสัตว์เลื้อยคล้านใต้ทะเลจำพวกอิกทิโอซอร์ (ichthyosaur) ด้วย สปีชีส์ส่วนใหญ่จะมีครีบหลังเพียงครีบเดี่ยวแต่บางชนิดก็มีสองถึงสาม นักชีววิทยาสัตว์ป่ามักใช้ลักษณะและรูปแบบของครีบนี้ในการจำแนกสายพัน.

15 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลากระโทงวงศ์ปลาอินทรีสัตว์น้ำสปีชีส์หนังแท้อันดับวาฬและโลมาปลาปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิกปลาทอง (สกุล)ปลาทูน่าปลาทูน่าครีบเหลืองปลาตกเบ็ดปลาฉลามพอร์ตแจ็กสันปลาแมกเคอเรลปลาแสงอาทิตย์

วงศ์ปลากระโทง

ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก วงศ์ปลากระโทง, วงศ์ปลากระโทงแทง หรือ วงศ์ปลาปากนก ปลากระดูกแข็งขนาดใหญ่จำพวกหนึ่งอาศัยอยู่ในทะเล อยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Istiophoridae โดยคำว่า Istiophoridae ที่ใช้เป็นชื่อวงศ์นั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ιστίων" (Istion) หมายถึง "ใบเรือ" รวมกับคำว่า "φέρειν" (pherein) หมายถึง "แบกไว้" ปลากระโทง เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ที่มีความปราดเปรียวและว่องไวมาก จัดเป็นปลาที่สามารถว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกด้วยมีกล้ามเนื้อที่ทรงพลัง และกระดูกหลังที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถพุ่งจากน้ำได้เร็ว 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และในฤดูอพยพอาจทำความเร็วได้ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง มีลำตัวค่อนข้างกลม ปากกว้าง มีฟันแบบวิลลิฟอร์ม ครีบหลังและครีบก้นมีอย่างละ 2 ครีบ ไม่มีครีบฝอย ครีบท้องมีก้านครีบ 1-3 ก้าน มีสันที่คอดหาง ครีบหางเว้าลึก มีจุดเด่นคือปลายปากด้านบนมีกระดูกยื่นยาวแหลมออกมา ใช้ในการนำทาง ล่าเหยื่อ และป้องกันตัว ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสิ่งที่เหลืออยู่จากยุคก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อป้องกันตัวจากบรรดาปลานักล่าต่าง ๆ ที่มีอยู่ดาษดื่นSuper Fish: fastest predator in the sea, สารคดีทางแอนิมอลพลาเน็ต.ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2556 มีครีบกระโดงหลังมีสูงแหลม ในบางชนิด จะมีกระโดงสูงมากและครอบคลุมเกือบเต็มบริเวณหลัง ดูแลคล้ายใบเรือ มีสีและลวดลายข้างลำตัวแตกต่างออกไปตามแต่ชนิด ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามสภาพอารมณ์ หากตกใจหรือเครียด สีจะซีด และใช้เป็นสิ่งที่แยกของปลาแต่ละตัว โดยมากแล้วมักจะอาศัยหากินอยู่บริเวณผิวน้ำ พบได้ในทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก ออกล่าเหยื่อเป็นปลาขนาดเล็กกว่า บางครั้งอาจอยู่รวมเป็นฝูงนับร้อยตัว มักล่าเหยื่อในเวลากลางวัน เนื่องจากเป็นปลาที่ล่าด้วยประสาทสัมผัสทางตาเป็นหลัก สามารถโดดพ้นน้ำได้สูงและมีความสง่างามมาก จึงนิยมตกเป็นเกมกีฬา ได้รับฉายาจากนักตกปลาว่าเป็น "ราชินีแห่งท้องทะล" โดยมักจะออกตกด้วยการล่องเรือไปกลางทะเลและตกด้วยอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้ด้วยกันเวลาหลายชั่วโมง ด้วยการให้ปลายื้อเบ็ดจนหมดแรงเอง โดยปลากระโทงชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ปลากระโทงสีน้ำเงิน (Makaira nigricans) เป็นชนิดที่พบที่มหาสมุทรแอตแลนติก ที่สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 5 เมตร หนักกว่า 636 กิโลกรัม.

ใหม่!!: ครีบหลังและวงศ์ปลากระโทง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาอินทรี

วงศ์ปลาอินทรี (Mackerels, Tunas, King mackerels) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombridae มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวเป็นทรงกระสวย นัยน์ตากลมโต มีครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตอนหลังมีลักษณะแข็งและมีขนาดเล็ก มีครีบท้องและครีบก้น กล้ามเนื้อก่อนถึงโคนหางมีเนื้อเยื่อขวางอยู่เรียกว่า "คีล" (Keel) โคนครีบหางกิ่วเล็กแต่แข็งแรง มีครีบแบ่งเป็นแฉก 2 แฉกเว้าลึก ครีบท้องขนานยาวไปกับความยาวลำตัว มีขนาดความยาวแตกต่างกันตั้งแต่ 20 เซนติเมตร ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร บางสกุลอาจมีลวดลายตามความยาวหรือแนวลำตัว ในปากมีฟันและกรามที่แข็งแรง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในทะเลเปิดในเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่น ในปลาขนาดเล็กกินแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า และในปลาขนาดใหญ่จะไล่กินปลาขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร ว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เพราะใช้ครีบและหางแนบกับลำตัวเมื่อว่ายน้ำ โดยมีสถิติสูงสุดที่บันทึกได้คือ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยปลาในวงศ์นี้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อสามัญภาษาไทยโดยรวมกัน คือ ปลาทู, ปลาโอ, ปลาทูน่า และปลาอินทรี เป็นต้น เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นปลาที่มนุษย์ใช้ในการบริโภค ทั้งปรุงสุดหรืออาหารกระป๋อง รวมทั้งทำอาหารสัตว์ และตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 55 ชนิด 15 สกุล และแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Thunnus thynnus) ที่มีรายงานยาวเต็มที่ที่เคยพบคือ 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม.

ใหม่!!: ครีบหลังและวงศ์ปลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์น้ำ

ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.

ใหม่!!: ครีบหลังและสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ครีบหลังและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หนังแท้

หนังแท้ (Dermis) เป็นชั้นของผิวหนังที่อยู่ใต้หนังกำพร้า (epidermis) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ลดการกระแทกจากแรงดึงต่างๆ หนังแท้ยึดติดกับหนังกำพร้าอย่างแน่นหนาโดยเยื่อฐาน (basement membrane) และมีปลายประสาทมากมายซึ่งรับความรู้สึกเช่นสัมผัสหรือความร้อน ในหนังแท้ยังมีรากขน (hair follicle), ต่อมเหงื่อ (sweat gland), ต่อมไขมัน (sebaceous gland), ต่อมเหงื่อแบบอะโพครายน์ (apocrine sweat glands), และหลอดเลือด (blood vessel) หลอดเลือดในชั้นหนังแท้มีประโยชน์ในการให้อาหารมาเลี้ยงและขับของเสีย เช่นเดียวกับสตราตัม เบซาเลของหนังกำพร้.

ใหม่!!: ครีบหลังและหนังแท้ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับวาฬและโลมา

ซีทาเซีย (Order Cetacea) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นอันดับหนึ่งใน 18 อันดับของชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับซีทาเซีย ได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะคล้ายปลา เช่นวาฬ โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลักษณะภายนอกคล้ายปลา จนมักเรียกติดปลาว่า ปลาวาฬ และ ปลาโลมา ซึ่งผิดหลักอนุกรมภิธาน บรรพบุรุษของสัตว์ตระกูลนี้เป็นสัตว์บกที่วิวัฒนาการกลับลงไปในทะเล.

ใหม่!!: ครีบหลังและอันดับวาฬและโลมา · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: ครีบหลังและปลา · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก

ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก หรือ ปลากระโทงแทงกล้วย (Banana sailfish, Indo-Pacific sailfish) เป็นปลากระโทงที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง และจัดเป็นปลากระโทงร่มชนิดหนึ่ง มีรูปร่างยาวเรียว ลำตัวแบนข้าง ส่วนของสันหลังมีกล้ามเนื้อหนา หัวค่อนข้างโต ปากกว้าง จะงอยปากเรียวยาวและแหลม มีครีบกระโดงหลังสูงใหญ่เวลาแผ่กว้างจะมีลักษณะคล้ายใบเรือ ซึ่งใหญ่กว่าปลากระโทงชนิดอื่น ๆ ครีบอกมีขนาดเล็ก ครีบท้องเรียวยาวเหมือนแถบริบบิ้น ครีบก้นแยกเป็นสองอันเล็ก ๆ อันที่สองอยู่ตรงข้ามครีบหลังซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน สีของลำตัวด้านหลังเป็นสีน้ำเงินเข้มปนดำข้างตัวสีน้ำเงินอ่อนกว่าด้านหลัง ท้องสีขาวเงินมีลายเป็นเส้นประพาดจากด้านหลังลงไปถึงท้อง ครีบทุกครีบมีสีดำ มีครีบท้องเป็นเส้นยาวชัดเจน มีความยาวได้ถึง 3.5 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 100-125 กิโลกรัม กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในเขตร้อนของทะเลเปิดของมหาสมุทรต่าง ๆ ทั้ง มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก โดยสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากเป็นปลาที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรงมาก ข้อต่อของกระดูกและครีบต่าง ๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวได้เป็นอย่างดี มีการอพยพย้ายถิ่นไปตามกระแสน้ำ ลูกปลาขนาดเล็ก ปลาที่ถูกตกได้ที่คอสตาริกา ลูกปลาวัยอ่อนเมื่อฟักออกมาจากไข่มีขนาดเพียง 3 มิลลิเมตรเท่านั้น และจะมีขนาดเหมือนตัวเต็มวัยเมื่อมีความยาวได้ 20 เซนติเมตร ปลาวัยอ่อนจะอาศัยหากินตามผิวน้ำที่ไม่ไกลจากฝั่งมากนัก และบางครั้งอาจเข้าไปหากินใกล้ชายฝั่งหรือใกล้กับเกาะ โดยใช้จะงอยปากที่แหลมยาวและครีบหลังที่ใหญ่ไล่ต้อน ซึ่งอาหารที่ชื่นชอบ คือ ปลาขนาดเล็กและหมึก เมื่อจะล่าเหยื่อ โดยเฉพาะปลาแมกเคอเรล จะเปลี่ยนสีลำตัวเป็นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน เนื่องจากสายตาของปลาแมกเคอเรลไวต่อแสงสีฟ้าหรือสีน้ำเงินมาก รวมทั้งสามารถมองเห็นแสงอัลตราไวโอเลตด้วย การเปลี่ยนเป็นสีฟ้าจะทำให้ปลาแมกเคอเรลสับสน ปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก เป็นปลาที่เป็นทื่นิยมอย่างมากในการตกเป็นเกมกีฬา ด้วยเป็นปลาที่สู้กับเบ็ดและต้องใช้พละกำลังและเวลาอย่างมากในการตก.

ใหม่!!: ครีบหลังและปลากระโทงร่มอินโด-แปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทอง (สกุล)

ปลาทอง (Goldfish, Common carp, Crucian carp) เป็นสกุลของปลาน้ำจืด ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Carassius (/คา-ราส-สิ-อัส/) ในวงศ์ย่อย Cyprininae เป็นปลาที่มนุษย์คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เหมือนกับปลาในสกุล Cyprinus ที่เดิมอยู่รวมอยู่ด้วยกันมาก่อน ในฐานะของปลาที่เป็นปลาใช้ในการบริโภค และต่อมาได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีรูปร่าง และสีสันสวยงามมากขึ้น เพื่อเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยชาวจีนเมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ปลาในสกุลนี้ มีรูปร่างทั่วไปเหมือนกับปลาในสกุล Cyprinus จุดที่แตกต่างกันคือ ไม่มีหนวดที่ริมฝีปาก และมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่เฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออก และบางส่วนในรัสเซียเท่านั้น ขณะที่บางชนิดเป็นปลาเฉพาะถิ่นพบได้เฉพาะทะเลสาบบิวะ ที่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น.

ใหม่!!: ครีบหลังและปลาทอง (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทูน่า

ปลาทูน่า หรือ ปลาโอ (tuna; マグロ) เป็นปลาทะเลกลุ่มหนึ่ง ในเผ่า Thunnini วงศ์ Scombridae โดยเฉพาะในสกุล Thunnus จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก เนื้อของปลาทูน่าจะมีสีชมพูหรือแดงเข้ม ต่างจากปลาทั่วไปที่มักจะมีเนื้อสีขาว นิยมเอามาทำเป็นปลากระป๋อง หรือปรุงสดต่าง ๆ เช่น ซาชิมิ ปลาทูน่า มีลักษณะรวม คือ อาศัยอยู่เป็นฝูงในทะเลหรือมหาสมุทรห่างจากชายฝั่ง มีรูปร่างเพรียวคล้ายกระสวย บริเวณฐานครีบหูมีกลุ่มเกล็ดเล็ก ๆ ครีบหางเว้าลึก เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วว่องไวมาก.

ใหม่!!: ครีบหลังและปลาทูน่า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทูน่าครีบเหลือง

ปลาทูน่าครีบเหลือง (Yellowfin tuna, Allison's tuna, Pacific long-tailed tuna, Yellowfinned albacore) ปลาทะเลกระดูกแข็งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาทูน่าหรือปลาโอที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง แต่เล็กกว่าปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (T. thynnus) และปลาทูน่าครีบน้ำเงินแปซิฟิค (T. orientalis) พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น ระหว่างละติจูดที่ 40 องศาเหนือ ถึง 40 องศาใต้ มักชอบว่ายน้ำตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงความลึกประมาณ 300 เมตร ในระดับอุณหภูมิ 18-31 องศาเซลเซียส มีลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่บริเวณกึ่งกลางของครีบหลังอันแรก ครีบหลังอันแรกแยกออกจากครีบหลังอันที่สองอย่างชัดเจน ครีบหูมีความยาวถึงกึ่งกลางของฐานครีบหลังอันที่สองในปลาทูน่าขนาดใหญ่ ครีบหลังอันที่สองและครีบก้นมีขนาดยาวมาก (ยาวกว่าความยาวของครีบหลังร้อยละ 20) เมื่อผ่าท้องออกดูจะพบว่าด้านล่างของตับจะไม่ลาย ด้านหลังเป็นสีน้ำเงินดำ แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง และสีน้ำเงินด้านล่างของลำตัว ปลาทูน่าครีบเหลืองขนาดใหญ่ขนาดใหญ่จะพบจุดสีเข้มเป็นแถวตามแนวดิ่งประมาณ 20 แถว ครีบหลังและครีบก้นมีสีเหลืองสด มีครีบเล็กสีเหลืองจำนวน 7-10 คู่ และที่ปลายของครีบเล็กจะเป็นสีดำ ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีความยาวมากกว่า 2 เมตร (วัดจากปากถึงเว้าครีบหาง) และมีหน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด ประมาณ 0.5-1.5 เมตร เริ่มเข้าสู่ภาวะโตเต็มวัยเมื่อมีความยาว 50-60 เซนติเมตร และร้อยละของปลาที่โตเต็มวัยจะสูงขึ้นเมื่อมีความยาวมากกว่า 70 เซนติเมตร ปลาทูน่าครีบเหลืองทุกตัวจะอยู่ในภาวะโตเต็มวัยเมื่อมีความยาว มากกว่า 120 เซนติเมตร มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 9 ปี ไข่เป็นลักษณะไข่ลอยไปตามกระแสบนผิวน้ำ เมื่อฟักเป็นตัวใช้เวลา 2 ปี จึงจะมีสภาพโตเต็มที่ ลูกปลาแรกฟักมีความยาว 3 มิลลิเมตร ถึงแม้จะว่ายน้ำได้ แต่ก็ไม่คล่องแคล่ว จนกระทั่งอีกหลายปสัดาห์ต่อมาจึงสามารถว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ลูกปลาวัยอ่อนไม่สามารถที่จะปกป้องตัวเองได้ จึงตกเป็นอาหารของสัตว์นักล่าต่าง ๆ เสมอ ปลาทูน่าครีบเหลืองเป็นปลาที่นิยมรับประทานสด และเป็นวัตถุดิบในการทำปลากระป๋อง จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากอีกชนิดหนึ่ง อุปกรณ์ในการประมงที่ใช้ในการจับ คือ อ้วนล้อม, เบ็ดตวัด, อวนลอย และเบ็ดราว มีราคาซื้อขายสูงถึงกิโลกรัมละ 2,000 บาท เป็นปลาที่มีส่วนที่เป็นเนื้อแดงเยอะ ที่เรียกกันในภาษาญี่ปุ่นว่า "ชูโทะโระ" (中とろ).

ใหม่!!: ครีบหลังและปลาทูน่าครีบเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตกเบ็ด

ปลาตกเบ็ด (anglerfish) หรือ ปลาแองเกลอร์ คือปลาทะเลลึกอยู่ในชั้นปลากระดูกแข็งซึ่งชื่อของมันตั้งมาจากวิธีการล่าเหยื่อของมันซึ่งคำว่า แองเกลอร์ (Angler) นั้นมีความหมายว่า ผู้ตกปลา พวกมันมีสายพันธุ์มากกว่า 200 ชนิดซึ่ง พวกมันสามารถพบได้ทั่วโลกตรงบริเวณที่เป็นไหล่ทวีปจนถึงทะเลลึกส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกและแอนตาร์กติกและยังอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำเขตร้อนตื้นๆด้วย พวกมันมีจุดเด่นตรงที่พวกมันมีติ่งเนื่อเรืองแสงที่คล้ายเบ็ดตกปลาซึ่งเอาไว้ใช่ในการล่อเหยือและมันยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือกรณีเพศสัณฐานของปรสิตเพศชายที่จะรวมตัวกันกับตัวเมี.

ใหม่!!: ครีบหลังและปลาตกเบ็ด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามพอร์ตแจ็กสัน

ปลาฉลามพอร์ตแจ็กสัน (Port Jackson shark) เป็นปลาฉลามขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Heterodontidae ปลาฉลามพอร์ตแจ็กสันเป็นปลาฉลามขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ที่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ มีความยาวประมาณ 100-120 เซนติเมตร และพบยาวเต็มที่ 1.67 เมตร มีลำตัวยาวทรงกระบอก มีส่วนหัวที่เหลี่ยมคล้ายกับหัวของวัว ปากมีขนาดเล็ก และมีฟันซี่เล็ก ๆ ที่ไม่แหลมคม ใช้สำหรับกินสัตว์มีเปลือกตามหน้าดินชนิดต่าง ๆ, เม่นทะเล และหอยเป็นอาหารโดยเฉพาะ นอกจากนี้แล้วมีรายงานว่า ที่ครีบหลัง 2 ครีบ มีเงี่ยงที่มีพิษ ปลาฉลามพอร์ตแจ็กสันเป็นปลาที่หากินและอาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน พื้นทะเล รอบ ๆ ออสเตรเลีย เช่น ท่าเรือแจ็กสัน หรือ อ่าวซิดนีย์ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก ปลาฉลามพอร์ตแจ็กสันเป็นปลาที่มีวงจรชีวิตค่อนข้างมหัศจรรย์ กล่าวคือ เป็นปลาฉลามที่ออกลูกเป็นไข่ ซึ่งเชื่อว่าลักษณะเดียวกับปลาฉลามในยุคจูราสซิคแพร่ขยายพันธุ์เช่นเดียวกัน ลักษณะของไข่จะมีลักษณะเป็นเกลียวคล้ายกับที่เปิดจุกไวน์สีคล้ำ ปลาตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าปลาตัวผู้ จะวางไข่ครั้งละ 2 ฟอง การผสมพันธุ์จะเกิดในช่วงที่พระจันทร์เต็มดวงที่น้ำขึ้นเต็มที่ ปลาจะว่ายมารวมตัวกันนับร้อยตัว ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายกัดที่ครีบหลังตัวเมีย เมื่อออกไข่แล้ว ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายใช้ปากคาบไข่ไปซ่อนไว้ในกอสาหร่ายเพื่อให้ปกป้องไข่ ซึ่งจะเวลา 9 เดือน ที่ลูกปลาจะฟักออกมา เมื่อลูกปลาออกมาแล้ว จะว่ายน้ำเข้าสู่ชายฝั่งและเลี้ยงดูตัวเองบริเวณนั้น เช่น ป่าโกงกาง, ปากแม่น้ำ เป็นต้น ปลาจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 25 ปี.

ใหม่!!: ครีบหลังและปลาฉลามพอร์ตแจ็กสัน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแมกเคอเรล

ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร (''Scomberomorus sinensis'') จัดเป็นปลาแมกเคอเรลชนิดหนึ่งในวงศ์ Scombridae ปลาแมกเคอเรล (mackerel) เป็นชื่อเรียกสามัญในภาษาอังกฤษของปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Scombridae (เป็นส่วนใหญ่), Carangidae, Hexagrammidae และ Gempylidae ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันคือ ผิวเป็นเกล็ดละเอียดสีเงินมันวาว ตัวเรียวยาวกลมคล้ายทรงกระบอก หัวแหลมท้ายแหลม มีครีบกระโดงหนึ่งครีบ ครีบท้องหนึ่งครีบ ครีบข้างหนึ่งคู่ หางสองแฉก อาศัยอยู่ทั่วไปตามชายฝั่งทะเล อยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ ปลาทูก็อยู่ในวงศ์ Scombridae ดังนั้นจึงจัดเป็นปลาแมกเคอเรลเช่นกัน ส่วนปลาซาร์ดีนอยู่ในวงศ์ Clupeidae ที่มีขนาดเล็กกว่า ไม่จัดว่าเป็นปลาแมกเคอเรล ปลาแมกเคอเรลเป็นปลาที่มนุษย์รับประทานได้ สามารถนำมาทำเป็นปลากระป๋อง โดยเก็บเนื้อปลาในซอสมะเขือเทศ ซึ่งเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: ครีบหลังและปลาแมกเคอเรล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแสงอาทิตย์

ำหรับปลาแสงอาทิตย์ที่เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ดูที่: ปลาซันฟิช ปลาแสงอาทิตย์ หรือ ปลาโมลา โมลา (Ocean sunfish, Pacific sunfish, Sunfish, Mola mola) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาแสงอาทิตย์ (Molidae) ในอันดับปลาปักเป้า (Tetraodontiformes).

ใหม่!!: ครีบหลังและปลาแสงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »