ข้าบดินทร์และละครโทรทัศน์
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ข้าบดินทร์และละครโทรทัศน์
ข้าบดินทร์ vs. ละครโทรทัศน์
้าบดินทร์ เป็นนวนิยายไทยที่ประพันธ์โดย วรรณวรรธน์ มีเนื้อเรื่องอิงประวัติศาสตร์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกว่า "วิลาศ" เข้ามามีบทบาททางการค้ากับประเทศไทยเป็นอย่างมาก แกนหลักของเรื่องถูกถ่ายทอดผ่านเรื่องราวของ เหม บุตรชายแห่งพระยาบริรักษ์กับคุณหญิงชม เด็กหนุ่มที่งดงามทั้งรูปร่างหน้าตา กิริยา วาจาจนได้ชื่อว่า "พ่อเหมรูปทอง" เหมสนใจใฝ่รู้ในภาษาวิลาศและได้แอบไปเรียนกับครูแหม่มบ่อย ๆ เมื่อผู้เป็นพ่อทราบเข้าก็ไม่พอใจเนื่องด้วยไม่ไว้ใจในพวกวิลาศ เหมจึงถูกส่งไปเรียนกับพระครูโพที่วัด ซึ่งที่นั่นทำให้เหมได้เรียนรู้วิชาดาบอาทมาฏติดตัวมาอีกหนึ่งแขนง หลวงสรอรรถ เข้ามาเจรจากับพระยาบริรักษ์ เพื่อขอลดค่าระวางปากเรือให้กับเรือกับปิตันฝรั่ง แต่พระยาบริรักษ์ไม่ยอม อีกทั้งเหมกับบัว หญิงสาวที่หลวงสรอรรถชอบใจ ได้ต้องใจกันตามประสาหนุ่มสาว ทำให้หลวงสรอรรถร่วมมือกับพระยาปลัดสมุทรปราการ ผู้ที่ถูกหลวงสรอรรถกุมความลับว่ามีรสนิยมทางเพศวิปริต ชอบสังวาสกับเด็กหญิงแล้วฆ่าทิ้ง ร่วมมือกันวางแผนใส่ร้ายพระยาบริรักษ์ว่าฆ่า มิสเตอร์เจเมสัน ทำให้ชะตาชีวิตของเหมต้องพลิกผัน พระยาบริรักษ์ตัดสินใจยอมรับตวามผิดทั้งที่ไม่ได้ก่อ เพื่อปกป้องบ้านเมืองไม่ให้เกิดศึกสงคราม ทำให้ทั้งสามต้องโทษโดนริบราชบาตร และปลดยศถาบรรดาศักดิ์ไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้างในพระนคร ความตกต่ำของเหมทำให้บัวตัดความสัมพันธ์กับเหมอย่างไม่ใยดี ขณะที่ครอบครัวของบัวไม่กล้ายื่นมือเข้าช่วยเหลือ มีเพียงลำดวน ลูกสาวคนเล็กของขุนนาฏยโกศลซึ่งเป็นน้องสาวของบัว ที่รักและสนิทสนมกับเหมตั้งแต่เด็กจนเป็นสาวรุ่นเท่านั้น ที่ยังให้ความเห็นอกเห็นใจเหม อีกทั้งในวันที่เหมและคุณหญิงชม ผู้เป็นแม่ ถูกแห่ประจานจนกระหายน้ำ ลำดวนก็ได้ซื้อแตงกวาให้คุณหญิงชมทานเพื่อดับกระหาย ทำให้เหมทราบซึ้งในน้ำใจน้องน้อยเป็นอย่างมาก หลังจากที่กลายเป็นตะพุ่นช้าง เหมก็ได้เรียนรู้ศาสตร์แห่งคชสารจากขุนศรีไชยทิตยจนได้เป็นหมอควาญช้าง หรือ "เสดียง" ซึ่งโชคชะตาก็ทำให้เขาได้กลับมาพบกับ "ลำดวน" ซึ่งบัดนี้โตเป็นสาวเต็มตัวและได้นางเอกละครรำแห่งอัมพวาอีกครั้ง ด้วยความประทับใจในความดีงามของลำดวน ได้หล่อหลอมความกับความผูกพันจึงบังเกิดเป็นความรัก แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคนานัปการ ทั้งจากหมื่นวิชิตหนุ่มเจ้าเล่ห์ผู้หมายปองในตัวลำดวน และด้วยฐานะที่แตกต่างของทั้งคู่ เหมจึงพยายามทำทุกอย่างเพื่อไต่เต้าจากตะพุ่นช้างเป็นนายทหารผู้กล้าจนได้เป็นถึง "หลวงสุรบดินทร์" เพื่อพิสูจน์ว่าตนคู่ควรกับหญิงอันเป็นที่รัก ทั้งยังใช้ความรู้ความสามารถ รับราชการสนองพระเดชพระคุณแผ่นดินตามคำสอนสุดท้ายของผู้เป็นพ่อ ที่ว่า "ถึงเจ้าจะเกิดเป็นเศษเสี้ยวธุลีของแผ่นดิน เจ้าจงรู้ว่า แผ่นดินให้อะไรกับเจ้า และตัวเจ้าเองมีความหมายต่อแผ่นดินเพียงใด จงทำตัวเป็นเศษธุลีที่มีค่าของแผ่นดิน เป็นข้าแห่งบดินทร์ อันร้อยรวมศรัทธา ความกล้าหาญ ความรัก ความภักดี ไว้ในดวงใจเดียวกัน" ข้าบดินทร์ ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์โดยค่ายทีวีซีน ของ ณัฏฐนันท์ ฉวีวงษ์ ออกแบบเครื่องแต่งกายโดย กิจจา ลาโพธิ์ ออกแบบการต่อสู้โดย ธนาวุฒิ เกสโร ลำดับภาพ วิโรจน์ ภุมวิภาชน์ ลงเสียงประกอบ ปั้น-ปั้น กำกับการแสดงโดย อรรถพร ธีมากร ออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นำแสดงโดย เจมส์ มาร์ ภีรนีย์ คงไทย และ มณีรัตน์ ศรีจรูญ ออกอากาศวันแรก 30 พฤษภาคม 2558. ละครโทรทัศน์ คือรายการทางโทรทัศน์ที่มีบทละครและเรื่องราว ไม่รวมถึงรายการจำพวก กีฬา ข่าว เรียลลิตี้โชว์ เกมโชว์ สแตนอัพคอเมดี้ และวาไรตี้โชว์ โดยละครโทรทัศน์โดยมากจะมีหลายตอน เน้นความบันเทิงเป็นหลัก เพื่อการรับชมภายในเคหสถาน นักแสดงที่แสดงในละครโทรทัศน์จะใช้หลายมุมกล้อง บางครั้งนักแสดงจะไม่ทราบว่าเมื่อไรกล้องจะจับภาพ ทางด้านบทละครโทรทัศน์ ต้องมีความละเอียดทุกขั้นตอนกว่าละครเวที เพราะบทโทรทัศน์เป็นตัวกำหนดมุมกล้อง กำหนดฉาก การแต่งกายของผู้แสดง ดนตรี เสียงประกอบ และบางเรื่องยังมีคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาเพื่อความสมจริงอีกด้ว.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ข้าบดินทร์และละครโทรทัศน์
ข้าบดินทร์และละครโทรทัศน์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ข้าบดินทร์และละครโทรทัศน์ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ข้าบดินทร์และละครโทรทัศน์
การเปรียบเทียบระหว่าง ข้าบดินทร์และละครโทรทัศน์
ข้าบดินทร์ มี 67 ความสัมพันธ์ขณะที่ ละครโทรทัศน์ มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (67 + 10)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้าบดินทร์และละครโทรทัศน์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: