โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กีร์กุสมักซิมุสและสถาปัตยกรรมโรมัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กีร์กุสมักซิมุสและสถาปัตยกรรมโรมัน

กีร์กุสมักซิมุส vs. สถาปัตยกรรมโรมัน

วาดในจินตนาการของกีร์กุสมักซิมุส กีร์กุสมักซิมุสในปัจจุบัน กีร์กุสมักซิมุส (CIRCVS MAXIMVS, "วงกลมใหญ่สุด") เป็นสนามกีฬากลางแจ้งที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน เช่นเดียวกับโคลอสเซียม ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในใจกลางกรุงโรม กีร์กุสมักซิมุสเป็นสนามกีฬาที่ใช้สำหรับแข่งรถม้าโดยเฉพาะ แต่ก็มีการแข่งขันอย่างอื่นด้วย เช่น กลาดิอาตอร์ สนามมีสนามหญ้าที่ยาวกว่า 2,000 ฟุต 650 ฟุต บรรจุคนดูได้ 25,000 คน นับเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งมีคนตายมากเพราะในการแข่ง อันเนื่องจากไม่มีกติกาใด ๆ ในการแข่งขัน ขอเพียงให้รถเข้าสู่เส้นชัยได้เป็นพอ กีร์กุสมักซิมุสได้รับการสร้างขึ้นในสมัยจูเลียส ซีซาร์ และปรับปรุงบูรณะเรื่อยมาในสมัยจักรพรรดิเอากุสตุส และบูรณะอย่างสวยงามในสมัยจักรพรรดิแว็สปาซิอานุส จนเสร็จสมบูรณ์มีความยาว 2,037 ฟุต กว้าง 387 ฟุต และจุคนดูได้ 150,000 คน ด้านทิศเหนือของกีร์กุสมักซิมุส มีวิหารใต้ดินสร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพีเวสตา ซึ่งเป็นเทพีแห่งเตาไฟด้วย และรอบ ๆ สนามก็มีสิ่งก่อสร้างที่เป็นตึกอาคารและสถานที่ใต้ดินต่าง ๆ อีกหลายแห่ง โดยเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่นานถึง 6 วัน 6 คืนในโรม ในปี ค.ศ. 64 ในสมัยจักรพรรดิแนโร ไฟก็เริ่มไหม้มาจากด้านหนึ่งของสนามกีฬา ปัจจุบัน กีร์กุสมักซิมุสเหลือเพียงสภาพที่เป็นสนามหญ้าขนาดใหญ่และเศษซากในกรุงโรม. ลอสเซียมในกรุงโรม สถาปัตยกรรมโรมัน (Architecture of ancient Rome) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของโรมันโบราณที่ประยุกต์มาจากสถาปัตยกรรมกรีกตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราชมาเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของตนเอง ลักษณะสถาปัตยกรรมทั้งสองถือว่าเป็น “สถาปัตยกรรมคลาสสิก” นอกจากลักษณะสถาปัตยกรรมที่นำมาจากกรีกแล้วโรมันยังรับอิทธิพลเกี่ยวเนื่องเช่นการสร้าง “ห้องทริคลิเนียม” (Triclinium) ในคฤหาสน์โรมันเป็นห้องกินข้าวอย่างเป็นทางการ และจากผู้ที่มีอำนาจมาก่อนหน้านั้น--วัฒนธรรมอีทรัสคัน--โรมันก็นำความรู้ต่างทางสถาปัตยกรรมมาประยุกต์ใช้เช่นการใช้ระบบไฮดรอลิคและการก่อสร้างซุ้มโค้ง ปัจจัยทางสังคมเช่นความมั่งคั่งและจำนวนประชากรที่หนาแน่นในมหานครทำให้โรมันต้องพยายามหาหนทางใหม่ในการแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมอันเป็นผลที่ตามมา การใช้ ยอดโค้ง (Vault) และ ซุ้มโค้ง ประกอบกับความรู้เกี่ยวกับวัสดุสำหรับการก่อสร้างเป็นต้นที่สามารถทำให้โรมันประสบกับความสำเร็จเช่นที่ไม่เคยมีมาก่อนในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตน่าประทับใจสำหรับสาธารณชน ตัวอย่างเช่นสะพานส่งน้ำโรมัน, โรงอาบน้ำไดโอคลีเชียน และ โรงอาบน้ำคาราคัลลา, บาซิลิกา และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือโคลอสเซียมในกรุงโรม ซึ่งกลายมาเป็นแบบจำลองในการสร้างสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันที่มีขนาดย่อมกว่าตามมหานครและนครต่างๆ ไปทั่วทั้งจักรวรรดิ สิ่งก่อสร้างบางชิ้นก็ยังหลงเหลืออยู่ในรูปแบบที่เกือบสมบูรณ์เช่นกำแพงเมืองลูโกในฮิสปาเนียทาร์ราโคเนนซิสทางตะวันตกเฉียงเหนือของสเปน การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตนอกจากจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถทางสถาปัตยกรรมแล้วก็ยังเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อถึงความเป็นมหาอำนาจของจักรวรรดิโรมันอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากตึกแพนธีอันโดยเฉพาะในการสร้างใหม่ตามแบบของจักรพรรดิเฮเดรียนที่ยังคงตั้งอยู่อย่างสง่างดงามเช่นเมื่อสร้างใหม่ นอกจากแพนธีอัน จักรพรรดิเฮเดรียนก็ยังทรงทิ้งร่องรอยทางสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ไว้ทางตอนเหนือของบริเตนในรูปของกำแพงเฮเดรียนที่ใช้เป็นเส้นพรมแดนทางตอนเหนือสุดของจักรวรรดิ และเมื่อพิชิตสกอตแลนด์เหนือขึ้นไปจากกำแพงเฮเดรียนได้ ก็ได้มีการสร้างกำแพงอันโตนินขึ้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กีร์กุสมักซิมุสและสถาปัตยกรรมโรมัน

กีร์กุสมักซิมุสและสถาปัตยกรรมโรมัน มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): โรมโคลอสเซียม

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

กีร์กุสมักซิมุสและโรม · สถาปัตยกรรมโรมันและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โคลอสเซียม

ลอสเซียม (Colosseum), โคลิเซียม (Coliseum) หรือทวิอัฒจันทร์ฟลาเวียน (Flavian Amphitheatre; Amphitheatrum Flavium; Anfiteatro Flavio หรือ Colosseo) เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสเปเซียนแห่งจักรวรรดิโรมัน และสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิไททัส ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 อัฒจันทร์เป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทรายวัดโดยรอบได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน มีการออกแบบอย่างชาญฉลาดโดยสร้างให้สนามกีฬามีลักษณะเป็นรูปวงรี เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใกล้นักกีฬา และมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตก ถือเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่างๆในปัจจุบัน ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 10 ปี 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โคลอสเซียมได้รับเลือกให้เป็น1 ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ.

กีร์กุสมักซิมุสและโคลอสเซียม · สถาปัตยกรรมโรมันและโคลอสเซียม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กีร์กุสมักซิมุสและสถาปัตยกรรมโรมัน

กีร์กุสมักซิมุส มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ สถาปัตยกรรมโรมัน มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 6.06% = 2 / (18 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กีร์กุสมักซิมุสและสถาปัตยกรรมโรมัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »