โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คณิตศาสตร์และนีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คณิตศาสตร์และนีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โน

คณิตศาสตร์ vs. นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โน

ยูคลิด (กำลังถือคาลิเปอร์) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ในสมัย 300 ปีก่อนคริสตกาล ภาพวาดของราฟาเอลในชื่อ ''โรงเรียนแห่งเอเธนส์''No likeness or description of Euclid's physical appearance made during his lifetime survived antiquity. Therefore, Euclid's depiction in works of art depends on the artist's imagination (see ''Euclid''). คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง และปริภูมิ กล่าวคร่าว ๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์ ในอดีตผู้คนจะใช้สิ่งของแทนจำนวนที่จะนับยิ่งนานเข้าจำนวนประชากรยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มคิดที่จะประดิษฐ์ตัวเลขขึ้นมาแทนการนับที่ใช้สิ่งของนับแทนจากนั้นก็มีการบวก ลบคูณ และหาร จากนั้นก็ก่อให้เกิดคณิตศาสตร์ คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ. ซาดี การ์โน นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โน (Nicolas Léonard Sadi Carnot; 1 มิถุนายน ค.ศ. 1796 - 24 สิงหาคม ค.ศ. 1832) เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส และนายช่างวิศวกรประจำกองทัพ ซึ่งคิดค้นทฤษฎีเครื่องจักรความร้อนได้สำเร็จจริง จากงานวิจัยเรื่อง Reflections on the Motive Power of Fire ในปี..1824 ปัจจุบันทฤษฎีนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "วัฏจักรการ์โน" เป็นผู้วางรากฐานกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ หรืออาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นนักอุณหพลศาสตร์คนแรกของโลก ซึ่งคิดค้นหลักการพื้นฐานต่าง ๆ มากมายเช่น ประสิทธิภาพการ์โน ทฤษฎีการ์โน เครื่องจักรความร้อนการ์โน เป็นต้น การ์โนเกิดในกรุงปารีส เป็นบุตรชายคนโตของนักเรขาคณิตและนายทหารผู้มีชื่อเสียง คือ ลาซาร์ นีกอลา มาร์เกอริต การ์โน (Lazare Nicholas Marguerite Carnot) น้องชายของเขาคือ อีปอลิต การ์โน (Hippolyte Carnot) ซึ่งเป็นบิดาของมารี ฟร็องซัว ซาดี การ์โน (Marie François Sadi Carnot ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ.1887-1894) เมื่อการ์โนอายุ 16 ปี (ค.ศ. 1812) ได้เข้าศึกษาที่วิทยาลัยโพลีเทคนิค École ที่ซึ่งมีอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงเช่น ซีเมอง เดอนี ปัวซง (Siméon Denis Poisson) และอ็องเดร-มารี อ็องแปร์ (André-Marie Ampère) หลังจบการศึกษาเขาได้เป็นนายทหารในกองทัพบกฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้ให้ความสนใจในงานวิจัยทางด้านฟิสิกส์ โดยเฉพาะทฤษฎีเกี่ยวกับความร้อน ปี..1815 หลังจากนโปเลียนถูกโค่นอำนาจ พ่อของเขาก็ต้องลี้ภัย การ์โนต้องออกจากกองทัพฝรั่งเศส และใช้เวลาไปกับการวิจัยและเขียนหนังสือ การ์โนเผยแพร่บทความเรื่อง Réflexions sur la puissance motrice du feu ("Reflections on the Motive Power of Fire") ในปี..1824 ขณะอายุ 28 ปี ซึ่งเป็นยุคเครื่องจักรไอน้ำเฟื่องฟู บทความอธิบายถึงเครื่องจักรความร้อนในลักษณะต่างๆ โดยพยายามอธิบายเหตุผลว่า เครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ไอน้ำความร้อนสูงจะทำงานได้ดีกว่าเนื่องจากอุณหภูมิของระบบที่สูงกว่าอุณหภูมิภายนอก ทฤษฎีของการ์โนไม่ได้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักรไอน้ำ มันจึงไม่ค่อยได้รับความสนใจนัก การ์โนเสียชีวิตจากอหิวาตกโรคเมื่อปี ค.ศ. 1832 ขณะอายุเพียง 36 ปี เครื่องใช้ส่วนตัวรวมทั้งงานเขียนของเขาถูกนำไปฝังทั้งหมดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ จึงเหลืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏต่อมาในปัจจุบันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น งานเขียนของการ์โนเป็นที่รู้จักขึ้นมาเนื่องจากเอมีล กลาแปรง (Émile Clapeyron) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส นำไปปรับปรุงต่อยอดความคิดในปี..1834 หลังจากนั้น เคลาซิอุสและเคลวิน ได้พัฒนาแนวคิดเรื่องเอนโทรปีและกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ ออกมาในที่สุด หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คณิตศาสตร์และนีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โน

คณิตศาสตร์และนีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โน มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฟิสิกส์เรขาคณิต

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

คณิตศาสตร์และฟิสิกส์ · นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

เรขาคณิต

รขาคณิต (Geometry; กรีก: γεωμετρία; geo.

คณิตศาสตร์และเรขาคณิต · นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โนและเรขาคณิต · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คณิตศาสตร์และนีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โน

คณิตศาสตร์ มี 99 ความสัมพันธ์ขณะที่ นีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โน มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 1.69% = 2 / (99 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คณิตศาสตร์และนีกอลา เลออนาร์ ซาดี การ์โน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »