โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คงกระพันและผงอิทธิเจ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คงกระพันและผงอิทธิเจ

คงกระพัน vs. ผงอิทธิเจ

งกระพัน เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่ง สันนิษฐานว่า มีที่มาจากคำว่า "กระบัล" ในภาษามลายู แปลว่า "คงทนต่อศัสตราวุธ" ดังที่มีสำนวนว่า "อยู่ยงคงกระพันฟันแทงไม่เข้า" วิชาคงกระพันชาตรีจึงหมายถึง "วิชาที่ทำให้ร่างกายสามารถทนทานต่อคมอาวุธทั้งหลายได้" สมัยโบราณเป็นวิชาที่ชายไทยเล่าเรียนกันมาก เนื่องจากต้องมีหน้าที่เป็นทหารออกรบป้องกันราชอาณาจักร และการรบในสมัยโบราณเป็นการรบแบบประชิดตัว จึงจำเป็นต้องเล่าเรียนคาถาอาคมที่จะช่วยปกป้องตนเองให้ปลอดภัยจากคมหอกคมดาบ ความเชื่อเรื่องอยู่ยงคงกระพันของไทยโบราณมีหลายวิธี อาทิ พกพาเครื่องราง บริกรรมคาถาอาคม สักยันต์ เสกอาหารกิน เสกน้ำมันทาตัว เป็นต้น คงกระพันจะต่างจากชาตรี กล่าวคือ คงกระพันจะเป็นการทำให้เนื้อหนังร่างกายคงทนต่ออาวุธตลอดจนวัตถุต่างๆ ที่มาทำร้าย แต่หากอาวุธนั้นมีอันตรายมากหรือมีน้ำหนักมากก็อาจทำให้เจ็บปวดสาหัสหรืออวัยวะภายในบอบช้ำได้ ส่วนชาตรีจะเป็นวิชาที่ป้องกันคมอาวุธด้วย และทำให้ผู้ถูกทำร้ายไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด เป็นวิชาที่ทำให้ตัวเบาและวัตถุสิ่งของที่มากระทบตัวเบาไปหมด แม้เป็นของแข็งอย่างหินทุ่มมาทำร้ายก็เชื่อว่าจะรู้สึกเหมือนถูกทุบด้วยหมอนนุ่นเท่านั้น วิชาในหมวดชาตรีที่รู้จักกันดีคือ วิชาเก้าเฮ ของสำนักวัดพระญาติการาม อยุธยา ซึ่งใช้นิ้วมือชักยันต์ลงไปบนส่วนต่างๆ ของร่างกาย วิชาในหมวดเดียวกับคงกระพันคือ ชาตรี แคล้วคลาด และ มหาอุด ซึ่งเป็นการใช้อำนาจทางจิตในวิธีต่างๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากศัสตราวุธ ผู้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอยู่ยงคงกระพัน จะต้องปฏิบัติตนตามข้อห้ามของวิชาที่ได้รับการสั่งสอนมาอย่างเคร่งครัด เป็นต้นว่า ต้องสวดมนต์ไหว้พระรำลึกคุณพระรัตนตรัยเป็นนิตย์ ต้องหมั่นปลุกตัวด้วยคาถาสม่ำเสมอ ห้ามผิดลูกเมียเขา ห้ามมุดลอดในที่ไม่สมควร ห้ามถ่มน้ำลายลงที่สกปรก ห้ามด่าบุพการี บางทีก็ห้ามกินอาหารหลายชนิด เช่น หัวปลี บวบ น้ำเต้า ห้ามกินของเหลือเดน ห้ามกินของงานศพ ห้ามเปิดปากเวลาถ่ายหนักถ่ายเบา ฯลฯ กล่าวโดยสรุปคือต้องถือศีล สำรวมกาย วาจา ใจ และต้องปฏิบัติสมาธิภาวนาอีกด้วย ในอดีตผู้ที่เชื่อ และเล่าเรียนคาถาอาคมมักถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เนื่องจากเชื่อว่าหากปฏิบัติไม่ได้ความอยู่ยงคงกระพันจะเสื่อมคลายไป ปัจจุบันความเชื่อเช่นนี้ก็ยังพอมีปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง. อิธะเจ หรือ อิทธิเจของเทพย์ สาริกบุตร เป็นวิชาทางไสยศาสตร์ว่าด้วยการทำผงตามคัมภีร์อิธะเจ ซึ่งเป็นหนึ่งในคัมภีร์หลักของระบบไสยศาสตร์ไทยโบราณ อันประกอบด้วยคัมภีร์ปถมัง อิธะเจ ตรีนิสิงเห และมหาราช นอกจากนั้นชื่อวิชาอิธะเจยังปรากฏอยู่ในเสภาขุนช้างขุนแผนตอนพลายงามเรียนวิชาด้วย เนื้อหาของวิชาอิธะเจคือการทำผงด้วยการตั้งตัวตามสูตรบาลีมูลกัจจายน์ ซึ่งเป็นระบบบาลีไวยากรณ์ใหญ่ที่ปัจจุบันได้ล้มเลิกไป อิธะเจมีหลายตำรับด้วยกัน แต่ที่เป็นหลักสำคัญจะตั้งตัวด้วย อิทะ อิติ อิติ อัสสา อุทัง อะหัง อัคคัง อะหัง อะหัง อิถัง อัมมะ อัสสา จากนั้นจึงกระทำตามสูตรสนธิโดยอ้างสูตรตามคัมภี์บาลีไวยากรณ์จนสำเร็จเป็น อิธเจตโสทฬฺหํคณฺหาหิถามสา เป็นอันขาดตัวในสูตรสนธิ ผงที่ได้จากการเขียนและลบอักขระตามคัมภีร์อิธะเจ เรียกว่าผงอิธะเจ เชื่อว่ามีอานุภาพทางเมตตามหานิยม เป็นเสน่ห์โดยเฉพาะแก่สตรี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คงกระพันและผงอิทธิเจ

คงกระพันและผงอิทธิเจ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): คาถาไสยศาสตร์

คาถา

แปลว่า ถ้อยคำที่ร้อยกรอง ถ้อยคำที่ผูกไว้ ถ้อยคำที่ขับร้อง ท่อง สวด ในคำวัดหมายถึงคำประพันธ์ภาษาบาลีประเภทฉันทลักษณ์ที่แต่งครบ ๔ บาทหรือ ๔ วรรค ๑ คาถามี ๔ บาท แต่ละบาทมีจำนวนคำต่างกันไปตามชื่อฉันท์ เช่น อินทรวิเชียรฉันท์ แต่ละบาทมี ๑๑ คำ ๔ บาทก็มี ๔๔ คำ ๑ คาถาของอินทรวิเชียรฉันท์จึงมี ๔๔ คำ ในเวสสันดรชาดก มี ๑,๐๐๐ คาถา จึงเรียกว่าคาถาพัน ในภาษาไทยหมายถึงคำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ "คาถาอาคม" ก็เรียก.

คงกระพันและคาถา · คาถาและผงอิทธิเจ · ดูเพิ่มเติม »

ไสยศาสตร์

ตร์ หมายถึง วิชาทางไสย อันเป็นลัทธิเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถาที่เชื่อว่ามาจากศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะจากคัมภีร์อถรรพเวท ที่มีพิธีเพื่อให้เกิดสิริมงคลป้องกันอันตรายต่อตนเองหรือทำอันตรายต่อผู้อื่น.

คงกระพันและไสยศาสตร์ · ผงอิทธิเจและไสยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คงกระพันและผงอิทธิเจ

คงกระพัน มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ ผงอิทธิเจ มี 29 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 5.13% = 2 / (10 + 29)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คงกระพันและผงอิทธิเจ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »