ขบวนการอุทยานนครและสีเขียว
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ขบวนการอุทยานนครและสีเขียว
ขบวนการอุทยานนคร vs. สีเขียว
แผนภูมิ 3 แม่เหล็กของเอเบเนสเซอร์ เฮาเวิร์ดที่แสดงการตอบคำถามที่ว่า "คนจะไปอยู่ที่ใหน?" ทางเลือกคือ เมือง, ชนบท, หรือ เมือง-ชนบท ขบวนการอุทยานนคร (garden city movement) เป็นแนวคิดทางด้านการวางผังชุมชนเมือง ที่คิดขึ้นในสหราชอาณาจักรเมื่อ พ.ศ. 2441 โดย เอเบเนเซอร์ เฮาเวิร์ด อุทยานนครคือเมืองที่วางแผนให้เป็นชุมชนสมบูรณ์ในตัวที่ล้อมรอบไปด้วย “แถบสีเขียว” และจัดให้มีบริเวณต่างๆ ที่วางไว้อย่างรอบคอบ ได้แก่บริเวณที่พักอาศัย บริเวณอุตสาหกรรมพื้นที่เกษตรกรรม เฮาเวิร์ดได้รับแรงดลใจจากนวนิยาย “สังคมในจินตนาการ” หรือสังคมแบบยูโทเปียเรื่อง “มองย้อนหลัง” (en:Looking Backward) เฮาเวิร์ดได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ “วันพรุ่งนี้: วิถีทางสันติสู่การปฏิรูปที่แท้จริง” (To-morrow: a Peaceful Path to Reform) เมื่อ พ.ศ. 2441 และได้ก่อตั้ง “สมาคมอุทยานนคร” (Garden City Association) ในปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2445 เฮาเวิร์ด ได้ตีพิมพ์ใหม่หนังสือเล่มนี้ใหม่อีกครั้ง โดยเปลี่ยนชื่อเป็น “อุทยานนครในวันพรุ่งนี้” (Garden Cities of Tomorrow) เฮาเวิร์ดได้วางรากฐานเมืองใหม่ในอังกฤษไว้ 2 เมืองคือ อุทยานนครเลทช์เวิร์ท (en:Letchworth Garden City) ในปี พ.ศ. 2446 และอุทยานนครเวลวีน (en:Welwyn Garden City) ในปี พ.ศ. 2463 การวางผังออกแบบทั้งสองเมืองนี้นับว่าประสบความสำเร็จได้ยาวนานและเป็นชุมชนที่สมบูรณ์แม้จะไม่บรรลุอุดมคติทั้งหมดของเฮาเวิร์ดก็ตาม ผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมอุทยานนครต่อจากเฮาเวิร์ดคือ เซอร์ เฟรเดอริก ออสบอร์น (en:Frederic Osborn) ผู้ต่อยอดขบวนการอุทยานนครมาเป็น “การวางแผนภาค” แนวคิดอุทยานนครมีอิทธิพลสูงมากต่อการผังเมืองในสหรัฐอเมริกา (ดังปรากฏในผังของชุมชนเมืองต่างๆ เช่นเมืองนิวพอร์ทนิวส์ ในเวอร์จิเนีย หมู่บ้านฮิลตัน หมู่บ้านแชทแทมในพิทส์เบิร์ก ซันนีไซต์ในควีนส์ แรดเบิร์นในนิวเจอร์ซีย์ แจกสันไฮท์ในควีนส์ หมู่บ้านวูดเบิร์นในบอสตัน การ์เดนซิตีในนิวยอร์ก และหมู่บ้านบอลด์วินฮิลล์ในลอสแอนเจลิส) ในแคนาดา (คาปูสกาซิง และวอล์กเกอร์วิลล์ในออนทาริโอ) เมืองอุทยานนครแรกของเยอรมันคือเฮลเลรู ในชานเมืองเดรสเดน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2452 แนวคิดอุทยานนครได้รับการทำเป็นแผนสำหรับโครงการเคหะของเยอรมันในยุคไวมาร์ และในอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 “.ร..เมืองใหม่” ได้จุดประกายให้การพัฒนาชุมชนใหม่อีกหลายแห่งเป็นไปตามวิสัยทัศน์แห่งความเท่าเทียมในสังคมของอิเบเนเซอร์ เฮาเวิร์ด ขบวนการอุทยานนครยังมีอิทธิพลต่อนักผังเมืองชางสก็อตชื่อ เซอร์ แพททริก เก็ดดิส (Sir Patric Geddes) ในงานวางผังเมืองเทล-อาวิฟในอิสราเอลของเขา แนวคิดการวางผังเมือง “วิทยาการปรับปรุงเมืองแบบใหม่” (en:New Urbanism) ก็ดี หรือ “หลักการปรับปรุงเมืองแบบอัจริยะ” (en:Principles of Intelligent Urbanism) ก็ดี ล้วนมีพื้นฐานแนวคิดเดิมจากขบวนการอุทยานนคร ปัจจุบันมีอุทยานนครจำนวนมากในโลก แต่เกือบทั้งหมดมีสถานะอยู่ได้เพียงการเป็น “หอพักชานเมือง” (en:dormitory town) ซึ่งล้วนต่างจากแนวคิดที่เฮาเวิร์ดวาดฝันไว้. ีเขียว เป็นสีสีหนึ่งบนคลื่นที่ตามองเห็น ตั้งอยู่ระหว่างสีน้ำเงินและสีเหลือง สีเขียวเกิดจากแสงที่ความยาวคลื่นประมาณ 495-570 นาโนเมตร สีเขียวในแม่สีเชิงลบที่ใช้สำหรับระบายสีและพิมพ์สีเกิดจากสีเหลืองผสมกับสีน้ำเงิน หรือสีเหลืองผสมกับสีน้ำเงินอมเขียว ในระบบสี RGB ที่พบในโทรทัศน์และจอคอมพิวเตอร์ เป็นสีที่มาจากแม่สีเชิงบวก ร่วมกับสีแดงและสีน้ำเงิน ซึ่งต่างก็ผสมกันจนกลายเป็นสีอื่น ๆ ได้ ในภาษาอังกฤษใหม่ คำว่า green (สีเขียว) มาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า grene จากรากศัพท์ภาษาเยอรมันเดียวกันกับคำว่าคำว่า "grass" และ "grow" สีเขียวเป็นสีของการปลูกหญ้าและใบไม้ ด้วยเหตุนี้สีเขียวจึงเป็นสีของฤดูใบไม้ผลิ ความเจริญเติบโต และธรรมชาติEva Heller, Psychologie de la couleur- effets et symboliques.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ขบวนการอุทยานนครและสีเขียว
ขบวนการอุทยานนครและสีเขียว มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ขบวนการอุทยานนครและสีเขียว มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ขบวนการอุทยานนครและสีเขียว
การเปรียบเทียบระหว่าง ขบวนการอุทยานนครและสีเขียว
ขบวนการอุทยานนคร มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ สีเขียว มี 65 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (22 + 65)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ขบวนการอุทยานนครและสีเขียว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: