ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและฟริดท์จอฟ นันเซน
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและฟริดท์จอฟ นันเซน
ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ vs. ฟริดท์จอฟ นันเซน
้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees, คำย่อ UNHCR) เป็นองค์การที่รับภารกิจหน้าที่จาก UNRRA: United Nations Relief and Rehabilitation Administration ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2486 โดยแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ ประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ช่วยเหลือการกลับถิ่นฐานเดิมของผู้ลี้ภัยจำนวนกว่า 8 ล้านคน ซึ่งเกิดจากการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่ 2 สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2493 โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ภารกิจหลัก คือ การปกป้องและสนับสนุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยทั่วโลก ตามข้อเรียกร้องของรัฐบาลในแต่ละประเทศหรือข้อเรียกร้องของสหประชาชาติ นอกจากนี้ สำนักงานฯ ยังมีหน้าที่สำคัญในการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง หรือ ประเทศที่สามเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ สำนักงานฯ มีภารกิจหลักคือ เป็นผู้นำและประสานงานในการรวบรวมความช่วยเหลือจากนานาประเทศ เพื่อปกป้องและแก้ปัญหาของผู้ลี้ภัยทั่วโลก และการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะสิทธิที่จะอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในรัฐอื่น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทางออกที่ยั่งยืน ซึ่งได้แก่การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมโดยสมัครใจ (voluntary repatriation) การตั้งถิ่นฐานในรัฐผู้รับ (local integration) หรือการไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม (third country resettlement) และภารกิจที่ตามมาคือ การปกป้องและให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมแก่บุคคลในความห่วงใย (person of concern, POC) กลุ่มอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ผู้แสวงหาที่พักพิง (asylum seeker) ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (internally displaced person) บุคคลไร้รัฐ (stateless person) และผู้ที่เดินทางกลับประเทศต้นทาง (returnee) ภารกิจของสำนักงานฯ ในขณะนี้ มักจะอยู่ในประเทศที่ยังคงมีสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่ปกติและประเทศใกล้เคียง เช่น เลบานอน ซูดาน ชาด อิรัก อัฟกานิสถาน เคนยา อย่างไรก็ตาม สำนักงานฯ ยังมีภารกิจครอบคลุมไปถึงผู้ที่หนีภัยจากการประหัตประหาร และผู้ที่พลัดถิ่นอันเนื่องมาจากภัยพิบัติอีกด้วย ทั้งนี้ สำนักงานฯ มีสำนักงานระดับภูมิภาคในประเทศไทยที่อาคารสำนักงานสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก สำนักงานฯ ได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพในปี พ.ศ. 2497 และ พ.ศ. 2524 ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติคนปัจจุบันคือ นายฟีลิปโป กรันดี (Filippo Grandi) นักการทูตชาวอิตาลี และประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานฯ คนปัจจุบันได้แก่ นาย Carsten Staur เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเดนมาร์กประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีว. ฟริดท์จอฟ เวเดล จาร์ลสเบิร์ก นันเซน (Fridtjof Wedel-Jarlsberg Nansen) เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2404 ที่หมู่บ้านโฟรน ใกล้เมืองคริสเตียนเนีย ประเทศนอร์เวย์ และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2473 นอกกรุงออสโล) เป็นชาวนอร์เวย์ซึ่งเป็นทั้งนักสำรวจ นักวิทยาศาสตร์ และนักการทูต นันเซนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี พ.ศ. 2465 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2404 หมวดหมู่:นักสำรวจชาวนอร์เวย์ หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ชาวนอร์เวย์ หมวดหมู่:นักการทูตชาวนอร์เวย์ หมวดหมู่:ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและฟริดท์จอฟ นันเซน
ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและฟริดท์จอฟ นันเซน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและฟริดท์จอฟ นันเซน มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและฟริดท์จอฟ นันเซน
การเปรียบเทียบระหว่าง ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและฟริดท์จอฟ นันเซน
ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ ฟริดท์จอฟ นันเซน มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 3.23% = 1 / (21 + 10)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและฟริดท์จอฟ นันเซน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: