โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คดีวอเตอร์เกตและสำนักข่าวกรองกลาง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คดีวอเตอร์เกตและสำนักข่าวกรองกลาง

คดีวอเตอร์เกต vs. สำนักข่าวกรองกลาง

กลุ่มสำนักงานวอเตอร์เกต จุดกำเนิดของเรื่องอื้อฉาว ประธานาธิบดีนิกสันขณะเดินทางออกจากทำเนียบขาว ไม่นานก่อนการลาออกมีผลบังคับใช้ ณ วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1974 คดีวอเตอร์เกต (Watergate scandal) คือเหตุอื้อฉาวทางการเมืองระหว่างช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ในสหรัฐอเมริกา เป็นเหตุการณ์สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ลักลอบโจรกรรมสำนักงานใหญ่ของพรรคเดโมแครต ณ อาคารวอเตอร์เกตคอมเพลกซ์ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1972 ในขณะที่คณะทำงานของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน พยายามปกปิดหลักฐานถึงการข้องเกี่ยวในเหตุโจรกรรมดังกล่าว จนในที่สุดเรื่องอื้อฉาวนี้นำไปสู่การลาออกของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1974 ซึ่งเป็นการลาออกครั้งแรกและครั้งเดียวของประธานาธิบดีในประวัติศาสตร์อเมริกัน เหตุการณ์นี้ยังนำไปสู่การฟ้องร้อง, การไต่สวน, การลงโทษ และการจำคุกบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง 43 คน รวมไปถึงคณะทำงานระดับสูงของรัฐบาลนิกสันอีกหลายสิบคน เหตุอื้อฉาวเริ่มต้นขึ้นด้วยการจับกุมชายห้าคนในคดีลักลอบโจรกรรมข้อมูลในที่ทำการใหญ่พรรคเดโมแครต ณ อาคารวอเตอร์เกตคอมเพลกซ์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน.. ำนักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency) หรือย่อว่า ซีไอเอ (CIA) เป็นหน่วยงานราชการด้านข่าวกรองต่างชาติพลเรือนของ รัฐบาลกลางสหรัฐ มีหน้าที่รวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติจากทั่วโลก โดยผ่านการข่าวกรองทางมนุษย์ (Human Intelligence; HUMINT) เป็นส่วนใหญ่ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกหลักของชุมชนข่าวกรองสหรัฐ (U.S. Intelligence Community; IC) สำนักข่าวกรองรายงานต่อผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ (Director of National Intelligence; DNI) และจะเน้นไปที่การหาข่าวกรองให้ ประธานาธิบดีสหรัฐ และ คณะรัฐมนตรีสหรัฐ เป็นหลัก ไม่เหมือนกับ สำนักงานสอบสวนกลาง ที่เป็นหน่วยงานราชการความมั่นคงภายใน สำนักข่าวกรองกลางไม่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและเน้นการรวบรวมข่าวกรองในต่างประเทศ โดยมีข้อจำกัดเฉพาะในการที่จะหาข่าวกรองจากในประเทศ อย่างไรก็ตามสำนักข่าวกรองกลางไม่ได้เป็นแค่หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯที่เชี่ยวชาญในด้านข่าวกรองทางมนุษย์เท่านั้น มันยังมีหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการระดับชาติในการประสานงานกับหน่วนงานต่างๆที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการข่าวกรองทางมนุษย์ทั้งหมด ในชนชุมข่าวกรองสหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น สำนักข่าวกรองกลางเป็นหน่วยงานเดียวที่ได้รับอนุญาตโดยกฎหมาย ในการดำเนินการและดูแลการปฏิบัติการณ์ซ่อนเร้น (Covert Action/Operation) โดยคำสั่งประธานาธิบดี สำนักข่าวกรองกลางสามารถควบคุมอิทธิพลทางการเมืองของต่างประเทศได้โดยผ่านทางแผนกยุทธวิธีของตน อย่างเช่น แผนกปฏิบัติการณ์พิเศษ (Special Activities Division; SAD) ก่อนจะมีรัฐบัญญัติการปฏิรูปการข่าวกรองและการป้องกันการก่อการร้าย (Intelligence Reform and Terrorism Prevention Act) ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางยังทำหน้าที่ควบคู่ไปกับการเป็นหัวหน้าชุมชนข่าวกรองสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันสำนักข่าวกรองถูกจัดระเบียบภายใต้ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ แม้จะมีการถ่ายโอนอำนาจบางส่วนไปยังผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติก็ตาม สำนักข่าวกรองกลางได้มีขนาดเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจาก วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คดีวอเตอร์เกตและสำนักข่าวกรองกลาง

คดีวอเตอร์เกตและสำนักข่าวกรองกลาง มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สหรัฐสำนักงานสอบสวนกลางประธานาธิบดีสหรัฐ

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

คดีวอเตอร์เกตและสหรัฐ · สหรัฐและสำนักข่าวกรองกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานสอบสวนกลาง

ำนักงานสอบสวนกลาง ย่อว่า เอฟบีไอ ชื่อเดิม สำนักงานสอบสวน ย่อว่า บีโอไอ (Bureau of Investigation: BOI) เป็นหน่วยงานด้านข่าวกรองและความมั่นคงภายในของสหรัฐ และเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับกลางของสหรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ภายในเขตอำนาจของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ทั้งเป็นสมาชิกของประชาคมข่าวกรองสหรัฐ รายงานตรงต่อทั้งอัยการสูงสุดสหรัฐและผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ อนึ่ง เอฟบีไอยังเป็นองค์การหลักของสหรัฐในการต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านข่าวกรอง และการสืบสวนอาชญากรรม โดยมีเขตอำนาจเหนือการละเมิดกฎหมายในกลุ่มอาชญากรรมกลางกว่า 200 กลุ่ม แม้ว่าหน้าที่หลายอย่างของเอฟบีไอจะมีเอกลักษณ์เฉพาะ กิจกรรมของเอฟบีไอในการสนับสนุนงานด้านความมั่นคงแห่งชาตินั้นเทียบได้กับบทบาทของหน่วยงานเอ็มไอไฟฟ์ (MI5) ของบริเตน และเอฟเอสบี (FSB) ของรัสเซีย แต่ไม่เหมือนกับสำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) เพราะซีไอเอไม่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย และเน้นการรวบรวมข่าวกรองจากต่างประเทศ ขณะที่เอฟบีไอเป็นหน่วยงานภายในประเทศ โดยมีสำนักงานภาคสนาม (field office) 56 แห่งในนครหลักทั่วสหรัฐ ทั้งสำนักงานประจำ (resident office) อีก 400 แห่งในนครเล็กและท้องที่อื่นทั่วประเทศ ที่สำนักงานภาคสนาม เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสจะทำหน้าที่เป็นผู้แทนผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติไปพร้อมกันด้วย แม้จะเน้นเรื่องภายในประเทศ เอฟบีไอก็ยังมีเขตบริการระหว่างประเทศ (international footprint) ที่สำคัญอยู่หนึ่งเขต ทำหน้าที่บริหารสำนักงานนิติกรทูต (Legal Attache office) 60 แห่ง กับสำนักงานย่อย (sub-office) อีก 15 แห่ง ซึ่งอยู่ในสถานทูตและกงสุลสหรัฐทั่วโลก สำนักงานต่างแดนเหล่านี้มีขึ้นเพื่อประสานงานกับหน่วยงานราชการด้านความมั่นคงในต่างประเทศเป็นหลัก และโดยปรกติแล้วจะไม่ปฏิบัติการฝ่ายเดียวภายในประเทศที่ตั้งสำนักงาน อนึ่ง เอฟบีไอยังสามารถดำเนินกิจกรรมลับในต่างประเทศ ซึ่งก็ได้ปฏิบัติในบางครั้ง ในทำนองเดียวกับที่ซีไอเอมีหน้าที่จำกัดในประเทศ กิจกรรมดังกล่าวโดยทั่วไปแล้วต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงาน เอฟบีไอก่อตั้งขึ้นใน..

คดีวอเตอร์เกตและสำนักงานสอบสวนกลาง · สำนักข่าวกรองกลางและสำนักงานสอบสวนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดีสหรัฐ

ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (President of the United States; ย่อ: POTUS) เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลแห่งสหรัฐ เป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร และเป็นจอมทัพสหรัฐ รัฐธรรมนูญ มาตรา 2 บัญญัติว่า ประธานาธิบดีมีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายส่วนกลาง รับผิดชอบแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายบริหาร ข้าราชการทูต ข้าราชการประจำ และข้าราชการตุลาการในส่วนกลาง ทั้งมีอำนาจทำสนธิสัญญาเมื่อได้รับคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา นอกจากนี้ ประธานาธิบดีมีอำนาจอภัยโทษ ลดโทษ เปลี่ยนโทษ เรียกและเลื่อนประชุมสมัยวิสามัญแห่งสภาทั้งสองของรัฐสภา นับแต่สถาปนาประเทศเป็นต้นมา ประธานาธิบดีและรัฐบาลกลางมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และแม้ปัจจุบันไม่มีอำนาจนิติบัญญัติอย่างเป็นทางการนอกเหนือไปจากการลงนามและยับยั้งร่างกฎหมายที่รัฐสภาอนุมัติ แต่ประธานาธิบดีก็แบกรับความรับผิดชอบขนานใหญ่ในการกำหนดวาระประชุมพรรค รวมถึงกำหนดนโยบายการต่างประเทศและการในประเทศด้วย ประธานาธิบดีสหรัฐนั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีและสามารถอยู่ในดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระซึ่งบัญญัติไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 ที่ได้รับการอนุมัติในปี..

คดีวอเตอร์เกตและประธานาธิบดีสหรัฐ · ประธานาธิบดีสหรัฐและสำนักข่าวกรองกลาง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คดีวอเตอร์เกตและสำนักข่าวกรองกลาง

คดีวอเตอร์เกต มี 14 ความสัมพันธ์ขณะที่ สำนักข่าวกรองกลาง มี 32 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 6.52% = 3 / (14 + 32)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คดีวอเตอร์เกตและสำนักข่าวกรองกลาง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »