โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก

ดัชนี คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก

ณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก (Supreme Iraqi Criminal Tribunal) หรือเดิมชื่อ คณะตุลาการพิเศษอิรัก (Iraqi Special Tribunal) เป็นหน่วยงานจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายแห่งชาติอิรักเพื่อพิจารณาบุคคลหรือพลเมืองสัญชาติอิรักที่ถูกกล่าวหาว่า ก่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม หรืออาชญากรรมร้ายแรงอื่นระหว่าง..

12 ความสัมพันธ์: ชาวเคิร์ดการบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546การบุกครองคูเวตการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ศาลอาญาระหว่างประเทศอาชญากรรมสงครามอาชญากรรมต่อมนุษยชาติซัดดัม ฮุสเซนประเทศแทนซาเนียประเทศเนเธอร์แลนด์โทษประหารชีวิตเดอะเฮก

ชาวเคิร์ด

วเคิร์ด (کورد Kurd คูร์ด, Kurdish people) เป็นชนในกลุ่มชนอิหร่านที่เป็นกลุ่มภาษาชาติพันธุ์ (ethnolinguistic) ที่ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่เป็นเคอร์ดิสถาน ที่รวมทั้งบางส่วนบริเวณที่ใกล้เคียงกันที่รวมทั้งอิหร่าน อิรัก, ซีเรีย และ ตุรกี นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มชนเคิร์ดขนาดใหญ่พอสมควรทางตะวันตกของตุรกี และในเลบานอน, อาร์มีเนีย, อาเซอร์ไบจาน และเมื่อไม่นานมานี้ในประเทศในยุโรป และ สหรัฐอเมริกา (ดูชาวเคิร์ดพลัดถิ่น) ชาวเคิร์ดพูดภาษาเคิร์ดซึ่งเป็นภาษาในภาษากลุ่มอิหร่าน เมือง Piranshahr เป็นเมืองหลวงของอำเภอ Mukerian.

ใหม่!!: คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรักและชาวเคิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546

การบุกครองอิรัก..

ใหม่!!: คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรักและการบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองคูเวต

การบุกครองคูเวต หรือที่รู้จักกันในนาม สงครามอิรัก–คูเวต เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพรรคบาธของประเทศอิรักกับเอมิเรตแห่งคูเวต อิรักสามารถยึดคูเวตได้อย่างง่ายดายและปกครองคูเวตอยู่ 7 เดือน จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาภายใต้ประธานาธิบดีจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ส่งกำลังทหารเข้าแทรกแทรงบานปลายเป็นสงครามอ่าวเปอร์เซีย ในปี 1990 อิรักได้กล่าวหาคูเวตว่า คูเวตได้ขโมยน้ำมันของอิรักโดยการขุดเจาะน้ำมันแบบเฉียงเข้ามาใต้ดินแดนอิรัก ในขณะที่แหล่งข่าวในอิรักบางแห่งกล่าวอ้างว่า แผนโจมตีคูเวตถูกตัดสินใจโดยประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน เพียงเดือนสองเดือนก่อนหน้าเท่านั้น บางความเห็นก็ว่าการโจมตีครั้งนี้ เหตุผลส่วนหนึ่งมาจากการที่รัฐบาลอิรักเป็นหนี้คูเวตอยู่กว่า 14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการกู้มาใช้จ่ายในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่าน และหลังสงครามครั้งนั้น คูเวตก็ได้ผลิตน้ำมันออกสู่ตลาดจำนวนมหาศาลส่งผลให้ราคาน้ำมันตกต่ำ ทำให้อิรักไม่มีรายได้มากพอจะมาชำระหนี้ก้อนนี้ การบุกครองคูเวตเริ่มขึ้นในเวลาตีสองของวันที่ 2 สิงหาคม..

ใหม่!!: คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรักและการบุกครองคูเวต · ดูเพิ่มเติม »

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) คือ การกระทำอย่างเป็นระบบและไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกลุ่มชนทางศาสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่ ถึงแม้จะมีผู้ให้นิยามของ "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ไว้มากมายและบางทีก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่ทางนิติศาสตร์นั้น สหประชาชาติได้กำหนดนิยามของพฤติการณ์นี้ในข้อ 2 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (United Nations Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide) ว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หมายถึง "การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชนในชาติ หรือกลุ่มชนทางศาสนาทั้งกลุ่มหรือส่วนใหญ่ เป็นต้นว่า ฆ่าสมาชิกของกลุ่ม กระทำให้สมาชิกของกลุ่มถึงแก่พิกลพิการอย่างหนักทางกายภาพหรือจิตภาวะ กระทำโดยไตร่ตรองหรือโดยคาดการณ์ไว้แล้วเพื่อให้เกิดแก่หรือนำพามาสู่สมาชิกของกลุ่มซึ่งทุกขเวทนาในสภาพความเป็นอยู่ กระทำโดยมาตรการใด ๆ เพื่อกันมิให้มีการถือกำเนิดของทารกภายในกลุ่ม หรือใช้กำลังนำพาผู้เยาว์ในกลุ่มไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง"Office of the High Commissioner for Human Rights.

ใหม่!!: คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรักและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC/ICCt; Cour Pénale Internationale) เป็นศาลระหว่างประเทศซึ่งมีที่ทำการอยู่ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเขตอำนาจดำเนินคดีผู้กระทำความผิดอาญาระหว่างประเทศ 3 ฐาน คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมนุษนชาติ, และอาชญากรรมสงคราม ก่อตั้งขึ้นโดยประสงค์จะให้เป็นส่วนเสริมของระบบยุติธรรมที่แต่ละประเทศมีอยู่ จึงมีเขตอำนาจเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขเท่านั้น เช่น เมื่อศาลระดับประเทศไม่สามารถหรือไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแล้ว หรือเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือรัฐหนึ่ง ๆ เสนอคดีมาให้พิจารณา ศาลนี้เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรักและศาลอาญาระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

อาชญากรรมสงคราม

อาชญากรรมสงคราม (war crime) คือ การกระทำอันฝ่าฝืนกฎหมายสงครามอย่างร้ายแรง ทำให้ผู้กระทำต้องรับผิดทางอาญาเป็นการเฉพาะตัว เช่น การฆ่าพลเรือนหรือนักโทษโดยเจตนา, การทรมาน, การทำลายทรัพย์สินพลเรือน, การจับเป็นตัวประกัน, การล่อลวง, การข่มขืนกระทำชำเรา, การใช้เด็กทางทหาร, การปล้นทรัพย์, การไม่ไว้ชีวิต, และการละเมิดอย่างร้ายแรงซึ่งหลักการแยกแยะและหลักความได้สัดส่วน เป็นต้นว่า การทำลายประชากรพลเรือนด้วยระเบิดยุทธศาสตร์ แนวคิดเรื่องอาชญากรรมสงครามปรากฏขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการประมวลกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ใช้บังคับได้สำหรับการทำสงครามระหว่างรัฐอธิปไตย การประมวลกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นในระดับชาติ เช่น การเผยแพร่ประมวลกฎหมายลีแบร์ในสหรัฐเมื่อ..

ใหม่!!: คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรักและอาชญากรรมสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crime against humanity) เป็นการซึ่งกระทำลงโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง หรือการโจมตีแบบเอกเทศ ต่อบุคคลพลเรือนคนใด ๆ หรือต่อกลุ่มคนที่ระบุตัวได้ในหมู่ประชากรพลเรือน การดำเนินคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเกิดขึ้นครั้งแรกในคดีเนือร์นแบร์ก และนับแต่นั้น การดำเนินคดีอาชญากรรมดังกล่าวก็กลายเป็นหน้าที่ของศาลระหว่างประเทศ เช่น ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ, คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย, และศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่การดำเนินคดีโดยศาลในประเทศก็มีบ้าง กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาตินั้นพัฒนาขึ้นผ่านวิวัฒนาการของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ อาชญากรรมต่าง ๆ ที่กระทำต่อมนุษยชาตินั้นยังไม่มีประมวลไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศฉบับใด ๆ แต่องค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีโครงการริเริ่มกฎหมายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (Crimes Against Humanity Initiative) เป็นโต้โผ พยายามที่จะสร้างกฎหมายดังกล่าวให้ได้ในเร็ววัน อาชญากรรมต่อมนุษยชาติต่างจากอาชญากรรมสงครามตรงที่อาชญากรรมต่อมนุษยชาติจะเกิดในยามสงครามหรือในเวลาอื่นก็ได้ แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองหรือเกิดนานทีปีหน หากแต่เป็นเหตุการณ์ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของรัฐ หรือเป็นส่วนหนึ่งของความโหดร้ายป่าเถื่อนที่กระทำเป็นวงกว้าง แล้วรัฐเพิกเฉยหรือไม่เอาโทษ ความผิดอาญา อย่างเช่น อาชญากรรมสงคราม, การฆ่าคน, การสังหารหมู่, การลดความเป็นมนุษย์, การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การกวาดล้างชาติพันธุ์, การเนรเทศ, การทดลองมนุษย์โดยผิดจรรยาบรรณ, วิสามัญฆาตกรรม, การประหารแบบรวบรัด, การใช้อาวุธทำลายล้างสูง, การก่อการร้ายของรัฐ, การก่อการร้ายที่รัฐสนับสนุน, การใช้หมู่สังหาร, การลักพา, การบังคับให้บุคคลสูญหาย, การใช้เด็กทางทหาร, การกักกัน, การเอาคนลงเป็นทาส, การกินเนื้อมนุษย์, การทรมาน, การข่มขืนกระทำชำเรา, การเบียดเบียนทางการเมือง, การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเชื้อชาติ, และการละเมิดสิทธิมนุษยชน อาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง.

ใหม่!!: คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรักและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ซัดดัม ฮุสเซน

ซัดดัม ฮุสเซน (Saddam Hussein) หรือ ศ็อดดาม ฮุเซน อับดุลมะญีด อัลตีกรีตี (อาหรับ: صدام حسين عبد المجيد التكريتي; ละติน:Ṣaddām Ḥusayn ʿAbd al-Majīd al-Tikrītī; 28 เมษายน พ.ศ. 2480-30 ธันวาคม พ.ศ. 2549) เป็นอดีตประธานาธิบดีของอิรัก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรักและซัดดัม ฮุสเซน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแทนซาเนีย

แทนซาเนีย หรือชื่อทางการ สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย (United Republic of Tanzania; Jamhuri ya Muungano wa Tanzania) เป็นประเทศที่อยู่บนชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา มีอาณาเขตทางเหนือจดเคนยาและยูกันดา ทางตะวันตกจดรวันดา บุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และทางใต้จดแซมเบีย มาลาวี และโมซัมบิก ส่วนทางตะวันออกจดมหาสมุทรอินเดีย ประเทศตั้งชื่อมาจากแผ่นดินใหญ่แทนกันยีกาและเกาะแซนซิบาร์ที่อยู่นอกจากชายฝั่งตะวันออก แทนซาเนียเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งชาติ ตั้งแต่ประกาศเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2504 เมื่อ พ.ศ. 2507 แทนกันยีกาได้รวมกับแซนซีบาร์ กลายเป็นสหสาธารณรัฐแทนแกนยิกาและแซนซิบาร์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย เมื่อพ.ศ. 2539 เมืองหลวงของแทนซาเนียย้ายจากดาร์เอสซาลามไปโดโดมา อย่างไรก็ดี สำนักงานของรัฐบาลหลายแห่งยังคงตั้งอยู่ในเมืองหลวงเดิม.

ใหม่!!: คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรักและประเทศแทนซาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรักและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

โทษประหารชีวิต

ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิต: 103 ประเทศ โทษประหารชีวิต หรือ อุกฤษฏ์โทษ (capital punishment, death penalty) เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" คำว่า capital มาจากคำภาษาละตินว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว) สังคมอดีตส่วนมากนั้นมีโทษประหารชีวิตโดยเป็นการลงโทษอาชญากร และผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองหรือศาสนา ในประวัติศาสตร์ การลงโทษประหารชีวิตมักสัมพันธ์กับการทรมาน และมักประหารชีวิตในที่สาธารณะ ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต 58 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมทุกรูปแบบโดยนิตินัย 98 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตเฉพาะอาชญากรรมปรกติ 7 ประเทศ (โดยคงไว้สำหรับพฤติการณ์พิเศษ เช่น อาชญากรรมสงคราม) และประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยพฤตินัย (คือ ไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิตอย่างน้อยสิบปี และอยู่ระหว่างงดใช้โทษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) องค์การนิรโทษกรรมสากลมองว่าประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ยกเลิก (abolitionist) โดยองค์การฯ พิจารณาว่า 140 ประเทศเป็นผู้ยกเลิกในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ การประหารชีวิตเกือบ 90% ทั่วโลกเกิดในทวีปเอเชีย แทบทุกประเทศในโลกห้ามการประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีขณะก่อเหตุ นับแต่ปี 2552 มีเพียงประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและซูดานที่ยังประหารชีวิตลักษณะนี้ กฎหมายระหว่างประเทศห้ามการประหารชีวิตประเภทนี้ โทษประหารชีวิตกำลังเป็นประเด็นการถกเถียงอยู่ในหลายประเทศ และจุดยืนอาจมีได้หลากหลายในอุดมการณ์ทางการเมืองหรือภูมิภาคทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อ 2 แห่งกฎบัตรสิทธิมูลฐานแห่งสหภาพยุโรปห้ามการใช้โทษประหารชีวิต สภายุโรปซึ่งมีรัฐสมาชิก 47 ประเทศ ยังห้ามสมาชิกใช้โทษประหารชีวิต สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติรับข้อมติไม่ผูกพันในปี 2550, 2551 และ 2553 เรียกร้องให้มีการผ่อนเวลาการประหารชีวิตทั่วโลก ซึ่งมุ่งให้ยกเลิกในที่สุด แม้หลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งเกิดการประหารชีวิต เช่น สี่ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ซึ่งยังใช้บังคับโทษประหารชีวิต ทั้งสี่ประเทศออกเสียงคัดค้านข้อมติสมัชชาใหญ่ดังกล่าว.

ใหม่!!: คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรักและโทษประหารชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

เดอะเฮก

อะเฮก หรือ กรุงเฮก (The Hague, Den Haag แด็นฮาค) หรือชื่อทางการภาษาดัตช์คือ สคราเฟินฮาเคอ ('s-Gravenhage) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมืองมีประชากร 500,000 คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2011) เดอะเฮกเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากกรุงอัมสเตอร์ดัมและรอตเทอร์ดาม ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ มีอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและการพิมพ์ เป็นที่ตั้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกซึ่งตั้งอยู่ที่วังสันติสร้างบริจาคโดยมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ชื่อ แอนดรูว์ คาร์เนกี.

ใหม่!!: คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรักและเดอะเฮก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Iraqi Special TribunalSupreme Iraqi Criminal Tribunalศาลพิเศษอิรัก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »