โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คณะนักบวชคาทอลิก

ดัชนี คณะนักบวชคาทอลิก

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก คณะนักบวช หรือ สถาบันนักบวช (religious institute) เป็นสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วประเภทหนึ่ง สมาชิกประกอบด้วยชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือคำปฏิญาณของนักบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้พระศาสนจักรเพียงอย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็นคณะ (order/society/congregation) โดยแต่ละคณะมีแนวทางการทำงานและเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป นอกจากเรียกว่า "คณะนักบวช" แล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังใช้คำว่า คณะนักพรต และ คณะนักบวชถือพรต โดยถือว่ามีความหมายเดียวกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2 ส่วนประมวลกฎหมายพระศาสนจักร ค.ศ. 1983 ฉบับภาษาไทย ใช้คำว่า คณะสถาบันนักพรต.

39 ความสัมพันธ์: บาทหลวงชีวิตอารามวาสีพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนการอธิษฐานภราดาฆราวาสมุขมณฑลมุขนายกศีลศักดิ์สิทธิ์ศีลอนุกรมสันตะสำนักสำนักงานราชบัณฑิตยสภาฌานคริสตจักรคณะฟรันซิสกันคณะพระมหาไถ่คณะกลาริสคณะภราดาเซนต์คาเบรียลคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตรคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสคณะรักกางเขนคณะออกัสติเนียนคณะอุร์สุลินคณะดอมินิกันคณะคามิลเลียนคณะคาร์ทูเซียนคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้าคณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโกคณะเบเนดิกตินคณะเยสุอิตนักพรตนักพรตหญิงโรมันคาทอลิกโรมันคาทอลิกในประเทศไทยไฟรเออร์เขตมิสซังกรุงเทพฯเขตมิสซังอุบลราชธานีเขตมิสซังจันทบุรีเขตมิสซังท่าแร่-หนองแสงเขตมิสซังเชียงใหม่

บาทหลวง

ทหลวงดนัย วรรณะ (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) และ ขวา-บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร (โรมันคาทอลิก) บาทหลวง (priest)ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 387-8 หมายถึง นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์เรียก priest ว่า ปุโรหิต.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและบาทหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิตอารามวาสี

อารามเซนต์แคเธอริน เขาไซนายในอียิปต์ ก่อตั้งราวระหว่าง ค.ศ. 527 ถึง ค.ศ. 565 ชีวิตอารามวาสีสมชัย พิทยาพงษ์พร, บาทหลวง, พัฒนาการวิถีชีวิตจิตคริสตชน, นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 2551, หน้า 27 (monasticism) มาจากภาษากรีก “μοναχός” - “monachos” ที่มีรากมาจากคำว่า “monos” ที่แปลว่า “สันโดษ” หรือ “ผู้เดียว” หมายถึงวิถีชีวิตทางศาสนาที่นักบวชเน้นสละชีวิตทางโลกเพื่ออุทิศตนอย่างเต็มตัวในทางธรรม คำนี้ที่มาจากภาษากรีกโบราณและอาจเกี่ยวกับภิกษุซึ่งเป็นนักพรตในพุทธศาสนา ในคริสต์ศาสนา บุรุษที่ใช้ชีวิตอารามวาสีเรียกว่านักพรต ถ้าเป็นหญิงก็เรียกว่านักพรตหญิง นักพรตทั้งชายและหญิงจะเรียกโดยรวมว่าอารามิกชน (monastics) ศาสนาอื่นต่างก็มีชีวิตอารามวาสีเป็นของตนเองโดยเฉพาะในศาสนาพุทธ และรวมทั้งลัทธิเต๋า ศาสนาฮินดู และศาสนาเชน แต่รายละเอียดของแต่ละระบบของแต่ละศาสนาหรือแต่ละนิกายก็แตกต่างจากกันมาก.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและชีวิตอารามวาสี · ดูเพิ่มเติม »

พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน

การให้บัพติศมาแก่ Neophytes วาดโดยมาซัชโช เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันเก็บอยู่ที่ฟลอเรนซ์ พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์ประชากรศาสตร์) พิธีบัพติศมาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 88 (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศีลล้างบาป (ศัพท์คาทอลิก) (Baptism มาจากภาษากรีก baptismos แปลว่า การล้าง) เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ ทำขึ้นเพื่อรับ "ผู้ที่เพิ่งรับเชื่อ" เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของคริสตจักร คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ระบุว่ายอห์นผู้ให้บัพติศมาเริ่มประกอบพิธีนี้ให้สาวกของตน โดยให้ผู้รับจุ่มตัวลงในแม่น้ำลึก ถือเป็นสัญลักษณ์ของการกลับใจและรอคอยอาณาจักรสวรรค์ซึ่งกำลังจะมาถึง พระเยซูทรงรับบัพติศมาจากยอห์นในครั้งนั้นด้วย จากนั้นจึงเริ่มปฏิบัติพระภารกิจของพระองค์ ต่อมาในศาสนาคริสต์ยุคแรก ผู้ให้บัพติศมาจะให้ผู้รับเปลือยกายลงแช่ในแม่น้ำ ซึ่งมีทั้งแบบให้จุ่มทั้งตัว ยืน หรือคุกเข่าในน้ำ แล้ว "ผู้ให้บัพติศมา" จะตักน้ำรดลงบน "ผู้รับบัพติศมา" ในปัจจุบันบางคริสตจักรยังรักษาวิธีการแบบเดิม บางคริสตจักรก็ใช้วิธีเทน้ำรดลงบนหน้าผากของผู้รับสามครั้ง การเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ก็ถือว่าเป็นการรับบัพติศมาด้วย เรียกว่า "พิธีบัพติศมาด้วยเลือด" เชื่อว่ามรณสักขีนั้นได้รับความรอดแล้วแม้จะยังไม่ได้รับบัพติศมาด้วยน้ำก็ตาม คริสตจักรโรมันคาทอลิกปัจจุบันรับรอง "พิธีบัพติศมาแห่งความปรารถนา" ซึ่งหมายถึงความตั้งใจจะรับบัพติศมาแต่เสียชีวิตเสียก่อนเข้าพิธี ก็ถือว่าได้รับความรอดแล้ว คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายประกอบพิธีบัพติศมาแก่ทารกด้วย เพราะเชื่อว่าบัพติศมาเป็นทางแห่งความรอด จนเมื่อฮุลดริช ซวิงลี นักเทววิทยาศาสนาคริสต์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 กล่าวว่าพิธีนี้ไม่จำเป็น คริสตจักรแบปทิสต์จึงประกอบพิธีบัพติศมาแก่ผู้เชื่อเองเท่านั้น ทุกวันนี้คริสต์ศาสนิกชนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะเควเกอร์และแซลเวชันอาร์มีถือว่าพิธีนี้ไม่จำเป็นและไม่ประกอบพิธีนี้เลย แต่กลุ่มที่ยังมีพิธีนี้อยู่ก็มีรูปแบบพิธีแตกต่างกันไป ส่วนมากรับบัพติศมา "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" (โปรเตสแตนต์) หรือ "เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต" (คาทอลิก) โดยถือตามพระมหาบัญชาก่อนการเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซู.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

การอธิษฐาน

การอธิษฐาน (prayer) หมายถึง การตั้งจิตร้องขอต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและการอธิษฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ภราดาฆราวาส

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ภราดาฆราวาส เรียกโดยย่อว่า ภราดา หมายถึงบุรุษที่เป็นสมาชิกคณะนักบวชคาทอลิก แต่ไม่ได้รับศีลอนุกรมขั้นใด ๆ ดังนั้นจึงไม่สามารถโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ได้ การเรียกว่า "ภราดาฆราวาส" เพื่อให้ต่างจากผู้ได้รับศีลบวชแล้วหรือเตรียมจะรับศีลบวชต่อไป แม้จะมีชื่อว่า “ฆราวาส” แต่ภราดาฆราวาสก็มีสถานะเป็นนักบวชคาทอลิก เพราะได้ถือคำปฏิญาณของนักบวชเพื่อรับใช้พระเป็นเจ้าผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่คณะนักบวชที่ตนสังกัดได้กำหนดไว้ คณะนักบวชชายแต่ละคณะอาจกำหนดบทบาทหน้าที่ของภราดาฆราวาสแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและภราดาฆราวาส · ดูเพิ่มเติม »

มุขมณฑล

มุขมณฑลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 139 (diocese) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกว่า สังฆมณฑล ในประเทศไทยกรมการศาสนาเรียกว่า เขตมิสซังกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 เป็นเขตการปกครองของคริสตจักรซึ่งมีมุขนายกเป็นประมุข แต่ละมุขมณฑลจะแบ่งออกเป็นเขตแพริช ในกรณีที่เป็นมุขมณฑลขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่ามุขมณฑลอื่นที่อยู่รอบ ๆ มุขมณฑลนั้นจะถูกยกสถานะขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล โดยมีอัครมุขนายกเป็นประมุข อัครมุขนายกมีสถานะเป็นมุขนายกมหานคร มีอำนาจสูงกว่ามุขนายกปริมุขมณฑลซึ่งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลอื่น ๆ ในภาคคริสตจักรเดียวกัน โครงสร้างการปกครองคริสตจักรแบบนี้เรียกว่า การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มุขมณฑลยังอาจหมายถึง เขตมุขนายก (bishopric) หรือ อิปิสโคปัลซี (Episcopal see) แต่คำว่าอิปิสโคปัลซีมักใช้หมายถึงอาณาเขตที่ปกครองโดยบิชอป ขณะที่ bishopric อาจหมายถึงตำแหน่งบิชอปก็ได้.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

ศีลศักดิ์สิทธิ์

''7 ศีลศักดิ์สิทธิ์'' (''The Seven Sacraments'') โดย โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน, ราว ค.ศ. 1448 ศีลศักดิ์สิทธิ์ เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ (Sacraments) ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นเครื่องหมายภายนอกที่แสดงว่าผู้รับศีลศักดิ์สิทธิ์นั้นเป็นคริสต์ศาสนิกชน.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและศีลศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ศีลอนุกรม

อัครมุขนายกเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ปกมือเหนือศีรษะผู้ขอบวชเพื่อโปรดศีลบวชเป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ณ เซมินารีนักบุญยอแซฟ สามพราน ศีลอนุกรม (Holy Orders) หรือศีลบวช บางตำราเรียกว่าศีลบรรพชา เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ในหลายคริสตจักร ได้แก่ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน คริสตจักรอัสซีเรียนแห่งตะวันออก คาทอลิกเก่า อินดิเพนเดนต์คาทอลิก และบางส่วนของลูเทอแรน.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและศีลอนุกรม · ดูเพิ่มเติม »

สันตะสำนัก

ม่มีความสัมพันธ์ สันตะสำนักราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 251(Holy See) หรือที่บางตำราเรียกว่า อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 753 คือมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในกรุงโรม และเนื่องจากกรุงโรมมีความสำคัญที่สุดในคริสตจักรโรมันคาทอลิก บิชอปแห่งโรมจึงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาอันเป็นตำแหน่งประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมดด้วย สันตะสำนักเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึง “สันตะสำนัก” จึงหมายถึงองค์กรบริหารส่วนกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมด และเป็นอาณาจักรทางศาสนาที่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายนานาชาติว่าเป็นรัฐอิสระที่มีประมุขเป็นพระสันตะปาปาและสถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตกับประเทศอื่นได้ สันตะสำนักแบ่งการบริหารออกเป็น 4 ระดับ ได้แก.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและสันตะสำนัก · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

ฌาน

น (บาลี) หรือ ธยาน (สันสกฤต) หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและฌาน · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

คณะฟรันซิสกัน

ณะฟรันซิสกัน (Franciscan Order) บางแห่งเรียกว่าคณะฟรังซิสกัน เป็นกลุ่มคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้ก่อตั้งขึ้น นอกจากในคริสตจักรโรมันคาทอลิกแล้วยังมีคณะฟรันซิสกันในคริสตจักรคาทอลิกเก่า นิกายแองกลิคัน และประชาคมฟรังซิสกันสากล (ecumenical Franciscan communities) ด้วย กลุ่มที่โดดเด่นที่สุดคือคณะภราดาน้อย (Order of Friars Minor) หรือที่รู้จักกันในนามคณะฟรันซิสกัน ซึ่งได้ชื่อนี้เพราะไฟรเออร์ในคณะถือวัตรปฏิบัติตามแบบที่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้วางแนวทางและก่อตั้งคณะไว้ มีลักษณะเป็นคณะนักบวชภิกขาจาร คณะฟรันซิสกันยังประกอบด้วยคณะย่อย 3 คณะ โดยแต่ละคณะมีการปกครองตนเองเป็นอิสระต่อกัน ได้แก่ คณะผู้ถือวินัย (Observants) เรียกอีกชื่อว่าคณะภราดาน้อย คณะภราดาน้อยกาปูชิน และคณะภราดาน้อยคอนเวนชวล ทุกคณะยึดถือวินัยของนักบุญฟรังซิสเป็นวินัยประจำคณ.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคณะฟรันซิสกัน · ดูเพิ่มเติม »

คณะพระมหาไถ่

ณะพระมหาไถ่ (Congregation of the Most Holy Redeemer; Redemtorists) เป็นคณะนักบวชธรรมทูตโรมันคาทอลิกที่นักบุญอัลฟอนโซ มาเรีย เด ลีกูโอรีได้ก่อตั้งขึ้น ณ เมืองสกาลา แคว้นกัมปาเนีย ประเทศอิตาลี ในตอนแรกมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำงานช่วยเหลือชาวชนบทที่ถูกทอดทิ้งรอบ ๆ เมืองเนเปิลส์ นักบวช (religious) ของคณะนี้มีทั้งบาทหลวงและภราดา ปฏิบัติงานอยู่ใน 77 ประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคณะพระมหาไถ่ · ดูเพิ่มเติม »

คณะกลาริส

ณะพัวร์แคลร์ส (Order of Poor Clares) หรือที่ชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่า คณะกลาริส (Clarisse) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกหญิงประเภทคณะนักบวชอารามิก ก่อตั้งโดยนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีและนักบุญกลาราแห่งอัสซีซี นักบวชในคณะนี้เน้นการดำเนินชีวิตแบบยากจน เน้นการสวดภาวน.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคณะกลาริส · ดูเพิ่มเติม »

คณะภราดาเซนต์คาเบรียล

ณะภราดาเซนต์คาเบรียล (Frères de Saint-Gabriel, The Montfort Brothers of St.) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกคณะหนึ่งซึ่งขึ้นตรงต่อพระสันตะปาปา นักบุญหลุยส์ มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ตเป็นผู้ก่อตั้งคณะ และบาทหลวงกาเบรียล เดแอ เป็นผู้ฟื้นฟูคณะ นักบวชในคณะปฏิญาณตนต่อพระเจ้าเพื่อถือ ความยากจน ความบริสุทธิ์ และความนบนอบ ทำงานรับใช้พระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว ด้วยการอุทิศตน เสียสละ รับใช้ผู้อื่นดังพี่น้อง โดยมุ่งที่จะให้บริการศึกษาอบรมที่เป็นความรู้ทางโลกและทางธรรมแก่สังคม คณะภราดาเซนต์คาเบรียลมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี สมาชิกประกอบด้วยภราดาที่ทำงานรับใช้พระเป็นเจ้าผ่านทางการให้การศึกษาแก่เยาวชน และเอาใจใส่เป็นพิเศษต่อคนยากจน ตามจิตตารมณ์ของนักบุญมงฟอร์ต ปัจจุบัน ภราดา John Kallarackal เป็นอัคราธิการ และภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย เป็นอธิการเจ้าคณะแขวงประเทศไท.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคณะภราดาเซนต์คาเบรียล · ดูเพิ่มเติม »

คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร

ณพ่อหลุยส์ โชเวต์ ผู้ก่อตั้งคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร (Sœurs de Saint-Paul de Chartres) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกหญิงที่ก่อตั้งขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส เน้นทำงานด้านการจัดการศึกษาและรักษาพยาบาลผู้ป่ว.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร · ดูเพิ่มเติม »

คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส

ณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (Missions Étrangères de Paris; M.E.P) เป็นคณะชีวิตแพร่ธรรมของคริสตจักรโรมันคาทอลิก (ไม่ใช่คณะนักบวชคาทอลิก) สมาชิกประกอบด้วยบาทหลวงประจำมุขมณฑลและฆราวาสที่อุทิศตนทำงานเป็นมิชชันนารีในต่างประเทศ คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสก่อตั้งราว..

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส · ดูเพิ่มเติม »

คณะรักกางเขน

ณะรักกางเขน (Amantes de la Croix; Lovers of the Holy Cross) เป็นกลุ่มคณะนักบวชคาทอลิกหญิงประจำมุขมณฑล ที่มุขนายกปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต ก่อตั้งขึ้นเมื่อมาปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคณะรักกางเขนคณะแรกตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคณะรักกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

คณะออกัสติเนียน

นักบุญออกัสตินแห่งฮิบโปจากรายละเอียดของการประดับกระจกสีโดย หลุยส์ คอมฟอร์ต ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) ที่พิพิธภัณฑ์ไลท์เนอร์ (Lightner museum) โบสถ์เซนต์ออกัสติน รัฐฟลอริดา คณะออกัสติเนียน (Augustinian Order) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกกลุ่มหนึ่ง ตั้งชื่อตามนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (ค.ศ. 354 - ค.ศ. 450) ปัจจุบันมีสองแบบ ได้แก.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคณะออกัสติเนียน · ดูเพิ่มเติม »

คณะอุร์สุลิน

ณะอุร์สุลิน (Ursulines) หมายถึงสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วกลุ่มใด ๆ ก็ตามที่นักบุญอันเจลา เมรีชี ริเริ่มก่อตั้งขึ้นโดยมีพันธกิจในการจัดการศึกษาแก่เยาวชนหญิง คณะอุร์สุลินที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันคือคณะอุร์สุลินแห่งสหภาพโรมัน (Ursulines of the Roman Union) นอกจากนี้ยังมีคณะของนักบุญอุร์สุลา (Order Sister of st. Ursula; O.S.U) ซึ่งสมาชิกเป็นนักพรตหญิงที่ใช้ชีวิตอารามวาสี.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคณะอุร์สุลิน · ดูเพิ่มเติม »

คณะดอมินิกัน

ณะนักเทศน์ (Order of Preachers; Ordo fratrum Praedicatorum) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า คณะดอมินิกัน.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคณะดอมินิกัน · ดูเพิ่มเติม »

คณะคามิลเลียน

ณะผู้รับใช้ผู้ป่วย (Ordo Clericorum Regularium Ministrantium Infirmis; Order of the Ministers of the Sick) หรือคณะนักบุญคามิลโล (Order of St. Camillus) หรือที่รู้จักในนามคณะคามิลเลียน (Camillians) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่นักบุญกามิลโล เด เลลลิส ก่อตั้งขึ้น เน้นพันธกิจด้านการพยาบาลผู้ป่ว.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคณะคามิลเลียน · ดูเพิ่มเติม »

คณะคาร์ทูเซียน

ณะคาร์ทูเซียน (Carthusian Order) หรือ คณะนักบุญบรูโน (Order of St. Bruno) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่ตั้งชื่อตามนักบุญบรูโนแห่งโคโลญ ผู้ตั้งคณะนี้ขึ้นในปี..

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคณะคาร์ทูเซียน · ดูเพิ่มเติม »

คณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า

ณะภราดาไม่สวมรองเท้าแห่งพระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล (Ordo Fratrum Discalceatorum Beatissimae Mariae Virginis de Monte Carmelo: Order of Discalced Brothers of the Blessed Virgin Mary of Mount Carmel) เรียกโดยย่อว่าคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า (Order of Discalced Carmelites) เป็นคณะนักบวชภิกขาจารในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ซึ่งแยกตัวออกมาจากคณะคาร์เมไลท์เดิม โดยมีนักบุญเตเรซาแห่งอาบีลาและนักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขนร่วมกันดำเนินการปฏิรูป นักบุญที่มีชื่อเสียงอีกองค์ในคณะนี้คือนักบุญเตแรซแห่งลีซีเยอ.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า · ดูเพิ่มเติม »

คณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโก

ณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโก (Salesians of Don Bosco) เรียกโดยย่อว่า คณะซาเลเซียน (Salesian Society) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกชายที่ตั้งโดยนักบุญโจวันนี บอสโก หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า "ดอนบอสโก" (คำว่า ดอน ในภาษาอิตาเลียนแปลว่า "คุณพ่อ" ซึ่งใช้เรียกบาทหลวง) สมาชิกของคณะนักบวชนี้ มักเรียกตัวเองว่า "ซาเลเซียน" และใช้คำย่อว่า S.D.B (Salesiani di Don Bosco) โดยชื่อซาเลเซียนนั้นนำมาจากชื่อของนักบุญฟร็องซัว เดอ ซาล.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโก · ดูเพิ่มเติม »

คณะเบเนดิกติน

ณะนักบุญเบเนดิกต์ (Ordo Sancti Benedicti; Order of Saint Benedict) นิยมเรียกกันว่า คณะเบเนดิกติน (Benedictine Order) (ค.ศ. 480 - ค.ศ. 547) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่ใช้ชีวิตอารามวาสีตามหลักวินัยของนักบุญเบเนดิกต์ นักพรตในคณะนี้จะอาศัยอยู่ร่วมกันในคริสต์ศาสนสถานที่เรียกว่าอาราม (บางอารามเรียกว่าแอบบีย์หรือไพรออรี) ซึ่งแต่ละอารามจะปกครองตนเองเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่ออารามอื่น ๆ มีสมาพันธ์เบเนดิกตินซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 ทรงตั้งขึ้นเพื่อเป็นองค์การปกครองคณะในระดับสากล มีอธิการไพรเมตเป็นประธานสมาพัน.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคณะเบเนดิกติน · ดูเพิ่มเติม »

คณะเยสุอิต

ณะเยสุอิต.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและคณะเยสุอิต · ดูเพิ่มเติม »

นักพรต

นักพรต (monk)กีรติ บุญเจือ, แก่นปรัชญายุคกลาง, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 131 คือผู้บำเพ็ญพรต หรือผู้ประพฤติตามข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกาย ใจ ของตนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและนักพรต · ดูเพิ่มเติม »

นักพรตหญิง

นจักรออร์โธดอกซ์ นักพรตหญิง (nun) คือสตรีที่ปฏิญาณอุทิศตนใช้ชีวิตเพื่อศาสนา อาจจะถือวัตรคล้ายนักพรตที่เลือกสละทางโลกแล้วหันไปใช้ชีวิตกับการอธิษฐานและการเพ่งพินิจ อาศัยในอารามหรือคอนแวนต์ "นักพรตหญิง" พบได้ทั้งในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน) ศาสนาเชน และศาสนาเต๋า ในศาสนาคริสต์คำว่า "นักพรตหญิง" และ "ภคินี" ใช้แทนหรือสลับกันได้เพราะถือว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็ถูกจำแนกให้ต่างกันว่านักพรตหญิงคือนักบวชหญิงที่ใช้ชีวิตเป็นนักพรต อยู่แต่ภายในเขตพรต เน้นการเพ่งพินิจ การอธิษฐาน และการรำพึงธรรม ขณะที่ภคินีเป็นนักบวชหญิงที่เน้นนการอธิษฐาน การบริการผู้ยากไร้ เจ็บป่วย ยากจน และขาดการศึกษ.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและนักพรตหญิง · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิกในประเทศไทย

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ขณะเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างเสด็จเยือนประเทศไทย คริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย หรือที่ชาวคาทอลิกเรียกโดยย่อว่า พระศาสนจักรในประเทศไทย เป็นประชาคมของคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก มีการปกครองตนเองภายใต้การควบคุมของสันตะสำนักราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 468 ตามสถิติคาทอลิกในประเทศไท..

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและโรมันคาทอลิกในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ไฟรเออร์

ฟรเออร์คณะออกัสติเนียนรีคอลเลกต์ ไฟรเออร์ (Friar) เป็นนักบวชคาทอลิกประเภทหนึ่ง ซึ่งสังกัดคณะนักบวชภิกขาจาร คำว่า ไฟรเออร์ มาจากภาษาอังกฤษ Friar ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส frère และภาษาละติน frater แปลว่า ภราดา (พี่น้องชาย) เป็นคำที่คริสตชนยุคแรกใช้เรียกกันภายในกลุ่มเพื่อแสดงความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีจึงนำคำนี้มาใช้เป็นชื่อคณะนักบวชที่ตนเองก่อตั้งขึ้น ว่า Ordo Fratrum Minorum (ในประเทศไทยแปลกันว่า คณะภราดาน้อย) ต่อมาคำว่าไฟรเออร์จึงแพร่หลายไปใช้กับคณะนักบวชอื่น ๆ (เฉพาะบางคณะ).

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและไฟรเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังกรุงเทพฯ

ื้นที่ในปกครองของมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เขตมิสซังกรุงเทพฯ คริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ชัยนาท ฉะเชิงเทราบางส่วน อำเภอบ้านนา (นครนายก) นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง สำนักมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 51 ซอยโรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและเขตมิสซังกรุงเทพฯ · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังอุบลราชธานี

อาณาเขตของเขตมิสซังอุบลราชธานี เขตมิสซังอุบลราชธานี ชาวคาทอลิกเรียกว่าสังฆมณฑลอุบลราชธานี เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุม 7 จังหวัดในภาคอีสาน ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ สำนักมิสซังคาทอลิกอุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่ 498.ชยางกูร อ.เมือง.อุบลราชธานี 34000 มีมุขนายกฟิลิป บรรจง ไชยรา เป็นมุขนายกมิสซังองค์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและเขตมิสซังอุบลราชธานี · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังจันทบุรี

อาณาเขตมัสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรี เขตมิสซังจันทบุรี เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทยในภาคตะวันออกครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 8 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา (บางส่วน) นครนายก (เว้น อ.บ้านนา) ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว มี "อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล" หรือโบสถ์คาทอลิกจันทบุรีเป็นอาสนวิหารประจำเขตมิสซัง มุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรีองค์ปัจจุบันคือ พระคุณเจ้าซิลวีโอ สิริพงศ์ จรัสศรี สำนักมิสซังคาทอลิกจันทบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 21/3 ม. 1 ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและเขตมิสซังจันทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง

อาณาเขตของมิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสง เขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง หรืออัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 8 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดสกลนคร จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร มีอาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลเป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑล และโบสถ์นักบุญอันนา หนองแสง เป็นรองอาสนวิหาร สำนักมิสซังโรมันคาทอลิกส์ท่าแร่-หนองแสงตั้งอยู่ที่ 362 หมู่ 2 สกล-อุดร ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง.สกลนคร 47000 ปัจจุบันมีพระคุณเจ้าหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ เป็นอัครมุขนายก.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและเขตมิสซังท่าแร่-หนองแสง · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังเชียงใหม่

อาณาเขตมิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่ ก่อนตั้งมิสซังเชียงรายในวันที่ 25เมษายน พ.ศ. 2561 เขตมิสซังเชียงใหม่ หรือสังฆมณฑลเชียงใหม่ เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย มีอาณาเขตครอบคลุม 4 จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง (เว้นอำเภองาว) จังหวัดลำพูน และจังหวัดแม่ฮ่องสอน และมีสถานะเป็นปริมุขมณฑลของเขตมิสซังกรุงเทพฯ สำนักมิสซังโรมันคาทอลิกเชียงใหม่ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 5/3.เจริญประเทศ 12 ต.ช้างคลาน อ.เมือง.เชียงใหม่ 50100.

ใหม่!!: คณะนักบวชคาทอลิกและเขตมิสซังเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

คณะสถาบันนักพรตคณะนักพรตนักบวชคาทอลิก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »