เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

การให้วัคซีนและหลุยส์ ปาสเตอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การให้วัคซีนและหลุยส์ ปาสเตอร์

การให้วัคซีน vs. หลุยส์ ปาสเตอร์

การให้วัคซีน (vaccination) เป็นการรักษาทางการแพทย์อย่างหนึ่ง หมายถึงการให้สารที่เป็นแอนติเจน (วัคซีน) เข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันชนิดรับมา (adaptive immunity) เป็นแอนติบอดีที่มีความจำเพาะต่อเชื้อก่อโรคหนึ่งๆ ซึ่งจะสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคติดเชื้อได้ เมื่อมีสัดส่วนของประชากรที่ได้รับวัคซีนมากถึงระดับหนึ่งก็จะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ขึ้น ทำให้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือรับวัคซีนไม่ได้ ได้รับประโยชน์ในการป้องกันโรคจากผู้ที่มีภูมิคุ้มกันเหล่านี้ไปด้วย ประสิทธิผลของการให้วัคซีนนั้นได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางและเป็นที่ยืนยันแล้ว โดยพบว่าการให้วัคซีนเป็นวิธีการในการป้องกันโรคติดเชื้อที่ได้ผลดีที่สุด การมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อก่อโรคเป็นวงกว้างจากการให้วัคซีนนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษยชาติสามารถกำจัดเชื้อโรคบางอย่างให้หมดไปได้ เช่น ฝีดาษ และอีกหลายเชื้อที่กำลังจะหมดไป เช่น โปลิโอ หัด และบาดทะยัก เป็นต้น การปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษเป็นความพยายามครั้งแรกๆ ในการป้องกันโรคติดเชื้อโดยมนุษย์ และวัคซีนโรคฝีดาษก็เป็นวัคซีนชนิดแรกของโลกที่ถูกผลิตตามมา โดยถูกผลิตขึ้นใน.. หลุยส์ ปาสเตอร์ (27 ธันวาคม ค.ศ. 1822 - 28 กันยายน ค.ศ. 1895) เป็นนักเคมีและนักจุลชีววิทยา เกิดที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเบซากองและมหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่สตราบวร์ก ลิลล์ และมหาวิทยาลัยปารีส และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในปี พ.ศ. 2410 ปาสเตอร์เป็นผู้แถลงว่าการเน่าและการหมักเกิดจากเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ ปาสเตอร์ได้ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในระหว่างการศึกษาว่าเหตุใดเหล้าองุ่นจึงเสียรสขณะบ่ม แต่เมื่อนำเหล้าองุ่นไปอุ่นให้ร้อนแล้วจึงป้องกันไม่เหล้าองุ่นกลายเป็นน้ำส้มสายชูได้ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์ (Pasteurization) การค้นพบนี้ทำให้สาขาวิชาจุลชีววิทยาโดดเด่นก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว การทดลองที่มีชื่อเสียงของปาสเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2424 ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าแกะและวัวที่ได้รับการฉีด “วัคซีน” ที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์บาซิลไล ซึ่งเป็นเป็นสมมติฐานของโรคแอนแทรคที่ถูกทำให้อ่อนจางลงของเขา สามารถต่อสู้กับโรคระบาดที่มีอันตรายของสัตว์คือโรคแอนแทรคดังกล่าวได้โดยไม่ติดโรค ในปี พ.ศ. 2431 สถาบันปาสเตอร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกรุงปารีสเพื่อต่อสู้กับโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งปาสเตอร์ได้ทำงานประจำในสถาบันนี้จนถึงแก่กรรม ปัจจุบัน สถาบันปาสเตอร์ยังคงเป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกที่ยังคงทำงานวิจัยงานด้านจุลชีววิทยาอยู่ รวมทั้งการค้นพบเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การให้วัคซีนและหลุยส์ ปาสเตอร์

การให้วัคซีนและหลุยส์ ปาสเตอร์ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วัคซีนจุลชีววิทยา

วัคซีน

็กกำลังรับวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด วัคซีน (Vaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วัคซีนเริ่มมีการพัฒนาในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1770 โดยเอดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดเชื้อ cowpox เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (small pox) ในมนุษย์ได้ วัคซีนในระยะเริ่มแรกเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตายหรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคราะห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย คำว่า "วัคซีน" (vaccine) ได้มาจากครั้งที่เอ็ดวาร์ดให้เชื้อ cowpox แก่มนุษย์ โดยคำว่า variolæ vaccinæ มาจากคำว่า vaccīn-us หรือ vacca ซึ่งแปลว่า cow หรือวัวซึ่งมีความสัมพันธ์กับเชื้อ cowpox.

การให้วัคซีนและวัคซีน · วัคซีนและหลุยส์ ปาสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จุลชีววิทยา

นอาหารวุ้นซึ่งมีเชื้อจุลินทรีย์เห็นเป็นริ้วลายเส้น จุลชีววิทยา (Microbiology) คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งเรียกว่าจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย โปรโตซัว ไวรัส เชื้อรา และ สาหร.

การให้วัคซีนและจุลชีววิทยา · จุลชีววิทยาและหลุยส์ ปาสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การให้วัคซีนและหลุยส์ ปาสเตอร์

การให้วัคซีน มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ หลุยส์ ปาสเตอร์ มี 28 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 4.65% = 2 / (15 + 28)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การให้วัคซีนและหลุยส์ ปาสเตอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: