โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ก่าเมาและจังหวัดของประเทศเวียดนาม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ก่าเมาและจังหวัดของประเทศเวียดนาม

ก่าเมา vs. จังหวัดของประเทศเวียดนาม

ก่าเมา เป็นเมืองทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม และเป็นเมืองหลักของจังหวัดก่าเมา ในภูมิภาคดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงซึ่งเป็นภูมิภาคใต้สุดของประเทศ เป็นบ้านเกิดของนายกรัฐมนตรีเวียดนาม Nguyen Tan Dung ตัวเมืองนี้มีคลองหลายสาย จึงมีการขนส่งทางน้ำเป็นหลัก ประชากรมีประมาณ 204,895 คน (ค.ศ. 2010)Nghị quyết số 24/NQ-CP ngày 04 tháng 6 năm 2009 của Chính phủ Việt Nam. x250px ประเทศเวียดนาม แบ่งเขตการปกครองระดับบนสุดออกเป็น 58 จังหวัด (tỉnh) และ 5 เทศบาลนคร ซึ่งเทศบาลนครอยู่ในระดับเดียวกับจังหวัด (thành phố trực thuộc trung ương) จังหวัดต่าง ๆ จะแบ่งออกเป็นอำเภอ (huyện) นครประจำจังหวัด (thành phố trực thuộc tỉnh) และเมืองระดับอำเภอ (thị xã) ซึ่งจะแบ่งออกเป็นเมืองระดับตำบล (thị trấn) หรือตำบล (xã) ส่วนเทศบาลนครจะแบ่งออกเป็นเขต (quận) และอำเภอ โดยแต่ละเขตจะแบ่งออกเป็นแขวง (phường) แต่ละอำเภอจะแบ่งออกเป็นเมืองระดับตำบลหรือตำบล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ก่าเมาและจังหวัดของประเทศเวียดนาม

ก่าเมาและจังหวัดของประเทศเวียดนาม มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): จังหวัดก่าเมาดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงประเทศเวียดนามนครโฮจิมินห์

จังหวัดก่าเมา

ก่าเมา (Cà Mau) เป็นจังหวัดของประเทศเวียดนาม เมืองหลักของจังหวัดคือก่าเมา ตั้งอยู่ในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางภาคใต้ของประเทศเวียดนาม เป็นจังหวัดใต้สุด ตอนใต้เป็นแหลมชื่อว่าแหลมก่าเมา กั้นระหว่างอ่าวไทยกับทะเลจีนใต้ นายกรัฐมนตรีเหงียน เติ๊น สุง เกิดและเติบโตที่จังหวัดนี้ สามารถเดินทางโดยรถยนต์จากนครโฮจิมินห์โดยถนนระยะทาง 360 กิโลเมตร ผ่านทางหลวงแห่งชาติ 1 เอ หรือทางอากาศ (สนามบินก่าเมา) พื้นที่ของจังหวัดก่าเมาในปัจจุบันเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฟูนันซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมประเทศลาว ประเทศกัมพูชา รวมไปถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและภาคใต้ของประเทศเวียดนามด้ว.

ก่าเมาและจังหวัดก่าเมา · จังหวัดก่าเมาและจังหวัดของประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง

แผนที่แสดงตำแหน่งของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ถือเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ตรงบริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม โดยเป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากที่ราบสูงทิเบตแล้วไหลมาทางทิศใต้ผ่าน 7 ประเทศ ไหลออกสู่ทะเลจีนใต้ที่บริเวณนี้ โดยบริเวณที่เกิดการสะสมตัวของตะกอนในลักษณะของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำนั้นพบว่าแม่น้ำโขงมีการแตกออกเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา ปัจจุบันพบว่าดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมีความกว้างของดินดอนสามเหลี่ยมใหญ่ที่สุดที่หนึ่งของโลกและกินพื้นที่ 39,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นสัดส่วนโดยมากของพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม พื้นที่ของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงส่วนที่ถูกปกคลุมด้วยน้ำนั้นขึ้นกับแต่ละฤดู เพราะปริมาณน้ำไม่เท่ากัน จากการศึกษาพบว่าบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนั้นมีการพัดพาของน้ำมาประมาณ 470 ลูกบากศ์กิโลเมตรต่อปี ซึ่งน้ำที่ไหลมาในบริเวณนี้ได้พัดพาตะกอนมาตกสะสมประมาณ 790,000-810,000 ตารางกิโลเมตรต่อปี นอกจากนี้พบว่าเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่ผ่านมา มีการพอกของตะกอนในบริเวณนี้ในลักษณะการพอกคืบเข้าไปในทะเลคิดเป็น 200 กิโลเมตร รอบชายแดนของประเทศกัมพูชาและชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม โดยในปัจจุบันพบว่าลักษณะปรากฏของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนั้น มีรูปร่างคล้ายรูปสามเหลี่ยมที่กินเนื้อที่เป็นบริเวณกว้าง ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงได้มีการศึกษาเรื่องการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตบริเวณนี้ โดยพบว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งรวมสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่กว่า 10,000 สายพันธุ์ ซึ่งทำให้บริเวฯดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนี้นอกจากจะมีความน่าสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางธรณีวิทยาแล้วยังมีความน่าสนใจเป็นอย่างมากในการศึกษาเกี่ยวกับระบบชีววิทยาของพื้นที่ จากการสะสมตัวของตะกอนพบว่าตะกอนที่สะสมตัวในหุบเขาซึ่งทับอยู่บนชั้นตะกอนที่มีอายุสมัยไพลสโตซีน นั้นเกิดการสะสมตัวในช่วงที่มีเกิดเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลอย่างรวดเร็วครั้งล่าสุด ซึ่งพบว่าแม่น้ำโขงในช่วงยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุดหรือเมื่อประมาณ 18,000 ปีมาแล้วนั้น ตำแหน่งของทางน้ำอยู่ทางตะวันออกของบริเวณที่เป็นหุบเขาทำให้บริเวณหุบเขามีลักษณะเป็นปากแม่น้ำ ขณะที่น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจึงเกิดการสะสมตัวของตะกอนที่เป็นตะกอนปากแม่น้ำ เมื่อน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นปากแม่น้ำจึงย้ายเข้าไปในแผ่นดินมากขึ้นทำให้บริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากกระบวนการทางทะเลมากขึ้น จึงเกิดการสะสมตัวของที่ราบที่ได้รับผลจากน้ำขึ้น-น้ำลง หลังจากนั้นพบว่าเกิดการสะสมตัวของตะกอนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดและกำลังเริ่มลดลงเรื่อยๆ ทำให้พบลักษณะการเพิ่มขึ้นของขนาดเม็ดตะกอนเมื่อใกล้พื้นผิวมากขึ้น โดยเราสามารถแบ่งดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงออกเป็น 2 บริเวณตามอิทธิพลหลักที่มีผลต่อการสะสมตัวของตะกอนในแต่ละบริเวณ คือ.

ก่าเมาและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง · จังหวัดของประเทศเวียดนามและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ก่าเมาและประเทศเวียดนาม · จังหวัดของประเทศเวียดนามและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

นครโฮจิมินห์

นครโฮจิมินห์ (Thành phố Hồ Chí Minh, ถั่ญโฟ้โห่จี๊มิญ) หรือชื่อเดิม ไซ่ง่อน (Sài Gòn ส่ายก่อน) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศเวียดนาม ตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง นครโฮจิมินห์เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเวียดนาม จากประชากรร้อยละ 7.5 ของประเทศ แต่มีจีดีพีถึงร้อยละ 20.2 และการลงทุนจากต่างประเทศมากถึงร้อยละ 34.9 ของทั้งประเท.

ก่าเมาและนครโฮจิมินห์ · จังหวัดของประเทศเวียดนามและนครโฮจิมินห์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ก่าเมาและจังหวัดของประเทศเวียดนาม

ก่าเมา มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ จังหวัดของประเทศเวียดนาม มี 112 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 3.28% = 4 / (10 + 112)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ก่าเมาและจังหวัดของประเทศเวียดนาม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »