โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กุ้งมังกรญี่ปุ่นและสัตว์ขาปล้อง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กุ้งมังกรญี่ปุ่นและสัตว์ขาปล้อง

กุ้งมังกรญี่ปุ่น vs. สัตว์ขาปล้อง

กุ้งมังกรญี่ปุ่น (Japanese spiny lobster; イセエビ(伊勢蝦/伊勢海老); อิเสะ-อิบิ) เป็นครัสเตเชียนชนิดหนึ่ง จำพวกกุ้งมังกร (Palinuridae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panulirus japonicus เป็นกุ้งมังกรที่มีเปลือกและส่วนหัวเป็นสีส้มเข้มหรือสีแดง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้มากกว่า 30 เซนติเมตร หรือหนึ่งฟุต อาศัยอยู่ตามโขดหินในทะเลรอบ ๆ ญี่ปุ่น, จีน, เกาหลี และไต้หวัน เป็นกุ้งที่ออกหากินในเวลากลางคืน ที่ญี่ปุ่น สถานที่ ๆ ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีกุ้งมังกรญี่ปุ่นชุกชุมและขึ้นชื่อมากที่สุด คือ อ่าววะกุ ในเขตเมืองชิมะ จังหวัดมิเอะ ทางตอนใต้ของประเทศ โดยชาวประมงจะวางลอบดักกุ้งในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นช่วงที่กุ้งออกหากิน และกลับมาดึงอวนในเวลาเช้าตรู่ ในการวางอวนแต่ละครั้งจะวางประมาณ 10 จุด ในแต่ละจุดจะมีกุ้งมังกรญี่ปุ่นติดมาประมาณ 100 ตัว กุ้งมังกรญี่ปุ่นซาชิมิ กุ้งมังกรญี่ปุ่น จัดเป็นอาหารทะเลที่รสชาติอร่อย เนื้อขาวมีรสหวาน และมีราคาซื้อขายที่แพงมาก สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ ได้มากมาย โดยการรับประทานในแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม คือ การรับประทานสด ๆ แบบซาชิมิ โดยตัดส่วนหัวของกุ้งแยกออกจากลำตัว เมื่อรับประทานเนื้อสด ๆ ต้องรับประทานร่วมกับมันกุ้งที่แคะออกจากส่วนหัวด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติ และการใช้ไม้แหลมเสียบทะลุตัวกุ้งจากส่วนท้าย แล้วนำไปย่างสด ๆ โรยเกลือทั้งที่กุ้งยังเป็น ๆ อยู่ เพื่อรับประทานเป็นกุ้งมังกรญี่ปุ่นโรยเกลือ. ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กุ้งมังกรญี่ปุ่นและสัตว์ขาปล้อง

กุ้งมังกรญี่ปุ่นและสัตว์ขาปล้อง มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สัตว์สัตว์พวกกุ้งกั้งปู

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

กุ้งมังกรญี่ปุ่นและสัตว์ · สัตว์และสัตว์ขาปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์พวกกุ้งกั้งปู

รัสเตเชียน หรือ กุ้ง-กั้ง-ปู เป็นไฟลัมย่อยของสัตว์ขาปล้อง ประกอบด้วยพวกกุ้ง กั้ง และปู สัตว์ในกลุ่มนี้มีระยางค์ 5 คู่ แต่ละคู่มี 2 ก้าน ส่วนท้ายมีระยางค์อีก 8 คู่ ตาประกอบเป็นก้าน มีขนแข็งทั่วตัวใช้รับสัมผัส ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ปฏิสนธิภายใน ตัวอ่อนลอกคราบหลายครั้งจนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัย แบ่งย่อยเป็น.

กุ้งมังกรญี่ปุ่นและสัตว์พวกกุ้งกั้งปู · สัตว์ขาปล้องและสัตว์พวกกุ้งกั้งปู · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กุ้งมังกรญี่ปุ่นและสัตว์ขาปล้อง

กุ้งมังกรญี่ปุ่น มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ สัตว์ขาปล้อง มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 4.65% = 2 / (13 + 30)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กุ้งมังกรญี่ปุ่นและสัตว์ขาปล้อง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »