เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

คตินิยมเปลี่ยนแนวและสถาปัตยกรรม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คตินิยมเปลี่ยนแนวและสถาปัตยกรรม

คตินิยมเปลี่ยนแนว vs. สถาปัตยกรรม

ลักษณะสถาปัตยกรรมในคตินิยมเปลี่ยนแนว พิพิธภัณฑ์ Imperial War Museum North ออกแบบโดย Daniel Libeskind สะพาน คตินิยมเปลี่ยนแนว (deconstructivism) หรืออาจเรียกว่า การเปลี่ยนแนว (deconstruction) เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่พัฒนาจากสถาปัตยกรรมหลังสมัยใหม่ ที่เริ่มช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยมีเอกลักษณ์จากรูปแบบการแตกกระจาย, ความสนใจในการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของโครงสร้างหรือเปลือก, รูปร่างที่ไม่ใช่เส้นตรง ที่ทำให้เกิดการทำให้บิดเบี้ยวและความไม่เป็นระเบียบขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม อย่างเช่นโครงสร้างและสิ่งห่อหุ้ม ภาพปรากฏของอาคารที่เห็นจะมีเอกลักษณ์ที่เร่งเร้าสิ่งที่คาดไม่ถึงและความยุ่งเหยิงที่ถูกควบคุม เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหวของนักนิยมเปลี่ยนแนว อย่างเช่นงานการแข่งขันการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ปาร์กเดอลาวีแล็ต (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผลงานการเข้าแข่งขันของฌัก แดรีดา และปีเตอร์ ไอเซนมาน และผลงานชนะเลิศของเบอร์นาร์ด ชูมี, งานนิทรรศการสถาปัตยกรรมตามคติเปลี่ยนแนวที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ในปี ค.ศ. 1988 ที่นิวยอร์ก จัดขึ้นโดยฟิลิป จอห์นสันและมาร์ก วิกลีย์ และงานเปิดของเวกซ์เนอร์เซนเตอร์ฟอร์ดิอาตส์ ในโคลัมบัส ออกแบบโดยปีเตอร์ ไอเซนมาน และงานนิทรรศการเดอะนิวยอร์กเอกซิบิชัน ที่มีผลงานของแฟรงก์ เกห์รี, แดเนียล ลิเบส์ไคนด์, แร็ม โกลฮาส, ปีเตอร์ ไอเซนมาน, ซาฮ่า ฮาดิด, Coop Himmelb(l)au และบอร์นาร์ด ชูมี จุดเริ่มต้น มีสถาปนิกหลายท่านรู้จักรูปแบบคตินิยมเปลี่ยนแนว ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ ฌัก แดรีดา โดยไอเซนมานได้พัฒนาความสัมพันธ์กับแดรีดา ถึงกระนั้นรูปแบบการออกแบบทางสถาปัตยกรรมของเขาก็พัฒนามานานก่อนที่จะมาเป็นนักนิยมเปลี่ยนแนว ผู้มีงานคตินิยมเปลี่ยนแนวหลายคนมักได้รับอิทธิพลจากการทดลองจากกฎเกณฑ์ทั่วไปและการทำรูปทรงเรขาคณิตให้ไม่สมดุลของสถาปัตยกรรมคตินิยมโครงสร้าง (รัสเซีย) นอกจากนี้ยังมีการอ้างอิงในการเคลื่อนไหวสถาปัตยกรรมคตินิยมเปลี่ยนแนว อย่างนวยุคนิยม/คตินิยมหลังนวยุค, บาศกนิยม, ลัทธิจุลนิยม และศิลปะร่วมสมัย ความพยายามของสถาปัตยกรรมในคตินิยมเปลี่ยนแนว คือการพยายามนำสถาปัตยกรรมออกจากที่ผู้ออกแบบเรียกว่า กฎตายตัวของนวยุคนิยม อย่างเช่น "รูปทรงตามประโยชน์ใช้สอย", "สัจจะแห่งรูปทรง" และ "เนื้อแท้แห่งวัสดุ". ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คตินิยมเปลี่ยนแนวและสถาปัตยกรรม

คตินิยมเปลี่ยนแนวและสถาปัตยกรรม มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สถาปนิก

สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

คตินิยมเปลี่ยนแนวและสถาปนิก · สถาปนิกและสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คตินิยมเปลี่ยนแนวและสถาปัตยกรรม

คตินิยมเปลี่ยนแนว มี 14 ความสัมพันธ์ขณะที่ สถาปัตยกรรม มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 4.00% = 1 / (14 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คตินิยมเปลี่ยนแนวและสถาปัตยกรรม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: