โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คริสโตเฟอร์ เรน

ดัชนี คริสโตเฟอร์ เรน

ซอร์ คริสโตเฟอร์ เรน (Sir Christopher Wren) (20 ตุลาคม ค.ศ. 1632 - 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1723) เป็นสถาปนิกอังกฤษที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เขารับหน้าที่ปรับปรุงโบสถ์ 51 แห่ง ในนครหลวงลอนดอน หลังเกิดเหตุเพลิงใหม้ครั้งใหญ่ ในปี..

15 ความสัมพันธ์: ฟิสิกส์มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมหาอัคคีภัยแห่งลอนดอนราชสมาคมแห่งลอนดอนราชอาณาจักรอังกฤษวิลต์เชอร์สถาปัตยกรรมสถาปนิกอาสนวิหารนักบุญเปาโลดาราศาสตร์คณิตศาสตร์นักดาราศาสตร์นครลอนดอนแบลซ ปัสกาลไอแซก นิวตัน

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า อ๊อกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง อ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง"มหาวิทยาลัยโบราณ"มักจะถูกเรียกว่า"อ๊อกซบริดจ์" มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่อ๊อกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน อ๊อกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก อ๊อกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มหาอัคคีภัยแห่งลอนดอน

วาดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในลอนดอน ค.ศ. 1666 โดยจิตรกรนิรนามแสดงเพลิงที่กำลังลุกไหม้ในช่วงเย็นวันอังคาร โดยมองจากเรือที่อยู่ใกล้ๆ อู่เรือแคธารีน หอคอยลอนดอนอยู่ด้านขวาและสะพานลอนดอนอยู่ด้านซ้าย ในภาพจะเห็นอาสนวิหารเซนต์พอลอยู่ท่ามกลางวงล้อมของเปลวเพลิงที่สูง มหาอัคคีภัยแห่งลอนดอน (Great Fire of London) คือการเกิดเพลิงเผาผลาญครั้งใหญ่ที่ลุกลามใหญ่โตทำลายพื้นที่ส่วนกลางของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน ถึงวันพุธที่ 5 กันยายน..

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและมหาอัคคีภัยแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ราชสมาคมแห่งลอนดอน

นที่ตั้งของราชสมาคมแห่งลอนดอน ราชสมาคมแห่งลอนดอน (Royal Society หรือชื่อเต็มว่า The Royal Society of London for the Improvement of Natural Knowledge) เป็นสมาคมนักปราชญ์ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ รวมถึง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีความเป็นไปได้ว่าเป็นสมาคมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงอยู่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและราชสมาคมแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอังกฤษ

ราชอาณาจักรอังกฤษ (Kingdom of England.) เป็นราชอาณาจักรระหว่างปี..

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและราชอาณาจักรอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

วิลต์เชอร์

วิลท์เชอร์ (Wiltshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ที่มีเขตแดนติดกับมณฑลดอร์เซ็ท, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท, มณฑลแฮมป์เชอร์, มณฑลกลอสเตอร์เชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ และมณฑลบาร์คเชอร์ มณฑลวิลท์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: ซอลส์บรี, เวสต์วิลท์เชอร์, เค็นเน็ท, นอร์ธวิลท์เชอร์, และ สวินดัน โดยมีศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมือง โทรบริดจ์ วิลท์เชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 642,000 คน มีพื้นที่ 1346 กิโลเมตร 2 ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเนินหินชอล์ก (Downland) สูงและหุบเขากว้าง ที่ราบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ในมณฑลนี้มีชื่อเสียงเพราะเป็นที่ตั้งของสโตนเฮนจ์และสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ นอกจากนั้นก็ยังเป็นบริเวณที่ใช้ในการฝึกทหารของกองทัพอังกฤษ เมืองสำคัญที่สุดของวิลท์เชอร์คือซอลส์บรีที่เป็นเมืองที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์อังกฤษและเป็นที่ตั้งของมหาวิหารซอลส์บรีและสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น คฤหาสน์ลองลีต (Longleat), คฤหาสน์วิลตัน (Wilton House), คฤหาสน์สเตาเออร์เฮด (Stourhead) และแอบบีย์เลค็อก (Lacock Abbey).

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและวิลต์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรม

ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและสถาปนิก · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารนักบุญเปาโล

“อาสนวิหารนักบุญเปาโลเดิม” ก่อน ค.ศ. 1561 ที่ยังมีมณฑป อาสนวิหารนักบุญเปาโล (St Paul's Cathedral) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งบิชอปแห่งลอนดอน สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่นักบุญเปาโลอัครทูต ตั้งอยู่ในนครลอนดอน ประเทศอังกฤษ อาสนวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเชื่อกันว่าเป็นอาสนวิหารที่ 5 ตั้งแต่สร้างอาสนวิหารกันมา ณ ที่ตั้งนี้แต่อาจจะสูงกว่านั้นถ้านับการบูรณะเข้าไปด้ว.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและอาสนวิหารนักบุญเปาโล · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณิตศาสตร์

ยูคลิด (กำลังถือคาลิเปอร์) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ในสมัย 300 ปีก่อนคริสตกาล ภาพวาดของราฟาเอลในชื่อ ''โรงเรียนแห่งเอเธนส์''No likeness or description of Euclid's physical appearance made during his lifetime survived antiquity. Therefore, Euclid's depiction in works of art depends on the artist's imagination (see ''Euclid''). คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง และปริภูมิ กล่าวคร่าว ๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์ ในอดีตผู้คนจะใช้สิ่งของแทนจำนวนที่จะนับยิ่งนานเข้าจำนวนประชากรยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มคิดที่จะประดิษฐ์ตัวเลขขึ้นมาแทนการนับที่ใช้สิ่งของนับแทนจากนั้นก็มีการบวก ลบคูณ และหาร จากนั้นก็ก่อให้เกิดคณิตศาสตร์ คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นักดาราศาสตร์

''กาลิเลโอ'' ผู้ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นบิดาของนักดาราศาสตร์ยุคใหม่ นักดาราศาสตร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดาราศาสตร์หรือฟิสิกส์ดาราศาสตร์ แต่เดิมมาในอดีตกาล นักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ หรือนักปรัชญา มักจะเป็นบุคคลคนเดียวกัน เพราะเป็นผู้สืบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ ต่อมาผู้ที่ให้ความสนใจกับปรากฏการณ์บนท้องฟ้าเป็นพิเศษ จึงเรียกเฉพาะเจาะจงไปว่าเป็น "นักดาราศาสตร์" หมวดหมู่:อาชีพ.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและนักดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นครลอนดอน

นาคารกลางอังกฤษ, ธนาคารกลางของสหราชอาณาจักร นครลอนดอน (City of London) ในทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ตอนกลางของลอนดอน ประเทศอังกฤษ นครแห่งนี้ในอดีตเป็นหัวใจสำคัญของลอนดอน เขตแดนของตัวเมืองแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ยุคกลาง และดังนั้นมันจึงเป็นส่วนเล็ก ๆ ในเกรเทอร์ลอนดอนซึ่งใหญ่กว่ามาก ในภาษาอังกฤษ นครลอนดอนถูกเรียกย่อ ๆ ว่า พระนคร (The City - เดอะ ซิตี้) หรือ Square Mile (สแควร์ไมล์) เนื่องจากพื้นที่ในนครแทบจะเท่ากับหนึ่งตารางไมล์ (สแควร์ไมล์ แปลว่า ตารางไมล์ ประมาณ 2.6 กม.²) นครลอนดอนไม่ใช่หนึ่งใน 32 ลอนดอนบุรี มีฐานะเป็นมณฑลในประเทศอังกฤษ เทียบเท่ากับเกรเทอร์ลอนดอน เพียงแค่อยู่ในขอบเขตของเกรเทอร์ลอนดอนเท่านั้น จึงไม่ได้หมายความว่ามณฑลแห่งนี้จะเป็นหนึ่งในลอนดอนบุรี ในยุคกลาง นครเต็มเป็นขอบเขตการขยายอย่างเต็มที่ของลอนดอน หลังจากนั้น ได้มีการแยกเขตเวสต์มินสเตอร์ออกมา ซึ่งต่อมากลายเป็นนครเวสต์มินสเตอร์ ขณะนี้คำว่า ลอนดอน ส่วนใหญ่หมายถึงบริเวณตัวเมืองที่ขยายออกแต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของลอนดอน ซึ่งรวม 'นคร' ทั้งสองเอาไว้ด้วย นครหลวงลอนดอนยังคงเป็นส่วนหนึ่งของใจกลางเมืองลอนดอน ทุกวันนี้ นครลอนดอนเป็นศูนย์กลางทางการค้าขาย การลงทุน และธุรกิจ ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับนิวยอร์กซิตีในฐานะศูนย์กลางผู้นำของการลงทุนทั่วโลก นครถูกปกครองโดยบรรษัทนครลอนดอน ที่มีความรับผิดชอบแปลก ๆ บางอย่างสำหรับหน่วยงานปกครองท้องถิ่น เช่น เป็นหน่วยงานตำรวจสำหรับนครหลวง นอกจากนี้มันยังมีความรับผิดชอบและการเป็นเจ้าของที่วางอยู่บนขอบเขตนครหลวง คำขวัญภาษาละตินของนครลอนดอน คือ "Domine dirige nos" ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "พระเจ้าทรงนำทางพวกเรา".

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและนครลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

แบลซ ปัสกาล

แบลซ ปัสกาล แบลซ ปาสกาล (Blaise Pascal) เกิดเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2166 (ค.ศ. 1623) ที่เมืองแกลร์มง (ปัจจุบันคือเมืองแกลร์มง-แฟร็อง) ประเทศฝรั่งเศส เสียชีวิตเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2205 (ค.ศ. 1662) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แบลซ ปาสกาล คือนักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักปรัชญาผู้เคร่งครัดในศาสนา ปัสกาลเป็นเด็กที่มหัศจรรย์มีความรู้เหนือเด็กทั่วๆ ไปโดยได้ศึกษาเล่าเรียนจากพ่อของเขาเอง ปัสกาลจะตื่นทำงานแต่เช้าตรู่ท่ามกลางธรรมชาติโดยมักเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างเครื่องคิดเลขและการศึกษาเกี่ยวกับของเหลว ทำให้เขาเข้าใจความหมายของความดันและสุญญากาศด้วยการอธิบายของเอวันเจลิสตา ตอร์รีเชลลี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของกาลิเลโอ ปัสกาลเป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่โด่งดังที่สุดในวงการคณิตศาสตร์ เขาสร้างสองสาขาวิชาใหม่ในการทำรายงาน เขาเขียนหนังสือที่สำคัญบนหัวข้อผู้ออกแบบเรขาคณิตเมื่ออายุเพียง 16 ปีและยังติดต่อกับปีแยร์ เดอ แฟร์มา ในปี พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1654) เกี่ยวกับทฤษฎีความน่าจะเป็น ความมั่นคง อิทธิพลของการพัฒนาของเศรษฐกิจสมัยใหม่และวิทยาศาสตร์สังคม ประสบการณ์อันน่ามหัศจรรย์ในปี พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1654) ปัสกาลออกจากวงการคณิตศาสตร์และฟิสิกส์โดยอุทิศตัวเพื่องานเขียนเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา งานของเขามีชื่อเสียงมากในช่วงเวลานั้นคือ แล็ทร์พรอแว็งซียาล (Lettres provinciales) และป็องเซ (Pensées) อย่างไรก็ตามเขาได้รับโรคร้ายเข้าสู่ร่างกาย และได้เสียชีวิตหลังจากงานวันเกิดครบรอบอายุ 39 ปีเพียงสองเดือน ผลงานการค้นด้านฟิสิกส์ที่สำคัญ คือ การตั้งกฎของพาสคัล การประดิษฐ์บารอมิเตอร์ และเครื่องอัดไฮดรอลิก.

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและแบลซ ปัสกาล · ดูเพิ่มเติม »

ไอแซก นิวตัน

ซอร์ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) (25 ธันวาคม ค.ศ. 1641 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1725 ตามปฏิทินจูเลียน) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาวอังกฤษ งานเขียนในปี..

ใหม่!!: คริสโตเฟอร์ เรนและไอแซก นิวตัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Christopher Wrenคริสโตเฟอร์ เร็น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »