ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กิลกาลัดและเอเลนดิล
กิลกาลัดและเอเลนดิล มี 9 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มิดเดิลเอิร์ธมนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)ยุคที่สองแห่งอาร์ดาอิซิลดูร์นูเมนอร์โนลดอร์เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เซารอน
มิดเดิลเอิร์ธ
แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.
กิลกาลัดและมิดเดิลเอิร์ธ · มิดเดิลเอิร์ธและเอเลนดิล ·
มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)
มนุษย์ ตามความหมายในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ โดยสร้างขึ้นภายหลังเผ่าพันธุ์เอลฟ์ จึงได้ชื่อว่าเป็น บุตรคนเล็กแห่งอิลูวาทาร์ เหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นเหตุการณ์ในตอนท้ายของยุคสมัยอันรุ่งเรืองของพวกเอลฟ์ เมื่อพ้นจากยุคของเอลฟ์แล้ว เผ่าพันธุ์มนุษย์จึงรุ่งเรืองขึ้นและได้ครอบครองโลกทั้งหมดดังเช่นปัจจุบัน.
กิลกาลัดและมนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)และเอเลนดิล ·
ยุคที่สองแห่งอาร์ดา
ที่สอง แห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การจับกุมคุมขังเทพอสูรมอร์กอธไว้ในสุญญภูมิ หลังจากการล่มจมสมุทรของแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นผลจากสงครามแห่งความโกรธา อันเป็นสงครามระหว่างปวงเทพแห่งแดนประจิมกับมอร์กอธ การรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ ไปจนถึงการปราบปรามเซารอนลงสำเร็จในสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย กินเวลายาวนานถึง 3,441 ปี เหตุการณ์ในยุคที่สองของอาร์ดา มิได้มีการบรรยายไว้โดยละเอียดเหมือนยุคที่หนึ่ง ซึ่งปรากฏเนื้อหาอยู่ในตำนานเรื่อง ซิลมาริลลิออน แต่ได้มีการบรรยายสรุปโดยย่ออยู่ในภาคผนวกของหนังสือเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และในตำนานอคัลลาเบธ อันเป็นตำนานว่าด้วยการรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาจำนวนมากที่โทลคีนประพันธ์ค้างไว้ และคริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ Unfinished Tales.
กิลกาลัดและยุคที่สองแห่งอาร์ดา · ยุคที่สองแห่งอาร์ดาและเอเลนดิล ·
อิซิลดูร์
อิซิลดูร์ (Isildur) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในหนังสือเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales ชื่อ 'อิซิลดูร์' หมายถึง 'ผู้รักใคร่ในดวงจันทร์' ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ อิซิลดูร์ถูกเอ่ยถึงในฐานะชาวดูเนไดน์แห่งนูเมนอร์ โอรสของกษัตริย์เอเลนดิล ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรอาร์นอร์และกอนดอร์ในช่วงเวลาสั้นๆ และทรงเป็นบรรพชนของอารากอร์น เอเลสซาร์ เรื่องราวโดยละเอียดของเขาจะปรากฏอยู่ใน ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales มากกว.
กิลกาลัดและอิซิลดูร์ · อิซิลดูร์และเอเลนดิล ·
นูเมนอร์
นูเมนอร์ (Númenor) เป็นชื่อเกาะแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นแผ่นดินที่แยกต่างหากออกมาจาก มิดเดิลเอิร์ธ มีแนวคิดในการประพันธ์มาจากแผ่นดินจมสมุทรแอตแลนติส ชื่อนูเมนอร์มาจากภาษาเควนยา ว่า Númenórë ซึ่งมีความหมายว่า แผ่นดินตะวันตก โทลคีนเขียนไว้ว่า เมื่อแปลงจากคำภาษาเควนยาเป็นภาษานูเมนอเรียน ชื่อนี้ออกเสียงเป็น อนาดูเน (Anadûnê).
กิลกาลัดและนูเมนอร์ · นูเมนอร์และเอเลนดิล ·
โนลดอร์
ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาวโนลดอร์ (Noldor) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนโนลดอร์คือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนที่สองที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า ตาตา (Tata) ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกชนเหล่านี้ว่า 'ตระกูลที่สองของเอลฟ์' หรือ 'ตาชาร์' (Tatyar) สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาววันยาร์ และชาวเทเลริ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อเทพโอโรเมชักชวนเหล่าเอลฟ์ให้ส่งผู้แทนไปเยือนวาลินอร์ ผู้แทนของชาวโนลดอร์คือ ฟินเว ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์ทั้งมวล และได้นำพวกเขาเดินทางอพยพไปสู่แผ่นดินอมตะ ชาวโนลดอร์มีรูปร่างสูงใหญ่ มักมีดวงตาสีเทา ผมสีเข้ม (ยกเว้นโนลดอร์บางคนในตระกูลที่วิวาห์กับชาววันยาร์ เช่นราชสกุลฟินาร์ฟิน จะมีผมสีทองแบบชาววันยาร์) พวกเขาพูดภาษาเควนยา แต่ชาวโนลดอร์ที่นิวัติมายังมิดเดิลเอิร์ธในยุคที่หนึ่ง จะใช้ภาษาซินดารินในการเจรจาประจำวัน.
กิลกาลัดและโนลดอร์ · เอเลนดิลและโนลดอร์ ·
เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)
อลฟ์ (elf) ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'.
กิลกาลัดและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)และเอเลนดิล ·
เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..
กิลกาลัดและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์และเอเลนดิล ·
เซารอน
ซารอน (Sauron) เป็นตัวละครหลักฝ่ายอธรรมในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เดิมเป็นเทพไมอา ซึ่งทำงานรับใช้จอมมารมอร์กอธ ภายหลังตั้งตัวเป็นใหญ่ เซารอนเป็นผู้หลอมสร้างแหวนเอก ซึ่งบรรจุพลังอำนาจมหาศาลเอาไว้ภายใน และสามารถบังคับควบคุมใครก็ตามที่สวมแหวนแห่งอำนาจวงอื่น.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ กิลกาลัดและเอเลนดิล มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง กิลกาลัดและเอเลนดิล
การเปรียบเทียบระหว่าง กิลกาลัดและเอเลนดิล
กิลกาลัด มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอเลนดิล มี 28 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 9, ดัชนี Jaccard คือ 18.00% = 9 / (22 + 28)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กิลกาลัดและเอเลนดิล หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: