เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

คริปโทเคอร์เรนซีและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คริปโทเคอร์เรนซีและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

คริปโทเคอร์เรนซี vs. ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

ริปโทเคอร์เรนซี (cryptocurrency, crypto currency) เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งออกแบบให้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน ที่ใช้วิทยาการเข้ารหัสลับเพื่อรับประกันธุรกรรม เพื่อควบคุมการสร้างหน่วยเงินเพิ่ม และเพื่อยืนยันความถูกต้องของการโอนทรัพย์ เป็นรูปแบบหนึ่งของเงินดิจิทัล (digital currency) เงินทางเลือก (alternative currency) และเงินเสมือน (virtual currency) เป็นเงินที่ควบคุมโดยกระจายศูนย์กลาง เทียบกับเงินดิจิทัลที่ควบคุมโดยศูนย์กลาง หรือกับระบบธนาคารกลาง การควบคุมแบบกระจายศูนย์จะทำผ่านบล็อกเชน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลธุรกรรมสาธารณะ โดยใช้เป็นบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย บิตคอยน์ที่สร้างขึ้นในปี.. #ทอร์เบราว์เซอร์ --> ทอร์ (Tor) เป็นซอฟต์แวร์เสรี (ฟรี) ที่ช่วยให้สื่อสารทางอินเทอร์เน็ตอย่างนิรนามได้ด้วยการจัดเส้นทางการสื่อสารแบบหัวหอม รวมทั้งช่วยให้สามารถเรียกดูเว็บไซต์บางแห่งที่ถูกเซ็นเซอร์ได้ ส่วนชื่อเป็นอักษรย่อจากโปรเจ็กต์ซอฟต์แวร์ดั้งเดิมคือ "The Onion Router" (เราเตอร์หัวหอม) ทอร์ส่งการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายทั่วโลก ฟรี ให้บริการโดยอาสาสมัคร และมีสถานีส่งต่อ/รีเลย์มากกว่า 7,000 สถานี เพื่อซ่อนตำแหน่งและการใช้งานของผู้ใช้จากใครก็ได้ที่ทำการเพื่อสอดแนมทางเครือข่าย หรือเพื่อวิเคราะห์การสื่อสาร เพราะการใช้ทอร์จะทำให้ตามรอยกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตกลับไปหาผู้ใช้ได้ยากขึ้น ซึ่งรวมทั้ง "การเยี่ยมใช้เว็บไซต์ การโพสต์ข้อความออนไลน์ การส่งข้อความทันที และรูปแบบการสื่อสารอื่น ๆ" ทอร์มุ่งหมายเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ รวมทั้งป้องกันเสรีภาพและให้สมรรถภาพในการสื่อสารอย่างเป็นส่วนตัว โดยป้องกันการสื่อสารไม่ให้เฝ้าสังเกตได้ การจัดเส้นทางแบบหัวหอม (Onion routing) ทำให้เกิดผลโดยการเข้ารหัสลับในชั้นโปรแกรมประยุกต์ของโพรโทคอลสแตกที่ใช้ในการสื่อสาร โดยทำเป็นชั้น ๆ เหมือนกับของหัวหอม คือทอร์จะเข้ารหัสข้อมูล รวมทั้งเลขที่อยู่ไอพีของโหนดหรือสถานีต่อไปเป็นชั้น ๆ แล้วส่งข้อมูลผ่านวงจรเสมือนที่ประกอบด้วยสถานีรีเลย์ของทอร์ที่เลือกโดยสุ่มเป็นลำดับ ๆ สถานีรีเลย์แต่ละสถานีจะถอดรหัสชั้นการเข้ารหัสชั้นหนึ่ง เพื่อหาว่า สถานีไหนเป็นรีเลย์ต่อไปในวงจร แล้วส่งข้อมูลเข้ารหัสที่เหลือไปให้ สถานีสุดท้ายจะถอดรหัสชั้นลึกสุด แล้วส่งข้อมูลดั้งเดิมไปยังเป้าหมายโดยไม่เปิดเผยและก็ไม่รู้ด้วยถึงเลขที่อยู่ไอพีซึ่งเป็นแหล่งเบื้องต้น เพราะการจัดเส้นทางการสื่อสารจะปิดไว้ส่วนหนึ่ง ณ สถานีเชื่อมต่อทุก ๆ สถานีภายในวงจร วิธีการนี้กำจัดจุด ๆ เดียวชนิดที่การสอดแนมทางเครือข่ายอาจกำหนดต้นปลายการสื่อสาร แต่ฝ่ายตรงข้ามก็อาจพยายามระบุผู้ใช้โดยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งอาจทำได้โดยการถือเอาประโยชน์จากจุดอ่อนของซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เช่น สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐมีเทคนิคที่ใช้จุดอ่อนหนึ่งที่ตั้งชื่อรหัสว่า EgotisticalGiraffe ในเว็บเบราว์เซอร์มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ล้าสมัยรุนหนึ่ง ที่เคยรวมแจกจ่ายกับชุดโปรแกรมทอร์ และโดยทั่วไป สำนักงานจะเพ่งเล็งเฝ้าสังเกตผู้ใช้ทอร์ในโปรแกรมการสอดแนม XKeyscore ขององค์กร การโจมตีทอร์เป็นประเด็นงานวิจัยที่ยังดำเนินการอยู่ ซึ่งโปรเจ็กต์ทอร์เองก็สนับสนุน อย่างไรก็ดี ไม่ใช่เพียงแค่ครั้งหนึ่งเท่านั้นเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ที่ทอร์ได้พัฒนาขึ้นโดยบุคคลที่อยู่ใต้สัญญาการว่าจ้างจากสำนักงานโปรเจ็กต์การวิจัยก้าวหน้าของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (DARPA) และจากแล็บวิจัยกองทัพเรือสหรัฐ (U.S. Naval Research Laboratory) แต่ตั้งแต่เริ่มโครงการมา เงินทุนโดยมากก็มาจากรัฐบาลกลางสหรั.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คริปโทเคอร์เรนซีและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

คริปโทเคอร์เรนซีและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) มี 13 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บัตรเครดิตบิตคอยน์การละเมิดลิขสิทธิ์การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการฐานข้อมูลมัลแวร์รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบวิทยาการเข้ารหัสลับสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติอัตราการส่งถ่ายข้อมูลอินเทอร์เน็ตประเทศแคนาดา

บัตรเครดิต

ัตรเครดิต บัตรเครดิต หรือ บัตรสินเชื่อ เป็นบริการที่สถาบันทางการเงินต่าง ๆ ออกให้แก่ลูกค้า เพื่อใช้จ่ายแทนเงินสด บัตรเครดิตที่รู้จักกันเช่น วีซ่า มาสเตอร์การ์ด เจซีบี ยูเนี่ยนเพย์ อเมริกันเอกซ์เพรส ดิสคัฟเวอร์ และ ไดเนอร์สคลับ สามารถใช้ได้ตามจำนวนวงเงินบัตรที่อนุมัติหักออกด้วยค่าสินค้าและบริการที่ใช้จ่ายผ่านบัตร ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และหนี้สินคงค้างที่ยังไม่ได้ชำร.

คริปโทเคอร์เรนซีและบัตรเครดิต · ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)และบัตรเครดิต · ดูเพิ่มเติม »

บิตคอยน์

ตคอยน์ (Bitcoin) เป็นเงินตราแบบดิจิทัล (cryptocurrency) และเป็นระบบการชำระเงินที่ใช้กันทั่วโลก บิตคอยน์เป็นสกุลเงินดิจิทัลแรกที่ใช้ระบบกระจายอำนาจ โดยไม่มีธนาคารกลางหรือแม้แต่ผู้คุมระบบแม้แต่คนเดียว เครือข่ายเป็นแบบเพียร์ทูเพียร์ และการซื้อขายเกิดขึ้นระหว่างจุดต่อเครือข่าย (network node)โดยตรง ผ่านการใช้วิทยาการเข้ารหัสลับและไม่มีสื่อกลาง การซื้อขายเหล่านี้ถูกตรวจสอบโดยรายการเดินบัญชีแบบสาธารณะที่เรียกว่าบล็อกเชน บิตคอยน์ถูกพัฒนาโดยคนหรือกลุ่มคนภายใต้นามแฝง "ซาโตชิ นากาโมโตะ" และถูกเผยแพร่ในรูปแบบซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซในปี..

คริปโทเคอร์เรนซีและบิตคอยน์ · ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)และบิตคอยน์ · ดูเพิ่มเติม »

การละเมิดลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์ หมายถึงการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ เผยแพร่ ดัดแปลง ทำซ้ำ โดยผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่อนุญาตหรือไม่ได้รับทราบ ปกติแล้วผลงานใดๆ อาทิ สิ่งประดิษฐ์ วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ เป็นกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์โดยปริยาย การนำผลงานมาใช้อาจมีเงื่อนไขบางประการเรียกว่าสัญญาอนุญาต ซึ่งกำหนดโดยเจ้าของผลงานหรือกำหนดตามกฎหมาย เมื่อไม่ทำตามเงื่อนไขจึงละเมิดลิขสิทธิ์ สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์มุ่งให้ความคุ้มครองในเรื่องลิขสิทธิ์ และป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น สนธิสัญญากรุงแบร์น (Berne three-step test) สนธิสัญญาลิขสิทธิ์ (WIPO Copyright Treaty) และสนธิสัญญาการแสดงและสิ่งบันทึกเสียง (WIPO Performances and Phonograms Treaty) นอกจากสนธิสัญญาแล้ว ยังมีองค์กรที่ให้การคุ้มครองเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) และกรมทรัพย์สินทางปัญญ.

การละเมิดลิขสิทธิ์และคริปโทเคอร์เรนซี · การละเมิดลิขสิทธิ์และทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต

หลุมดำอินเทอร์เน็ต (ประเทศที่มีการตรวจพิจารณาอย่างหนัก) การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต หรือ การเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต (Internet censorship) คือการควบคุมหรือปราบปรามว่าสิ่งใดสามารถเข้าถึง เผยแพร่ หรือรับชมได้บนอินเทอร์เน็ตโดยผู้กำกับดูแล ทั้งนี้ปัจเจกบุคคลหรือองค์กรต่าง ๆ ยังสามารถตรวจพิจารณา (เซ็นเซอร์) ตนเอง (Self-censorship) ได้ด้วยเช่นกัน จากเหตุผลด้านจริยธรรม ศาสนา หรือทางธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานทางสังคมและหลีกเลี่ยงการคุกคามข่มขู่ หรือเนื่องจากเกรงกลัวผลทางกฎหมายหรือผลกระทบอื่น ๆ ที่จะตามมาในภายหลัง สำหรับขอบเขตการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตนั้นจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศประชาธิปไตยส่วนมากมีการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตไม่มากนัก ในขณะที่บางประเทศตรวจพิจารณาถึงขั้นจำกัดข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เช่น ข่าวสาร หรือห้ามปรามการพูดคุยอภิปรายในหมู่ประชาชนของตน นอกจากนี้การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตยังมีไว้เพื่อตอบโต้เหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปแล้วหรือกำลังจะเกิดขึ้นก็ได้ เช่น การเลือกตั้ง การประท้วงชุมนุม หรือการก่อจลาจล ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือปริมาณการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงเหตุการณ์อาหรับสปริง และยังมีเหตุผลอื่น ๆ สำหรับการตรวจพิจารณาอีก เช่น เหตุผลด้านลิขสิทธิ์ การหมิ่นประมาท การก่อกวน/ล่วงละเมิด หรือเพื่อปิดกั้นเนื้อหาลามกอนาจาร เป็นต้น เสียงสนับสนุนหรือคัดค้านการตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตก็แตกต่างกันออกไป จากผลการสำรวจ อินเทอร์เน็ตโซไซตี ประจำปี..

การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและคริปโทเคอร์เรนซี · การตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) · ดูเพิ่มเติม »

การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ

ในวิชาการคอมพิวเตอร์ การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ (denial-of-service (DoS) attack) เป็นความพยายามทำให้เครื่องหรือทรัพยากรเครือข่ายสำหรับผู้ใช้เป้าหมายใช้บริการไม่ได้ เช่น ขัดขวางหรือชะลอบริการของแม่ข่ายที่เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตอย่างชั่วคราวหรือถาวร ส่วน การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการแบบกระจาย (distributed denial-of-service (DDoS) attack) คือการโจมตีดังกล่าวซึ่งแหล่งต้นทางเป็นเลขที่อยู่ไอพีมากกว่าหนึ่งหมายเลข และมักจะเป็นพันหมายเลข อาชญากรผู้โจมตีมักมุ่งเป้าไปยังเว็บไซต์หรือบริการซึ่งตั้งอยู่ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่มีการเข้าชมสูงอย่างเช่น ธนาคาร เกตเวย์ชำระบัตรเครดิต โดยมีแรงจูงใจเบื้องหลังเป็นการแก้แค้น การแบล็กเมล หรือการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น, และสิ่งนี้คือจุดเริ่มต้นของ Hacker ที่พยายามทำให้เซิร์ฟเวอร์นั้นไม่สามารถให้บริการกับผู้ใช้งานได้.

การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการและคริปโทเคอร์เรนซี · การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) · ดูเพิ่มเติม »

ฐานข้อมูล

นข้อมูลประกอบด้วยกลุ่มการจัดการข้อมูลสำหรับผู้ใช้หนึ่งคนหรือหลายๆ คน โดยทั่วไปมักอยู่ในรูปแบบดิจิทัล วิธีการแบ่งชนิดของฐานข้อมูลได้รูปแบบหนึ่งคือแบ่งตามชนิดของเนื้อหา เช่น บรรณานุกรม, เอกสารตัวอักษร, สถิติ โดยฐานข้อมูลดิจิทัลจะถูกจัดการโดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลซึ่งเก็บเนื้อหาฐานข้อมูล โดยอนุญาตให้สร้าง, ดูแลรักษา, ค้นหา และการเข้าถึงในรูปแบบอื่น.

คริปโทเคอร์เรนซีและฐานข้อมูล · ฐานข้อมูลและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) · ดูเพิ่มเติม »

มัลแวร์

มัลแวร์ (Malware) ย่อมาจากคำว่า Malicious Software ซึ่งหมายถึงโปรแกรมประสงค์ร้ายต่างๆ โดยทำงานในลักษณะที่เป็นการโจมตีระบบ การทำให้ระบบเสียหาย รวมไปถึงการโจรกรรมข้อมูล มัลแวร์ แบ่งออกได้หลากหลายประเภท อาทิเช่น ไวรัส (Virus) เวิร์ม (Worm) หรือหนอนอินเทอร์เน็ต ม้าจันเจา (Trojan Horse) การแอบดักจับข้อมูล (Spyware) คีย์ ล๊อกเกอร์ (Key Logger) บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน ตลอดจนโปรแกรมประเภทขโมยข้อมูล (Cookie) และการฝัง Malicious Mobile Code (MMC) ผ่านทางช่องโหว่ของโปรแกรม Internet Browser โดยโปรแกรมจะทำการควบคุมการทำงานโปรแกรม Internet Browser ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ที่ไม่หวังดี เช่น การแสดงโฆษณาในลักษณะของการ Pop-Up หน้าต่างโฆษณาออกมาเป็นระยะ เราเรียกโปรแกรมประเภทนี้ว่า แอ็ดแวร์ (Adware) ซึ่งภัยเหล่านี้ในปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะเกิดผลกระทบแก่ผู้ใช้งานได้ ถ้ารับโปรแกรมเหล่านี้เข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรจันฮอร์ส (trojan horse) คือ โปรแกรมที่ดูเหมือนจะมีประโยชน์หรือไม่เป็นอันตราย แต่ในตัวโปรแกรมจะแฝงโค้ดสำหรับการใช้ประโยชน์หรือทำลายระบบที่รันโดยโปรแกรมนี้ส่วนใหญ่จะถูกแนบมากับ E-mail และเมื่อดูเผินๆ ก็เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ทั่วๆไป แต่จริงๆ แล้วข้างในจะแฝงส่วนที่เป็นอันตรายต่อระบบเมื่อรันโปรแกรมนี้ เวิร์ม (worm) คุณสมบัติพิเศษของเวิร์ม คือ สามารถแพร่กระจายตัวของมันเองได้โดยอัตโนมัติและไม่ต้องอาศัยโปรแกรมอื่นในการแพร่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ผ่านทางเครือข่าย เวิร์ม สามารถทำอันตรายให้กับระบบ เวิร์มบางประเภทสามารถแพร่กระจายตัวเองโดยที่ไม่ต้องอาศัยการช่วยเหลือจากผู้ใช้เลย หรือบางตัวก็อาจแพร่กระจายเมื่อผู้ใช้รันโปรแกรมบางโปรแกรม นอกจากความสามารถในการแพร่กระจายด้วยตัวเองแล้ว เวิร์มยังสามารถทำลายระบบได้อีกด้วย ไวรัส (virus) ไวรัสเป็นโปรแกรมที่สามารถติดต่อจากอีกไฟล์หนึ่งไปยังอีกไฟล์หนึ่งภายในระบบเดียวกัน หรือจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นโดยการแนบตัวเองไปกับโปรแกรมอื่น มันสามารถทำลายฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูล เมื่อโฮสต์รันโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนที่เป็นไวรัสก็จะถูกรันด้วยและทำให้แพร่กระจายไปยังเครื่องอื่นหรือบางทีก็สร้างโค้ดใหม.

คริปโทเคอร์เรนซีและมัลแวร์ · ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)และมัลแวร์ · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

คริปโทเคอร์เรนซีและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)และรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการเข้ารหัสลับ

วิทยาการเข้ารหัสลับ วิชาเกี่ยวกับการเข้ารหัสลับคือการแปลงข้อความปกติให้กลายเป็นข้อความลับ โดยข้อความลับคือข้อความที่ผู้อื่น นอกเหนือจากคู่สนทนาที่ต้องการ ไม่สามารถเข้าใจได้ มนุษย์ได้คิดค้นวิธีการรักษาความลับของเรามาตั้งนาน นับตั้งแต่สมัยจูเลียส ซีซาร์ จนกระทั่งถึงปัจจุบันที่ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยเข้ารหัสลับและถอดรหัสลับ การเข้ารหัสแบบซีซ่าร์ทำได้โดยการนำตัวอักษรที่อยู่ถัดไปอีกสองตำแหน่งมาแทนที่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการเข้ารหัสคำว่า HELLO เราก็นำตัวอักษรที่ถัดจากตัว H ไปอีกสองตัวนั่นคือตัว J มาแทน ตัว E แทนด้วย G ตัว L แทนด้วย N ตัว O แทนด้วย Q ดังนั้นข้อความ HELLO จึงถูกแปลงให้เป็นคำว่า JGNNQ การเข้ารหัสลับแตกต่างกับวิทยาการอำพรางข้อมูล ข้อมูลที่ถูกอำพรางนั้นจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลง ในขณะที่การเข้ารหัสลับจะเปลี่ยนแปลงข้อมูล วิทยาการเข้ารหัสลับสมัยใหม่ (Modern Cryptography) เป็นวิชาการที่ใช้แนวทางคณิตศาสตร์เพื่อแปลงข้อความปกติให้กลายเป็นข้อความลับ โดยให้เฉพาะคู่สนทนาที่ต้องการสามารถอ่านเข้าใจได้เท่านั้น ขั้นตอนวิธีของการเข้ารหัสลับสมัยใหม่ ได้แก่ Data Encryption Standard, Advanced Encryption Standard หรือ One-Time Padding ฯลฯ หลักการเบื้องต้นของการเข้ารหัสลับ ประการแรกคือ ขั้นตอนวิธีต้องเป็นที่รู้โดยทั่วไป และประการต่อมา รหัสจะต้องใหม่เสมอ.

คริปโทเคอร์เรนซีและวิทยาการเข้ารหัสลับ · ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)และวิทยาการเข้ารหัสลับ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ

ำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Agency) หรือย่อว่า เอ็นเอสเอ (NSA) เป็นองค์กรข่าวกรองของ รัฐบาลกลางสหรัฐ มีหน้าที่สังเกตการณ์ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลเพื่อหาข่าวกรองต่างประเทศและหน้าที่การต่อต้านการข่าวกรองของประเทศอื่น โดยใช้ข่าวกรองทางสัญญาณ (Signal Intelligence; SIGINT) สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติยังทำหน้าที่ควบคู่ไปกับการปกป้องระบบการสื่อสารและข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐฯ จากการสงครามทางการแทรงซึมและเครือข่าย แม้ว่าหลายๆการทำงานสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติจะเป็นการพึ่งพาในการรวบรวมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างอดทน แต่สำนักงานก็ได้รับอนุญาตในการทำภารกิจให้สำเร็จโดยการปฏิบัติการณ์ลับ รวมไปกับระบบการดักฟังทางอิเล็กทรอนิกส์ และได้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการก่อวินาศกรรมผ่าน Stuxnet มากกว่านั้นสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติมีเจ้าหน้าที่จำนวนมากอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ที่ซึ่งหน่วยงานราชการการรวบรวมพิเศษ (Special Collection Service; SCS) ได้ติดตั้งอุปกรณ์ดักฟังไว้ในพื้นที่ที่ยากจะเข้าถึง ยุทธวิธีการรวบรวมของหน่วยงานราชการรวบรวมพิเศษถูกกล่าวหาว่าหมายรวมถึง การเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด การลักทรัพย์ การดักฟังสาย และการบุกรุกเข้าไป ไม่เหมือนกับองค์ข่าวกรองกลาโหม (Defense Intelligence Agency; DIA) และ สำนักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency; CIA) ทั้งคู่เป็นการหาข่าวกรองทางมนุษย์ (Human Intelligence; HUMINT) สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติไม่มีการรวบรวมขาวกรองจากแหล่งข่าวทางมนุษย์ แม้มักจะถูกทำให้เหมือนอย่างนั้นในวัฒนธรรมที่เป็นที่ยอดนิยม (จำพวกหนังสือ เกมส์ ภาพยนต์หรือซีรีส์ต่างๆ) ในความเป็นจริงสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติได้รับความไว้วางใจด้วยความช่วยเหลือและการประสานงานในด้านข่าวกรองทางสัญญาณกับองค์รัฐบาลอื่นๆ ซึ่งถูกป้องกันโดยกฎหมายในการกระทำปฏิบัติการณ์ดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติผ่านทาง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ในฐานะที่เป็นหนึ่งของความรับผิดชอบเหล่านี้ สำนักงานได้มีองค์กรที่ตั้งอยู่ร่วมกันเรียกว่า หน่วยงานราชการความมั่นคงกลาง (Central Security Service; CSS) ซึ่งที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการประสานงานระหว่างสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติกับหน่วยงานการเข้ารหัสลับอื่นๆของ กองทัพสหรัฐ นอกจากนี้ผู้อำนวยการสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ ยังทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองสั่งการไซเบอร์สหรัฐฯ (United States Cyber Command; USCYBERCOM) และเป็นหัวหน้าหน่วยงานราชการความมั่นคงกลาง ไปพร้อมๆกันด้ว.

คริปโทเคอร์เรนซีและสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ · ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)และสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อัตราการส่งถ่ายข้อมูล

อัตราการส่งถ่ายข้อมูล (Bandwidth) ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์อัตราการส่งถ่ายข้อมูล หมายถึงอัตราของข้อมูลสูงสุดที่สามารถส่งถ่ายได้ หรือ อัตราของข้อมูลที่ได้ส่งถ่ายจริงๆในเวลาหนึ่งๆ ผ่านอุปกรณ์เครือข่าย เช่น สายเคเบิลทองแดง การวัดอัตราการส่งถ่ายข้อมูลนั้น สามารถวัดได้ในหน่วย บิตต่อวินาที หรืออาจวัดเป็นเท่าๆของหน่วยนั้น เช่น กิโลบิตต่อวินาที เมกกะบิตต่อวินาที ฯลฯ โปรดระวังว่าหนังสือที่เกี่ยวกั.

คริปโทเคอร์เรนซีและอัตราการส่งถ่ายข้อมูล · ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)และอัตราการส่งถ่ายข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ต

วิถีการจัดเส้นทางผ่านส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้.

คริปโทเคอร์เรนซีและอินเทอร์เน็ต · ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)และอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

คริปโทเคอร์เรนซีและประเทศแคนาดา · ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)และประเทศแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คริปโทเคอร์เรนซีและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

คริปโทเคอร์เรนซี มี 74 ความสัมพันธ์ขณะที่ ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) มี 141 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 13, ดัชนี Jaccard คือ 6.05% = 13 / (74 + 141)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คริปโทเคอร์เรนซีและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: