เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กิแกโรและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กิแกโรและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

กิแกโร vs. สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

มาร์กุส ตุลลิอุส กิแกโร (Marcvs Tvllivs Cicero; 3 มกราคม 106 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 7 ธันวาคม 43 ปีก่อนคริสต์ศักราช) คือนักปรัชญา รัฐบุรุษ นักกฎหมาย นักทฤษฎีการเมือง และนักนิยมรัฐธรรมนูญชาวโรมันโบราณ เขาเกิดในตระกูลขุนนางอันมั่งคั่งในตำแหน่งขุนคลัง เป็นที่รู้จักแพร่หลายในฐานะนักพูดและกวีที่มีชื่อเสียงที่สุดของโรมัน เขาเป็นผู้ริเริ่มโรงเรียนผู้นำด้านปรัชญากรีกในโรมัน และสร้างศัพท์ทางปรัชญาในภาษาละตินขึ้นใหม่หลายคำ (เช่น humanitas, qualitas, quantitas, และ essentia) ทำให้เขาโดดเด่นในฐานะนักภาษาศาสตร์ นักแปล และนักปรัชญาด้วย กิแกโรเป็นทั้งนักพูดที่มีพลัง และเป็นนักกฎหมายผู้ประสบความสำเร็จ ปัจจุบันเขาเป็นที่ยกย่องจากงานเขียนเชิงมนุษยนิยม ปรัชญา และการเมือง ทั้งสุนทรพจน์และจดหมายของกิแกโรหลายฉบับยังคงหลงเหลือตกทอดมาถึงปัจจุบัน เป็นแหล่งข้อมูลชั้นต้นที่สำคัญที่สุดในช่วงยุคท้าย ๆ ของสาธารณรัฐโรมัน. มัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (ภาษาอังกฤษ: Italian Renaissance) เป็นจุดแรกของการเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาซึ่งเป็นช่วงเวลาของความเจริญทางวัฒนธรรมที่สูงสุดในยุโรปที่เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ไปจนสิ้นสุดลงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นช่วงเวลาที่เชื่อมระหว่างยุคกลางของยุโรปกับยุโรปสมัยใหม่ตอนต้น (Early Modern Europe) คำว่า “เรอเนสซองซ์” เป็นคำสมัยใหม่ที่มาใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในงานของนักประวัติศาสตร์เช่นเจคอป เบิร์คฮาร์ดท์ (Jacob Burckhardt) ที่มาของขบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเริ่มจากการวิวัฒนาการทางวรรณกรรมของผู้ก่อตั้งในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 แต่ วัฒนธรรมด้านอื่นๆของอิตาลีในขณะนั้นยังคงเป็นวัฒนธรรมของยุคกลาง ปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยามิได้แพร่หลายอย่างเต็มที่จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 คำว่า “เรอเนสซองซ์” หรือ “Rinascimento” ในภาษาอิตาลีหมายความว่า “เกิดใหม่” และเป็นสมัยที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในการฟื้นฟูความสนใจในวัฒนธรรมของกรีกโรมันหลังจากสมัยที่นักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์ (Renaissance humanist) ตั้งชื่อว่ายุคมืด (Dark Ages) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแต่จำกัดอยู่แต่ในกลุ่มชนชั้นสูงและทิ้งให้ประชากรส่วนใหญ่ในยุโรปยังมีความเป็นอยู่ที่ไม่ต่างจากสมัยกลางที่ผ่านมา สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเริ่มในทัสเคนีโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ฟลอเรนซ์และเซียนา และต่อมาในเวนิสที่มีผลเป็นอันมาก เพราะงานต่างๆ ของกรีกโบราณถูกนำไปรวบรวมไว้ที่เวนิสซึ่งทำให้กลายเป็นแหล่งความรู้ต่างๆ ที่ใหม่ๆ ให้แก่นักมนุษยนิยม ผู้คงแก่เรียนในเวนิสในขณะนั้น ต่อมาปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยาก็มามีอิทธิพลในกรุงโรม ที่ทำให้เกิดการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ มากมายที่ส่วนใหญ่โดยการอุปถัมภ์ของพระสันตปาปาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรุ่งเรืองที่สุดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลังจากนั้นก็ลดถอยลงหลังจากการรุกรานจากต่างประเทศที่ก่อสงครามในอิตาลี แต่การฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีก็มิได้หยุดนิ่งลงแต่เผยแพร่ไปทั่วยุโรปและเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนเหนือของยุโรปและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอังกฤษและประเทศอื่นๆ ในยุโรป สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในความสำเร็จทางด้านวัฒนธรรม วรรณกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรวมนักมนุษยนิยมผู้มีชื่อเสียงเช่นเปตรากที่รู้จักกันดีในงานซอนเน็ต “Il Canzoniere”; จิโอวานนิ บอคคาซิโอ (Giovanni Boccaccio) ในงานเรื่องเล่า “Decameron” และนักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์เช่นโปลิซิอาโน (Poliziano), มาร์ซิลิโอ ฟิซิโน (Marsilio Ficino), โลเร็นโซ วาลลา (Lorenzo Valla), อัลโด มานูซิโอ (Aldo Manuzio), โพจจิโอ บราชชิโอลินิ (Poggio Bracciolini) นอกจากนั้นก็มีนักประพันธ์มหากาพย์เรอเนสซองซ์เช่นบัลดัสซาเร คาสติกลิโอเน (Baldassare Castiglione) (“The Book of the Courtier”), ลุโดวิโค อริโอสโต (Ludovico Ariosto) (“Orlando Furioso”) และทอร์ควาโท ทาสโซ (Torquato Tasso) (“Jerusalem Delivered”) และนักประพันธ์ร้อยแก้วเช่นนิคโคโล มาเคียเวลลี (“The Prince”) จิตรกรรมเรอเนสซองซ์อิตาลีเป็นจิตรกรรมที่มีอิทธิพลต่อจิตรกรรมตะวันตกต่อมาอีกหลายร้อยปี โดยมีจิตรกรเช่นไมเคิล แอนเจโล, ราฟาเอล, ซานโดร บอตติเชลลี, ทิเชียน และเลโอนาร์โด ดา วินชี และเช่นเดียวกันกับสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีสถาปนิกเช่นอันเดรอา ปัลลาดีโอ และงานเช่นมหาวิหารฟลอเรนซ์ และมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม ในขณะเดียวกันนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเห็นว่าเป็นสมัยของความหดตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมามีความก้าวหน้ามากกว่าในวัฒนธรรมของโปรเตสแตนต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กิแกโรและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

กิแกโรและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ตากิตุส

ตากิตุส

ปูบลิอุส (หรือ กาอิอุส) กอร์เนลิอุส ตากิตุส (Pvblivs (Gaivs) Cornelivs Tacitvs; ประมาณ ค.ศ. 56 - ค.ศ. 117) เป็นชาวโรมันและนักประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิโรมันผู้บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสมัยโรมัน อาทิ เหตุการณ์ระเบิดของภูเขาไฟวิสุเวียส ตากิตุสเป็นหนึ่งในนักประวัติศาสตร์ของโรมที่โด่งดัง โดยบันทึกต่าง ๆ ของเขาเป็นภาษาละติน หมวดหมู่:นักเขียนชาวโรมัน หมวดหมู่:นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน.

กิแกโรและตากิตุส · ตากิตุสและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กิแกโรและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

กิแกโร มี 14 ความสัมพันธ์ขณะที่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี มี 45 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.69% = 1 / (14 + 45)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กิแกโรและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: