เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กาฬโรคและโรคระบาดยุสตินิอานุส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กาฬโรคและโรคระบาดยุสตินิอานุส

กาฬโรค vs. โรคระบาดยุสตินิอานุส

กาฬโรค (plague) เป็นโรคติดเชื้อถึงตายที่เกิดจากเอ็นเทอโรแบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งตั้งตามชื่อนักวิทยาแบคทีเรียชาวฝรั่งเศส-สวิส อเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน กาฬโรคเป็นโรคที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะ และหมัดเป็นตัวแพร่สู่มนุษย์ โรคดังกล่าวรู้จักกันตลอดประวัติศาสตร์ เนื่องจากขอบเขตการเสียชีวิตและการทำลายล้างที่โรคอื่นเทียบไม่ได้ กาฬโรคเป็นโรคระบาดหนึ่งในสามโรคที่ต้องรายงานต่อองค์การอนามัยโลก (อีกสองโรค คือ อหิวาตกโรคและไข้เหลือง) กระทั่งเดือนมิถุนายน 2550 กาฬโรคสามารถแพร่ในอากาศ ผ่านการสัมผัสโดยตรง หรือโดยอาหารหรือวัสดุที่ปนเปื้อน ขึ้นอยู่กับการติดเชื้อที่ปอดหรือสภาพสุขาภิบาล อาการของกาฬโรคขึ้นอยู่กับบริเวณที่มีเชื้อมากในแต่ละบุคคล เช่น กาฬโรคที่ต่อมน้ำเหลือง (bubonic plague) กาฬโรคแบบโลหิตเป็นพิษ (septicemic plague) ในหลอดเลือด กาฬโรคแบบมีปอดบวม (pneumonic plague) ในปอด ฯลฯ กาฬโรครักษาได้หากตรวจพบเร็ว และยังระบาดอยู่ในบางส่วนของโลก. รคระบาดยุสตินิอานุส (Plague of Justinian) เป็นโรคระบาดระดับโรคระบาดทั่วที่เกิดขึ้นในจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่รวมทั้งในกรุงคอนสแตนติโนเปิลระหว่างปี ค.ศ. 541 ถึงปี ค.ศ. 542 สาเหตุที่ยอมรับกันโดยทั่วไปของโรคระบาดคือกาฬโรค (bubonic plague) ที่ต่อมากลายมาเป็นเชื้อโรคที่มาระบาดครั้งใหญ่ในเหตุการณ์ที่เรียกว่ากาฬโรคระบาดในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ผลกระทบกระเทือนของวิกฤติการณ์ครั้งนี้เทียบได้กับเมื่อเกิดการระบาดของกาฬโรคในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ตามความเห็นของนักประวัติศาสตร์ตะวันตกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 เป็นเหตุการณ์ที่ครอบคลุมทั่วโลกและในยุโรปเองทางตอนเหนือก็แพร่ไปถึงเดนมาร์ก และทางตะวันตกไปถึงไอร์แลนด์ โรคระบาดหวนกลับมาระบาดทุกชั่วอายุคนในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนมาจนถึงประมาณปี ค.ศ. 750 นอกจากนั้นก็ยังมีผลกระทบกระเทือนต่อแนวโน้มของอนาคตของประวัติศาสตร์ยุโรป นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ตั้งชื่อการระบาดครั้งนี้ตามชื่อจักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1 ผู้ทรงสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ผู้ทรงราชย์ในสมัยที่เกิดการระบาดของโรคและพระองค์เองก็ประชวรด้วยโรคที่ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กาฬโรคและโรคระบาดยุสตินิอานุส

กาฬโรคและโรคระบาดยุสตินิอานุส มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): แบล็กเดท

แบล็กเดท

การฝังศพผู้เสียชีวิตจากแบล็กเดทในเมืองตูร์แน ภาพประกอบจากบันทึกของฌีล ลี มุยซี (Gilles Li Muisis) อธิการอารามนักบุญมาร์แต็งแห่งตูร์แน แบล็กเดท (Black Death) หรือ กาฬมรณะ เป็นโรคระบาดทั่วครั้งที่ก่อความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตประเมินไว้ราว 75 ถึง 100 ล้านคน และทวีความรุนแรงที่สุดในทวีปยุโรประหว่างปี 1348–50 การวิเคราะห์ดีเอ็นเอของผู้เสียชีวิตในทวีปยุโรปตอนเหนือและใต้บ่งชี้ว่า จุลชีพก่อโรคอันเป็นสาเหตุของโรค คือ แบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งอาจก่อกาฬโรคได้หลายแบบ คาดว่าแบล็กเดทเริ่มต้นในจีนหรือเอเชียกลาง จากนั้นแพร่มาตามเส้นทางสายไหมและถึงไครเมียในปี 1346 และหมัดหนูตะวันออก (Xenopsylla cheopis) ซึ่งอาศัยอยู่ในหนูดำอันอยู่บนเรือพาณิชย์ทั่วไป น่าจะเป็นตัวนำโรคจากไครเมีย กาฬโรคได้แพร่ไปทั่วเมดิเตอร์เรเนียนและทวีปยุโรป ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตเป็น 30–60% ของประชากรทั้งทวีปยุโรป กาฬโรคลดประชากรโลกจากที่ประเมินไว้ 450 ล้านคน ลงเหลือ 350–375 ล้านคนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 กาฬโรคมีผลต่อเส้นทางประวัติศาสตร์ยุโรป ก่อให้เกิดทั้งกลียุคทางศาสนา สังคมและเศรษฐกิจ ประชากรยุโรปกว่าจะกลับคืนจำนวนก็ใช้เวลา 150 ปี กาฬโรคอุบัติซ้ำเป็นครั้งคราวในทวีปยุโรปกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19.

กาฬโรคและแบล็กเดท · แบล็กเดทและโรคระบาดยุสตินิอานุส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กาฬโรคและโรคระบาดยุสตินิอานุส

กาฬโรค มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ โรคระบาดยุสตินิอานุส มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 5.26% = 1 / (9 + 10)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กาฬโรคและโรคระบาดยุสตินิอานุส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: