โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ข้าราชสำนักและพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ข้าราชสำนักและพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

ข้าราชสำนัก vs. พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

มาดาม เดอ ปองปาดูร์ข้าราชสำนักในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสผู้ต่อมาได้เป็นพระสนม ข้าราชสำนัก หรือ ข้าประจำสำนัก (Courtier) คือบุคคลที่รับราชการหรือมีหน้าที่ในราชสำนัก หรือ ในสำนักของขุนนาง หรือ สำนักของผู้มีอำนาจ ในประวัติศาสตร์ราชสำนักคือศูนย์กลางของรัฐบาลและสังคมและที่ประทับของพระมหากษัติรย์หรือที่พำนักของผู้มีอำนาจ ชีวิตทางด้านการเมืองและการสังคมจะมารวมอยู่ในที่เดียวกัน พระมหากษัตริย์หรือผู้มีอำนาจก็จะต้องให้ผู้ใกล้ชิดหรือขุนนางข้าราชการคนสำคัญๆ มาเฝ้าแหนหรือมาทำงานเป็นระยะเวลาหลายเดือนต่อปีภายในสำนัก ข้าราชสำนักไม่จำเป็นต้องเป็นขุนนาง แต่อาจจะเป็นนักบวช, ทหาร, เลขาธิการ หรือผู้แทนทางเศรษฐกิจหรือกิจการในสาขาและระดับต่างๆ การได้เลื่อนฐานะอาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นราชสำนัก/สำนักจึงเป็นสถานที่ที่ผู้มีความทะเยอทยานต่างก็พยายามเข้ามาปรากฏตัวเพื่อให้เป็นที่ใกล้ชิดบุคคลสำคัญ สิ่งที่สำคัญในการสร้างความก้าวหน้าให้แก่ตนเองภายในราชสำนัก/สำนักคือการเข้าถึงตัวผู้มีอำนาจ และ “ข้อมูล” ชีวิตภายในราชสำนัก/สำนักแบ่งเป็นหลายฝักหลายฝ่ายและหลายระดับ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานอาจจะไม่ต้องมีการติดต่อโดยตรงกับประมุขของสำนักเลยก็ได้ สตรีที่มีหน้าที่ในราชสำนักเรียกว่า “สตรีในราชสำนัก” (Courtesan) แต่ในปัจจุบันคำนี้แผลงไปใช้ในทางสตรีที่ใช้ความงามในการสร้างความก้าวหน้าให้แก่ตนเองที่อาจจะเรียกว่า “สตรีงามเมือง” ราชสำนักของยุโรปที่มีชื่อเสียงที่สุดก็ได้แก่ราชสำนักแวร์ซายส์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส แต่ราชสำนักที่ใหญ่ที่สุดคือพระราชวังต้องห้ามแห่งกรุงปักกิ่งที่ยิ่งแยกจากสังคมภายนอกมากไปกว่าราชสำนักแวร์ซายส์ นอกจากราชสำนักหลักของราชอาณาจักรแล้ว ขุนนางหรือนักบวชในบางราชอาณาจักรในยุโรปก็อาจจะมีอำนาจที่เป็นอิสระจากพระมหากษัตริย์มากบ้างน้อยบ้าง ที่บางครั้งก็อาจจะมีสำนักของตนเองที่มีอำนาจอิสระจะอำนาจกลางของราชอาณาจักร ซึ่งทำให้ระบบราชสำนักของยุโรปออกจะเป็นระบบที่ซับซ้อนอยู่บ้าง ในปัจจุบันคำว่า “Courtier” มักจะใช้เป็นคำอุปลักษณ์สำหรับผู้เป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้นำ หรือ ผู้ติดสอยห้อยตามผู้นำอย่างแยกไม่ได้. ระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ (Henry VIII of England) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษตั้งแต่ 21 เมษายน 1509 จนสวรรคต นอกจากนี้ยังทรงเป็นชาวอังกฤษพระองค์แรกที่ได้เป็นกษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ และยังเป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอีกด้วย พระเจ้าเฮนรีทรงเป็นกษัตริย์รัชกาลที่สองของราชวงศ์ทิวดอร์ ซึ่งครองราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา พระเจ้าเฮนรีที่ 7 นอกจากการอภิเษกสมรสทั้ง 6 ครั้งและความสัมพันธ์กับสตรีนอกสมรสแล้ว อีกหนึ่งเรื่องราวสำคัญในรัชสมัยของพระองค์คือการประกาศให้การอภิเษกกับแคเธอรีนแห่งอารากอน มเหสีคนแรกเป็นโมฆะ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งกับพระสันตะปาปา และนำประเทศไปสู่การแยกตัวออกจากศาสนจักรโรมันคาทอลิก โดยการสถาปนาคริสตจักรแห่งอังกฤษขึ้นมาแทน ซึ่งเป็นคริสตจักรที่ไม่ขึ้นกับพระสันตะปาปา และถือเอาตัวพระองค์เองในฐานะกษัตริย์เป็น "ประมุขสูงสุดของคริสตจักรในอังกฤษ" และนำไปสู่การยุบอารามขึ้น แต่ในด้านความเชื่อพระองค์ยังคงถือคำสอนหลายอย่างตามโรมันคาทอลิก แม้ว่าจะถูกพระสันตะปาปาประกาศตัดขาดจากศาสนาไปแล้วก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังคอยควบคุมการรวมสหภาพระหว่างอังกฤษกับเวลส์ และพระองค์ยังได้ขึ้นชื่อว่าทรงเป็นศัตรูตลอดกาลกับพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และ จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตลอดรัชสมัยได้ทำสงครามกันหลายต่อหลายครั้ง พระเจ้าเฮนรีถือเป็นกษัตริย์ที่มีเสน่ห์ มีการศึกษาดี และทรงคุณวุฒิ และเป็นประมุขที่ทรงบารมีที่สุดแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ แม้จะทรงใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างเด็ดขาดแต่ก็ทรงสนพระทัยการเขียนและนิพนธ์ ทรงเห็นว่าสตรีไม่สามารถสร้างความเจริญและมั่นคงแก่ราชวงศ์ทิวดอร์ได้ จึงมีพระราชประสงค์อย่างมากที่จะได้รัชทายาทชายสืบทอดราชบัลลังก์ ทำให้ทรงอภิเษกสมรสหลายครั้งและต่อมาต้องดำเนินการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ ซึ่งนำให้อังกฤษกลายเป็นชาติโปรเตสแตนต์ ช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระองค์เป็นโรคอ้วนซึ่งทำให้พระพลานามัยย่ำแย่ มีพระรสนิยมผิดปกติ พระสาทิสลักษณ์ของพระองค์จึงมักแสดงออกถึงความมักมาก เห็นแก่ตัว โหดร้าย พระอารมณ์ไม่มั่นคง ภายหลังสวรรคต พระราชโอรส(ตามกฎหมาย)องค์เดียวของพระองค์ ได้สืบราชบัลลังก์ต่อเป็น พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ขณะมีพระชันษาเพียง 9 ปี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ข้าราชสำนักและพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

ข้าราชสำนักและพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษแอนน์ บุลิน พระราชินีแห่งอังกฤษ

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า "ราชินีพรหมจารี" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่พระราชวังกรีนิช เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ บุลิน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีและสมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์ พระมเหสีองค์ที่ 3 เมื่อเสด็จสวรรคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมอบราชบัลลังก์แก่เลดีเจน เกรย์ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาสองพระองค์ออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ในที่สุดเจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิก ในรัชสมัยของราชินีนาถแมรีเจ้าหญิงอลิซาเบธทรงถูกจำขังอยู่ปีหนึ่งในข้อสงสัยว่าทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการโปรเตสแตนต์ หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินีสมเด็จพระราชินีนาถแมรี เจ้าหญิงอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดยวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “ประมุขสูงสุด” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์” ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น “พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” และเกิดลัทธินิยมของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินีStarkey, 5.

ข้าราชสำนักและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ · พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

แอนน์ บุลิน พระราชินีแห่งอังกฤษ

แอนน์ บุลิน (Anne Boleyn) เป็นบุตรีของเซอร์ทอมัส บุลิน กับเลดีเอลิซาเบธ บุลิน และเป็นพระมเหสีพระองค์ที่ 2 ในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ และเป็นพระราชมารดาของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ (ต่อมาเสด็จขึ้นเถลิงราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ) พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งเรื่องราว พระราชอำนาจหลังพระราชบัลลังก์ฉายเด่นชัดจากสมเด็จพระราชินีพระองค์นี้ ข้าราชการแบ่งฝักฝ่ายเป็นสองพวกคือ "คนของพระราชา" และ "คนของพระราชินี" แม้จนเมื่อท้ายที่สุดแล้วสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 จะทรงมีชัยชนะเหนือพระมเหสี สามารถสำเร็จโทษพระนางได้ ด้วยการกล่าวหาว่าพระนางสมสู่กับน้องชายแท้ ๆ ของพระนางเอง แต่ความแตกร้าวก็ยังคงมีอยู่ไม่รู้จบ พระองค์ถูกกล่าวขานถึงว่า "ราชินีแห่งอังกฤษที่โดดเด่นและสำคัญที่สุดเท่าที่เคยมี".

ข้าราชสำนักและแอนน์ บุลิน พระราชินีแห่งอังกฤษ · พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษและแอนน์ บุลิน พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ข้าราชสำนักและพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

ข้าราชสำนัก มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ มี 40 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 4.26% = 2 / (7 + 40)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้าราชสำนักและพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »