โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ข้อศอกและโคโรนอยด์ โพรเซส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ข้อศอกและโคโรนอยด์ โพรเซส

ข้อศอก vs. โคโรนอยด์ โพรเซส

้อศอก (Elbow joint) เป็นข้อต่อที่เกิดจากการติดต่อกันระหว่างกระดูกสามชิ้น คือ กระดูกต้นแขน (humerus) กระดูกอัลนา (Ulna) และกระดูกเรเดียส (Radius) และเป็นข้อต่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของปลายแขน (forearm) โดยเฉพาะการงอ-เหยียด และการพลิกปลายแขน ข้อศอกยังเป็นข้อต่อที่มีเอ็นรอบข้อต่อและกล้ามเนื้อต่างๆมาช่วยในการค้ำจุนระหว่างการเคลื่อนไหว รวมทั้งมีแขนงของหลอดเลือดและเส้นประสาทในบริเวณใกล้เคียงมาเลี้ยงอีกด้ว. รนอยด์ โพรเซส (Coronoid process; ละติน: processus coronoideus) เป็นสันนูนรูปสามเหลี่ยมชี้ไปทางด้านหน้า อยู่บริเวณด้านบนและด้านหน้าของกระดูกอัลนา ฐานของโคโรนอยด์ โพรเซสต่อเนื่องกับส่วนกลางของกระดูกอัลนาและมีความแข็งแรงมาก ยอดมีลักษณะแหลมค่อนข้างโค้งไปทางด้านบน และเมื่ออยู่ในท่างอปลายแขน ส่วนของโคโรนอยด์ โพรเซสนี้จะรับกับแอ่งโคโรนอยด์ (coronoid fossa) ของกระดูกต้นแขน พื้นผิวด้านบนของโคโรนอยด์ โพรเซสมีลักษณะเรียบ เว้า และสร้างเป็นส่วนล่างของรอยเว้าเซมิลูนาร์ (semilunar notch) พื้นผิวด้านหน้าและด้านล่างมีลักษณะเว้า และมีรอยประทับขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อเบรเคียลิส (brachialis) ที่รอยต่อของพื้นผิวด้านนี้และส่วนหน้าของตัวกระดูกอัลนาเป็นส่วนยื่นขรุขระ เรียกว่า ปุ่มนูนอัลนา (tuberosity of the ulna) ซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของส่วนของกล้ามเนื้อเบรเคียลิส และมีออบลีก คอร์ด (oblique cord) มายึดเกาะที่ขอบด้านข้างของปุ่มนูนอัลนา พื้นผิวด้านข้างมีลักษณะคอด รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นรอยเว้าซึ่งเป็นข้อต่อกับกระดูกอื่น เรียกว่า รอยเว้าเรเดียส (radial notch) พื้นผิวด้านใกล้กลางเป็นขอบอิสระซึ่งให้เป็นจุดเกาะของส่วนของเอ็นอัลนาคอลแลทเทอรัล (ulnar collateral ligament) ส่วนหน้าของพื้นผิวด้านนี้เป็นส่วนยื่นรูปกลมขนาดเล็กซึ่งเป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะหนึ่งของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (Flexor digitorum sublimis) ด้านหลังของส่วนยื่นเป็นรอยเว้าสำหรับส่วนของจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส (flexor digitorum profundus) ส่วนล่างของส่วนยื่นนี้เป็นสันซึ่งให้เป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะหนึ่งของกล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส (pronator teres) บ่อยครั้งที่จะพบใยกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (flexor pollicis longus) เกาะกับส่วนล่างของโคโรนอยด์ โพรเซ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ข้อศอกและโคโรนอยด์ โพรเซส

ข้อศอกและโคโรนอยด์ โพรเซส มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กระดูกอัลนากระดูกต้นแขนรอยเว้าเรเดียสรอยเว้าเซมิลูนาร์แอ่งโคโรนอยด์

กระดูกอัลนา

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกอัลนา (Ulna) หรือ กระดูกปลายแขนด้านนิ้วก้อย เป็นหนึ่งในสองกระดูกที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขนซึ่งเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อที่สำคัญของรยางค์บน คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) และขนานไปกับกระดูกเรเดียส และเชื่อมกันโดยเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เช่นเดียวกับกระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาเป็นจุดเกาะที่สำคัญของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมือ.

กระดูกอัลนาและข้อศอก · กระดูกอัลนาและโคโรนอยด์ โพรเซส · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกต้นแขน

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกต้นแขน (Humerus) เป็นกระดูกแบบยาวที่เป็นแกนของส่วนต้นแขน (Arm) หรือต้นขาหน้าในสัตว์สี่เท้า กระดูกต้นแขนจะอยู่ระหว่างกระดูกสะบัก (scapula) ที่อยู่ในบริเวณไหล่ กับกระดูกของส่วนปลายแขน (forearm) คือกระดูกเรเดียส (Radius) และกระดูกอัลนา (Ulna) พื้นผิวด้านต่างๆของกระดูกต้นแขนยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อจากบริเวณต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนอีกด้ว.

กระดูกต้นแขนและข้อศอก · กระดูกต้นแขนและโคโรนอยด์ โพรเซส · ดูเพิ่มเติม »

รอยเว้าเรเดียส

รอยเว้าเรเดียส (radial notch, lesser sigmoid cavity; ละติน: incisura radialis) เป็นรอยเว้าแคบๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่อยู่ทางด้านข้างของโคโรนอยด์ โพรเซส (coronoid process) ซึ่งจะรับกับส่วนต้นของกระดูกเรเดียสเพื่อประกอบเป็นข้อต่อเรดิโออัลนาส่วนต้น (Proximal radioulnar joint) ซึ่งเกี่ยวข้องการการพลิกและการหมุนของปลายแขน รอยเว้านี้มีลักษณะเว้าจากด้านหน้าไปด้านหลัง และมีส่วนยื่นซึ่งให้เป็นจุดเกาะของเอ็นแอนนูลาร์ (annular ligament).

ข้อศอกและรอยเว้าเรเดียส · รอยเว้าเรเดียสและโคโรนอยด์ โพรเซส · ดูเพิ่มเติม »

รอยเว้าเซมิลูนาร์

รอยเว้าเซมิลูนาร์ หรือ รอยเว้าโทรเคลียร์ (Semilunar notch, Trochlear notch, Greater sigmoid cavity; ละติน: incisura semilunaris) เป็นรอยเว้าขนาดใหญ่บนกระดูกอัลนา เกิดจากโอเลครานอน โพรเซส (olecranon) และโคโรนอยด์ โพรเซส (coronoid process) และทำหน้าที่เป็นบริเวณรองรับกับโทรเคลียร์ (trochlea) ของปลายกระดูกต้นแขน ประมาณตรงกลางของรอยเว้านี้เป็นรอยขรุขระแบบฟันเลื่อยซึ่งเป็นบริเวณรอยต่อของโอเลครานอนและโคโรนอยด์ โพรเซส รอยเว้านี้เว้าในแนวบนลงล่าง และแบ่งออกเป็นส่วนใกล้กลางและส่วนด้านข้างโดยสันตื้นซึ่งวิ่งจากยอดของโอเลครานอนไปยังยอดของโคโรนอยด์ โพรเซส โดยส่วนใกล้กลางจะมีขนาดใหญ่กว่าและค่อนข้างเว้าในแนวขวาง และส่วนด้านข้างจะนูนในด้านบนและค่อนข้างเว้าในด้านล่าง.

ข้อศอกและรอยเว้าเซมิลูนาร์ · รอยเว้าเซมิลูนาร์และโคโรนอยด์ โพรเซส · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งโคโรนอยด์

แอ่งโคโรนอยด์ (Coronoid fossa) เป็นแอ่งขนาดเล็กบนด้านหน้าของกระดูกต้นแขน อยู่เหนือด้านหน้าของโทรเคลียร์ (trochlea) ซึ่งเป็นเบ้ารับกับโคโรนอยด์ โพรเซส (coronoid process) ของกระดูกอัลนา (ulna) เมื่ออยู่ในท่างอปลายแขน.

ข้อศอกและแอ่งโคโรนอยด์ · แอ่งโคโรนอยด์และโคโรนอยด์ โพรเซส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ข้อศอกและโคโรนอยด์ โพรเซส

ข้อศอก มี 31 ความสัมพันธ์ขณะที่ โคโรนอยด์ โพรเซส มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 10.87% = 5 / (31 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อศอกและโคโรนอยด์ โพรเซส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »