เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

คริสต์ทศวรรษ 1960และอินเดกซ์ลิโบรรัมโพรฮิบิโทรัม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คริสต์ทศวรรษ 1960และอินเดกซ์ลิโบรรัมโพรฮิบิโทรัม

คริสต์ทศวรรษ 1960 vs. อินเดกซ์ลิโบรรัมโพรฮิบิโทรัม

.. thumb อินเดกซ์ลิโบรรัมโพรฮิบิโทรัม (Index Librorum Prohibitorum; "รายชื่อหนังสือต้องห้าม") หรือเรียกโดยย่อว่า อินเดกซ์ (Index) เป็นบัญชีรายชื่อสิ่งพิมพ์ซึ่งไม่ผ่านการตรวจพิจารณาของพระศาสนจักรคาทอลิก อินเดกซ์ฉบับแรกพระสันตะปาปาพอลที่ 4 ทรงตราขึ้นในปี 1559 และมีการตราอีกหลายฉบับสืบเนื่องมาจนถึงปี 1948 ซึ่งเป็นฉบับที่ยี่สิบ แล้วมิได้ตราขึ้นอีกเลย กระทั่งพระสันตะปาปาพอลที่ 6 ทรงยกเลิกอินเดกซ์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 1966 นับเวลาตั้งแต่ฉบับแรกถึงฉบับสุดท้ายได้ 407 ปี วัตถุประสงค์ของอินเดกซ์ คือ เพื่อพิทักษ์ความจงรักภักดีและศีลธรรมของเหล่าผู้มีศรัทธา โดยห้ามมิให้เขาเหล่านั้นอ่านหนังสือและงานที่ผิดคลองธรรมหรือมีเนื้อหาทางเทววิทยาคลาดเคลื่อน หนังสือที่ถูกระบุว่ามีลักษณะเช่นนั้น มักเป็นงานของนักดาราศาสตร์ชั้นนำ เช่น เรื่อง เอพิโทเมอัสโตรโนมิเอโคเพอร์นิเคียเน (Epitome astronomiae Copernicianae; "ตำราดาราศาสตร์อย่างย่อ") ของโจฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler) ซึ่งขึ้นชื่ออยู่ในอินเดกซ์ตั้งแต่ปี 1621 ถึง 1835 รวมตลอดถึงคำแปลพระคริสตธรรมออกเป็นภาษาสามัญ อินเดกซ์หลาย ๆ ฉบับยังวางระเบียบควบคุมการอ่านและซื้อขายหนังสือ กับทั้งให้ฝ่ายศาสนจักรมีอำนาจตรวจพิจารณาหนังสือโดยไม่ต้องบอกกล่าวได้ด้วย การตราอินเดกซ์นับว่า เป็นจุดเปลี่ยนเสรีภาพแห่งการตรวจสอบในโลกคาลอลิก ผลงานวิทยาศาสตร์หลาย ๆ เรื่อง เช่น เรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล (heliocentrism) นั้น แม้เคยใช้สั่งสอนกันในมหาวิทยาลัยคาทอลิกมายาวนาน ก็ถูกขึ้นไว้ในอินเดกซ์ และนักเขียนบางคนซึ่งถูกขึ้นผลงานไว้ในอินเดกซ์ต้องพบจุดจบอันโหดร้าย เป็นต้นว่า กีออร์ดาโน บรูโน (Giordano Bruno) บาทหลวงชาวอิตาลีซึ่งเที่ยวสั่งสอนมิจฉาทิฐิในทางสรรพเทวนิยม จนถูกพนักงานสอบสวนของพระศาสนจักรจับกุมส่งเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ถูกขึ้นผลงานทุกเรื่องไว้ในอินเดกซ์ฉบับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1600 และถูกย่างสดคาตะแลงแกงในปีนั้นเอง แม้อินเดกซ์จะถูกยกเลิกไปสิ้นแล้ว แต่ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ซึ่งยังใช้บังคับอยู่ มีบรรพ 3 หน้าที่การสอนของพระศาสนจักร ลักษณะ 4 เครื่องมือสื่อสารมวลชนโดยเฉพาะหนังสือ มาตรา 827 บัญญัติว่า "ควร" ส่งงานเขียนเกี่ยวกับพระคริสตธรรม เทววิทยา กติกาสงฆ์ พงศาวดารสงฆ์ หรือที่จำเพาะเจาะจงว่าด้วยพระศาสนาหรือศีลธรรมอันดี ไปให้ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจ (Ordinary) แห่งท้องถิ่นนั้น ๆ ตรวจพิจารณาก่อน และมาตรา 830 ว่า ในการตรวจพิจารณาหนังสือ ให้ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจประชุมปรึกษากับบุคคลที่เห็นว่าจะให้คำวินิจฉัยได้ ถ้าบุคคลนั้นวินิจฉัยว่า "ไม่ขัดข้อง" (nihil obstat) ก็ให้ผู้ใหญ่ผู้ทรงอำนาจออกใบอนุญาตให้ตีพิมพ์ (imprimatur) ได้ นอกจากนี้ มาตรา 832 ยังว่า สมาชิกคณะนักพรต (religious institute) จะพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับพระศาสนาหรือศีลธรรมอันดี ต้องได้รับคำอนุญาตให้ตีพิมพ์ (imprimi potest) จากเจ้าอธิการของตนก่อนด้วย อนึ่ง ผลงานหลาย ๆ เรื่องที่เคยต้องห้ามตามอินเดกซ์มาหลายร้อยปีก็ได้รับอนุญาตได้พิมพ์เผยแพร่ได้ในสมัยหลัง ๆ นี้ เช่น ผลงานของมาเรีย วัลตอร์ตา (Maria Valtorta) ซึ่งถูกขึ้นอยู่ในอินเดกซ์ตั้งแต่ปี 1959 ได้รับอนุญาตจากพระศาสนจักรให้ตีพิมพ์ได้เมื่อปี 2002 กับทั้งนักเขียนหลายคนซึ่งผลงานเคยต้องห้ามก็กลับได้รับการเชิดชูด้วย เช่น มารี ฟาอูสตีนา โควัลสกา (Mary Faustina Kowalska) ชีชาวรัสเซียซึ่งผลงานถูกขึ้นไว้ในอินเดกซ์ตั้งแต่ปี 1959 ได้รับการสถาปนาเป็นธรรมิกชนเมื่อปี 2000 และอันโตนิโอ รอสมีนี-เซอร์บาตี (Antonio Rosmini-Serbati) บรรพชิตชาวอิตาลีซึ่งผลงานถูกขึ้นไว้ในอินเดกซ์ตั้งแต่ปี 1849 ได้รับการสถาปนาเป็นบุญราศีเมื่อปี 2007 วงการดาราศาสตร์มองว่า พัฒนาการตั้งแต่ยกเลิกอินเดกซ์มานั้นบ่งบอกว่า "อินเดกซ์สิ้นความหมายไปในศตวรรษที่ 21 แล้ว".

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คริสต์ทศวรรษ 1960และอินเดกซ์ลิโบรรัมโพรฮิบิโทรัม

คริสต์ทศวรรษ 1960และอินเดกซ์ลิโบรรัมโพรฮิบิโทรัม มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คริสต์ทศวรรษ 1960และอินเดกซ์ลิโบรรัมโพรฮิบิโทรัม

คริสต์ทศวรรษ 1960 มี 1 ความสัมพันธ์ขณะที่ อินเดกซ์ลิโบรรัมโพรฮิบิโทรัม มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (1 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คริสต์ทศวรรษ 1960และอินเดกซ์ลิโบรรัมโพรฮิบิโทรัม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: