โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กุยห้วยและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กุยห้วยและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

กุยห้วย vs. รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

กุยห้วย (Guo Huai) หรือ กวยหวย (ชื่อในสามก๊กฉบับพระยาคลัง) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก. ลในยุคสามก๊ก แสดงรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก รายชื่อนี้แสดงชื่อไทย อังกฤษ และจีน ของแต่ละคน บุคคลเหล่านี้นำไปสู่วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก เนื่องจากสามก๊กภาษาไทย อ่านชื่อคนด้วยสำเนียงฮกเกี้ยน แต่ภาษาอังกฤษอ่านแบบภาษาจีนกลาง การออกเสียงจึงไม่เหมือนกัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กุยห้วยและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

กุยห้วยและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก มี 38 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บิฮุยกวนอูม้าเจ๊กยุคสามก๊กวรรณกรรมวุยก๊กสามก๊กสุมาสูสุมาอี้หวดเจ้งอองเป๋งอุยเอี๋ยนฮองตงจักรพรรดิเว่ยหมิงจูกัดเหลียงจูล่งง่อก๊กตันซิ่วตันเซ็กต้านท่ายประวัติศาสตร์ประเทศจีนแฮหัวป๋าแฮหัวเอี๋ยนแฮหัวเทียนโกเสียงโจฮองโจผีโจจิ๋นโจซอง...โจโฉเกียงอุยเลียวฮัวเล่าปี่เตียวล่อเตียวคับเตงจี๋เตงงาย ขยายดัชนี (8 มากกว่า) »

บิฮุย

(Fei Yi) เป็นเสนาบดีคนสำคัญแห่งจ๊กก๊ก มีชื่อรองว่าเหวินเหว่ย เป็นชาวตำบลหมิ่น เมืองกังแฮ มณฑลหูเป่ย เป็นคนซื่อสัตย์ มัธยัสถ์ ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ไม่กอบโกย มีสติปัญญาดีสามารถทำงานที่ขงเบ้งมอบหมายให้อย่างไม่มีที่ติ บิฮุยเคยเป็นทูตไปยังง่อก๊กหลายหน เมื่อขงเบ้งเสียเกเต๋งให้สุมาอี้ ขงเบ้งได้ทูลขอลดตำแหน่งจากพระเจ้าเล่าเสี้ยน พระเจ้าเล่าเสี้ยนไม่เห็นด้วย บิฮุยเป็นคนทูลให้พระองค์ทำตามคำขอของขงเบ้งเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ครั้นต่อมาขงเบ้งรบชนะ บิฮุยเป็นผู้นำรับสั่งของพระเจ้าเล่าเสี้ยนไปเลื่อนตำแหน่งให้ขงเบ้งถึงสนามรบ ในสายตาขงเบ้งเห็นว่าเขาเป็นคนมีสติปัญญายอดเยี่ยมสามารถบริหารประเทศชาติได้ เพียงรองจากเจียวอ้วนเท่านั้น ก่อนตาย ขงเบ้งได้สั่งเสียให้ตั้งบิฮุยเป็นสมุหนายกต่อจากเจียวอ้วน แต่ต่อมาบิฮุยถูกกวอเป่น ขุนนางวุยก๊กที่มาสวามิภักดิ์แทงต.

กุยห้วยและบิฮุย · บิฮุยและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

กวนอูและกุยห้วย · กวนอูและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ม้าเจ๊ก

ม้าเจ๊ก (Ma Su;; ค.ศ. 190 — ค.ศ. 228) เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาหรือกุนซือและแม่ทัพคนหนึ่งของจ๊กก๊ก.

กุยห้วยและม้าเจ๊ก · ม้าเจ๊กและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

กุยห้วยและยุคสามก๊ก · ยุคสามก๊กและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

กุยห้วยและวรรณกรรม · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

วุยก๊ก

วุยก๊ก หรือ เฉาเวย (พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

กุยห้วยและวุยก๊ก · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและวุยก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

กุยห้วยและสามก๊ก · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สุมาสู

มเด็จพระจักรพรรดิจิ่งตี้ สุมาสู(ซือหม่าซือ)เป็นตัวละครหนึ่งในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก.

กุยห้วยและสุมาสู · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสุมาสู · ดูเพิ่มเติม »

สุมาอี้

มาอี้ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ซือหม่าอี้ ตามสำเนียงกลาง (司马懿; Sima Yi; ค.ศ. 179-251) นายทหารคนสำคัญของวุยก๊ก หลังยุคที่โจโฉสิ้นไปแล้ว เป็นคู่ปรับที่สำคัญของขงเบ้ง และเป็นผู้ที่วางรากฐานให้กับทายาทผู้สืบทอดตระกูลจนได้รวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นพระจักรพรรดิ์องค์ใหม่ และก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์จิ้น อันเป็นการสิ้นสุดยุคสามก๊กที่ดำเนินมานานถึง 111 ปี สามชั่วอายุคน.

กุยห้วยและสุมาอี้ · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสุมาอี้ · ดูเพิ่มเติม »

หวดเจ้ง

หวดเจ้ง (Fa Zheng) เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของเล่าปี่ มีชื่อรองว่าเสี่ยวจื่อ เป็นบุตรของหวดเจิง(ฝ่าเจิง) ปราชญ์แห่งเสฉวน เป็นเพื่อนสนิทของเตียวสงและเบ้งตัด เป็นคนซื่อสัตย์กตัญญู มีความรู้ทางพิชัยสงคราม มีวาทศิลป์เป็นเลิศ เดิมเป็นที่ปรึกษาของเล่าเจี้ยง ต่อมา ได้ร่วมคิดกับเตียวสงและเบ้งตัดในการช่วยเล่าปี่ยึดครองเสฉวน ทำให้เล่าปี่ได้เป็นใหญ่ในภาคตะวันตก เมื่อเล่าปี่ยกทัพไปทางตะวันออกเพื่อยึดฮันต๋ง หวดเจ้งได้เป็นที่ปรึกษาของฮองตงในการตีเขาเตงกุนสันที่มีแฮหัวเอี๋ยนรักษาอยู่ ทำให้ยึดเขาเตงกุนสันและสังหารแฮหัวเอี๋ยนได้ เมื่อเล่าปี่ได้ครอบครองฮันต๋ง หวดเจ้งเป็นผู้หนึ่งที่สนับสนุนให้เล่าปี่ตั้งตนเป็นฮันต๋งอ๋อง เมื่อเล่าปี่ได้เป็นฮันต๋งอ๋องก็ตั้งหวดเจ้งเป็นราชครู ต่อมา หวดเจ้งเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 45 ปี หวดเจ้งเป็นคนที่เล่าปี่ไว้วางใจมาก เมื่อพระเจ้าเล่าปี่ยกทัพไปง่อก๊กล้างแค้นให้กวนอูและเตียวหุยที่ถูกสังหาร ขงเบ้งและขุนนางคนอื่นทูลคัดค้านไม่ให้พระเจ้าเล่าปี่ยกทัพไปตีง่อก๊ก แต่พระเจ้าเล่าปี่ทรงไม่ฟังผู้ใด ขงเบ้งได้รำพึงว่าถ้าหากหวดเจ้งยังอยู่ คงรั้งพระองค์ได้เป็นแน่ รูปหวดเจ้งจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ห ห.

กุยห้วยและหวดเจ้ง · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหวดเจ้ง · ดูเพิ่มเติม »

อองเป๋ง

อองเป๋ง (Wang Ping) เป็นขุนพลคนหนึ่งของจ๊กก๊ก มีความเฉลียวฉลาด เดิมเป็นนายทหารของฝ่ายโจโฉในสังกัดของซิหลง ต่อมาได้สวามิภักดิ์ต่อเล่าปี่ แล้วทำงานรับใช้จ๊กก๊กถึงสมัยพระเจ้าเล่าเสี้ยน อองเป๋งเป็นนายทหารที่ขงเบ้งไว้ใจมากคนหนึ่ง มีบทบาทมากมายในการรบ ได้ติดตามขงเบ้งไปตีเบ้งเฮ็กและตีวุยก๊กหลายครั้ง ครั้งหนึ่งที่สุมาอี้ยกทัพจะตีเกเต๋ง ขงเบ้งให้ม้าเจ็กเป็นแม่ทัพใหญ่ อองเป๋งเป็นแม่ทัพรอง ยกทัพไปรักษาเกเต๋ง โดยกำชับว่าให้ตั้งค่ายที่ช่องเขา แต่เมื่อไปถึงม้าเจ๊กกลับตั้งค่ายบนยอดเขา อองเป๋งทัดทานว่าหากตั้งบนเขาจะถูกล้อมโจมตีได้ง่าย ม้าเจ็กไม่ฟังดึงดันจะไปตั้งบนเขา อองเป๋งจึงยกทัพส่วนหนึ่งไปที่ช่องเขา และก็เป็นดังคาดของอองเป๋ง สุมาอี้ได้ตัดทางน้ำและล้อมเขาไว้ อองเป๋งพยายามเข้าไปช่วย แต่เตียวคับมาสกัดไว้ จึงต้องถอยทัพกลับ ส่วนม้าเจ็กเสียทีสุมาอี้ ต้องเสียเกเต๋ง กลับไปหาขงเบ้งและถูกประหารในเวลาต่อมา หลังขงเบ้งตาย อองเป๋งยังคงรับราชการรับใช้พระเจ้าเล่าเสี้ยน จนกระทั่งป่วยเสียชีวิต รูปอองเป๋งจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI หมวดหมู่:จ๊กก๊ก.

กุยห้วยและอองเป๋ง · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอองเป๋ง · ดูเพิ่มเติม »

อุยเอี๋ยน

อุยเอี๋ยน (Wei Yan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งจ๊กก๊กรูปร่างสูงใหญ่ ชื่อรองบุ้นเตีย ใช้ง้าวคู่เป็นอาวุธ ปรากฏบทบาทครั้งแรกที่เมืองเกงจิ๋ว เมื่อเล่าปี่ได้อพยพราษฎรจากซินเอี๋ยและอ้วนเสียข้ามน้ำมาจากการตามล่าของโจโฉขอให้ชาวบ้านอยู่ในเมืองด้วย พวกทหารและเสนาธิการจะแยกไปทันที แต่ชัวมอที่บังคับเล่าจ๋องอยู่ไม่ยอมเปิดประตูให้ อุยเอี๋ยนซึ่งเป็นทหารเกงจิ๋วกลับนำทหารส่วนหนึ่งมาเปิดประตูให้เล่าปี่ยกเข้าเมือง แต่บุนเพ่งแม่ทัพคนหนึ่งของเกงจิ๋วได้ออกมาขัดขวาง พร้อมด่าว่า เจ้าจะเป็นกบฏหรือ อุยเอี๋ยนกับบุนเพ่งจึงได้สู้กัน เล่าปี่อนาถใจที่เห็นทั้งคู่มาสู้กันเอง จึงยกทัพแยกไป.

กุยห้วยและอุยเอี๋ยน · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอุยเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

ฮองตง

องตง Huang Zhong; เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพแห่งจ๊กก๊ก ฉายา ฮั่นสินแห่งหนานหยาง เป็นชาวเมืองหนานหยาง (บ้านเดียวกับขงเบ้ง) เชี่ยวชาญในการใช้ง้าวและเกาทัณฑ์ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือของจ๊กก๊ก โดยฮองตงเป็นคนที่ 4 เดิมเป็นขุนพลที่รักษาเมืองเตียงสา ของเล่าเปียว เมื่อออกรบเคยพลาดท่าในสนามรบ และกวนอูไว้ชีวิต ในการต่อสู้ครั้งต่อมา จึงจงใจยิงเกาทัณฑ์พลาด เป็นการทดแทนบุญคุณกลับคืน แต่เจ้าเมืองเตียงสาเข้าใจว่า ฮองตงเอาใจข้างข้างฝ่ายเล่าปี่ จึงกล่าวหาว่าฮองตงเป็นกบฏ เมื่อเล่าปี่เข้าเมืองเตียงสาได้แล้ว ได้ไปพบฮองตงที่บ้านพัก พบฮองตงนอนเมาอยู่ด้วยความเสียใจที่ไม่สามารถรักษาเมืองได้ เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุยทำการคาราวะฮองตงว่า เป็นนักรบที่มีฝีมือและคุณธรรมอย่างแท้จริง พร้อมเกลี้ยกล่อมให้มาเข้าร่วมด้วย ฮองตงจึงเข้าร่วมกับเล่าปี่เมื่ออายุได้ 60 ปี และได้เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือของจ๊กก๊ก ฮองตงสร้างผลงานอีกครั้ง เมื่อแฮหัวเอี๋ยนยกทัพมา ขงเบ้งแสร้งพูดยั่ว โดยกล่าวว่าฮองตงแก่ชราแล้ว คงจะไม่มีเรี่ยวแรง ฮองตงจึงเกิดมานะ แสดงพละกำลังด้วยการหักคันธนูและรำง้าวให้ดู ฮองตงหนีไปตั้งหลักที่ยอดเขาเตงกุนสัน เพื่อให้แฮหัวเอี๋ยนที่อยู่ริมเขาตะโกนท้าทายให้ลงมาสู้ แต่ฮองตงก็ไม่ยอมสู้ เพราะการที่ฮองตงไม่ลงมาโจมตีนั้นเพราะหวดเจ้งยังไม่ยกธงแดง เมื่อยกธงแดงจึงฉวยโอกาสโจมตีในตอนที่แฮหัวเอี๋ยนอ่อนล้าเองในเวลาบ่าย ทหารทุกคนกำลังนอนหลับ ฮองตงจึงได้บุกลงมาจากเขา ในขณะที่แฮหัวเอี๋ยนกำลังใส่ชุดเกราะ ฮองตงขี่ม้าประชิดตัวและยกง้าวฟันลำตัวขาดทันที ฮองตงเสียชีวิต ณ ค่ายทหารฝ่ายจ๊กก๊ก หลังจากถูกยิงด้วยเกาทัณฑ์ของทหารฝ่าย ง่อก๊ก เข้าซอกคอ ครั้งเล่าปี่ยกทัพไปรบเพื่อล้างแค้นให้กวนอูในศึกอิเหลง เมื่ออายุได้ 75 ปี.

กุยห้วยและฮองตง · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮองตง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเว่ยหมิง

ระเจ้าโจยอย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ผู้ครองวุยก๊กรุ่นที่ 3 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าโจผี พระราชนัดดาในพระเจ้าโจโฉ ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 769 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าโจผี พระราชบิดา ด้วยวัยเพียง 21 พรรษา เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยหยวงซง (元仲) เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว พระเจ้าโจยอยนับได้ว่า เป็นผู้นำที่เข้มแข็งทีเดียว เนื่องด้วยขงเบ้งเมื่อทราบข่าวว่า พระเจ้าโจผีสิ้นพระชนม์แล้ว โจยอย ราชบุตรขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุน้อย จึงยกทัพบุกขึ้นเหนือมา พระองค์ทรงส่งสุมาอี้เป็นแม่ทัพใหญ่ไปรบกับขงเบ้ง อันเป็นการเปิดโอกาสให้สุมาอี้ได้แสดงฝีมือประชันกับขงเบ้งด้วย ซึ่งต่อมาทั้งคู่เป็นคู่ปรับที่ปรับมือกันมาตลอด ต่อมา ขงเบ้งได้ใช้แผนปล่อยข่าวลือในราชธานีลกเอี๋ยงว่า สุมาอี้คิดเป็นกบฏ เพราะต้องการให้พระเจ้าโจยอยปลดสุมาอี้ออกจากตำแหน่ง ซึ่งที่สุดก็เป็นไปตามแผนของขงเบ้ง จนกระทั่ง ขงเบ้งยกทัพบุกวุยก๊กอีกครั้ง พระเจ้าโจยอยทรงคิดไม่ตกว่า ใครจะรับมือกับขงเบ้งได้ ที่สุดมีผู้เสนอว่า ควรคืนตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ให้สุมาอี้ จึงทรงคืนตำแหน่งให้สุมาอี้โดยไม่วิตกกังวลใด ๆ อีก สุมาอี้ซึ่งอยู่นอกเมืองทราบข่าวนี้ซาบซึ้งเป็นอย่างมาก ถึงกับกราบแผ่นดินคาราวะและเอ่ยปากว่า ทรงเป็นจักรพรรดิที่ทรงพระปรีชาโดยแท้ นอกจากนี้แล้ว พระเจ้าโจยอยยังออกนำทัพด้วยพระองค์เอง ในการศึกครั้งนี้ด้วย เนื่องจากซุนกวน กษัตริย์ง่อก๊กได้ร่วมมือกับขงเบ้ง ยกทัพเปิดศึกสองสมรภูมิกับทางวุยก๊ก โดยพระเจ้าโจยอยได้เสด็จนำทัพวุยไปรับศึกฝ่ายง่อที่เมืองหับป๋า และทรงพระปรีชาสามารถรบชนะทัพง่อได้ ทำให้แผนตีกระหนาบของขงเบ้งและซุนกวนต้องล้มเหลวลง ฝ่ายสุมาอี้ซึ่งตั้งทัพรับมือขงเบ้งอยู่ในอีกแนวศึก ได้ใช้นโยบายไม่ออกรบแม้ขงเบ้งยั่วยุต่าง ๆ นานา ผิดกับแม่ทัพนายกองหลายคนของวุยก๊กที่ขัดเคืองใจกับการยั่วยุและอยากจะออกรบ แม้สุมาอี้จะมีคำสั่งเด็ดขาดห้ามออกไป แต่ก็รู้ดีว่านานวันเข้าคำสั่งอาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ สุมาอี้จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลไปยังพระเจ้าโจยอย พร้อมอธิบายถึงเหตุผลที่ไม่ออกรบ ด้วยต้องการให้พระองค์มีพระบรมราชโองการมาสั่งห้ามออกรบ ซึ่งพระเจ้าโจยอยก็ตอบสนองความต้องการของสุมาอี้โดยทันที เมื่อพระบรมราชโองการมาถึง บรรดานายทหารที่อยากรบทั้งหมดนั้นจึงต้องปฏิบัติตามโดยดุสดี ซึ่งการที่สุมาอี้ตั้งทัพไม่ออกรบนี้ เป็นอุบายของสุมาอี้ที่ต้องการทำศึกยืดเยื้อ บังคับให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยไปเอง ซึ่งท้ายที่สุดขงเบ้งก็สิ้นชีวิตกลางสนามรบ ส่งผลให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยกลับในเวลาต่อมาจริง ๆ กล่าวได้ว่าด้วยการผสานใจร่วมมือของพระเจ้าโจยอยผู้เป็นนาย ซึ่งรู้ใจบ่าว คือสุมาอี้ เป็นอย่างดีนั้น ได้ช่วยรักษาให้วุยก๊กผ่านพ้นวิกฤติการณ์การสงครามครั้งนั้นไปได้ พระเจ้าโจยอย สิ้นพระชนม์ในวันที่ 22 มกราคม ปี พ.ศ. 782 ด้วยพระชนมายุ 34 พรรษา รวมระยะเวลาครองราชย์ 13 ปี ด้วยพระโรคที่รุมเร้าและสติวิปลาส เนื่องจากติดพระสนมองค์ใหม่และสั่งประหารพระมเหสีองค์เก่าสิ้น และเป็นโจฮอง ราชบุตรเพียงคนเดียวขึ้นครองราชย์แทน ซึ่งราชสกุลวุยจะตกต่ำต่อไปเรื่อ.

กุยห้วยและจักรพรรดิเว่ยหมิง · จักรพรรดิเว่ยหมิงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

กุยห้วยและจูกัดเหลียง · จูกัดเหลียงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

จูล่ง

ูล่ง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริง ชื่อจริงว่า เตียวหยุน แม่ทัพคนสำคัญของเล่าปี่ และเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือ จูล่ง ได้รับฉายาว่าเป็น "สุภาพบุรุษจากเสียงสาน" เกิดในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 ประมาณปี..

กุยห้วยและจูล่ง · จูล่งและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ง่อก๊ก

ง่อก๊ก หรือ ตั้งอู๋ (東吳) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าซุนกวน ในระหว่างปี พ.ศ. 765 - พ.ศ. 823 (ปี ค.ศ. 222-280) ง่อก๊กครอบครองพื้นที่ทางด้านตะวันออกของประเทศจีน ทางบริเวณตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งคือพื้นที่บริเวณรอบ ๆ เมืองหนานจิงในปัจจุบัน ง่อก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 4 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ซุน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

กุยห้วยและง่อก๊ก · ง่อก๊กและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ตันซิ่ว

ตันซิ่ว (Chen Shou) หรือ เฉินโซ่ว เป็นนักประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์จิ้น และเป็นผู้แต่งจดหมายเหตุสามก๊ก เกิดที่เมืองหนานจง มณฑลเสฉวนในปี พ.ศ. 776 ซึ่งอยู่ยุคสามก๊ก และได้รับราชการกับจ๊กก๊ก ภายหลังวุยก๊กได้ยึดจ๊กก๊ก ตันซิ่วได้ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่วุยก๊ก ต่อมา สุมาเอี๋ยนขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ จึงทรงให้ตันซิ่วเป็นผู้ชำระประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊กในชื่อว่า จดหมายเหตุสามก๊ก.

กุยห้วยและตันซิ่ว · ตันซิ่วและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ตันเซ็ก

ตันเซ็ก (Chen Shi) เป็นขุนพลคนหนึ่งของเล่าปี่ มีความสนิทสนมกับอุยเอี๋ยนเป็นอย่างมาก เป็นอาลักษณ์ในพระเจ้าเล่าเสี้ยนและเป็นพ่อของตันซิ่วผู้เขียนสามก๊กจี่(ซานกว๋อจื้อ)หรือจดหมายเหตุสามก๊กในยุคราชวงศ์จิ้น รัชสมัยพระเจ้าสุมาเอี๋ยน ตันเซ็กเป็นททารในสังกัดของฮองตงในศึกที่รบกับแฮหัวเอี๋ยนที่เขาเตงกุนสัน ตันเซ็กออกรบถูกแฮหัวซงหลานของแฮหัวเอี๋ยนจับได้ ต่อมาฮองตงออกรบจับตัวแฮหัวซงได้ แฮหัวเอี๋ยนได้เจรจาขอแลกตัวเชลยโดยให้ฮองตงนำแฮหัวซงมาแลกกับตันเซ็ก ตันเซ็กได้กลับเข้ากองทัพของตน ส่วนแฮหัวซงถูกฮองตงยิงเกาทัณฑ์เสียชีวิต ทำให้แฮหัวเอี๋ยนโกรธมากรบกับฮองตงจนในที่สุดแฮหัวเอี๋ยนก็ถูกฮองตงฆ่าตาย เมื่อขงเบ้งยกทัพบุกวุยก๊กครั้งที่ 4 ขงเบ้งได้ให้อุยเอี๋ยนกับตันเซ็ก ไปตีโจจิ๋นที่รักษาด่านจำก๊ก แต่ทั้งสองไม่เชื่อฟัง อุยเอี๋ยนจึงให้ตันเซ็กไปตีด่านกิก๊กที่สุมาอี้รักษาอยู่แทน ตันเซ็กจึงถูกสุมาอี้ตีแตกพ่าย โชคดีที่อุยเอี๋ยนมาช่วยได้ทัน เมื่อกลับถึงค่าย ขงเบ้งได้พิจาณาโทษให้ตันเซ็กถูกประหาร ส่วนอุยเอี๋ยนยีงไว้ชีวิตเพราะเห็นว่ายังมีประโยชน์อยู่ หมวดหมู่:จ๊กก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

กุยห้วยและตันเซ็ก · ตันเซ็กและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ต้านท่าย

ต้านท่าย (Chen Tai, ? — ค.ศ. 260) ชื่อรองว่า เซฺวียนป๋อ (Xuanbo) เป็นขุนศึกแห่ง วุยก๊ก ในช่วงปลาย ยุคสามก๊ก ต้านท่ายเป็นบุตรชายของ ตันกุ๋น (Chen Qun) ที่ปรึกษาของ โจโฉ และเป็นหลานตาของ ซุนฮก (Xun Yu) ที่ปรึกษาอีกคนหนึ่งของโจโฉเพราะตันกุ๋นแต่งงานกับบุตรสาวของซุนฮก เมื่อตันกุ๋นผู้เป็นบิดาซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้ากรมอาลักษณ์ถึงแก่กรรมใน..

กุยห้วยและต้านท่าย · ต้านท่ายและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

กุยห้วยและประวัติศาสตร์ · ประวัติศาสตร์และรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

กุยห้วยและประเทศจีน · ประเทศจีนและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวป๋า

แฮหัวป๋า (Xiahou Ba) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นบุตรชายคนโตของแฮหัวเอี๋ยน มีชื่อรองว่า ชงเฉวียน ห้าวหาญเหมือนบิดา ชำนาญการยิงเกาทัณฑ์บนหลังม้า เป็นที่รักของทหารในบังคับบัญชา แฮหัวป๋าออกศึกหลายครั้งในบังคับบัญชาของสุมาอี้ ภายหลังร่วมกับโจซองคิดโค่นอำนาจสุมาอี้เพื่อรักษาราชบัลลังก์โจฮอง แต่สุมาอี้ล่วงรู้แผนการจึงทำรัฐประหารยึดอำนาจโจซองและจับโจซองและพรรคพวกประหาร ส่วนแฮหัวป๋าหนีไปสวามิภักดิ์ต่อเกียงอุย แฮหัวป๋าได้ออกรบในบังคับบัญชาของเกียงอุยหลายครั้ง เกียงอุยขัดข้องสิ่งใดมักจะถามแฮหัวป๋า ในการรบชิงเมืองเตียงเจี๋ยง แฮหัวป๋าตกในอุบายทิ้งเมืองของเตงงาย จึงยกทัพเข้าไปในเมือง ทหารเตงงายได้ยิงเกาทัณฑ์ ทุ่มก้อนหินถูกแฮหัวป๋าเสียชีวิต.

กุยห้วยและแฮหัวป๋า · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและแฮหัวป๋า · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวเอี๋ยน

แฮหัวเอี๋ยน (Xiahou Yuan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพคนสำคัญของโจโฉ ชื่อรองเหมี่ยวฉาย เป็นน้องของแฮหัวตุ้น มีบุตรชายสี่คนคือแฮหัวป๋า แฮหัวหุย แฮหัวฮุยและแฮหัวโห สวามิภักดิ์กับโจโฉตั้งแต่ตั้งกองทัพพันธมิตร 18 หัวเมือง เป็นแม่ทัพที่เก่งกล้าและเป็นคนที่โจโฉไว้ใจมากคนหนึ่ง ชำนาญการใช้ธนูอย่างมาก จึงได้ฉายาว่า จอมขมังธนูแห่งวุยก๊ก เมื่อเล่าปี่เตรียมทัพจะตีฮันต๋ง โจโฉได้ส่งแฮหัวเอี๋ยนไปรักษาที่เขาเตงกุนสันอันเป็นชัยภูมิสำคัญเปรียบเหมือนคอหอยของเมืองฮันต๋ง หากเสียเขาเตงกุนสันไปการยกทัพตีฮันต๋งก็จะง่ายดาย แฮหัวเอี๋ยนได้รบกับฮองตงแม่ทัพของเล่าปี่ และถูกสังหารในที.

กุยห้วยและแฮหัวเอี๋ยน · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและแฮหัวเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

แฮหัวเทียน

แฮหัวเทียน (Xiahou Xuan, ค.ศ. 209 — ค.ศ. 254) มีชื่อรองว่า ไท่ฉู่ (Taichu) ขุนพลแห่ง วุยก๊ก ในช่วงปลาย ยุคสามก๊ก แฮหัวเทียนเป็นบุตรชายของ แฮหัวซง (Xiahou Shang) พระญาติและพระสหายสนิทของ พระเจ้าโจผี (Cao Pi) และเป็นพี่ชายของ แฮหัวฮุย (Xiahou Hui) ภรรยาของ สุมาสู (Sima Shi) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งวุยก๊ก.

กุยห้วยและแฮหัวเทียน · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและแฮหัวเทียน · ดูเพิ่มเติม »

โกเสียง

กเสียง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่าเกาเสียง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นขุนพลของจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก.

กุยห้วยและโกเสียง · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโกเสียง · ดูเพิ่มเติม »

โจฮอง

พระเจ้าโจฮอง (เฉาฟาง) เป็นพระราชโอรสเลี้ยงในพระเจ้าโจยอย มีฉายาว่าหลันชิง ไม่ทราบว่าเป็นบุตรใครมาแต่เดิม ขึ้นเสวยราชย์ต่อจากพระเจ้าโจยอยเมื่อพระชนมายุ 8 พรรษา โดยมีชื่อโจซอง บุตรโจจิ๋นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระเจ้าโจฮองทรงมีนิสัยดื้อด้าน มัวเมาแต่สุรานารี เมื่อเสวยราชย์ได้ 10 ปี สุมาอี้ทำรัฐประหารฆ่าโจซองเสีย แล้วตั้งตัวเป็นสมุหนายก คุมอำนาจไว้ทั้งหมด ครั้นสุมาอี้สิ้นชีพ สุมาสูยึดอำนาจสืบต่อไปและ รุกรานพระเจ้าโจฮองหนักมือขึ้น พระเจ้าโจฮองทรงพระราชดำริจะโค่นอำนาจของสุมาสู แต่สุมาสูจับแผนการได้ จึงถอดเสียราชบัลลังก์ตั้งให้เป็นฉีอ๋อง (ในสามก๊กไทยเรียกว่าเจอ่อง) ออกไปอยู่เสียหัวเมืองบ้านนอก อยู่ในราชสมบัติ 15 ปี ระหว่าง พ.ศ. 782 (ค.ศ. 239) ถึง พ.ศ. 797 (ค.ศ. 254) หมวดหมู่:วุยก๊ก.

กุยห้วยและโจฮอง · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจฮอง · ดูเพิ่มเติม »

โจผี

ระเจ้าโจผี หรือ เฉาพี พระนามรอง จื่อหวน เป็นพระโอรสองค์รองในพระเจ้าโจโฉ ได้สืบต่อตำแหน่ง วุยอ๋อง และอำนาจต่อหลังจากโจโฉสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ภายหลังจึงได้ล้มล้างราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ปราบดาภิเษกเป็นปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์เว่ย (วุยก๊ก) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยเหวินตี้ (- จักรพรรดิแห่งเว่ย) ในปี พ.ศ. 763 โจผีนั้นเป็นบุตรคนรอง แต่ก็ได้มีบทบาทในการสืบทอดอำนาจจากโจโฉ เนื่องจากบุตรชายคนโต คือ โจงั่ง ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังอายุน้อยในการติดตามโจโฉไปทำสงคราม ในนิยายสามก๊กได้ โจโฉได้กล่าวถึงโจผี ว่าเป็นคนมีปัญญา จิตใจหนักแน่น โอบอ้อมอารีย์ จึงสมควรจะเป็นสืบทอดอำนาจของตน โจผีเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแต่งกลอน กาพย์กวี เช่นเดียวกับโจโฉผู้บิดา และยังได้เคยติดตามบิดาออกไปทำสงครามบ่อยครั้ง ตั้งแต่ยังเยาว์ โจผีมีภรรยาหลวง คือนางเอียนสี ซึ่งได้ตัวมาเมื่อครั้งที่โจโฉทำสงครามกัวต๋อกับตระกูลอ้วน นางเอียนสีนั้นเป็นสาวงามที่มีชื่อว่า เป็นหญิงงามแห่งแผ่นดินทางเหนือ และยังเป็นภรรยาม่ายของอ้วนฮี บุตรชายของอ้วนเสี้ยว คู่ศึกของโจโฉ จึงย่อมถือเป็นเชลยศึก แต่โจผีก็ได้รับนางมาตกแต่งเป็นภรรยาหลวง ในขณะนั้นโจผีอายุได้ 17 ปี ขณะที่นางเอียนสีอายุมากกว่า คือ 22 ปี ซึ่งภายหลังเมื่อโจผีได้ขึ้นครองราชย์ ก็ได้สถาปนานางเป็นฮองเฮา เนื่องจากการที่โจผีขึ้นครองราชย์ สถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ จึงทำให้ซุนกวนและเล่าปี่ต้องสถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ตามไปด้วย ก่อให้เกิดสภาพของสามก๊กอย่างแท้จริง พระเจ้าโจผีเมื่อได้ปราบดาภิเษกเป็นฮ่องเต้ในเบื้องแรกนั้นก็ได้ทรงดำริจะทำการกวาดล้างศัตรูทุกคน รวมไปถึงพระอนุชา คือ โจสิด ซึ่งมีสติปัญญา และฝีมือในเชิงการกวี เช่นเดียวกับพระองค์ และเคยเป็นคู่แข่งในการแต่งตั้งรัชทายาทของโจโฉด้วย แต่โจสิดสามารถเอาตัวรอดได้ โดยการแต่งโคลงมีใจความว่า ต้นถั่วเผาต้นถั่ว ในกระทะถั่วร้องไห้ กำเนิดจากรากเดียวกัน เหตุไฉนคิดทำลาย มีความหมายถึง การที่พี่น้องซึ่งมาจากจุดกำเนิดเดียวกัน กลับต้องมาสังหารเข่นฆ่ากัน ด้วยเหตุใด ทำให้พระเจ้าโจผีสะเทือนพระทัย และไม่อาจสังหารพระอนุชาได้ ซึ่งโคลงบทกวีที่โจสิดแต่งขึ้นเพื่อเอาชีวิตรอดนี้มีชื่อเสียงมาก พระเจ้าเว่ยเหวินตี้ โจผี เป็นฮ่องเต้ที่ครองราชย์ในระยะอันสั้นเพียง 7 ปี เท่านั้น ก็ทรงพระประชวร และเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 769 สิริรวมพระชนมายุได้ 39 พรรษ.

กุยห้วยและโจผี · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจผี · ดูเพิ่มเติม »

โจจิ๋น

๋น (Cao Zhen) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญแห่งวุยก๊ก เป็นญาติของโจโฉ มีชื่อรองว่าจื่อตัน ซื่อสัตย์สุจริต มีนิสัยกล้าหาญ และเหี้ยมโหด ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับทหารในสนามรบอย่างใกล้ชิด บางครั้งค่าใช้จ่ายในกองทัพไม่พอ ก็เอาทรัพย์สินส่วนตัวออกจับจ่ายใช้สอย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ต้าซือหม่า (เสนาบดีว่าการกลาโหม).

กุยห้วยและโจจิ๋น · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจจิ๋น · ดูเพิ่มเติม »

โจซอง

ซอง (Cao Shuang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก บุตรชายของโจจิ๋นเป็นผู้สำเร็จราชการในวุยก๊ก แต่ถูกสุมาอี้โค่นอำนาจและถูกประหารชีวิตในภายหลัง ในยุคของพระเจ้าโจยอย โจจิ๋นผู้เป็นพ่อได้เป็นแม่ทัพแนวหน้าแต่ด้วยความที่ด้อยสติปัญญาเมื่อเข้ารบกับขงเบ้งทำให้เสียเมืองเฉิงฉาง และเสียทหารไปกว่า 1 แสน โจจิ๋นกลัวความผิดจึงให้โจซองไปถวายบังคมให้พระเจ้าโจยอยทราบในสภาพแขนหัก เมื่อพระเจ้าโจยอยเห็นโจซองในสภาพนั้นเข้าจึงใจอ่อนไม่ออกคำสั่งประหารโจจิ๋นผู้พ่อ ความกตัญญูของโจซองนั้นสูงมาก ในช่วงสุมาอี้ก่อรัฐประหาร โจซองที่อยู่นอกเมืองถึงกลับนึกคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรต่อไป ฮวนห้อม กุนซือของโจซองที่หลบออกจากเมืองได้มาสมทบกับโจซองและแนะนำให้พาฮ่องเต้ไปยังนครฮูโต๋และรวมรวบกำลังทหารเข้าปราบปรามกบฏสุมาอี้ให้สิ้นซาก แต่โจซองกลับลังเลเพราะห่วงครอบครัว บรรดาอนุภรรยา และทรัพย์สมบัติมากมายในเมือง แถมจดหมายของสุมาอี้ได้มาถึงมือได้ระบุว่ามิได้เจตนาร้าย ให้ยอมจำนนเสียแต่โดยดี โจซองทบทวนอย่างถี่ถ้วนจึงตัดสินใจยอมจำนน แม้ฮวนห้อมจะเตือนว่าอย่ายอมจำนนเพราะเท่ากับความตายแต่ไม่ฟัง ฮวนห้อมถึงกับตะโกนด่าว่า "โจจิ๋นที่เปี่ยมไปด้วยพละกำลังและสติปัญญา ฉไนกลับมีบุตรชายที่โง่งมเช่นนี้" ผลสุดท้ายแม้โจซองจะยอมจำนนต่อสุมาอี้และคิดว่าจะปลอดภัย แต่หาได้เป็นเช่นไม่ สุมาอี้ได้กุเรื่องว่าโจซองเป็นกบฎจึงถูกประหารชีวิตพร้อมทั้งครอบครัวตระกูล.

กุยห้วยและโจซอง · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจซอง · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

กุยห้วยและโจโฉ · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

เกียงอุย

กียงอุย หรือในสำเนียงจีนกลาง เจียงเหวย (Jiang Wei) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกียงอุย มีชื่อรองว่า ป๋อเยี่ยน เป็นชาวเมืองเทียนซุย ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหนึ่งในมณฑลกานซู่ เป็นผู้ที่มีสติปัญญาหลักแหลม รอบรู้กลวิธีรบเป็นอย่างดี เชี่ยวชาญการศึก และเก่งกาจในเพลงอาวุธ แม้แต่จูล่งยังต้องกล่าวชื่นชม มีความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดา หน้าตาดี ไม่ใฝ่ในทางโลภ เคยวางกลซ้อนทับขงเบ้ง จนขงเบ้งต้องหาทางจัดการ อุปนิสัยส่วนตัวซื่อสัตย์ มีน้ำใจดี กล้าหาญ พร้อมตายได้ทุกเมื่อ ใช้ทวนเป็นอาวุธคู่กาย เกียงอุยมีพ่อเป็นขุนนางคนหนึ่งของเทียนซุย แต่กำพร้าพ่อแต่ยังเด็ก จึงอาศัยอยู่กับแม่โดยลำพัง แต่เดิมนั้นเกียงอุยรับราชการอยู่กับม้าจิ้น เจ้าเมืองเทียนซุย ซึ่งอยู่ในแคว้นการปกครองของวุยก๊ก ขงเบ้งยกทัพมาเพื่อที่จะปราบวุยก๊ก ม้าจิ้นส่งเกียงอุยมารับมือกับขงเบ้ง ขงเบ้งเสียท่าเกียงอุย หลายครั้ง แต่ในที่สุดขงเบ้งวางแผนจับเกียงอุย โดยพาแม่ของเกียงอุยมาเลี้ยงดู และให้แม่เกียงอุยช่วยเกลี้ยกล่อม ด้วยเกียงอุยมีความกตัญญูต่อมารดานั้นเอง เกียงอุยจึงใจอ่อน ยอมอยู่ฝ่ายจ๊กก๊กกับขงเบ้ง เกียงอุยเป็นทหารคนสนิทใกล้ชิดขงเบ้งมากที่สุด ถ้าขงเบ้งไปที่ศึกไหนเกียงอุยย่อมอยู่ด้วยเสมอๆ ประกอบด้วยเกียงอุยเป็นคนสนิทและไว้ใจได้มากที่สุด ดังนั้นขงเบ้งจึงได้ถ่ายทอดวิชาที่เขารู้มากมาย ให้แก่เกียงอุย เกียงอุยจึงมีความรู้มากขึ้น ครั้นขงเบ้งรู้ตัวว่าชะตาตนเองไปไม่รอดแล้ว ก็มอบหมายให้เกียงอุยทำนุบำรุงแผ่นดินฮั่นแทนตน โดยให้เป็นแม่ทัพใหญ่แห่งเสฉวนแทน ซึ่งมีอำนาจทางการทหารทั้งหมด ต่อมาเกียงอุยก็ดำเนินรอยตามขงเบ้ง โดยที่ยกทัพจากเสฉวนเข้าตีวุยก๊ก ถึงหลายครั้งหลายคราแต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อมาวุยก๊กยกทัพเข้าตีเสฉวน โดยจงโฮยและเตงงายแม่ทัพแห่งวุย แบ่งเป็น 2 ทัพตีเสฉวน เกียงอุยรับมือกับจงโฮยทำให้เตงงายไปตามทางลัดอิมเป๋ง เข้าตีเสฉวน ยังไม่ทันรบ พระเจ้าเล่าเสี้ยนยอมแพ้แก่เตงงายโดยเร็ว ทำให้เกียงอุยที่ได้รับตำแหน่งเป็นแม่ทัพไม่พอใจยิ่งนัก พยายามหาทางกู้เอกราชกลับมาโดยใช้จงโฮยเป็นสะพาน แต่ก็ไม่สำเร็จ เกียงอุยถูกล้อมด้วยทหารวุยก๊ก เกียงอุยจึงใช้กระบี่เชือดคอตัวเองตาย พวกทหารของฝ่ายวุยก๊กจึงเอากระบี่ผ่าอกของเกียงอุยออกมาเห็นตับใหญ่คับหัวอกอยู่ มีดีใหญ่เท่าไข่ห่าน พวกทหารเหล่านั้นต่างคิดว่าเกียงอุยมีดีใหญ่กว่าคนธรรมดาทั่วไป จึงได้กล้าหาญเข้มแข็งสมเป็นทหารเอก ตอนที่เกียงอุยตายนั้นมีอายุ ได้ 63 ปี.

กุยห้วยและเกียงอุย · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเกียงอุย · ดูเพิ่มเติม »

เลียวฮัว

ลียวฮัว (Liao Hua) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งจ๊กก๊ก ชื่อรองเหยียนเจี้ยนโดยก่อนหน้านั้นเป็นอดีตแม่ทัพของกบฏโจรโพกผ้าเหลือง เป็นตัวละครในเรื่องสามก๊กที่เจนศึกตั้งแต่โจรโพกผ้าเหลืองยันจ๊กก๊กล่มสลายคนนึง.

กุยห้วยและเลียวฮัว · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเลียวฮัว · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

กุยห้วยและเล่าปี่ · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

เตียวล่อ

ตียวฬ่อ (Zhang Lu; 张鲁) เป็นเจ้านครฮันต๋ง และเป็นศัตรูคู่แค้นกับตระกูลของ เล่าเจี้ยง เมื่อครั้งเล่าปี่บุกตีเสฉวนของเล่าเจี้ยงด้วยอุบายอันแยบยลของขงเบ้งทำให้เล่าเจี้ยงต้องละทั้งความเป็นศัตรูและเข้าเป็นพวกกับเตียวล่อในตอนนั้นพวกม้าเฉียวที่หนีกองทัพของโจโฉก็ได้เข้ามาพึ่งกับเตียวล่อ เตียวล่อจึงให้ม้าเฉียวไปช่วยเล่าเจี้ยง แต่เหตุการณ์กลับตาลปัตรเมื่อขงเบ้งเห็นม้าเฉียวเป็นคนมีความสามารถและเป็นศัตรูกับโจโฉ จึงวางแผนให้ม้าเฉียวมาเป็นพวกและก็สามารถยึดเสฉวนได้ โจโฉกลัวว่าหากเล่าปี่ยึดเสฉวนได้จะขยายอำนาจไปยึดเมืองฮันต๋งต่อ โจโฉจึงยกทัพมาที่ฮันต๋ง เตียวล่อรู้ดีว่ากองทัพของตนไม่มีทางสู้กับโจโฉได้ แต่เหมือนสวรรค์บันดาลเมื่อ บังเต๊ก ทหารเอกของม้าเฉียวยังอยู่ เพราะตอนที่ม้าเฉียวไปช่วยเล่าเจี้ยงตอนนั้นบังเต๊กป่วยจึงไม่ได้ไปด้วย เตียวล่อจึงให้บังเต๊กเป็นแม่ทัพไปรบกับโจโฉ แต่ก็ถูกกลลวงของโจโฉจึงต้องเป็นพวกกับโจโฉ เตียวโอย น้องชายจึงอาสาไปรบแทนแต่ก็ถูกเคาทูฆ่าตายในสนามรบ เตียวล่อหมดทางสู้จึงยอมจำนนต่อโจโฉ นครฮันต๋งจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของโจโฉแต่สุดท้ายเมืองฮันต๋งก็ถูกเล่าปี่ยึดไปได้ด้วยกลยุทธ์อันล้ำลึกของขงเบ้ง.

กุยห้วยและเตียวล่อ · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวล่อ · ดูเพิ่มเติม »

เตียวคับ

ตียวคับ ยอดขุนพลแห่งวุยก๊ก ก่อนหน้าจะมาอยู่กับโจโฉ เคยเป็นทหารเอกของอ้วนเสี้ยว แต่ว่าขุนนางของอ้วนเสี้ยวแย่งความดีความชอบกัน จึงทำให้เตียวคับหนีไปสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ ทำสงครามมีความดีความชอบมากมาย ตอนที่โจโฉเรืองอำนาจ เตียวคับเคยรบกับเตียวหุยแม้ทัพของเตียวคับจะพ่ายแพ้ แต่ในการสู้ตัวต่อตัวกับเตียวหุยกลับสูสี สมัยพระเจ้าโจยอย ตอนขงเบ้งยกทัพบุกกีสาน เตียวคับหลงกลขงเบ้งโดนล้อมแต่ก็สามารถตีฝ่าม้าต้าย กับ อุยเอี๋ยน หนีกลับค่ายไปได้ แม้เตียวคับจะมีฝีมือกล้าแข็งแต่ก็ต้องมาตายด้วยกลของขงเบ้งโดนเกาทัณฑ์รุมยิงในช่องเขาเสียชีวิตกลางสนามรบ ในข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ บุคคลที่ยึดด่านเกเต๋งที่ม้าเจ็กคุมอยู่นั้น จนทำให้ขงเบ้งต้องแก้สถานการณ์ด้วยการขึ้นไปดีดพิณบนกำแพงเมือง มิใช่สุมาอี้ หากแต่เป็นเตียวคั.

กุยห้วยและเตียวคับ · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวคับ · ดูเพิ่มเติม »

เตงจี๋

ตงจี๋ (Deng Zhi; 鄧芝) ทูตลิ้นทองของฝ่ายจ๊กก๊ก มีชื่อรองว่า โป๊ะโหมว เป็นชาวเมืองซินเอี๋ย เริ่มรับราชการในตำแหน่งเสนาบดีของราชวงศ์ฮั่น และหลังจากที่ราชวงศ์ฮั่นล่มสลายได้ย้ายไปอยู่ที่เสฉวน อาศัยอยู่ที่เซ็งโต๋ แรกทีเดียวมีหน้าที่เป็นขุนนางเล็ก ๆ คอยรับใช้ในในราชสำนัก ต่อมาได้สร้างชื่อเสียงด้วยวาทะศิลป์และความเฉลียวฉลาด พระเจ้าเล่าเสี้ยนจึงได้แต่งตั้งให้มีตำแหน่งสูงขึ้น เมื่อโจผีขึ้นครองราชย์แทนโจโฉแล้ว ได้ยกกองทัพทั้งหมด 4 สาย และอีกหนึ่งสายโดยส่งจดหมายไปขอความร่วมมือกับซุนกวน ให้ง่อก๊กยกไปตีจ๊ก๊กพร้อมกันตามคำแนะนำของสุมาอี้รวมทั้งหมดเป็น 5 สาย พระเจ้าเล่าเสี้ยนซึ่งเพิ่งครองราชย์ใหม่ ๆ ไม่รู้จะจัดการกับปัญหาอย่างไร เพราขงเบ้งก็ไม่ออกว่าราชการโดยอ้างว่า ป่วย บรรดาขุนนางทั้งหลายรุดไปเยี่ยม แต่ขงเบ้งก็ไม่เปิดบ้านพบ พระเจ้าเล่าเสี้ยนต้องเสด็จไปเอง เมื่อได้สนทนาไปแล้ว ขงเบ้งบอกว่าทัพ 4 สายของโจผี ตนได้สลายไปแล้วด้วยแผนของตน ขาดแต่ทัพของง่อก๊กเท่านั้น ที่ยังขาดคนที่เหมาะสมเป็นทูตไปเจรจากับซุนกวน เกลี้ยกล่อมให้ซุนกวนเปลี่ยนใจมาเป็นพันธมิตรกับจ๊กก๊กดังเดิม เมื่อพระเจ้าเล่าเสี้ยนได้ยินดังนั้นก็คลายพระทัย และเสด็จกลับ แต่ขงเบ้งก็ยังไม่ยอมให้เหล่าขุนนางเข้าพบอีก มีแต่เตงจี๋คนเดียวที่หัวเราะอยู่ข้างนอกเพราะรู้ถึงใจขงเบ้ง ขงเบ้งเห็นเช่นนั้น จึงให้เตงจี๋เข้าพบคนเดียวเท่านั้น เมื่อได้สนทนากับเตงจี๋ ขงเบ้งถามเตงจี๋ว่า สถานการณ์เช่นนี้ท่านเห็นเป็นอย่างไร เตงจี๋ตอบว่า ควรเป็นพันธมิตรกับซุนกวนเพื่อต่อต้านวุยก๊กที่เข้มแข็งกว่า ขงเบ้งเห็นด้วยเพราะตรงกับความคิดตน และบอกว่า ท่านเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดในการเป็นทูตครั้งนี้ เมื่อเตงจี๋เดินทางไปถึงง่อก๊ก ฝ่ายซุนกวนไม่รู้จะทำอย่างไร แต่ได้ตั้งหม้อน้ำเดือดใบใหญ่ไว้หน้าท้องพระโรงเพื่อขู่เตงจี๋ เตงจี๋คาราวะซุนกวน แต่ไม่ก้มกราบ เตียวเจียวถามว่า ไฉนท่านจึงไม่ก้มกราบ เตงจี๋ตอบว่า ทูตของก๊กที่ใหญ่กว่าไม่ต้องกราบเจ้าก๊กที่เล็กกว่าหรอก บรรดาขุนนางง่อก๊กไม่พอใจ เตงจี๋จึงพูดว่า เรามาดี เพื่อชี้ให้เห็นถึงข้อดีร้ายต่อการณ์ครั้งนี้ แต่ท่านไม่จริงใจต่อข้าพเจ้า ตั้งหม้อเดือดไว้จะต้มข้าพเจ้า เช่นนั้นข้าพเจ้าสู้ลงไปต้มให้สุกสมใจท่านดีกว่า ว่าแล้วเตงจี๋ก็จะวิ่งลงหม้อ ซุนกวนตกใจได้ห้ามปรามไว้ เตงจี๋หัวเราะ และสั่งให้เตงจี๋ไปเจรจากับตนเป็นการส่วนตัวหลังท้องพระโรง เมื่อได้เจรจากันแล้วเตงจี๋ชี้ให้เห็นว่า จ๊กก๊กกับง่อก๊กอ่อนกว่าควรจะรวมมือกันเพื่อต่อต้านวุยก๊กที่แข็งกว่า ถ้าจ๊กก๊กล่มสลาย ง่อก๊กก็อยู่ไม่ได้ และถ้าง่อก๊กล่มสลาย จ๊กก๊กก็อยู่ไม่ได้อีกเช่นกัน ซุนกวนได้ยินดังนั้นจึงชอบใจมาก ยกย่องเตงจี๋ว่าเป็นทูตลิ้นทอง และตกลงเป็นสัมพันธมิตรกับจ๊กก๊ก รูปเตงจี๋จากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI.

กุยห้วยและเตงจี๋ · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตงจี๋ · ดูเพิ่มเติม »

เตงงาย

ตงงาย (Deng Ai) เป็นแม่ทัพคนสำคัญของฝ่ายวุยก๊ก ในยุคสามก๊กตอนปลาย มีชื่อรองว่าซื่อไจ่ เป็นชาวตำบลจี๋หยาง มณฑลเหอหนาน เป็นคนฉลาด ไหวพริบดี ชำนาญพิชัยสงคราม สุมาอี้เห็นปัญญาดีจึงเอาตัวมาส่งเสริม เมื่อเกียงอุย ขุนพลจ๊กก๊ก ลูกศิษย์ขงเบ้ง ยกทัพมาตีวุยก๊ก เตงงายก็สามารถยันทัพเกียงอุยไว้ได้ทุกครั้ง ในกาลนั้น พระเจ้าเล่าเสี้ยนปกครองจ๊กก๊ก ทรงลุ่มหลงสุรานารี ทำให้บ้านเมืองแหลกเหลว สุมาเจียวจึงให้เตงงายและจงโฮยยกทัพเข้าตีจ๊กก๊ก เตงงายเดินทัพลัดเลาะมาทางด่านอิมเป๋งและสามารถยึดเสฉวนได้ในที่สุด เตงงายถือว่าเป็นผู้พิชิตจ๊กก๊ก มีความดีความชอบใหญ่หลวง แต่สุมาเจียวกลับระแวงเตงงาย จึงให้จงโฮยกับอุยก๋วนปราบเตงงายและจับตัวส่งไปเมืองหลวง ระหว่างทางก็ให้สังหารเตงงายกับเตงต๋งผู้บุตรเสี.

กุยห้วยและเตงงาย · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตงงาย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กุยห้วยและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

กุยห้วย มี 45 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก มี 382 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 38, ดัชนี Jaccard คือ 8.90% = 38 / (45 + 382)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กุยห้วยและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »