เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การให้วัคซีนและอีสุกอีใส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การให้วัคซีนและอีสุกอีใส

การให้วัคซีน vs. อีสุกอีใส

การให้วัคซีน (vaccination) เป็นการรักษาทางการแพทย์อย่างหนึ่ง หมายถึงการให้สารที่เป็นแอนติเจน (วัคซีน) เข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันชนิดรับมา (adaptive immunity) เป็นแอนติบอดีที่มีความจำเพาะต่อเชื้อก่อโรคหนึ่งๆ ซึ่งจะสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคติดเชื้อได้ เมื่อมีสัดส่วนของประชากรที่ได้รับวัคซีนมากถึงระดับหนึ่งก็จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ขึ้น ทำให้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือรับวัคซีนไม่ได้ ได้รับประโยชน์ในการป้องกันโรคจากผู้ที่มีภูมิคุ้มกันเหล่านี้ไปด้วย ประสิทธิผลของการให้วัคซีนนั้นได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางและเป็นที่ยืนยันแล้ว โดยพบว่าการให้วัคซีนเป็นวิธีการในการป้องกันโรคติดเชื้อที่ได้ผลดีที่สุด การมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อก่อโรคเป็นวงกว้างจากการให้วัคซีนนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษยชาติสามารถกำจัดเชื้อโรคบางอย่างให้หมดไปได้ เช่น ฝีดาษ และอีกหลายเชื้อที่กำลังจะหมดไป เช่น โปลิโอ หัด และบาดทะยัก เป็นต้น การปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษเป็นความพยายามครั้งแรกๆ ในการป้องกันโรคติดเชื้อโดยมนุษย์ และวัคซีนโรคฝีดาษก็เป็นวัคซีนชนิดแรกของโลกที่ถูกผลิตตามมา โดยถูกผลิตขึ้นใน.. รคอีสุกอีใส (chickenpox, varicella) เป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อได้ง่ายมากโรคหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (VZV) ทำให้ผู้ป่วยมีผื่นซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือเป็นตุ่มพองน้ำขนาดเล็ก มีอาการคัน และแตกแห้งเป็นสะเก็ดในเวลาต่อมา ส่วนใหญ่เริ่มเป็นที่บริเวณหน้าอก หลัง และใบหน้า ต่อมาจึงกระจายไปทั่วตัว ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วยได้แก่ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ส่วนใหญ่เป็นอยู่ 5-7 วัน ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ได้แก่ ปอดอักเสบ สมองอักเสบ หรือติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนที่รอยผื่น เป็นต้น หากเป็นในผู้ใหญ่มักมีอาการรุนแรงกว่าที่เป็นในเด็ก อาการเหล่านี้มักเริ่มมีขึ้นประมาณ 10-21 วัน หลังได้รับเชื้อ เชื้อไวรัสนี้ติดต่อทางอากาศ โดยออกมากับละอองจากการไอหรือจามของผู้ป่วย ซึ่งอาจแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ตั้งแต่ 1-2 วันก่อนเริ่มมีผื่น และสามารถแพร่เชื้อไปได้เรื่อยๆ จนกว่าแผลผื่นจะตกสะเก็ดแห้งและหลุดออกจนหมด นอกจากนี้ยังอาจติดต่อผ่านการสัมผัสตุ่มน้ำได้ด้วย ผู้ป่วยโรคงูสวัดซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสเดียวกันอาจแพร่เชื้อนี้ให้กับผู้อื่นที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะทำให้ผู้รับเชื้อป่วยด้วยโรคอีสุกอีใสได้ การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากประวัติและผลการตรวจร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการและอาการแสดงเป็นผื่นลักษณะเฉพาะดังกล่าว ในบางรายที่อาการไม่ชัดเจนอาจจำเป็นต้องตรวจด้วยการนำสารน้ำจากตุ่มน้ำหรือจากสะเก็ดไปตรวจหาพันธุกรรมเชื้อไวรัสด้วยวิธีพีซีอาร์ นอกจากนี้การตรวจหาแอนติบอดียังช่วยบอกได้ว่าผู้รับการตรวจนั้นมีภูมิหรือไม่มีภูมิต่อเชื้อนี้ ผู้ป่วยจำนวนมากหลังหายจากอีสุกอีใสแล้วมักไม่เป็นอีก หากได้รับเชื้อนี้ซ้ำมักไม่ทำให้เกิดอาการใดๆ ปัจจุบันมีการผลิตวัคซีนโรคอีสุกอีใสออกใช้ได้ทั่วไป ทำให้จำนวนผู้ป่วยและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ลดลงมาก ผู้รับวัคซีน 70-90% จะไม่เป็นโรค และหากเป็นโรคก็ลดความรุนแรงของโรคลงได้มาก หลายประเทศเริ่มกำหนดให้วัคซีนนี้เป็นวัคซีนมาตรฐานที่ทางรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ นอกจากนี้แม้จะไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน หากผู้รับเชื้อซึ่งเป็นเด็กได้รับวัคซีนภายใน 3 วันก็ยังมีประโยชน์ช่วยลดการเกิดโรคและลดอาการได้ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการบรรเทาอาการ เช่นการใช้โลชั่นคาลาไมน์เพื่อบรรเทาอาการคัน ตัดเล็บให้สั้นเพื่อไม่ให้เกาผื่นจนเกิดแผล และใช้พาราเซตามอลเพื่อลดไข้ ในบางรายที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจจำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัสเช่นอะไซโคลเวียร์ อีสุกอีใสเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลก ในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การให้วัคซีนและอีสุกอีใส

การให้วัคซีนและอีสุกอีใส มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สารภูมิต้านทานโรคฝีดาษโรคติดเชื้อ

สารภูมิต้านทาน

รภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดี (antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้นเพื่อตรวจจับและทำลายฤทธิ์ของสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen) แอนติบอดีส่วนใหญ่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์พลาสมา (plasma cell) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีลิมโฟไซต์ (B lymphocyte) การกำจัดสิ่งแปลกปลอมโดยการสร้างแอนติบอดีเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า humoral immune response การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเพปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ ตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป.

การให้วัคซีนและสารภูมิต้านทาน · สารภูมิต้านทานและอีสุกอีใส · ดูเพิ่มเติม »

โรคฝีดาษ

ฝีดาษตามลำตัวของผู้ป่วย การระบาดของฝีดาษในยุโรป การติดเชื้อฝีดาษของชาวอเมริกันอินเดียนจากชาวยุโรป ฝีดาษ, ไข้ทรพิษ หรือ ไข้หัว (Smallpox) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจาก small poxvirus (Variolar) มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว และมีอาการทั่วไปรุนแรง โรคนี้ระบาดในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถานและเอธิโอเปียเมื่อปี พ.ศ. 2519 สำหรับประเทศไทยมีการบันทึกไว้ว่าระบาดครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. 2504 องค์การอนามัยโลกได้เลิกฉีดวัคซีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513.

การให้วัคซีนและโรคฝีดาษ · อีสุกอีใสและโรคฝีดาษ · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดเชื้อ

รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.

การให้วัคซีนและโรคติดเชื้อ · อีสุกอีใสและโรคติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การให้วัคซีนและอีสุกอีใส

การให้วัคซีน มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ อีสุกอีใส มี 32 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 6.38% = 3 / (15 + 32)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การให้วัคซีนและอีสุกอีใส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: