โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คนโกงไพ่ (คาราวัจโจ)และจิตรกรรมสีน้ำมัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คนโกงไพ่ (คาราวัจโจ)และจิตรกรรมสีน้ำมัน

คนโกงไพ่ (คาราวัจโจ) vs. จิตรกรรมสีน้ำมัน

นโกงไพ่ (ภาษาอังกฤษ: Cardsharps) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะคิมเบลล์, ฟอร์ทเวิร์ธในสหรัฐอเมริกา ภาพ “คนโกงไพ่” เขียนราวปี ค.ศ. 1594 เป็นภาพที่เป็นก้าวสำคัญของคาราวัจโจที่เขียนเมื่อพยายามตั้งตัวไปเป็นช่างเขียนอิสระหลังจากที่ทำงานอยู่กับจุยเซ็ปปิ เซซาริที่ได้เขียนแต่ “ผักกับผลไม้” อยู่ระยะหนึ่ง คาราวัจโจออกจากห้องเขียนภาพของจุยเซ็ปปิ เซซาริในเดือนมกราคม ค.ศ. 1594 และเริ่มขายงานเขียนผ่านนักค้าศิลปะคอนแสตนติโนโดยมีโพรสเปโร ออร์ซิจิตรกรแมนเนอริสม์เป็นผู้ช่วย ออร์ซิแนะนำคาราวัจโจในแวดวงคนที่รู้จักทั้งผู้สะสมศิลปะและผู้อุปถัมภ์ ภาพเขียนแสดงเด็กหนุ่มที่แต่งตัวอย่างหรูหราแต่เป็นเพียงเด็กหนุ่มที่ยังไม่ประสีประสากับโลกที่กำลังเล่นไพ่กับเด็กชายอีกคนหนึ่ง เด็กคนที่สองคนที่โกงไพ่มีไพ่อีกใบหนึ่งเหน็บไว้ที่เข็มขัดข้างหลังเอว ซ่อนจากเด็กชายอีกคนหนึ่งแต่ไม่ได้ซ่อนจากผู้ชมภาพ และชายหนุ่มใหญ่ที่แอบมองจากหลังผู้ที่โดนโกงและส่งสัญญาณให้คู่ร่วมมือ นอกจากนั้นเด็กคนที่สองก็ยังมีมีดเหน็บอยู่ที่เอวสำหรับใช้ในโอกาสที่สถานะการณ์อาจจะเปลี่ยนแปลง ภาพนี้เป็นภาพที่สองในหัวข้อที่คล้ายคลึงกันที่คาราวัจโจเขียน ภาพแรก “หมอดู” เป็นภาพที่ทำให้เริ่มมีผู้สนใจและเริ่มเป็นที่รู้จัก ทั้ง “หมอดู” และ “การโกงไพ่” เป็นหัวข้อการเขียนภาพที่ใหม่ในขณะนั้น ที่ใช้ฉากความเป็นจริงของชีวิตตามถนนในการเขียนภาพ โดยเฉพาะการเขียนรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่นปลายนิ้วถุงมือที่เป็นรูของชายที่มีอายุมากกว่า หรือสายตาของเด็กคนที่สองที่มองไปยังหนุ่มใหญ่อย่างพะวักพะวน รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่นนี้ที่เป็นการแสดงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งทางจิตวิทยา - บุคคลสามคนที่อยู่ในเหตุการณ์เดียวกันแต่แต่ละคนต่างก็มีบทบาทของตนเองภาพในเหตุการณ์ที่ร่วมกัน - เด็กหนุ่มที่ยังไม่มีประสบการณ์ที่ถูกหลอก, เด็กอีกคนหนึ่งที่อายุไล่ๆ กันที่เป็นเด็กที่ถูกทำให้เสียคนโดยหนุ่มใหญ่ “คนโกงไพ่กับเอโพดำ” โดยชอร์ช เดอ ลา ตูร์ ราว ค.ศ. 1620-ค.ศ. 1640 “คนโกงไพ่” เป็นภาพที่วาดแบบที่แสดงความเป็นจริงของความทารุณของชีวิตคนชั้นต่ำ แต่ขณะเดียวกันก็ใช้สีเรืองอย่างการวาดภาพของเวนิส “คนโกงไพ่” กลายมาเป็นภาพที่เป็นที่นิยมกันมาก ออร์ซิถึงกับ “ไปเที่ยวเป่าประกาศถึงการวาดแบบใหม่ของคาราวัจโจและทำให้เพิ่มชื่อเสียงในการเป็นจิตรกรมากขึ้น” ภาพนี้มีด้วยกันถึง 50 ก็อปปีและจากจิตรกรคนอื่นๆ เช่นภาพ “คนโกงไพ่กับเอโพดำ” โดยชอร์ช เดอ ลา ตูร์ที่ใช้หัวข้อเดียวกัน ไม่ว่าจะโดยคอนแสตนติโนหรือออร์ซิ คาราวัจโจก็ได้รับความสนใจจากคาร์ดินัลฟรานเชสโค มาเรีย เดล มอนเตผู้ซื้อภาพและกลายมาเป็นผู้อุปถัมภ์คนสำคัญคนแรก โดยให้ที่พำนักในวังมาดามาหลังจตุรัสนาวาร์โร จากนั้นภาพก็ตกไปเป็นของคาร์ดินัลอันโตนิโอ บาร์แบรินิผู้เป็นหลานของสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8 ที่ต่อมาคาราวัจโจเขียนภาพเหมือนให้(“ภาพเหมือนของมาฟเฟโอ บาร์เบอรินิ”) ในปี.. "โมนาลิซา" โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ราว ค.ศ. 1503-1506 จิตรกรรมสีน้ำมัน หรือ ภาพเขียนสีน้ำมัน (oil painting) คือการเขียนภาพโดยใช้สีฝุ่นที่ผสมกับน้ำมันแห้ง (drying oil) — โดยเฉพาะในตอนต้นของยุโรปสมัยใหม่, น้ำมันลินสีด (linseed oil) ตามปกติแล้วก็จะต้มน้ำมันเช่นลินสีดกับยางสนหรือยางสนหอม (frankincense) ส่วนผสมนี้เรียกว่า "น้ำมันเคลือบ" (varnish) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพเขียนมีความหนาและเป็นเงา น้ำมันอื่นที่ใช้ก็มีน้ำมันเม็ดฝิ่น, น้ำมันวอลนัต, และน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันแต่ละอย่างก็มีคุณภาพต่าง ๆ กัน เช่นอาจจะทำให้สืเหลืองน้อยลง หรือใช้เวลาแห้งไม่เท่ากัน บางครั้งก็จะเห็นความแตกต่างจากเงาของภาพเขียนแล้วแต่ชนิดของน้ำมัน จิตรกรจะใช้น้ำมันหลายชนิดในภาพเขียนเดียวกันเพื่อให้ได้ลักษณะของภาพเขียนออกมาตามที่ต้องการ การแสดงออกของสีก็จะต่างกันตามแต่วัสดุที่ใช้เขียน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คนโกงไพ่ (คาราวัจโจ)และจิตรกรรมสีน้ำมัน

คนโกงไพ่ (คาราวัจโจ)และจิตรกรรมสีน้ำมัน มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คนโกงไพ่ (คาราวัจโจ)และจิตรกรรมสีน้ำมัน

คนโกงไพ่ (คาราวัจโจ) มี 16 ความสัมพันธ์ขณะที่ จิตรกรรมสีน้ำมัน มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (16 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คนโกงไพ่ (คาราวัจโจ)และจิตรกรรมสีน้ำมัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »