โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กิลกาเมชและเทวสิทธิราชย์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กิลกาเมชและเทวสิทธิราชย์

กิลกาเมช vs. เทวสิทธิราชย์

รูปปั้นกิลกาเมช ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ กิลกาเมช เป็นกษัตริย์ในตำนาน แห่งนครอุรุค ในอาณาจักรบาบิโลน หรือบาบีโลเนีย ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรติส ในประเทศอิรักปัจจุบัน เชื่อว่าเคยมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล มีเรื่องเล่าและปกรณัมมากมายที่เขียนเกี่ยวกับกิลกาเมช บางเรื่องเขียนไว้ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยจารึกบนแผ่นดินเหนียวเป็นภาษาของพวกซูเมอร์ เรียกว่าภาษาซูเมเรียน ซึ่งยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ภาษาดังกล่าวนี้นักโบราณคดีเชื่อว่าไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับภาษาอื่นๆ ที่เราเคยรู้จักเลย เรื่องกิลกาเมชของพวกซูเมอร์นั้น ถูกรวบรวมขึ้นเป็นบทกวีเรื่องยาว เรียกว่า มหากาพย์กิลกาเมช (Epic of Gilgamesh) หลงเหลืออยู่เป็นวรรณกรรมในหลายภาษา เช่น ของชาวอัคคาเดีย (ภาษาตระกูลเซมิติค ซึ่งมีความสัมพันธ์กับภาษาฮีบรู, เป็นภาษาที่พูดกันในอาณาจักรบาบิโลน) นอกจากนี้ยังมีปรากฏบนแผ่นจารึกดินเหนียว เป็นภาษาฮูร์เรียน และภาษาฮิตไตต์ (ภาษาหนึ่งในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งพูดกันในเขตรอยต่อยุโรปและเอเชีย นับเป็นหนึ่งในบรรดาภาษาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก) ภาษาทั้งหมดที่พูดมานี้ จารด้วยอักษรลิ่ม หรือที่เราคุ้นเคยกันด้วยชื่อ คูเนฟอร์ม ตำนานฉบับเต็มเกี่ยวกับกิลกาเมชนั้น ได้มาจากศิลาจารึก 12 แท่ง จารเป็นภาษาอัคคาเดียน พบในซากปรักหักพังของหอพระสมุด พระเจ้าอะชูรบานิปัล แห่งอัสสิเรีย เมื่อราว 669-633 ปีก่อนคริสตกาล ที่เมืองนีนะเวห์(Nineveh) หอสมุดแห่งนี้ถูกพวกเปอร์เซียทำลายเมื่อ 612 ปีก่อนคริสตกาล และจารึกทั้งหมดก็พินาศไปด้วย จารึกนี้ระบุชื่อผู้แต่งไว้ด้วย ซึ่งนับเป็นเรื่องที่แปลกมาก เนื่องจากในสมัยโบราณ แทบจะไม่มีการจารึกชื่อผู้แต่งเรื่องใด ๆ (จารึกไทยในสมัยสุโขทัยหรืออยุธยาก็ไม่มีการจารึกชื่อผู้แต่งเช่นกัน) ผู้แต่งจารึกนี้คือ ชิเนฆิอุนนินนิ (Shin-eqi-unninni) อาจกล่าวได้ว่า บุคคลผู้นี้เป็นนักเขียนที่เก่าแก่ที่สุดในโลกวรรณกรรม ที่เราสามารถระบุชื่อได้ ตำนานของกิลกาเมชนั้นกล่าวโดยย่อ คงเทียบได้กับเรื่องของโนอาห์ ในคัมภีร์ไบเบิ้ลหรือนูห์ ในคัมภีร์อัลกุรอาน นั่นเอง นับเป็นตำนานน้ำท่วมโลกที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก. พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในเครื่องทรงพระอาทิตย์ เทวสิทธิราชย์ (Divine Right of Kings) เป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจใดภายในโลกียวิสัยเพราะทรงเป็นผู้ที่ได้รับอำนาจโดยตรงจากพระเจ้า ฉะนั้นพระมหากษัตริย์จึงไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจของประชาชน ขุนนาง หรือสถาบันใดใดทั้งสิ้น (ทั้งนี้ผู้นับถือนิกายโปรแตสแตนท์ส่วนมากเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ใต้อำนาจพระศาสนจักรอีกด้วย ส่วนผู้นับถือนิกายคาทอลิกถือว่าพระศาสนจักรไม่ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์) หลักความเชื่ออันนี้เป็นนัยว่าความพยายามในการโค่นล้มราชบัลลังก์หรือความพยายามในการจำกัดสิทธิของพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และเป็นการขัดต่อพระประสงค์ของพระเจ้า มีผลด้านการเมืองคือทำให้ประชาชนเข้าใจว่าผู้ทำพยายามกระทำการดังกล่าวเป็นพวกนอกรีต หลักความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่ยุคกลางที่กล่าวว่าพระเจ้าทรงมอบอำนาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับที่ทรงมอบอำนาจทางธรรมให้แก่สถาบันศาสนาโดยมีประมุขเป็นพระสันตะปาปา ผู้ประพันธ์ทฤษฎีนี้คือฌอง โบแดง (Jean Bodin) ผู้เขียนจากการตีความหมายของกฎหมายโรมัน เมื่อการขยายตัวของรัฐอิสระต่างๆ และการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลมากขึ้น ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ก็กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนในการให้เหตุผลในเอกสิทธิ์ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ทั้งในด้านการเมืองและทางด้านศาสนา ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ที่สนับสนุนโดยสถาบันโรมันคาทอลิกมามีบทบาทสำคัญระหว่างรัชสมัยการปกครองของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1603–1625) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1643–1715) ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” มาเริ่มลดความสำคัญลงในระหว่างสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษระหว่างปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กิลกาเมชและเทวสิทธิราชย์

กิลกาเมชและเทวสิทธิราชย์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กิลกาเมชและเทวสิทธิราชย์

กิลกาเมช มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ เทวสิทธิราชย์ มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (18 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กิลกาเมชและเทวสิทธิราชย์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »