โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยรามคำแหง

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย vs. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Faculty of Political Science, Chulalongkorn University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ถือได้ว่าเป็นคณะวิชาที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ เป็นคณะรัฐศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 4 คณะแรกตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดทำการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก อีกทั้งยังเป็นคณะที่ได้รับการเลือกเข้าศึกษาจากผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจากการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีด้วยระบบ Admission ถึง 4 ปีซ้อน (2553 - 2556). มหาวิทยาลัยรามคำแหง (Ramkhamhaeng University; ชื่อย่อ: ม.ร. - RU) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยตลาดวิชาแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งรับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่สอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน ทำการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา คือมีการเรียนการสอนในชั้นเรียนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยปกติ แต่ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน อันเป็นระบบเดียวกันกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในอดีต มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย และมีชื่อเสียงในด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์อย่างมาก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยรามคำแหง

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยรามคำแหง มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรุงเทพมหานครรัฐศาสตร์อธิการบดีประเทศไทยปณิธาน วัฒนายากร

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

กรุงเทพมหานครและคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · กรุงเทพมหานครและมหาวิทยาลัยรามคำแหง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐศาสตร์

รัฐศาสตร์ (political science) เป็นสาขาวิชาที่เกิดขึ้นในราวศตวรรษที่ 19 ซึ่งนักรัฐศาสตร์ยุคแรกนั้นพัฒนากระบวนวิชาขึ้นมาให้สอดคล้องกับแนวนิยมทางวิทยาศาสตร์ สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Britanica Concise Encyclopedia) อธิบายรัฐศาสตร์ว่า เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองและการเมืองด้วยแนวทางประจักษ์นิยม (empiricism) นักรัฐศาสตร์คือนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามแสวงหา และทำความเข้าใจธรรมชาติของการเมือง ส่วนพจนานุกรมการเมืองของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Dictionary of Politics) นิยามว่า รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องรัฐ รัฐบาล/การปกครอง (government) หรือการเมือง กล่าวอย่างรวบรัดรัฐศาสตร์เป็นวิชาในสายสังคมศาสตร์ สาขาหนึ่งซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็นสาขาต่างๆ อาทิ ปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์การเมือง ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง ทฤษฎีการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง การบริหารรัฐกิจ หรือการบริหารจัดการสาธารณะ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ การเมืองเปรียบเทียบ (comparative politics), การพัฒนาการเมือง, สถาบันทางการเมือง, การเมืองระหว่างประเทศ การปกครองและการบริหารรัฐ (national politics), การเมืองการปกครองท้องถิ่น (local politics) เป็นต้น ซึ่งสาขาต่างๆเหล่านี้อาจแปรเปลี่ยนไปตามแต่ละสถาบันว่าจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร อย่างไรก็ตามหากจะเรียกว่าการจัดกระบวนวิชาใดนั้นเป็นรัฐศาสตร์หรือไม่ ก็ขึ้นกับว่าการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวใช้มโนทัศน์ "การเมือง" เป็นมโนทัศน์หลัก (crucial concept/key concept) หรือไม่ แต่โดยจารีตของกระบวนวิชา(scholar) นั้นรัฐศาสตร์ จะมีสาขาย่อยที่เป็นหลักอย่างน้อย 3 สาขาคือ สาขาการปกครอง (government), สาขาการบริหารกิจการสาธารณะ (public administration) และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(international relation).

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและรัฐศาสตร์ · มหาวิทยาลัยรามคำแหงและรัฐศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อธิการบดี

อธิการบดี เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาสูงสุดและรับผิดชอบงานทั้งปวงของมหาวิทยาลั.

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอธิการบดี · มหาวิทยาลัยรามคำแหงและอธิการบดี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประเทศไทย · ประเทศไทยและมหาวิทยาลัยรามคำแหง · ดูเพิ่มเติม »

ปณิธาน วัฒนายากร

รองศาสตราจารย์ ปณิธาน วัฒนายากร เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2503 เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ที่ปรึกษาและกรรมการคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร.ปณิธาน เป็นนักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ เชี่ยวชาญการเมืองเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และความมั่นคงศึกษา เป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแก่รัฐบาลหลายสมัย ตั้งแต่สมัย รัฐบาลนายชวน หลีกภัย พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดร.ปณะธาน เป็นหนึ่งในผู้มีส่วนร่วมในการร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร..

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและปณิธาน วัฒนายากร · ปณิธาน วัฒนายากรและมหาวิทยาลัยรามคำแหง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยรามคำแหง

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี 102 ความสัมพันธ์ขณะที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มี 303 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 1.23% = 5 / (102 + 303)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยรามคำแหง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »