โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กำเนิดประสาทและระบบรู้กลิ่น

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กำเนิดประสาทและระบบรู้กลิ่น

กำเนิดประสาท vs. ระบบรู้กลิ่น

กำเนิดประสาท (Neurogenesis) เป็นกระบวนการที่เซลล์ประสาท (หรือนิวรอน) เกิดจากเซลล์ประสาทต้นกำเนิด (neural stem cell) และ progenitor cell กลไกทางพันธุกรรมที่เฉพาะเจาะจงจะเป็นตัวกำหนดชะตาของเซลล์ โดยทั้งนิวรอนแบบเร้าและแบบยับยั้งมากมายหลายประเภท ก็จะเกิดจากเซลล์ประสาทต้นกำเนิดที่ต่าง ๆ กัน กำเนิดประสาทจะเกิดในช่วงการเกิดเอ็มบริโอในสัตว์ทั้งหมด และเป็นกระบวนการสร้างนิวรอนทั้งหมดในสัตว์ โดยก่อนช่วงกำเนิดประสาท เซลล์ประสาทต้นกำเนิดจะแบ่งตัวจนมีจำนวน progenitor cell ที่พอเพียง ยกตัวอย่างเช่น เซลล์ประสาทต้นกำเนิดหลักของสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เรียกว่า radial glial cell จะอยู่ในเขตเริ่มก่อตัวที่เรียกว่า ventricular zone ซึ่งอยู่ข้างโพรงสมองที่กำลังพัฒนาขึ้น เซลล์ต้นกำเนิดจะแบ่งตัวจนกระทั่งกลายเป็นนิวรอนลูก (daughter neuron) ที่ไม่แบ่งตัวอีก และดังนั้น นิวรอนทั้งหมดจะอยู่ในสภาพ post-mitotic (คือจะไม่แบ่งตัวอีก) และนิวรอนในระบบประสาทกลางมนุษย์โดยมากจะดำรงอยู่ตลอดชีวิตของบุคคล ปัจจัยระดับโมเลกุลและทางพันธุกรรมมีอิทธิพลต่อกำเนิดประสาท ที่เด่น ๆ รวมวิถีการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ที่เรียกว่า Notch pathway จึงมียีนเป็นจำนวนมากที่สัมพันธ์กับการควบคุมวิถีการส่งสัญญาณนี้ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กำเนิดประสาทในผู้ใหญ่ (adult neurogenesis) พบว่าเกิดในเขตหลัก ๆ 3 เขตในสมอง คือ dentate gyrus ของฮิปโปแคมปัส, subventricular zone ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ผนังด้านข้างตลอดโพรงสมองข้าง, และ olfactory bulb ซึ่งเป็นโครงสร้างประสาทเกี่ยวกับการได้กลิ่น แต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางอย่าง กำเนิดประสาทเพื่อทดแทนเซลล์เก่าก็เกิดได้ด้วยเหมือนกัน และโดยนัยเดียวกัน ยาแก้ซึมเศร้าหลายอย่างพบว่าเพิ่มอัตรากำเนิดประสาทในฮิปโปแคมปั. ระบบรู้กลิ่น หรือ ระบบรับกลิ่น (olfactory system) เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกที่ใช้เพื่อรับกลิ่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลานโดยมากจะมีทั้งระบบรับกลิ่นหลัก (main olfactory system) และระบบรับกลิ่นเสริม (accessory olfactory system) ระบบหลักจะรับกลิ่นจากอากาศ ส่วนระบบเสริมจะรับกลิ่นที่เป็นน้ำ ประสาทสัมผัสเกี่ยวกับกลิ่นและรสชาติ บ่อยครั้งเรียกรวมกันว่าระบบรับรู้สารเคมี (chemosensory system) เพราะทั้งสองให้ข้อมูลแก่สมองเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งเร้าผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) กลิ่นช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและแหล่งอาหาร เกี่ยวกับความสุขหรืออันตรายที่อาจได้จากอาหาร เกี่ยวกับอันตรายที่สารอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อมอาจมี ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ผู้อื่น และสัตว์ชนิดอื่น ๆ กลิ่นมีผลทางสรีรภาพโดยเริ่มกระบวนการย่อยอาหารและการใช้พลังงาน มีบทบาทในการสืบพันธุ์ การป้องกันตัว และพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหาร ในสัตว์บางชนิด มีบทบาทสำคัญทางสังคมเพราะตรวจจับฟีโรโมนซึ่งมีผลทางสรีรภาพและพฤติกรรม ในทางวิวัฒนาการแล้ว ระบบรับกลิ่นเป็นประสาทสัมผัสที่เก่าแก่ที่สุด แม้จะเป็นระบบที่เข้าใจน้อยที่สุดในบรรดาประสาทสัมผัสทั้งหมด ระบบรับกลิ่นจะอาศัยหน่วยรับกลิ่น (olfactory receptor) ซึ่งเป็นโปรตีนหน่วยรับความรู้สึกแบบ G protein coupled receptor (GPCR) และอาศัยกระบวนการส่งสัญญาณทางเคมีที่เกิดตามลำดับภายในเซลล์ซึ่งเรียกว่า second messenger system เพื่อถ่ายโอนข้อมูลกลิ่นเป็นกระแสประสาท หน่วยรับกลิ่นจะแสดงออกอยู่ที่เซลล์ประสาทรับกลิ่นในเยื่อรับกลิ่นในโพรงจมูก เมื่อหน่วยรับกลิ่นต่าง ๆ ทำงานในระดับที่สมควร เซลล์ประสาทก็จะสร้างศักยะงานส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบประสาทกลางเริ่มตั้งแต่ป่องรับกลิ่น ซึ่งก็จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเป็นต้นของสัตว์ นักเคมีเกี่ยวกับกลิ่นก็ประเมินว่า มนุษย์อาจสามารถแยกแยะกลิ่นระเหยได้ถึง 10,000 รูปแบบ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับของหอมอาจแยกแยะกลิ่นได้ถึง 5,000 ชนิด และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับไวน์อาจแยกแยะส่วนผสมได้ถึง 100 อย่าง โดยสามารถรู้กลิ่นต่าง ๆ ในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ กัน เช่น สามารถรู้สารกลิ่นหลักของพริกชี้ฟ้า คือ 2-isobutyl-3-methoxypyrazine ในอากาศที่มีความเข้มข้น 0.01 นาโนโมล ซึ่งประมาณเท่ากับ 1 โมเลกุลต่อ 1,000 ล้านโมเลกุลของอากาศ สามารถรู้กลิ่นเอทานอลที่ความเข้มข้น 2 มิลลิโมล และสามารถรู้กลิ่นโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกันเล็กน้อยในระดับโมเลกุล เช่น กลิ่นของ D-carvone จะต่างจากของ L-carvone โดยมีกลิ่นเหมือนกับเทียนตากบและมินต์ตามลำดับ ถึงกระนั้น การได้กลิ่นก็พิจารณาว่าเป็นประสาทสัมผัสที่แย่ที่สุดอย่างหนึ่งในมนุษย์ โดยมีสัตว์อื่น ๆ ที่รู้กลิ่นได้ดีกว่า เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกินกว่าครึ่ง ซึ่งอาจเป็นเพราะมนุษย์มีประเภทหน่วยรับกลิ่นที่น้อยกว่า และมีเขตในสมองส่วนหน้าที่อุทิศให้กับการแปลผลข้อมูลกลิ่นที่เล็กกว่าโดยเปรียบเที.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กำเนิดประสาทและระบบรู้กลิ่น

กำเนิดประสาทและระบบรู้กลิ่น มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ยาแก้ซึมเศร้าระบบประสาทกลางสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมฮิปโปแคมปัส

ยาแก้ซึมเศร้า

แผงยาโปรแซ็ก (ฟลูอ๊อกซิติน) ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) โครงสร้างทางเคมีของ venlafaxine ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitor (SNRI) ยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant) เป็นยาเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอื่น ๆ รวมทั้ง dysthymia, โรควิตกกังวล, โรคย้ำคิดย้ำทำ, ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder), ความเจ็บปวดเรื้อรัง, ความเจ็บปวดเหตุประสาท (neuropathic pain), และในบางกรณี อาการปวดระดู การกรน โรคไมเกรน โรคสมาธิสั้น การติด การติดสารเสพติด และความผิดปกติในการนอน โดยสามารถใช้เดี่ยว ๆ หรือรวมกับยาชนิดอื่น ๆ ตามที่แพทย์สั่ง กลุ่มยาแก้ซึมเศร้าที่สำคัญที่สุดรวมทั้ง selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs), serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs), tricyclic antidepressants (TCAs), monoamine oxidase inhibitors (MAOIs), reversible monoamine oxidase A inhibitors (rMAO-A inhibitors), tetracyclic antidepressants (TeCAs), และ noradrenergic and specific serotonergic antidepressant (NaSSAs) โดยมียาสมุนไพรจากพืช Hypericum perforatum (St John's wort) ที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าเหมือนกัน.

กำเนิดประสาทและยาแก้ซึมเศร้า · ยาแก้ซึมเศร้าและระบบรู้กลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

กำเนิดประสาทและระบบประสาทกลาง · ระบบประสาทกลางและระบบรู้กลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

กำเนิดประสาทและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ระบบรู้กลิ่นและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปโปแคมปัส

ปโปแคมปัส (hippocampus) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสมองของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ฮิปโปแคมปัสเป็นส่วนหนึ่งของระบบลิมบิก (limbic system) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างความทรงจำระยะยาวและการกำหนดทิศทางในที่ว่าง โครงสร้างนี้มีลักษณะเป็นคู่อยู่ด้านข้างซ้ายและขวาของสมองเหมือนกับซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ ในมนุษย์และไพรเมตชนิดอื่นๆ ฮิปโปแคมปัสวางตัวในสมองกลีบขมับส่วนใกล้กลาง (medial temporal lobe) ของสมองภายใต้พื้นผิวเปลือกคอร์เท็กซ์ รูปร่างของฮิปโปแคมปัสมีลักษณะโค้งจนนักกายวิภาคศาสตร์ในยุคแรกเปรียบเทียบว่าเหมือนกับเขาของแกะ (Cornu Ammonis) หรือเหมือนม้าน้ำ ดังจะเห็นจากชื่อ ฮิปโปแคมปัส มาจากภาษากรีกของคำว่าม้าน้ำ (กรีก: ιππος, hippos.

กำเนิดประสาทและฮิปโปแคมปัส · ระบบรู้กลิ่นและฮิปโปแคมปัส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กำเนิดประสาทและระบบรู้กลิ่น

กำเนิดประสาท มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ ระบบรู้กลิ่น มี 146 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 2.58% = 4 / (9 + 146)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กำเนิดประสาทและระบบรู้กลิ่น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »